จง อธิบาย ลำดับ ขั้น ตอน ใน การ ผลิต สินค้า และ บริการ

กระบวนการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง มีขั้นตอนการทำงานพร้อมทั้งเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนดังต่อไปนี้

จงทำการสร้างไดอะแกรมแสดงความสัมพันธ์ลำดับก่อนหลัง (Precedence Diagram) ของการทำงานข้างต้น

รอบเวลาการผลิต (Cycle Time ,Tc)

            ช่วงเวลาระหว่างงานแต่ละหน่วยจะออกจากสายการผลิต ในทางปฏิบัติจะเป็นค่าเวลาที่สูงที่สุดในการทำงานของสถานีงานใดสถานีงานหนึ่ง โดยคิดเทียบกับทุกสถานีงานในสายการผลิตนั้นๆ ดังรูป

จง อธิบาย ลำดับ ขั้น ตอน ใน การ ผลิต สินค้า และ บริการ

รูปแสดงการหารอบเวลาการผลิตในสายการผลิต

แสดงเป็นสมการคณิตศาสตร์ได้ดังสมการ (1)

            Tc  = Max Tsi                                          …………….(1)

เมื่อ Tsi แทนด้วยเวลางานของสถานีงาน i

ค่าของรอบเวลาการผลิตนั้นมีประโยชน์อย่างมากสำหรับโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนงานการวางแผนการผลิต, การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนการวางผังโรงงาน

เวลางานของสถานีงาน (Workstation Process Time ,Tsi)

เวลาที่ต้องใช้ในการทำงานในสถานีงาน โดยหาได้จากการนำเวลางานย่อยทั้งหมดในงานเดียวกันที่ทำในสถานีงานมารวมกัน และเวลางานของสถานีงานใดๆในสายการผลิตจะไม่มีค่าเวลามากกว่ารอบเวลาการผลิตของสายการผลิตนั้นๆ

จง อธิบาย ลำดับ ขั้น ตอน ใน การ ผลิต สินค้า และ บริการ

รูปแสดงเวลาของสถานีงานและรอบเวลาการผลิต

จง อธิบาย ลำดับ ขั้น ตอน ใน การ ผลิต สินค้า และ บริการ

รูปแสดงงานย่อยในสถานีงานของสายการผลิต

แทคไทม์ (Takt Time ,Tk)

            แทคไทม์ คืออัตราเวลาที่ต้องการในการผลิตสินค้า 1 หน่วยเพื่อให้การผลิตสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ มีจุดประสงค์เพื่อทำให้การผลิตนั้นสอดคล้องกันกับปริมาณความต้องการของสินค้าในตลาด สูตรสำหรับการคำนวณหาค่าแทคไทมน์ เป็นดังสมการ (2)

Tk = (ประสิทธิภาพสายการผลิต * เวลาการทำงาน) / ยอดการผลิตที่ต้องการ    ……(2)

จากความเข้าใจของรอบเวลาการผลิตและแทคไทม์ จะเห็นได้ว่า แทคไทม์นั้นหามาจากความต้องการของลูกค้า ส่วนรอบเวลาการผลิตนั้นหามาจากเวลาการผลิตในสายการผลิต ดังนั้นหากรอบเวลาการผลิตมีค่าสูงกว่าค่าแทคไทม์ที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าโรงงานจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เป็นที่มาของการทำงานล่วงเวลาเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามกำหนดส่งของลูกค้า จะทำให้ค่าใช้จ่ายของทางโรงงานมีค่าสูงขึ้น ในการจัดสมดุลสายการผลิตจึงมีความจำเป็นในการนำค่าแทคไทม์มาเป็นตัวกำหนดในการคำนวณการจัดสมดุลสายการผลิต เพื่อให้สายการผลิตสามารถตอบสนองความต้องการสินค้าได้ แต่ในทางปฏิบัติอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถนำผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดสมดุลสายการผลิตไปใช้ได้ ทำให้ค่ารอบเวลาการผลิตมีค่าสูงกว่าค่าของแทคไทม์ หากเป็นเช่นนั้นวิศวกรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องพยายามปรับปรุงสายการผลิตเพื่อลดเวลาของรอบเวลาการผลิตให้ลงมาน้อยกว่าหรือเท่ากับเวลาแทคไทม์ที่กำหนด เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการสินค้าของตลาดได้

จง อธิบาย ลำดับ ขั้น ตอน ใน การ ผลิต สินค้า และ บริการ

รูปกราฟแท่งแสดงกรณีที่รอบเวลาการผลิตของสายการผลิตสูงกว่าเวลาแทคไทม์

         จากภาพหากโรงงานแห่งนี้มีแทคไทม์อยู่ที่ 72 วินาที แสดงว่าใน 1 เดือนโรงงานต้องผลิตสินค้าให้ได้ 10,000 ตัวต่อเดือน (1 เดือนทำงาน 25 วัน และ 1 วันทำงาน 8 ชั่วโมง) แต่รอบเวลาการผลิตของสายการผลิตนี้อยู่ที่ 80 วินาที แสดงว่าโรงงานสามารถผลิตสินค้าได้จริงเป็นจำนวนเพียง 9,000 ตัวต่อเดือนเท่านั้น สรุปว่าโรงงานยังขาดสินค้าอีก 1,000 ตัวต่อเดือน หากทางโรงงานต้องการผลิตสินค้าให้ได้ตามกำหนด โรงงานจึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มการทำงานล่วงเวลา ซึ่งเป็นการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นจากค่าใช้จ่ายปกติ

ตัวอย่างที่ 3

โรงงานแห่งหนึ่งมีการผลิตสินค้า C001 โดยผ่านสายการผลิต C อันประกอบด้วยสถานีงานทั้งหมด 5 สถานีงาน และมีรายละเอียดในการดำเนินการดังต่อไปนี้

จง อธิบาย ลำดับ ขั้น ตอน ใน การ ผลิต สินค้า และ บริการ

หากในเดือนมกราคม มียอดการสั่งสินค้า C001 จำนวน 600 ชิ้น จงตอบคำถามดังต่อไปนี้

  • รอบเวลาการผลิตของสายการผลิต C เป็นเท่าไหร่
  • แทคไทม์ของการสั่งสินค้า C001 ประจำเดือนมกราคมมีค่าเท่าไหร่
  • โรงงานสามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงงานมีเวลาทำงานทั้งหมด 25 วันทำงาน แต่ละวันทำงาน 8 ชั่วโมง/วันทำงาน และและสิทธิภาพการผลิตของสายการผลิต C เป็น 90%

วิธีทำ

รอบเวลาการผลิตของสายการผลิต C หาได้จากสมการ Tc  = Max Tsi

ดังนั้นรอบเวลาการผลิตของสายการผลิต C ได้แก่ 20 นาที

            แทคไทม์สามารถหาได้จากสมการ

 Tk = (ประสิทธิภาพสายการผลิต * เวลาการทำงาน) / ยอดการผลิตที่ต้องการ

โดย

ประสิทธิภาพสายการผลิต = 0.90

เวลาการทำงาน = 60 * 8 * 25 = 1,200 นาที

ยอดการผลิตที่ต้องการ = 600 ชิ้น

ดังนั้น Tk = (0.90 * 1,200)/600 = 18 นาที/ชิ้น

      โรงงานไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้าเพราะ รอบเวลาการผลิตของสายการผลิต C มีค่ามากกว่าเวลาแทคไทม์ที่กำหนด (20 > 18)

การหาจำนวนต่ำที่สุดของสถานีการผลิตที่ต้องการ

            เมื่อมีการกำหนดงานย่อย และความสัมพันธ์ก่อนหลังของงานย่อยทุกงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปในการจัดสมดุลสายการผลิตได้แก่ การคำนวณหาจำนวนต่ำที่สุดของสถานีการผลิตที่ต้องการ โดยสามารถคำนวณได้จากสมการ (3)

 จำนวนสถานีการผลิตต่ำที่สุด = {(เวลาทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตต่อหน่วย *ยอดการผลิตที่ต้องการ)/เวลาการทำงานที่มี }   ……(3)

            จำนวนสถานีงานต่ำที่สุดนี้เป็นค่าทางทฤษฎี โดยส่วนมากเมื่อทำการจัดสมดุลสายการผลิตจะใช้จำนวนสถานีงานที่มากกว่าจำนวนสถานีงานต่ำที่สุด แต่จะไม่น้อยกว่าจำนวนสถานีงานต่ำที่สุด

3. กำหนดงานย่อยให้กับสถานีงาน

เป็นการกำหนดว่าในแต่ละสถานีงานจะต้องมีงานย่อยใดบ้าง โดยในการพิจารณากำหนดงานย่อยลงในสถานีงานจะต้องนำข้อจำกัดก่อนหลังของการทำงาน(พิจารณาได้จาก Precedence Diagram) และในการเลือกงานย่อยเข้าสถานีงานก็มีวิธีการเลือกได้หลายรูปแบบ กฎเกณฑ์ที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์เชิงฮิวริสติกส์ และกฎที่นิยมใช้มีมากมายเช่น

  • กฎเวลาในการทำงานนานที่สุด (Longest Operation Time : LPT) คือจะพิจารณางานย่อยที่มีเวลาในการทำงานมากที่สุดเข้าสู่สถานีงานก่อน
  • กฎเวลาในการทำงานน้อยที่สุด (Short Operation Time : SPT) คือจะพิจารณางานย่อยที่มีเวลาในการทำงานน้อยที่สุดเข้าสู่สถานีงานก่อน
  • กฎงานที่มีงานตามมากที่สุด (Most Number of Following Task) คือจะให้ความสำคัญกับงานย่อยที่มีงานย่อยอื่นๆตามก่อน

โดยในการพิจารณาการขึ้นสถานีงานใหม่จะพิจารณาจากเวลารวมของงานย่อยในสถานีงานนั้นๆจะต้องไม่มากกว่าอัตราเวลาที่ต้องการในการผลิตสินค้า 1 หน่วย หากมากกว่าจะต้องทำการขึ้นสถานีงานใหม่

4. การวัดผลงานในการจัดสมดุลสายการผลิต

            หน่วยวัดผลงานในการจัดสมดุลสายการผลิตมีด้วยกันหลายรูปแบบ ในที่นี้จะกล่าวถึงหน่วยวัดผลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

  • ประสิทธิภาพสายการผลิต (Line Efficiency)

ประสิทธิภาพสายการผลิต = ผลรวมประสิทธิภาพในสถานีงานทั้งหมด / จำนวนสถานีงานทั้งหมด

  • ประสิทธิภาพในสถานีงาน (Work Station Efficiency)

ประสิทธิภาพในสถานีงาน = ผลรวมเวลาการทำงานในสถานีงาน * 100 / รอบเวลาการผลิต

Work Station Efficiency (%) =  Flow Time in Work Station * 100 / Cycle Time

  • ตัววัดความสูญเปล่า (Balance Delay or Balance Loss)

ตัววัดความสูญเปล่า คือเวลาสูญเปล่าอันเกิดจากการว่างงานของสถานีงาน ตัววัดความสูญเปล่ามักถูกใช้เป็นตัววัดความสมบูรณ์ของการจัดสายการผลิตในกรณีที่จัดสมดุลของสายการผลิตได้อย่างสมบูรณ์เวลางานที่แต่ละสถานีงานจะเท่ากับ รอบเวลาการผลิต และทุกสถานีงานต้องมีเวลางานเท่ากัน แต่ในทางปฏิบัตินั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากข้อจำกัดในหลายๆด้าน

Balance Delay = (nTc – Twc) / nTc

ieProsoft โซลูชั่นครบวงจรด้านการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรม

บริษัท ไออี บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด (IEBS) เป็นผู้ให้บริการระบบซอฟแวร์ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม การวางแผนการผลิตโดยลงลึกไปจนถึงการจัดตารางการผลิต มาตรฐานการการทำงาน การจัดสมดุลการผลิต รวมไปถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า ครอบคุลมการบริการในด้านต่างๆที่สำคัญต่อการนำระบบไปใช้ในภาคธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดูแลตั้งแต่การติดตั้ง การให้ปรึกษา การนำไปใช้งานจริง (Implementation) รวมถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ เราสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค ดิจิทัล ด้วยเครื่องมือในกลุ่ม ieProsoft อาทิเช่น ieSmart WI, ieLineBalancing, ieInventory และ ieInventory ซึ่งซอฟแวร์ทั้งหมดนี้ เป็นตัวช่วยให้สามารถบริหารการจัดการผลิตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำไรให้บริษัทได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน IEBS มีการให้บริการซอฟแวร์ทั้งแบบบริการผ่านซอฟต์แวร์แบบ สแตนด์อโลน (Stand-alone Software) ไปจนถึงชุดซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ (Full-Blown) แบบคลาวด์โซลูชั่น (Cloud Solution) ได้แก่

  • ieSmart WI: โปรแกรมสร้างมาตรฐานการทำงาน ที่ช่วยให้การสร้างงานฐานในโรงงานง่ายขึ้น เวลาได้มาตรฐานที่ชัดเจน สะดวก และเป็นองค์ความรู้สำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี
  • ieLineBalancing: โปรแกรมจัดสมดุลสายการผลิต เหมาะสำหรับวิศวกร หรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตใช้ในการจัดวางแผนสายการผลิต ภายใต้ความต้องการที่ไม่แน่นอน และกำลังคนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา
  • ieInventory: โปรแกรมจัดการคลังสินค้า ที่ช่วยให้การบริหารคลังในระดับอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ด้วยฐานข้อมูลบนคลาวด์
  • ieScheduling : โปรแกรมจัดตารางการผลิต เครื่องมือช่วยในการจัดการผลิตในระดับปฎิบัติการ ควบคุม และติดตามงานแบบทันเวลา (Realtime) และประเมินกำลังการผลิตได้รวดเร็ว