ตัวอย่างวิธีการตรวจสอบบัญชี

            การสอบบัญชี คือ การตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสารประกอบการลงบัญชี และหลักฐานอื่นๆ

โดยผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ตามแนวทางปฏิบัติงานที่วิชาชีพได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้
เพื่อที่ให้ผู้สอบบัญชีจะสามารถวินิจฉัย และแสดงความเห็นได้ว่างบการเงินที่กิจการจัดทำขึ้นขัดกับข้อเท็จจริง
อันเป็นสาระสำคัญและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปเพียงใด หรือไม่ ซึ่งวิธีการตรวจสอบบัญชีนั้น
จะมีจุดมุ่งหมาย 2 อย่าง คือ

  1. การตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบ เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ประเมินได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า การควบคุมภายในที่องค์กรกำหนดขึ้นนั้น ได้มีการปฏิบัติตามระบบบัญชีและการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้ระบบการควบคุมภายในยิ่งขึ้น
  2. การตรวจสอบรายการบัญชีและยอดคงเหลือโดยการทดสอบในสาระสำคัญ เป็นการตรวจสอบหลักฐานประกอบรายการที่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งจะกระทำภายหลังการตรวจสอบระบบข้อมูล เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินได้

                การตรวจสอบบัญชี จะใช้ผู้สอบบัญชี จะมีหน้าที่ในการแสดงความเห็นต่องบการเงินเท่านั้น
ไม่ได้มีการรับประกันความถูกต้องของบรรดางบการเงินต่าง ๆ  ในการปฏิบัติการตรวจสอบ
หากผู้สอบบัญชีตรวจสอบตามมาตรฐานการ สอบบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว
ผู้สอบบัญชีย่อมต้องตรวจสอบพบข้อบกพร่องอันพึงปรากฏ (ถ้ามี) จากการตรวจสอบตามมาตรฐานฯ
นอกเหนือจากนี้แล้วผู้สอบบัญชีไม่ต้องรับผิดชอบ รวมทั้งความรับผิดชอบเกี่ยวกับการค้นหาทุจริต
(แต่ผู้สอบบัญชีอาจต้องขยายเวลาการตรวจสอบหรือหาหลักฐานเพิ่มขึ้นเพื่อความเพียงพอต่อการแสดงความเห็น)
เว้นแต่ ผู้สอบบัญชีจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
นอกเหนือจากหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานแล้ว
ผู้สอบบัญชียังจะต้องรักษาความลับของลูกค้าที่ได้มาจากการตรวจสอบด้วย

แนะนำบทความอื่น ๆ

บัญชีสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (GOLD FUTURES : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=202

บัญชีส่วนเกินทุนจากการลดทุน : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=200

การตรวจพบภายหลังว่าบันทึกบัญชีผิดพลาดไป : https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=204

โดยทีมงาน AMTaudit & AMTsolution & AMTaccount
บริการ ให้บริการปรึกษาทางบัญชี และ ภาษีอากร

(Consultancy services in accounting and taxation)
Office : 02-184-1846
fax : 02-115-1486
ID Line : @amtaccount

Skip to content

ตัวอย่างวิธีการตรวจสอบบัญชี

  • 082-529-7313
  • Email Us

  • หน้าแรก
  • บริการ
    • ตรวจสอบบัญชี
    • จัดทำบัญชี
    • ที่ปรึกษาภาษี
    • จัดทำเงินเดือน
  • บทความ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ปรึกษาเรา

ตัวอย่างวิธีการตรวจสอบบัญชี

  • 082-529-7313
  • Email Us

  • ติดต่อเรา
  • English
  • ไทย
  • 中文 (中国)

When it comes to accounting, you can count on us.

Accessible • Approachable • Accountable

ตัวอย่างวิธีการตรวจสอบบัญชี

การตรวจสอบบัญชีมีกี่ประเภท

ตัวอย่างวิธีการตรวจสอบบัญชี

ภาพรวมและประเภทของการตรวจสอบ:

การตรวจสอบเป็นศิลปะของการทบทวนและสอบสวนอย่างเป็นระบบและเป็นอิสระสำหรับวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ เช่นงบการเงิน การบัญชีเชิงบริหาร รายงานการจัดการ บันทึกทางบัญชี รายงานการปฏิบัติงาน เป็นต้น

โดยผลจากการตรวจสอบจะถูกรายงานต่อผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นของกิจการเพื่อใช้ในการการตัดสินใจหรือวัตถุประสงค์อื่นตามความจำเป็น บางครั้งรายงานการตรวจสอบจะส่งไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกอื่นๆ เช่น รัฐบาล ธนาคาร เจ้าหนี้ หรือสาธารณชน

ตัวอย่างเช่น รายงานการตรวจสอบตามกฎหมายจะถูกส่งไปยังหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น

การตรวจสอบแบ่งออกเป็นหลายประเภทและหลายระดับของความเชื่อมั่นตามวัตถุประสงค์ ขอบเขต และขั้นตอนของวิธีการตรวจสอบ

การดำเนินการตรวจสอบงบการเงินโดยปกติเป็นไปตามมาตรฐานสากลว่าด้วยการตรวจสอบบัญชี ( ISA) หรือมาตรฐานการตรวจสอบของแต่ละประเทศ ซึ่งในประเทศไทยนั้นสภาวิชาชีพบัญชีได้มีการปรับใช้มาตรฐานการสอบบัญชีสากลให้เป็นมาตรฐานการตรวจสอบในประเทศไทยหรือเรียกว่า TSA

วิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบนั้นมีหลายประเภท โดยการตรวจสอบทางการเงินประกอบไปด้วย การตรวจสอบการดำเนินงาน, การตรวจสอบตามข้อบังคับของกฎหมาย, การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบและอื่น ๆ

ในบทความนี้ เราจะอธิบายประเภทการตรวจสอบหลักๆออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

#1: การตรวจสอบภายนอก (External Audit)

ผู้ตรวจสอบภายนอก หมายถึงผู้ตรวจสอบจากภายนอกที่ได้รับว่าจ้างให้ปฏิบัติงานตรวจสอบแก่กิจการ โดยที่ผู้สอบดังกล่าวจะต้องไม่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ทั้งในฐานะพนักงาน ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ โดยลักษณะการว่าจ้างสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ทั้งการตรวจสอบตามกฎหมาย, การตรวจสอบทางการเงิน หรือการตรวจสอบตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน เป็นต้น

กิจการที่ว่าจ้างผู้ตรวจสอบในลักษณะนี้จะต้องมีความเป็นอิสระจากผู้ตรวจสอบบัญชี โดยหากเกิดความสัมพันธ์ที่อาจทำให้เกิดความไม่เป็นอิสระเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการเพื่อลดความไม่เป็นอิสระนั้น และหากไม่สามารถหาขั้นตอนที่เหมาะสมมาขจัดความไม่เป็นอิสระนั้นได้ ผู้สอบจะต้องพิจารณาถอนตัวจากงานตรวจสอบนั้น

การตรวจสอบประเภทนี้จำเป็นต้องมีการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพและปฏิบัติตามมาตรฐานว่าด้วยการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด

ผู้ตรวจสอบประเภทนี้โดยทั่วไปมักจะเรียกกันว่า CPA ซึ่งก็คือผู้ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีใบรับรองผู้สอบบัญชี หรือ CPA เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบและออกรายงานการตรวจสอบได้ โดยในประเทศไทยหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลผู้สอบบัญชี คือ สภาวิชาชีพบัญชีฯ (TFAC)

โดยปกติแล้วผู้ตรวจสอบภายนอกมักจะทำงานในสำนักงานตรวจสอบบัญชี ที่จะมีลำดับชั้นในการปฏิบัติงานจาก ผู้ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบอาวุโส และหุ้นส่วนผู้ตรวจสอบ

Note : สำนักงานตรวจสอบบัญชีที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกมีอยู่ 4 แห่งด้วยกัน ได้แก่ Deloitte, KPMG, PWC และ EY โดยสำนักงานตรวจสอบบัญชีทั้ง 4 แห่งนั้น ได้มีการให้บริการอยู่ในประเทศไทย

#2: การตรวจสอบภายใน (Internal Audit)

การตรวจสอบภายในเป็นวิธีการตรวจสอบเพื่อประเมินผลระบบการดำเนินงานของกิจการ ทั้งในแง่ของความมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน รวมทั้งระบบการคุมภายในของกิจการเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของกิจการให้เป็นไปในแนวทางที่เป็นระบบระเบียบ โดยการตรวจสอบภายในจะมีการประเมินการบริหารความเสี่ยงของการควบคุมภายใน และการกำกับดูแลกิจการของกิจการควบคู่ไปด้วยเสมอ

ขอบเขตของการตรวจสอบภายในโดยทั่วไปจะกำหนดโดยคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัท หรือกรรมการผู้มีอำนาจเทียบเท่า และหากไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบ โดยปกติผู้ตรวจสอบภายในจะรายงานให้เจ้าของกิจการทราบ

โดยปกติการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในจะครอบคลุมถึงการทดสอบระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบการปฏิบัติงาน การตรวจสอบการทุจริต การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด และงานพิเศษอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการของบริษัท

#3: การตรวจสอบทางนิติเวช (Forensic Audit)

โดยปกติการตรวจสอบทางนิติเวชจะดำเนินการโดยนักบัญชีนิติเวชที่มีทักษะทั้งด้านการบัญชีและการสอบสวน

การบัญชีนิติเวชเป็นประเภทของการตรวจสอบที่ดำเนินการสอบสวนทางการเงินเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วผลการสอบสวนจะนำไปใช้เป็นหลักฐานในศาลหรือการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้น

การสอบสวนครอบคลุมหลายด้านรวมถึงการสอบสวนการฉ้อโกง การสอบสวนอาชญากรรม การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้น

การตรวจสอบทางนิติเวชจำเป็นต้องมีการวางแผน ขั้นตอนการปฏิบัติงานสอบ และมีการรายงานผลการตรวจสอบที่เหมาะสม เช่นเดียวกับงานตรวจสอบอื่นๆ

ซึ่งโดยปกติแล้วการตรวจสอบประเภทนี้มักต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์เฉพาะด้านในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เนื่องจากหลักฐานหรือข้อมูลมักถูกปิดบัง หรือบิดเบือนจากผู้กระทำผิดหรือคู่ขัดแย้ง

#4: การตรวจสอบตามกฎหมาย (Statutory Audit)

การตรวจสอบตามกฎหมายหมายถึงการตรวจสอบงบการเงินสำหรับนิติบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งการตรวจสอบตามกฎหมายนี้ มักจะมีบางส่วนงานทับซ้อนกับการตรวจสอบประเภทอื่นเช่น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่บังคับให้ผู้สอบที่สามารถทำการตรวจสอบได้ต้องได้รับการอนุมัติจาก กลต. และเป็นการตรวจสอบภายนอกเท่านั้น หรือ การตรวจสอบตามวิธีการที่ตกลงร่วมกันที่ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนบังคับให้ผู้สอบทำการตรวจสอบตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบตามกฎหมายอาจแตกต่างไปจากการตรวจสอบงบการเงิน เนื่องจากการตรวจสอบทางการเงินหมายถึงการตรวจสอบงบการเงินของนิติบุคคลทุกประเภท ไม่ว่าผู้สอบนั้นจะมีคุณสมบัติหรือมีวิธีปฏิบัติงานตรวจสอบตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม

#5: การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Audit)

การตรวจสอบทางการเงินหมายถึง การตรวจสอบงบการเงินของกิจการโดยผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ โดยจะให้ความเห็นจากการตรวจสอบในงบการเงินนั้นหลังจากการตรวจสอบเสร็จสิ้น

การตรวจสอบทางการเงินตามปกติดำเนินการโดยสำนักงานตรวจสอบภายนอกที่มี CPA และมักจะดำเนินการทุกสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี การตรวจสอบประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่าการตรวจสอบงบการเงิน

แต่ในบางครั้งหน่วยงานกำกับดูแลของธุรกิจบางประเภทอาจกำหนด ให้มีการตรวจสอบทางการเงินดำเนินการทุกไตรมาสเช่นกัน

Note : นิติบุคคลในประเทศไทยส่วนใหญ่จัดทำงบการเงินตามมาตรฐานรายงานทางการเงินอยู่ 2 ประเภทคือ

1. TFRS และ 2. TFRS for NPAE

ดังนั้น การตรวจสอบของผู้สอบบัญชี หรือ CPA จะต้องตรวจสอบว่างบการเงินเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงินที่กิจการใช้อยู่หรือไม่

#6: การตรวจสอบภาษี (Tax Audit)

การตรวจสอบภาษีเป็นการตรวจสอบประเภทหนึ่งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานทางด้านภาษีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต หรือหน่วยงานภาษีท้องถิ่น เป็นต้น

ในการตรวจสอบประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อหน่วยงานของรัฐเหล่านั้นมีข้อสงสัยหรือมีเหตุอันทำให้ควรเชื่อว่ากิจการมีการเสียภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมีการปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายภาษีอากร ซึ่งปกติแล้วการตรวจสอบประเภทนี้เมื่อผู้สอบได้ตรวจพบข้อผิดพลาดมักจะก่อให้เกิดเบี้ยปรับเงินเพิ่มตามมา ดังนั้นเพื่อเป็นการเลี่ยงข้อพิพาททางภาษีดังกล่าว กิจการควรให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นดูแลในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง หรือหากมีประเด็นที่ไม่แน่ใจว่าอาจเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายทางภาษีอากรหรือไม่ อาจะติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรืออาจะให้สำนักงานสอบบัญชีด้าน Tax Compliance มาช่วยประเมินจุดเสี่ยงหรือข้อพกพร่องที่อาจเกิดขึ้นเพื่อการแก้ไขอย่างทันท่วงที

#7: การตรวจสอบระบบสารสนเทศหรือการตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Audit)

การตรวจสอบระบบข้อมูลบางครั้งเรียกว่าการตรวจสอบไอที การตรวจสอบประเภทนี้จะประเมินและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของระบบรักษาความปลอดภัย โครงสร้างความปลอดภัยของข้อมูล และความสมบูรณ์ของระบบ

บางครั้งการตรวจสอบทางการเงินก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบด้านไอทีด้วย เนื่องจากขณะนี้การปรับใช้เทคโนโลยีในโลกธุรกิจกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด และรายงานทางการเงินของลูกค้าส่วนใหญ่มักได้รับการบันทึกโดยซอฟต์แวร์บัญชีที่ซับซ้อน

วิธีการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไป เพื่อให้คุณภาพของงานตรวจสอบมีสิทธิภาพ

ในปัจจุบัน บริษัทที่มีโครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่มักมีการใช้ระบบซอฟแวร์ที่ซับซ้อนในการเก็บข้อมูล (ERP) ดังนั้นโดยปกติก่อนที่ผู้ตรวจสอบบัญชีจะอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศ (ซอฟต์แวร์) ที่ใช้จัดทำงบการเงินหรือบันทึกข้อมูลด้านบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชีจำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบสารสนเทศก่อน เพื่อทดสอบและตรวจสอบระบบก่อนถึงความน่าเชื่อถือของระบบเหล่านั้น

#8: การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Audit)

การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดคือประเภทของการตรวจสอบที่ตรวจสอบกับนโยบายและขั้นตอนภายในของกิจการ ตลอดจนกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานราชการที่กิจการถูกบังคับใช้อยู่

ตัวอย่างเช่น ในภาคการธนาคารที่มีกฎระเบียบจำนวนมากที่ถูกบังคับจากธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ซึ่งกิจการต้องปฏิบัติตาม

ดังนั้นกิจการอาจมอบหมายหน้าที่การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดให้แก่ผู้ตรวจสอบ เพื่อทบทวนว่านโยบายและขั้นตอนภายในของกิจการเป็นไปตามและปฏิบัติตามอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ผู้บริหารของกิจการใช้เพื่อบังคับใช้ประสิทธิผลของการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของรัฐบาล ตลอดจนนโยบายและขั้นตอนภายในของกิจการ

#9: งานตรวจสอบตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน (Agreed-upon procedures)

วิธีการที่ตกลงร่วมกันคือวิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบที่ผู้ตรวจสอบจะดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้าเท่านั้น งานประเภทนี้เป็นงานตรวจสอบประเภทการให้ความเชื่อมั่นแบบจำกัด เนื่องจากผู้สอบจะไม่ทำการตรวจสอบประเด็นอื่นเพิ่มเติมแม้ว่าอาจะมีความสงสัยถึงข้อผิดพลาดที่อาจจะมีอยู่ แต่จะรายงานเฉพาะสิ่งที่ได้พบเจอตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้เท่านั้น

เมื่อผู้ตรวจสอบเสร็จสิ้นการตรวจสอบหรือปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งหมดที่กำหนดโดยฝ่ายบริหาร ผู้ตรวจสอบจะออกรายงานหรือเรียกว่ารายงานการค้นพบข้อเท็จจริงโดยระบุสิ่งที่ค้นพบทั้งหมดที่พบในระหว่างการตรวจสอบ

#10: การตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit)

การตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษเป็นประเภทของการตรวจสอบที่ผู้ตรวจสอบภายในทำตามปกติ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อมีประเด็นหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร เช่น การทุจริต คดีธุรกิจ หรือกรณีพิเศษอื่นๆ

ตัวอย่างเช่น มีการทุจริตเกิดขึ้นในแผนกบัญชีเงินเดือนและข้อกังวลนี้แจ้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการบริษัท หรือบางครั้งมีการร้องขอจาก CEO ให้มีการตรวจสอบพิเศษในพื้นที่เหล่านี้

อย่างไรก็ตามผู้สอบบัญชีภายนอกก็สามารถตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษได้เช่นกัน เช่นถูกร้องขอให้มีการตรวจสอบบัญชีบางรายการของกิจการจากธนาคารผู้ปล่อยกู้ เป็นต้น

เมื่อผู้สอบบัญชีเสร็จสิ้นการตรวจสอบแล้ว ทีมตรวจสอบจะจัดทำรายงานและส่งไปยังคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการบริษัท บางครั้งก็รายงานไปยัง CEO หรือ ผู้ร้องขอผลการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องด้วย

ผมหวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของงานการตรวจสอบได้ชัดเจนมากขึ้นนะครับ แล้วพบกันในบทความถัดไปครับ

Business Info

Sathorn, Bangkok,

Thailand

© 2022 • Powered by ConnectAcc

วิธีการตรวจสอบบัญชี มีอะไรบ้าง

วิธีการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี.
การตรวจ (Inspection).
การสังเกตการณ์ (Observation).
การสอบถาม (Inquiry).
การขอคำยืนยัน (Confirmation).
การคำนวณ (Computation).
การปฏิบัติซ้ำ (Reperformance).
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedure).

ผู้สอบบัญชีจะมีวิธีการเลือกตัวอย่างวิธีใดบ้าง?

วิธีการเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี 1. การเลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีการทางสถิติ 1.1เลือกแบบสุ่มตัวอย่าง 1.2การใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น 2. การเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้วิธีการทางสถิติ

ค่าตรวจสอบบัญชี คิดยังไง

บริการตรวจสอบบัญชี อัตราค่าตรวจสอบบัญชี มีดังนี้ งบเปล่า มีอัตราค่าบริการ 5,000 บาท งบการเงิน รายได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท/ปี อัตราค่าบริการ 7,500 บาท งบการเงินที่มีรายได้เกิน 5 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่เกิน 10 ล้าน อัตราค่าบริการ 12,000 บาท งบการเงินที่มีรายได้เกิน 10 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่เกิน 20 ล้าน อัตราค่าบริการ 15,000 บาท

วิธีการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีมีกี่ประเภท

วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี 1. การตรวจสอบ(Inspection) 2. การสังเกตการณ์(Observation) 3. การขอค ายืนยันจากบุคคลภายนอก (Confirmation) 4. การทดสอบการค านวณ(Computation) 5. การทดสอบโดยการปฏิบัติซ ้า(Reperformance) 6. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ(Analytical Procedure) 7. การสอบถาม (Inquiry)