ตัวอย่าง การเขียนประชาสัมพันธ์ เชิญ ชวน

Tweet

Share

Pin

Share

+1

0 Shares

การเขียนถ้อยคำสำนวนเชิญชวน  เป็นการเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้อ่านสนใจและเกิความรู้สึกอยากทำตาม  จึงต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้สื่อความหมายตามที่ต้องการ     โดยคำนึงถึงจังหวะ    และความนุ่มนวลในน้ำเสียงของคำด้วย  มีความจริงใจ  เต็มใจ  ไม่ใช่การบังคับ  คำเชิญชวนมีหลายประเภท เช่น ประกาศ   แผ่นพับ  แผ่นปลิว  ป้ายโฆษณา  การบอกกล่าวด้วยวาจาทางเครื่องขยายเสียง  วิทยุ   โทรทัศน์

หลักการเขียนคำเชิญชวน

1.มีจุดประสงค์ชัดเจนและสร้างความตระหนักให้ผู้อ่านรับรู้ว่า  หากปฏิบัติตามคำเชิญชวน  จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม  ย่อมได้รับการยกย่อง

2.ใช้ภาษาง่ายๆไม่ต้องแปล มีความเป็นกลาง  มีความหมายเร้าใจ  ทั้งการเสนอแนะ  ขอร้อง  วิงวอน  ไม่ควรใช้ถ้อยคำเชิงข่มขู่บังคับ

3.มีสัมผัสคล้องจอง  มีความเหมาะสมด้านความหมายและเหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งบุคคลและสังคม

ตัวอย่างการเขียนคำเชิญชวน

            –           วันนี้คุณคือผู้อ่าน   พรุ่งนี้คุณคือผู้นำ ( เสนอแนะ )

            –           ทิ้งขยะไม่เลือกที่หมดราศีไปทั้งเมือง  (เสนอแนะ )

–           เสร็จกิจปิดไฟ  ช่วยไทยประหยัดน้ำมัน ( ขอร้อง )

–           เห็นอะไรผิดสังเกต  รีบแจ้งเหตุให้ยามรู้  ( ขอร้อง )

–           สะอาดกายเจริญวัย  สะอาดใจเจริญสุข  (เสนอแนะ )

             –          เอาใจใส่กับครอบครัวสักนิดลูกจะไม่ติดยา ( วิงวอน )

 –          อากาศเป็นพิษ ชีวิตจะสั้น  ต้นไม้เท่านั้น  ทั้งกันทั้งแก้  ( เสนอแนะ )

 –          ยาบ้าอันตาย   ผู้เสพถึงตาย   ผู้ขายติดคุก  ( ขอร้อง )

–         สัตว์ป่าทุกชนิด  รักชีวิตเหมือนท่าน  เมตตาช่วยป้องกัน ไม่ให้สูญพันธุ์หมดไป ( วิงวอน )

–           แวะห้องสมุดสักประเดี๋ยว  เหมือนได้เที่ยวทั่วจักรวาล  ( วิงวอน )

 –          ล้อมรักให้ครอบครัวเหมือนล้อมรั้วป้องกันยาเสพติด( เสนอแนะ )

–          ปลอดไฟป่า  พงพนางดงาม  สัตว์สวยป่างาม  น้ำตกใส  ( เสนอแนะ )

–         เผาป่าอย่างยั้งคิด  ผิดกฎหมาย  ทำลายธรรมชาติ  (วิงวอน )

                –       ป่าสวย  น้ำใส  ไร้ควันไฟป่า  ถ้าชาวประชาหยุดทำลาย (วิงวอน )

  –          ไฟป่าพาพินาศ   รักชาติอย่าเผาทำลาย  (วิงวอน )

  • เคร่งครัดหลักการใช้ เพราะภาษาไทยเป็นหัวใจของชาติ

****************************

Tweet

Share

Pin

Share

+1

0 Shares

        “ความรักต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนและพร้อมพี่น้องเป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของคริสต์ ศาสนา ซึ่งเรียกร้องให้บรรดาคริตศาสนิคชนพึงปฏิบัติในชีวิต ดังนี้ การบริจาคดวงตาของตน จึงถือว่าเป็นภารกิจแห่งความรักฉันพี่น้องและเป็นการเสียสละและกุศลที่สมควรได้รับ”

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสาร ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากสถาบันหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมาย โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าในการที่จะบอกกล่าวทำความเข้าใจ สร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดี เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีและภาพลักษณ์ที่ดีกับองค์กร อันนำไปสู่การสนับสนุนและร่วมมือจากประชาชน

การสร้างสรรค์งานเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ใดๆ จะต้องเป็นไปเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการประชาสัมพันธ์เป็นสำคัญ ดังนั้น ก่อนลงมือเขียนจะต้องมีการวางแผนและกำหนดไว้ล่วงหน้าเสมอว่า

–                   ต้องการให้ใครได้รับข่าวสาร

–                   เพื่อวัตถุประสงค์อะไร

–                   ใช้กลยุทธ์ใดในการสื่อสารให้ประสบความสำเร็จ

การเขียนมีความสำคัญอย่างไร

ในงานประชาสัมพันธ์ การเขียนเป็นงานพื้นฐานหรืองานสำคัญแรกสุดของนักประชาสัมพันธ์ที่จะต้องทำเป็นประจำ ได้แก่       การเขียนข่าวแจก บทความ บทสัมภาษณ์ ฯลฯ การเขียนเป็นทักษะหนึ่งซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งสาร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารของหน่วยงานหรือองค์กรสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง  และคงทนถาวรกว่าการพูด โดยผ่านสื่อประเภทต่างๆ

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์แตกต่างกับการเขียนทั่วไปอย่างไร พิจารณาได้จากประเด็น ดังนี้

ประเด็นการเขียนทั่วไปการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์วัตถุประสงค์

 

ให้ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิงมีวัตถุประสงค์มากกว่านั้น คือ เพื่อสร้างการยอมรับ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความสัมพันธ์อันดี และแก้ไขความเข้าใจผิด เป็นต้นการใช้ภาษาความไพเราะสละสลวยเป็นสำคัญมุ่งเลือกสรรถ้อยคำที่มีคุณภาพในการสื่อความหมายได้ชัดเจน และมุ่งโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านเห็นภาพและคล้อยตามผู้เขียนเขียนในนามผู้เขียนเองเขียนในนามของหน่วยงานหรือองค์กรสื่อที่เผยแพร่เนื้อหาและลักษณะการใช้ภาษาจะเป็นตัวกำหนดว่าจะเลือกใช้สื่ออะไรสื่อจะเป็นตัวกำหนดลักษณะการใช้ภาษาในงานเขียน เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์จะต้องพิจารณาเลือกใช้สื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงานหรือองค์กร รวมทั้งต้องพิจารณาถึงงบประมาณขององค์กรประกอบด้วยประเด็นการเขียนทั่วไปการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์แง่มุมเนื้อหาที่เสนอมักเสนอเนื้อหาในแง่มุมทั้งที่เป็นบวกและลบนำเสนอแง่มุมเนื้อหาในเชิงบวกหรือเชิงสร้างสรรค์สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรเป็นหลัก

 

วัตถุประสงค์ของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนประชาสัมพันธ์เพื่อเสนอแนวคิดขององค์กร มีวัตถุประสงค์พื้นฐาน 6 ประการ คือ

1. การเขียนเพื่อบอกกล่าวให้ทราบ 

เป็นการเขียนเพื่อการเผยแพร่ (publicity) ด้วยการให้ข้อมูล (information) ข้อเท็จจริง (fact) แก่กลุ่มประชาชนเป้าหมาย เพื่อให้รับรู้ว่าองค์กรทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อใด เพื่ออะไร เพราะอะไร ที่ไหน เป็นต้น

2. การเขียนเพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับ

ส่วนใหญ่เป็นการเขียนลักษณะโน้มน้าว ชักจูงให้ประชาชนคล้อยตาม  โดยกล่าวถึงส่วนดีให้เห็นชัดเจน ถึงการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย สังคมและประเทศชาติ เพื่อสร้างความเชื่อถือศรัทธา

3. การเขียนเพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด 

เป็นการเขียนแบบอธิบาย แถลงการณ์ชี้แจงอย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ โดยไม่เกิดความสงสัยหรือหลงเชื่อในข่าวลือ ดังนั้นอาจต้องใช้ถ้อยคำและอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้รับสาร

4. การเขียนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี 

เป็นการนำจุดเด่นขององค์กรมากล่าว เพื่อสร้างความเลื่อมใสศรัทธาหรือภาพลักษณ์ที่ดี โดยเลือกใช้คำที่เหมาะสม มีพลัง กระตุ้นให้เกิดภาพคล้อยตาม แต่ไม่ใช่เป็นการโอ้อวดหรือโฆษณาชวนเชื่อ

5. การเขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี 

เป็นการเขียนที่มุ่งเน้นไปในการสร้างความรัก ความผูกพันและการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานกับกลุ่มประชาชนเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกองค์กร

6. การเขียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด 

เป็นการเขียนเพื่อส่งเสริมให้สินค้าหรือบริการเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น

ประเภทของข้อความในการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์โดยทั่วไปนิยมใช้ข้อความหลายๆ ประเภทผสมผสานกัน ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการเขียนนั้นๆ เป็นหลัก

 

ประเภทของข้อความในการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1. การเขียนแบบบรรยาย

เป็นการเขียนเล่าเหตุการณ์หรือเล่าเรื่องโดยบรรยายตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เพื่อบอกกล่าวหรือให้ความรู้

ลักษณะการเขียน 

– เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริง

– มีการเรียบเรียงความคิดอย่างต่อเนื่อง สัมพันธ์กัน

– ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด ชัดเจน อาจมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เรื่องเด่นชัดขึ้น

2. การเขียนแบบพรรณนา

เป็นการเขียนบอกลักษณะหรือเรื่องราว โดยการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการเพื่อให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์และคล้อยตาม ส่วนใหญ่เป็นการพรรณนาถึงความงามทั้งทางศิลปะและความงามของธรรมชาติ มักใช้คำอุปมาอุปไมยโวหารเพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกให้เห็นภาพอย่างชัดเจน

3. การเขียนแบบจูงใจ

เป็นการเขียนเพื่อเชิญชวน ชักจูงใจ โน้มน้าวให้คล้อยตาม เห็นดีเห็นงาม ลักษณะการเขียนจะมีการยกเหตุผลประกอบ น่าเชื่อถือ หากเป็นคำขวัญมักมีการเล่นคำ สำนวนที่คล้องจอง กระชับ เพื่อให้จดจำง่าย

4. การเขียนแบบอธิบาย

เป็นการเขียนแบบอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย เช่น อธิบายกระบวนการผลิตสินค้า วิธีการใช้ยา เป็นต้น เน้นการนำเสนอข้อมูลรายละเอียด ควรอธิบายโดยแบ่งเป็นย่อหน้าย่อยๆ หรือเขียนอธิบายเป็นข้อๆ

5. การเขียนแบบอภิปราย

เป็นการเขียนแสดงความคิดที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจแสดงความคิดเห็นเพียงอย่างเดียวหรืออาจให้คำแนะนำ ข้อคิด เช่น บทวิจารณ์ เป็นต้น

การเขียนบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์

บทความเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นความเรียงที่นักประชาสัมพันธ์เขียนขึ้น โดยหยิบยกความรู้ที่เป็นประโยชน์และเป็นประเด็นที่สนใจของกลุ่มเป้าหมายมาเขียน ซึ่งจะเผยแพร่ทางสื่อภายในและภายนอกองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูล ความรู้ หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ และแสดงความห่วงใย ซึ่งจะสร้างให้เกิดความเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

ความแตกต่างของบทความเพื่อประชาสัมพันธ์กับข่าวแจก

มีโครงสร้างการเขียนเหมือนกับเรียงความหรือแบบพีระมิดหัวตั้ง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

  • บทความเพื่อการประชาสัมพันธ์เขียนขึ้นเพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องหรือเหตุการณ์ใดๆ
  • เนื้อเรื่องควรตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้รับสาร รวมทั้ง มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์
  • มีวิธีการเขียนที่ละเอียดแยบยลลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อชวนให้อ่านหรือติดตามเนื้อเรื่อง

 ประเภทของบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์

 แบ่งออกอย่างกว้างๆ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

–                   บทความประชาสัมพันธ์เชิงสาระ

–                   บทความประชาสัมพันธ์เชิงปกิณกะ

แต่ถ้าแบ่งตามจุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ อาจแบ่งได้เป็น  4 ประเภท คือ

– บทความแนะนำ ถ้าเป็นบทความที่มุ่งให้ความรู้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรืองใดเรื่องหนึ่ง หรืออธิบายวิธีการ กระบวนการในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้ เช่น แนะนำหน่วยงาน แนะนำกระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพสินค้า แนะนำการดูแลรักษารถยนต์ในช่วงฤดูฝน ฯลฯ

– บทความแสดงความคิดเห็น เป็นบทความที่มุ่งแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ปรากฏเกี่ยวข้องกับองค์กรหรือสังคม นอกจากนี้อาจเสนอความคิดใหม่ที่แปลกไปจากเดิมและน่าสนใจก็ได้ บทความประเภทนี้สามารถสอดแทรกความคิดเห็นในเชิงชักจูงใจได้เป็นอย่างดี และช่วยกระตุ้นให้คนคิดคล้อยตามหรือกระทำตามได้

– บทความวิชาการ เป็นบทความที่มุ่งถ่ายทอดความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยมีข้อมูลหลักฐานอ้างอิง หรืองานวิจัยที่น่าเชื่อถือมาประกอบ นักPRมักเลือกนำเสนอบทความประเภทนี้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับในฐานะความเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ธนาคารมักนำเสนอบทความวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทย เป็นต้น

– บทความปกิณกะ เป็นบทความเบ็ดเตล็ดที่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายหรือแนวทางการเขียน สามารถนำเสนอได้อย่างอิสระขึ้นอยู่กับความสนใจของสังคมและความถนัดของผู้เขียน จะไม่เน้นหนักทางวิชาการแต่จะมุ่งให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลินจากการรับข่าวสารนั้นๆ มากกว่า

หลักการเขียนบทความ

การเขียนบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย จุดมุ่งหมาย และลงมือค้นคว้าข้อมูลก่อนนำมาเรียบเรียง ซึ่งโครงสร้างของบทความประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เกริ่นนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

1. เรื่องที่นำมาเขียนควรเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคมและกลุ่มประชาชนเป้าหมายที่ต้องการให้ได้รับรู้

2. เนื้อเรื่องต้องมีสาระชัดเจน สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน และมีข้อมูลหลักฐานสนับสนุนหรืออ้างอิง

3. เนื้อเรื่องไม่ยาวจนเกินไป (ประมาณ1-3 หน้า) ยกเว้นกรณีบทความทางวิชาการ

4. โดยทั่วไปมักใช้ภาษากึ่งแบบแผน ใช้คำและประโยคที่ชัดเจน เข้าใจง่าย

5. แทรกข้อคิดเห็นหรือทัศนะที่เด่นชัด เน้นย้ำประเด็นสำคัญหรือสาระสำคัญที่โดดเด่น

6. ตั้งชื่อเรื่องเหมาะสมสะท้อนประเด็นสำคัญของเรื่อง ให้น่าสนใจและจดจำง่าย

 

การเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์

สารคดี  เป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมที่ผู้เขียนมีเจตนาที่จะเสนอสาระที่เป็นจริงตามข้อเท็จจริง  และเหตุการณ์ที่ปรากฏ ขึ้นจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความคิด ความกระจ่าง      แต่ในขณะเดียวกันผู้เขียนก็จะต้องสร้างสรรค์ผลงานของตนอย่างมีศิลปะมีวิธีการเสนอเรื่องให้เกิดรส เสมือนหนึ่งผู้อ่านมีส่วนร่วมรู้เรื่องหรือเหตุการณ์นั้นๆ จนก่อให้เกิดความบันเทิงใจหรือความประทับใจ

ประเภทของสารคดี

ประเภทของสารคดีที่เลือกนำเสนอเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นสารคดีประเภททั่วๆไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนสำหรับงานประชาสัมพันธ์ จึงขอจำแนกประเภทของสารคดีที่ใช้ประโยชน์ในงานประชาสัมพันธ์ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. สารคดีท่องเที่ยว

การเขียนสารคดีประเภทนี้ได้รับความนิยมจากหน่วยงานจำนวนมาก แม้ว่าหน่วยงานนั้นๆจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรงก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะสามารถช่วยให้สาระและสร้างความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี

สารคดีประเภทนี้มุ่งให้สาระ ข้อมูล และจินตนาการที่สนุกสนานเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยว โดยถ่ายทอดในลักษณะเล่าเรื่องจากประสบการณ์ เช่น เล่าถึงสถานที่ท่องเที่ยวชายทะเล ภูเขา น้ำตก ฯลฯ

2. สารคดีประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม

เป็นสารคดีที่มุ่งให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเกี่ยวกับภูมิหลังอดีต ความเป็นมา และความสำคัญของสถานที่หรือสิ่งของที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับพระแก้วมรกต วิถีชีวิตของชุมชน ฯลฯ

3. สารคดีบุคคล

เป็นสารคดีที่นำเสนอเรื่องราวของบุคคล โดยบอกเล่าถึงชีวประวัติและชีวิตความเป็นอยู่ที่สะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพ ความคิด ทัศนคติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต

 

4. สารคดีโอกาสพิเศษ

การเขียนสารคดีประเภทนี้จะเป็นไปตามวาระโอกาสพิเศษหรือฤดูกาล เช่น โอกาสเข้าพรรษา วาระฉลองครบรอบ 50 ปีขององค์กร เทศกาลสงกรานต์ ฯลฯ

จุดมุ่งหมายของการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์

  1. 1.              เพื่อเสนอข่าวสารและข้อเท็จจริง

ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่นำมาเขียนอาจจะเกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังจะเกิดขึ้น และผู้เขียนนำมาเล่าจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนศึกษาค้นคว้า รวบรวมมา หรือประสบด้วยตัวเอง เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีเชิงประวัติศาสตร์ ฯลฯ

2. เพื่อเสนอความคิดเห็นและให้คำแนะนำ

สารคดีสามารถนำเสนอความคิดเห็นและให้คำแนะนำประกอบได้ เพื่อให้ผู้อ่านช่วยกันปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง อันจะก่อเกิดประโยชน์แก่องค์กร สังคมหรือส่วนรวม

3. เพื่อให้ความรู้

ความรู้ที่นำเสนออาจเป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชา เช่น ทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์หรือความรู้ทั่วไป รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับองค์กรด้วย เช่น ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ความรู้เกี่ยวกับการเจียระไนพลอย เป็นต้น

4. เพื่อให้ความเพลิดเพลิน

สารคดีที่ไม่มีสาระวิชาการมากเกินไป จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และสนองความต้องการของผู้อ่านได้มาก เพราะผู้อ่านได้สาระความรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน เพลิดเพลินกับเรื่องที่อ่าน เช่น สารคดีเชิงท่องเที่ยว พรรณนาความสวยความงาม สถานที่แปลกๆ

ขั้นตอนการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์

1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

ก่อนเริ่มเขียนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการเขียนก่อนว่าจะเขียนสารคดีนี้เพื่ออะไร เช่น

– เขียนเพื่อบอกกล่าวให้ทราบ

– เขียนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี

– เขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี

– เขียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด

2. กำหนดกลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย

ต้องทราบว่าใครเป็นผู้อ่าน เพื่อจะได้เลือกใช้ภาษาและรูปแบบการนำเสนอได้เหมาะสม

 

3. กำหนดเนื้อหาสาระ

กำหนดขอบข่ายเนื้อหาว่าจะให้ผู้อ่านรับรู้เรื่องราวในแง่มุมใดบ้าง หรือประเด็นอะไรบ้าง

4. กำหนดรูปแบบการนำเสนอ

วางโครงเรื่องและกำหนดโครงสร้างก่อนลงมือเขียน ว่าจะใช้กลวิธีในการเขียนหรือนำเสนออย่างไร

5. ค้นหาข้อมูลประกอบการเขียน

เตรียมรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดที่จะใช้ประกอบการเขียน

6. การยกร่างต้นฉบับ

เป็นขั้นการลงมือเขียนว่า จะเขียนตอนไหน ใช้เวลากี่วัน เป็นต้น

7. การทดสอบต้นฉบับ

เป็นขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพการเขียนของงาน โดยการให้เพื่อนอ่านหรือบุคคลที่ใกล้เคียงกลุ่มเป้าหมายอ่าน

8. การเผยแพร่ต้นฉบับ

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำงาน คือ นำงานเขียนสารคดีออกเผยแพร่ทางสื่อหรือช่องทางที่เหมาะสม

องค์ประกอบหรือโครงสร้างของการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์

1. ชื่อเรื่อง

2. คำนำ หรือความนำ

3. เนื้อเรื่อง

4. สรุป

ภาพประกอบการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์  ** จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ และเชื่อถือเรื่องราวสารคดีมากขึ้น**

บรรณานุกรม

สุตตมา  แสงวิเชียร.การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ . เข้าถึงได้จาก

//dusit.ac.th/~msportfolio/public/adviser/175/Presentation%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C.ppt (30 ตุลาคม 2556)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ