ตัวอย่าง ผลงานเชิงวิเคราะห์

สถิติที่ใช้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสถิติขั้นสูงเสมอไป เลือกดูว่าข้อมูลของเราเหมาะกับสถิติแบบใด วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ คืออะไร แบบง่าย ๆ เข่น การแจกแจงความถี่ การวัดค่ากลางของข้อมูล  การวัดการกระจายของข้อมูล ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ก็สามารถอธิบายผลงานเชิงวิเคราะห์ได้ ที่สำคัญ คือ การจำแนกแยกแยะองค์ประกอบในงานที่เราทำให้ได้ลุ่มลึกที่สุด ว่ามีกี่ส่วน แต่ละส่วนมีจุดเน้นอะไร และจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง นั่นคือ วิเคราะห์ แล้วต้องให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อการแก้ปัญหา และพัฒนางาน ของตนเอง ของหน่วยงาน องค์กรด้วยนะคะ 

ตัวอย่าง ผลงานเชิงวิเคราะห์

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2562 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีMay 16, 2019

ตัวอย่าง ผลงานเชิงวิเคราะห์

การปรับเปลี่ยนห้องสมุด : คิดใหม่ ฟอร์มใหม่ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนSeptember 20, 2019

การเขียนผลงานเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์

ตัวอย่าง ผลงานเชิงวิเคราะห์

แหล่งที่มาภาพ: https://www.freepik.com

 

นางวันดี เจียมสมบุญ
ตำแหน่ง บรรณารักษ์

 

การวิเคราะห์งาน

                ท่าน ศ.ดร.สุมาลี  สังข์ศรี ได้สรุปเกี่ยวกับการวิเคราะห์งานไว้ว่า  การวิเคราะห์งาน  คือ กระบวนการพิจารณา จำแนก แยกแยะ ประเมินผลการจัดข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานอย่างเป็นระบบเพื่อนำผลไปใช้ประโยชน์

งานที่จะนำมาวิเคราะห์

1. วิเคราะห์งานที่ปฏิบัติอยู่ ได้แก่

–  การวิเคราะห์การให้บริการนักศึกษา

–  การวิเคราะห์ระบบลงทะเบียน

2. วิเคราะห์เอกสาร ได้แก่

–  การวิเคราะห์แผนปฏิบัติงาน

–  การวิเคราะห์หลักสูตร

–  การวิเคราะห์ระบบงานสารบรรณ

–  การวิเคราะห์กิจกรรมชมรมนักศึกษา

–  การวิเคราะห์ความสามารถการใช้ไอทีของนักศึกษา

–  การวิเคราะห์ความต้องการบริการห้องสมุดของนักศึกษา

–  การวิเคราะห์สภาพการทำวิจัยของอาจารย์

–  การวิเคราะห์งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

–  การวิเคราะห์งบประมาณในการผลิตสื่อของมหาวิทยาลัย

–  การวิเคราะห์ประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย

ขั้นตอนการวิเคราะห์งาน

       ขั้นที่ 1  กำหนดงานที่จะวิเคราะห์/ชื่อเรื่อง (มองที่ปัญหาว่าได้ประโยชน์อะไร)

ขั้นที่ 2  วางแผนการวิเคราะห์งาน โดยการเขียนวัตถุประสงค์

ขั้นที่ 3  ดำเนินการวิเคราะห์งาน (ลงมือทำ)

ขั้นที่ 4  จัดทำรายงานการวิเคราะห์งาน

รูปแบบรายงานการวิเคราะห์งานประกอบด้วย

บทที่ 1 บทนำ

1.1 ความเป็นมาและเหตุผลในการวิเคราะห์

1.2 วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์

1.3 ขอบเขตของการวิเคราะห์

1.4 ประโยชน์ของการวิเคราะห์

1.5 คำนิยามหรือศัพท์เฉพาะ

บทที่ 2  แนวคิด ทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1  แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์งาน

2.2  หลักการการวิเคราะห์งาน

2.3  ขั้นตอนการวิเคราะห์งาน

2.4  งานการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3  วิธีการวิเคราะห์

3.1  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างหรือแหล่งข้อมูล

3.2  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

3.3  การเก็บรวบรวมข้อมูล

3.4  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ (ถ้ามี)

3.5  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1  เสนอตามวัตถุประสงค์การวิเคราะห์

4.2  อาจมีการเปรียบเทียบ จำแนกตามประเด็นต่าง ๆ เช่น จำแนกตามคณะ ตามจำนวนปี

เป็นตาราง แผนภูมิ กราฟ  อธิบาย/สรุปประเด็น (การวิเคราะห์เนื้อหา)

บทที่ 5  สรุปผลและข้อเสนอแนะ

5.1  สรุปวิธีการวิเคราะห์

5.2  สรุปผลการวิเคราะห์(สรุปผลตอบวัตถุประสงค์แต่ละข้อให้ครบทุกข้อ)

5.3  สรุปผลข้อเสนอแนะ (สิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ครั้งนี้ จะนำไปใช้ในการพัฒนางานได้อย่างไร จะนำมาใช้ประโยชน์ด้านใดบ้างอย่างไร)

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้เขียน


ประโยชน์ที่ได้รับ  

ได้ทราบถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการเขียนการวิเคราะห์งาน แล้วนำมาประยุกต์ปรับใช้ในการจัดทำผลงานทางวิชาการของตนเอง และหน่วยงาน