ตัวอย่าง การวิเคราะห์โครงการ

ความเป็นมาการวิเคราะห์โครงการ

        ในบริบทของการบริหารจัดการกิจการสาธารณะ (Public Sector Administration) ประเทศไทยได้มีพัฒนาการของการบริหารงบประมาณ โดยกำหนดให้การจัดทำงบประมาณนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในระดับ ต่างๆ ทั้งยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ (Area) และในระดับฟังก์ชั่นหรือในระดับหน่วยงาน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของการกำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณโดยอิงกับยุทธศาสตร์ก็ คือ เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่า และก่อให้เกิดผลในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ ซึ่งโดยหลักการแล้วแผนงาน/โครงการที่มีผลผลิต หรือผลลัพธ์ซึ่งส่งให้เกิดสัมฤทธิผลในเชิงยุทธศาสตร์ ก็ควรที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณมากกว่าแผนงาน/โครงการอื่นๆ โดยเปรียบเทียบสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการวางแผนยุทธศาสตร์ของภาคคมนาคมและขนส่ง ติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และมีภารกิจในการให้ความเห็นต่อกระทรวงคมนาคมในการจัดสรรงบประมาณของแผน งาน/โครงการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม จึงถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบริหารทรัพยากร และงบประมาณให้มีความคุ้มค่าสูงสุด อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ในทางปฏิบัติที่สำคัญ ซึ่งทำให้การจัดสรรงบประมาณในเชิงยุทธศาสตร์ไม่สามารถดำเนินไปตามวัตถุ ประสงค์หรือทิศทางที่ควรจะเป็น มีสาเหตุหลักสรุปได้ดังนี้คือ

    • ขาดการวางแผนเชิงบูรณาการในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
    • กระบวนการจัดสรรงบประมาณ
    • ขาดการติดตามและประเมินผลโครงการการ: ในระหว่างที่โครงการกำลังดำเนินการอยหลังจากที่โครงการดำเนินการแล้วเสร็จ ถือเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง กล่าวคือ ในการเสนอของบประมาณ หน่วยงานส่วนใหญ่จะทำการกำหนดเป้าประสงค์ และเป้าหมายให้เพิ่มสูง เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการจัดสรรงบประมาณ หากแต่ขาดการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโครงการ บริหารความเสี่ยง ส่งผลให้โครงการจำนวนไม่น้อย ที่แม้สามารถแสดงผลการดำเนินงานในระดับผลผลิตได้ แต่ความสำเร็จที่เป็นเป้าประสงค์หลักในระดับผลลัพธ์ และผลกระทบสามารถแสดงผลได้ ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมายเมื่อครั้งของบประมาณ ประเด็นปัญหาในส่วนนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงการขาดระบบความรับผิดชอบต่อผลงาน (Accountability)
    • ขาดการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ การจัดสรรงบประมาณ และการดำเนินโครงการเข้าด้วยกัน
แม้ ว่ารัฐบาลจะได้พัฒนาระบบการจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ขึ้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วหน่วยงานส่วนมากไม่ได้มีการกระจายยุทธศาสตร์ลงมาสู่การ กำหนดแผนงาน/โครงการ แต่ในทางกลับกันหน่วยงานมักจะมีแผนงาน-โครงการ ที่มีแนวคิดจะดำเนินการอยู่เดิม สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมโยงระหว่างโครงการ/แผนงานกับยุทธศาสตร์ที่ กำหนดไว้ ดังนั้น การจัดสรรงบประมาณโดย อิงอยู่บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ (Strategy-based Budgeting) จึงไม่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ สิ่งที่เป็นผลตามมาคือ ความไม่ชัดเจนของทิศทางการพัฒนาลงทุน และการขาดการวางแผนใน เชิงบูรณาการที่มีการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ระหว่างหน่วยงานในภาคการขนส่งต่างๆ อันส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะใช้ทรัพยากรไม่สอดคล้องกับการแก้ไขประเด็น ปัญหาที่สำคัญ (Key Issues) และไม่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของการพัฒนาประเด็นปัญหาต่างๆ ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในภาคการคมนาคมและขนส่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประกอบกับ ข้อจำกัดด้านทรัพยากรของภาครัฐ (Limited Resources) ได้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการบริหารจัดการที่ต้องมีการออกแบบและวาง ระบบเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และจัดลำดับความสำคัญของโครงการลง ทุนประเภทต่างๆ ในภาคการคมนาคมและขนส่ง เพื่อให้มีหลักประกันได้ว่า กระบวนการในการพิจารณาวางแผนจัดทำโครงการ การวิเคราะห์โครงการ การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ เป็นไปโดยมีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และสะท้อนถึงการตระหนัก รู้ของความมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากร กระบวนการจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างมีระบบ กระบวนการ และขั้นตอนที่ชัดเจนและมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งมุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของประสิทธิภาพ (Efficiency) หลักความรับผิดรับชอบ (Accountability) และความโปร่งใส (Transparency) ของระบบโดยรวม

วัตถุประสงค์

        สภาพปัญหาที่กล่าวถึงข้างต้น ทำให้กรอบวัตถุประสงค์ของโครงการศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นในการทบทวนการ ดำเนินยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องของแผนงานโครงการตามยุทธศาสตร์และกระบวนการ จัดสรรงบประมาณว่ามีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารของประเทศเพียงใดในยุทธศาสตร์ระดับชาติ ด้านการคมนาคมและขนส่ง และการส่งต่อแนวนโยบายดังกล่าวไปยังแผนยุทธศาสตร์ในระดับกระทรวง กรม และหน่วยงานต่างๆ นั้นมีดำเนินการที่สอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด และการประเมินระดับประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีเป้าหมายวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

    1) ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และจัดลำดับความสำคัญโครงการลงทุนของทุกหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในสังกัดของกระทรวงคมนาคมที่มีความเกี่ยวข้องกับการลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้าง ฐานด้านคมนาคมและขนส่งตามลักษณะสาขาต่างๆ คือ การขนส่งทางบก ราง น้ำ อากาศทั้งนี้การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และจัดลำดับความสำคัญโครงการลงทุนนั้น จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญโครงการลงทุนที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ มหภาค โดยการพัฒนาสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือใช้เพื่อ วิเคราะห์ผลกระทบการลงทุนโครงการต่อเศรษฐกิจระดับมหภาค ตลอดจน ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบการวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินงานจากการ ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อควบคุมการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานให้สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งการวางกลยุทธ์ ความเชื่อมโยงงบประมาณและการบริหารจัดการ และการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ที่พัฒนาโดยสำนักงบประมาณ หรือที่เรียกว่าระบบประเมินความเป็นไปได้ตามผลงาน (Performance Assessment Rating Tool: PART) มาประยุกต์ใช้ในการพิจารณากำกับการจัดสรรงบประมาณและสร้างกลไกการบริหาร จัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอดรับการจัดสรรงบประมาณ

    2) พัฒนา วางระบบ และจัดทำคู่มือสำหรับการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ การจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในแต่ละสาขาประเภทการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้านการวางนโยบายและแผนที่เป็นมาตรฐานระหว่าง หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร รวมทั้งสร้างเสริมศักยภาพของบุคลากรให้สัมพันธ์กับการวางแผนพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและบริการด้านคมนาคมขนส่งที่สนับสนุน ส่งเสริมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับมหภาคอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ปัจจุบันและยุทธศาสตร์เพื่อการวางรากฐานพัฒนาประเทศในอนาคต

    3) วางระบบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีในมิติภารกิจ (Function based) มิติยุทธศาสตร์ (Area based) ที่เหมาะสมกับขีดความสามารถในการวิเคราะห์ กำหนดแผนงาน/โครงการลงทุนของหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อการแปลงนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นภาพธรรม มีตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผล กำกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างชัดเจน สอดคล้องและบูรณาการกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)

รายละเอียดของงาน

    1. ศึกษาทบทวนข้อมูลและแนวทางการวิเคราะห์และวางแผนเศรษฐกิจระดับมหภาค ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นได้ดำเนินการอยู่ เพื่อวิเคราะห์ถึงความพร้อมของข้อมูล และแนวทางที่จะขยายผลของกระบวนการวางแผนดังกล่าว ให้สามารถเชื่อมโยงกับการวางแผนในระดับกระทรวงคมนาคมและระดับหน่วยงานได้

    2. ศึกษาวิเคราะห์แผน และประเมินการลงทุนภาคการคมนาคมขนส่งในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาและ 5 ปีข้างหน้า (ทั้งในส่วนการลงทุนจากงบประมาณแผ่นดิน และเงินนอกงบประมาณ รวมทั้งงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ผ่านกระบวนการพิจารณาของ สศช.) พร้อมวิเคราะห์ความเหมาะสมและเป็นไปได้เชิงยุทธศาสตร์กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และแผนยุทธศาสตร์รายสาขาที่เกี่ยวข้อง จัดทำฐานข้อมูลการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการเชิงลึกในมิติต่างๆ สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์จัดทำแบบจำลองอย่างเหมาะสม น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ รวมทั้งวิเคราะห์พัฒนาตัวชี้วัดทั้งในระดับผลผลิต (Outputs) และระดับผลลัพธ์ (Outcomes) ที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาความเหมาะสม และจัดลำดับความสำคัญแผนงาน/โครงการ หรือใช้สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดเป้าหมาย การให้บริการของกระทรวงคมนาคม ตามระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Based Budgeting)   

    3. วางระบบการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Appraisal Methodology) และจัดลำดับความสำคัญ (Ranking System) ของโครงการลงทุนอย่างมีบูรณาการร่วมกันในแต่ละสาขา (Modes) รวมทั้งออกแบบจัดหา หรือประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่จำเป็นเพื่อการดังกล่าว พร้อมทั้งจัดทำคู่มือที่เกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินงานตามระบบโดยละเอียด (Comprehensive manual)

    4. วิเคราะห์ เสนอแนะ และทบทวนโครงการลงทุน ทั้งที่อยู่ในแผนและที่นำเสนอขึ้นใหม่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับนำมาพิจารณาดำเนินการ เพื่อพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งให้สอดคล้องกับทิศทาง ยุทธศาสตร์ เป้าหมายของแผนพัฒนาในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์โครงการคืออะไร

การวิเคราะห์โครงการเป็นการศึกษาและท าความรู้จักกับตัวโครงการที่จะประเมินอย่าง ละเอียดในทุกขั้นตอนของโครงการ ทั้งนี้เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบแต่ละส่วนของ โครงการ ซึ่งจะท าให้ผู้ประเมินเกิดความเข้าใจและเกิดแนวความคิดที่จะน าไปสู่การวางแผนและ การออกแบบการประเมินให้เหมาะสมกับโครงการต่อไป ดังนั้นเป้าหมายส าคัญ ...

ขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงการมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการ : วิธีการเขียนแผนโครงการที่ประสบความ....
ประวัติความเป็นมาของโครงการ.
วัตถุประสงค์.
ขอบเขต.
ข้อจำกัด.
สมมติฐาน.
การอ้างอิงและผลกระทบที่เกิดขึ้น.
ปัญหาและความเสี่ยง.
วิธีการและกลยุทธ์.

การวิเคราะห์โครงการมีกี่ประเภท

1. การวิเคราะห์องค์ประกอบภายนอก - การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อโครงการ ที่อาจส่งผลให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่บรรลุวัตถุประสงค์.
การวิเคราะห์ปัจจัยเบื้องต้น (Input).
การวิเคราะห์กระบวนการ (Process).
การวิเคราะห์ผลผลิต (Product/Output).
การวิเคราะห์ผลกระทบ (Impact).

การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ มีกี่ขั้นตอน

ขั้นตอนการประเมินความคุ้มค่า 1. การทบทวนผลผลิตของหน่วยงาน 2. การวัดตัวชี้วัดและการพิจารณาความสมบูรณ์ของข้อมูล 3. การกาหนดผลตอบแทนและค่าใช้จ่าย 4. การค านวณตัวชี้วัดในกรณีที่ไม่สามารถวิเคราะห์ประสิทธิผลต่อ ค่าใช้จ่ายได้ (SROI) 5. ข้อเสนอแนะการประเมินความคุ้มค่า