ปัจจัยที่ขัดขวางเทคโนโลยี หมายถึง

คนเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นผู้ที่ใช้สติปัญญา ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ออกแบบ วิเคราะห์ ตัดสินใจในกระบวนการเทคโนโลยี คนจึงเป็นปัจจัยแรกในการทำงานทางเทคโนโลยีที่จะขาดไม่ได้

2. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information)

ความรู้ทุกสาขาวิชาของมนุษย์เป็นพื้นฐานของการสร้างเทคโนโลยี การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์  การแปลความหมาย การใช้และประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญของการทำงานด้านเทคโนโลยี

3. วัสดุ (Materials)

การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ย่อมต้องใช้วัสดุ วัสดุแต่ละประเภทต่างก็มีสมบัติที่แตกต่างกัน การตัดสินใจเลือกใช้วัสดุประเภทต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน เช่น ไม้มีน้ำหนักเบา ทำให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการได้ง่ายแต่ไม่ทนต่อความชื้น โฟมและพลาสติกมีน้ำหนักเบา ขึ้นรูปง่าย ราคาถูกแต่ไม่ทนกับสารเคมีบางชนิด เหล็กมีความแข็งแกร่งสูง แต่มีน้ำหนักมาก เซรามิกส์มีความแข็งสูงมาก ทนต่อสารเคมี แต่ก็เปราะมากเช่นกัน วัสดุเหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรทางเทคโนโลยี

4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (Machines and Tools) 

เครื่องมือ คือ สิ่งที่ช่วยในการเปลี่ยนรูปร่าง  ประสานและประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าเป็นชิ้นงานหรือทำให้เกิดผลสำเร็จตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น มีด กรรไกร เลื่อย ค้อน สว่าน หัวแร้งบัดกรี จอบ เสียม เครื่องขึ้นรูปพลาสติก เครื่องตัดเหล็ก ฯลฯ

5. พลังงาน (Energy)

พลังงานต่าง ๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานกลพลังงานความร้อน พลังงานแสง ฯลฯ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการทำงาน เพราะการผลิตหรือสร้างสิ่งของต้องอาศัยกำลังงานที่จะทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่าง ๆ

6. ทุน (Capital) หรือทรัพย์สิน (Asset)

ทุน หมายถึง เงินทุนที่จะใช้ในกระบวนการเทคโนโลยี เทคโนโลยีบางอย่างต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก รวมถึงทรัพย์สินที่เป็นอาคาร สถานที่หรือที่ดิน

7. เวลา (Time)

เทคโนโลยีหลายระดับมีตั้งแต่แบบง่ายจนถึงแบบที่ซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยเวลาในการสร้างเทคโนโลยี เวลาจึงจัดเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง  ถ้าผู้ใช้เทคโนโลยี ไม่ต้องการเสียเวลาในการคิดค้นอาจรับเทคโนโลยี หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้สร้างเทคโนโลยี

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เราเรียกว่า “สถานการณ์เทคโนโลยี”

การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นคือ เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร

การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า “กระบวนการเทคโนโลยี”

กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน

กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
  2. รวบรวมข้อมูล(Information gathering)
  3. เลือกวิธีการ (Selection)
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
  5. ทดสอบ (Testing)
  6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
  7. ประเมินผล (Assessment)

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ

ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ

การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ

การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ

การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข

การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล

การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว นักเรียนรู้จักที่จะทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ย้อนกลับมาดู หรือแก้ไขได้ตามขั้นตอนที่ทำไปได้

การนำกระบวนการเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้น สามารถช่วยให้ผู้นำไปใช้เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ง่ายขึ้น โดยหากผู้อ่านท่านใดนสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลด เอกสารเผยแพร่ เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยี ได้ตามลิงค์ด้านล่าง

ทรัพยากรทางเทคโนโลยีในข้อใดเป็นปัจจัยสําคัญที่จะกําหนดผลสําเร็จของเทคโนโลยีได้

คนเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นผู้ที่ใช้สติปัญญา ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ออกแบบ วิเคราะห์ ตัดสินใจในกระบวนการเทคโนโลยี คนจึงเป็นปัจจัยแรกในการทำงานทางเทคโนโลยีที่จะขาดไม่ได้

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ระบบทางเทคโนโลยี มี 3 องค์ประกอบดังนี้.
ตัวป้อน (input).
กระบวนการ (process).
ผลผลิต (output).

ข้อใดคือความหมายของเทคโนโลยีที่ซับซ้อน

ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน คือ ระบบทางเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยระบบย่อย (subsystem) มากกว่า 1 ระบบ ที่ทางานสัมพันธ์กัน หากระบบย่อยส่วนใดทางานผิดพลาดจะส่งผลทาให้ระบบย่อยอื่นหรือระบบ ใหญ่ไม่สามารถท างานได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น ในระบบของตู้เย็นถ้าระบบการควบคุมความเย็นในห้องแช่แข็งไม่ ทางานก็จะทาให้ตู้เย็นเครื่องนั้นทางานได้ ...

ขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง

กระบวนการเทคโนโลยี มี 7 ขั้นตอนดังนี้.
กำหนดปัญหาหรือความต้องการ.
รวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาหรือสนองความต้องการ.
เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ.
ออกแบบและปฏิบัติการ.
ปรับปรุงและแก้ไข.
ประเมินผล.