คณะอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์

Journal of Criminology and Forensic Science, Royal Police Cadet Academy has continuously published articles related to justice system in order to promote and develop the knowledge about criminology and forensic science, justice system and other related topics. We also distribute academic publications and expand knowledge from lecturers, researchers and students at the national level. As the result, they can be used in academic references, practically applied in social work and contributed to the whole society.

คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ (Journal of Criminology and Forensic Science) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 โดยสามารถส่งบทความเข้ามาในระบบได้ตลอดทั้งปี 2566 ซึ่งวารสารจะแบ่งออกเป็น 2 ฉบับต่อปี ได้แก่ วารสารปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566) และ วารสารปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม - ธันวาคม 2566) ทั้งนี้วารสารเปิดรับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการโดยมีค่าธรรมเนียมในการพิจารณาบทความและตีพิมพ์บทความ จำนวน 3,000 บาท ต่อบทความ

ขั้นตอนการเตรียมและส่งบทความต้นฉบับมีรายละเอียดดังนี้

1. ศึกษานโยบายการจัดพิมพ์วารสารและคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความอย่างเคร่งครัด [Download]
2. การเตรียมบทความต้นฉบับประเภทบทความวิจัย [Download] หรือ บทความวิชาการ [Download]
3. การเตรียมประวัติผู้เขียนบทความ [Download]
4. การส่งไฟล์บทความต้นฉบับ (.docx) และไฟล์ประวัติผู้เขียน (.docx) ผ่านระบบ Online Submission บนเว็บไซต์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/login

ประกาศคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เรื่อง ค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์

ถ้าพูดถึงอาชีพที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกฎหมายจะนึกถึงอาชีพอะไรกันบ้างคะ อัยการ? ทนาย? ตำรวจ? แต่ยังมีอีกอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญในปัจจุบันและคนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นคือ “นักนิติวิทยาศาสตร์” เป็นการนำความรู้ทางวิทย์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรม โดยพิสูจน์หลักฐานในแต่ละคดีซึ่งจะขาดไปไม่ได้เลย เรามักเห็นตัวละครหลักในละคร/ซีรีส์แนวสืบสวนของต่างประเทศหลายเรื่องประกอบอาชีพนี้กัน แต่ยังไม่ค่อยแมสในไทยสักเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามเด็กสายวิทย์ที่อยากทำงานด้านกฎหมายควรรู้ไว้!

บทความ “เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ” ในวันนี้จึงขอนำเสนอเรื่องราวของ นักนิติวิทยาศาสตร์ ถ้าอยากรู้ว่าอาชีพนี้จะมีความน่าสนใจยังไง และมีที่ไหนเปิดสอนบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ  "นักนิติวิทยาศาสตร์"

เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ "นักนิติวิทยาศาสตร์"

แนะนำอาชีพ "นักนิติวิทยาศาสตร์"

การพิสูจน์หลักฐานในประเทศไทย คนมักรู้จักและมุ่งความสนใจไปที่ “แพทย์นิติเวช” มากกว่า “นิติวิทยาศาสตร์” แต่จริงๆ ทั้ง 2 อาชีพนี้มีหน้าที่ที่แตกต่างและมีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยแพทย์นิติเวชจะเน้นทำหน้าที่ตรวจสภาพศพเพื่อพิสูจน์คดีความ ซึ่งต้องนำความรู้ทางการแพทย์มาใช้ ในขณะที่นักนิติวิทยาศาสตร์ที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้ทำหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน ทั้งตรวจสถานที่เกิดเหตุและรวบรวมวัตถุพยาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาในคณะแพทยศาสตร์

นักนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Sciencist) เป็นอาชีพที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์ใช้ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคดีความ โดยตรวจสอบ บันทึก ถ่ายภาพ และรวบรวมวัตถุพยาน เช่น ศพ พันธุกรรม (DNA) ลายนิ้วมือ คราบเลือด ขนสัตว์ กลิ่นสารเคมี อาวุธปืน เอกสาร ภาพถ่าย และสิ่งของอื่นๆ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและเสื่อมสภาพ จากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการว่ามีหลักฐานชิ้นไหนเชื่อมโยงกับการกระทำความผิดได้บ้าง เพื่อตรวจพิสูจน์ยืนยันการกระทำความผิด สุดท้ายต้องจัดทำรายงาน และนำผลการตรวจพิสูจน์ส่งให้พนักงานสอบสวนนำไปใช้เป็นสำนวนคดีขึ้นสู่ชั้นศาล ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ในเบื้องต้นว่ามีสาเหตุการเสียชีวิตมาจากอะไร 

แม้จะไม่ค่อยแมสสักเท่าไหร่ แต่บุคลากรที่มีความสามารถทางนิติวิทยาศาสตร์ก็ยังเป็นที่ขาดแคลน หลายสถานศึกษายังคงมุ่งผลักดัน พัฒนาทักษะความรู้ และผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้โดยตรง เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเสถียรภาพทางกระบวนการยุติธรรมให้มั่นคงสืบไป

คุณสมบัติของคนที่จะทำอาชีพนี้

  • มีความละเอียดถี่ถ้วน  เพราะการวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานต้องใช้ความรอบคอบมากเป็นพิเศษ มิฉะนั้นผลการพิสูจน์อาจคาดเคลื่อนและส่งผลต่อรูปคดีได้
  • มีความถูกต้องแม่นยำ เพราะถ้าผู้ประกอบอาชีพนี้ไม่มีความรู้และความแม่นยำในการพิสูจน์หลักฐาน จะทำให้รูปคดีเกิดความเสียหายได้
  • มีความเที่ยงธรรม  หากกระบวนการพิสูจน์หลักฐานก่อนเข้าชั้นศาลไม่มีความเที่ยงธรรม มาพร้อมกับความอคติ ลำเอียง หรือไม่เที่ยงตรง จะทำให้กระบวนยุติธรรมกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่โปร่งใสอีกต่อไป
คณะอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์

ต้องจบคณะ/สาขาอะไร?

ในปัจจุบัน ป.ตรี ยังเปิดสอนเพียงไม่กี่แห่ง ได้วุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) แต่ส่วนใหญ่จะเปิดให้เรียนด้านนี้โดยตรงในระดับ ป.โท ขึ้นไปเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)  หากสนใจทางด้านนี้จริงๆ อาจต่อ ป.ตรี โดยตรงเลย หรือเรียนต่อ ป.ตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จากนั้นค่อยไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งในกรณีหลังพี่ขอแนะนำให้เรียนใน 4 หลักสูตรนี้ เพราะจะได้มีพื้นฐานนำไปต่อยอดได้ โดยเฉพาะสาขาด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้มากเป็นพิเศษ ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคอมพิวเตอร์ รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างสาขาด้านกฎหมาย

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  2. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)
  3. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
  4. หลักสูตรรัฐศาสตร์บัณฑิต (ร.บ.)

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

ระดับปริญญาตรี - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 

  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ม.รังสิต

ระดับปริญญาโท - หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
  • คณะสหเวชศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
  • บัณฑิตวิทยาลัย ม.เชียงใหม่
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  • คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
คณะอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์

ค่าเทอมของหลักสูตรนี้

ระดับปริญญาตรี - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 

  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ราชภัฏสวนสุนันทา : 21,050 บาท / เทอม
  • คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ม.รังสิต : 53,500 บาท / เทอม

ระดับปริญญาโท - หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน คลิก
  • คณะสหเวชศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ คลิก (หน้า 8)
  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล คลิก
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คลิก
  • บัณฑิตวิทยาลัย ม.เชียงใหม่ คลิก
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร คลิก
  • คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ คลิก
  • คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ คลิก

วิชาที่น่าจะเกี่ยวข้อง (อ้างอิงจากปี 2565)

ระดับปริญญาตรี

  • TGAT แทน GAT
  • A-Level แทน 7 วิชาสามัญ (คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, สังคมศึกษา, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ)
  • TPAT3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ แทน PAT2

แม้ว่าอาชีพนี้จะไม่ค่อยแมสในไทยสักเท่าไหร่ แต่ถ้าสนใจอาชีพนี้ลองศึกษาต่อดูก็ไม่เสียหาย ไม่ว่าจะเรียนในระดับ ป.ตรี หรือค่อยมาเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป โดยเงินเดือนของอาชีพนี้มักจะสตาร์ทอยู่ที่ 15,000 บาทค่ะ

คณะอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง

สาขาอาชญาวิทยา มีที่ไหนบ้าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม (หลักสูตร ป.โท , ป.เอก) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (หลักสูตร ป.โท , ป.เอก) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (หลักสูตร ป.โท)

คณะอาชญาวิทยา ม.รังสิต เรียนอะไรบ้าง

เรียนอะไรบ้าง การเรียนเป็นการบูรณาการศาสตร์ด้านอาชญาวิทยา (เช่น วิชาทฤษฎีอาชญาวิทยา การบริหารงานตำรวจ กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเมือง เหยื่อวิทยา เป็นต้น) และด้านนิติวิทยาศาสตร์ (เช่น การบริหารจัดการและตรวจสถานที่เกิดเหตุ การพิสูจน์หลักฐาน หลักการทางนิติวิทยาศาสตร์และกฎหมาย เป็นต้น)

คณะอาชญาวิทยา คืออะไร

อาชญาวิทยา (อังกฤษ: criminology) เป็นสาขาวิชาที่มุ่งศึกษาถึงการอธิบายสาเหตุของการกระทำความผิดของอาชญากร (ผู้กระทำผิด) ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลักๆ คือ การกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ, การกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางจิต และการกระทำความผิดที่เกิดจากปัจจัยทางสังคม

คณะอาชญาวิทยา ทํางานอะไร

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา - นักวิชาการยุติธรรมในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระและองค์กรระหว่างประเทศ - นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระและองค์กรระหว่างประเทศ - เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม