ยื่น ภ งด 51 ปี 2565 ออนไลน์

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

2. บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เสียภาษีจากกำไรสุทธิ(ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก

การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ต้องแนบเอกสารหรือไม่

ไม่ต้องแนบเอกสาร เว้นแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) ซึ่งเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริง จะต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 นั้น มีสองวิธี คือ

1. กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ ใช้กับ บริษัทฯ ทั่วไป กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ SME STart Up 

2. กำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก ใช้กับบริษัทดังต่อไปนี้

• บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประกาศอธิบดีกรมกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฯ ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีการแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินด้วย

ค่าปรับกรณียื่นแบบพ้นกำหนดระยะเวลา 

ค่าปรับอาญา – กรณี

          ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท แต่
          ยื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท

เงินเพิ่ม  – กรณีที่ผู้เสียภาษีมีภาษีที่ต้องชำระ จะมีภาระ “เงินเพิ่ม” โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้

        1) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
        2) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
        3) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 7 เป็นต้นไปให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ  จนกว่าเงินเพิ่มจะครบ 20% ของภาษี

ป.ล. ค่าปรับอาญาและเงินเพิ่มข้างต้น “ไม่สามารถถือเป็นรายจ่าย” ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

กรณียื่นภาษีขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันควร 

กรณียื่นแบบและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ แล้วแสดงประมาณการกำไรสุทธิ ขาดเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันควร

  ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด

การแก้ไขกรณี ยื่นแบบ ภ.ง.ด 51 ขาดไปเกินกว่า 25% ให้ยื่นเพิ่มเติมก่อนยื่น ภ.ง.ด 50 2565 ในเดือน พฤษภาคม 2565

หลายคนอาจจะสับสนว่า วิธียื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ปี 2564 มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เนื่องจากมีการ เลื่อนยื่นภาษีปี 2564 เกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้ปี 2564 นอกจากการคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ที่มีความซับซ้อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถูกเพิ่มเติมเข้าไปด้วยความกังวลในเรื่องของระยะเวลาการยื่นภาษี และ วิธีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กัน

Advertisements

สำหรับคนที่ไม่มีเวลา สามารถเลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้เลยครับ

ดังนั้นบทความในตอนนี้ ผมเลยตั้งใจสรุปขั้นตอนทั้งหมดที่ควรรู้มาให้อ่านกัน รวมถึงสามารถทำตามไปทีละขั้นตอนไดัเลยครับ แต่ก่อนอื่น เรามาเริ่มกันที่ความเข้าใจที่ถูกต้องของการยื่นแบบเสียก่อนครับ

ทำไมถึงควรยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ปี 2564
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

สำหรับคำถามนี้ ผมเคยตอบไว้ในบทความ วิธียื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ปี 2563 ผ่านอินเตอร์เน็ต ไปแล้วครั้งหนึ่งว่า เนื่องจากกรมสรรพากรมักขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่าง ๆ ให้เฉพาะการยื่นแบบผ่านเน็ต แต่กลับไม่ได้มีการขยายเวลาให้ในกรณีที่ยื่นแบบกระดาษเพิ่มเติม ซึ่งล่าสุดจากมาตรการเลื่อนยื่นภาษีปี 2564 ก็มีแนวทางการจัดการเช่นเดียวกัน

Advertisements

Advertisements

นอกจากนั้น ผมยังมองว่าในอนาคตต่อจากนี้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตน่าจะมาทดแทนการยื่นแบบแสดงรายการแบบกระดาษ (แบบเดิม) มากขึ้นเรื่อย ๆ ร่วมกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างการทำงานที่บ้าน (WFH) สนับสนุนให้เราทำธุรกรรมแบบออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรเตรียมพร้อมไว้ครับ และดีไม่ดีจะช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดเงินสด และต้นทุนในระยะยาวได้อีกด้วยครับ

ก่อนจะยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ตได้
ต้องมีชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่านเสียก่อน

อันดับแรกเลยสำหรับคนที่ต้องการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ไม่ว่าจะประเภทไหนก็ตามผ่านทางระบบของกรมสรรพากร ต้องมีการสมัครใช้บริการกันก่อนครับ ซึ่งสามารถสมัครใช้บริการได้ที่หัวข้อ การสมัครใช้บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ที่เวปไซด์กรมสรรพากรครับ

โดยการสมัครบริการยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน สามารถใช้วิธีแสกนส่งเอกสารทางอีเมลล์ให้กับทางกรมสรรพากรได้เลยครับ ซึ่งเอกสารที่จำเป็นต้องใช้นั้น มีดังต่อไปนี้

Advertisements

  • แบบ ภ.อ. 01 ที่ได้ลงทะเบียนไว้ พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันและประทับตรา (ถ้ามี)
  • ข้อตกลงในการยื่นแบบแสดงรายการ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจผูกพันและประทับตรา (ถ้ามี)
  • กรณีเป็นบุคคลธรรมดา แบบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอพร้อมลงลายมือชื่อรับรอง
  • กรณีเป็นนิติบุคคล แบบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันทุกคนและลงลายมือชื่อรับรอง
  • กรณีนำส่งเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ และมีการมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจ พร้อมแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มอบอำนาจ

และเมื่อเราส่งเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้รับอีเมลล์ตอบกลับ แจ้งชื่อผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน ให้สามารถเข้าสู่ระบบเพื่อยื่นแบบแสดงรายการผ่านอินเตอร์เน็ตภายใน 15 วันครับ

มาถึงตรงนี้ ถ้าใครที่เตรียมตัวและมีข้อมูลพร้อมแล้ว ทีนี้เราจะมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 51) ปี 2564 ผ่านอินเตอร์เน็ตกันเลยครับ

วิธียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ปี 2564
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของกรมสรรพากร

สำหรับขั้นตอนแรกของการยื่นแบบนั้น เราจะต้องเข้าไปที่หน้า ยื่นแบบออนไลน์ ของกรมสรรพากรกันก่อนครับ แล้วเลือกแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 ได้เลยครับ

Advertisements

หลังจากนั้นให้กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
เพื่อเข้าสู่ระบบการยื่นแบบแสดงรายการได้เลยครับ

เมื่อกรอกเรียบร้อยแล้ว
เราจะเข้าสู่หน้าการเลือกประเภทแบบแสดงรายการ

ตรงนี้ให้เลือกแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด. 51
แล้วกดปุ่ม “ยื่นแบบ” ได้เลยครับ

หลังจากนั้นจะเข้ามาที่ส่วนของการตรวจสอบข้อมูลบริษัทและห้างหุ้นส่วน
ตรงนี้ให้เราเช็คข้อมูลบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนให้ถูกต้องเสียก่อนครับ

หลังจากนั้นให้เลือกรอบระยะเวลาบัญชี และ วิธีการคำนวณภาษีครับ
ซึ่งโดยปกติเราจะเลือกวิธี กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ

สำหรับที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีไม่ถูก หรือ ยังไม่แน่ใจว่าต้องคำนวณอย่างไร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) หรือศึกษารายละเอียดได้จากคลิปด้านล่างนี้ครับ

แต่สำหรับคนที่เข้าใจแล้ว เรามาต่อกันที่ขั้นตอนต่อไปเลยครับ
นั่นคือการตรวจสอบข้อมูลกิจการและการยื่นแบบแสดงรายการ

โดยปกติแล้ว เราจะเลือกข้อ (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
และยื่นแบบ “ปกติ” (หากมีการยื่นไปแล้ว ระบบจะเลือก “ยื่นเพิ่มเติม” ให้อัตโนมัติครับ

หลังจากนั้นเรามีหน้าที่ต้องกรอกข้อมูลนักบัญชีครับ
ซึ่งได้แก่ข้อมูลชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวผู้เสียภาษี

ตรงนี้ให้กรอกข้อมูลประมาณการให้ถูกต้อง ตั้งแต่ประมาณการยอดขาย (รายรับ) ค่าใช้จ่าย และ ขาดทุนสุทธิที่ยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี เพื่อคำนวณหากึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิครับ โดยผมมีคำแนะนำสั้น ๆ ในส่วนนี้เพิ่มเติมให้ดังนี้ครับ

1. ประมาณการกำไรทั้งปีให้ได้ก่อน บางครั้งอาจจะประมาณจากตัวเลขรายได้ และ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก + ประมาณการส่วนที่เหลือครึ่งปีหลัง เมือนำมาลบกันก็จะได้กำไรประมาณการสำหรับปีนั้นๆ

2. หักออกด้วย ขาดทุนสุทธิที่มีสิทธิหักตามกฎหมาย หรือ รายได้ที่ยกเว้นภาษี (ถ้ามี)

3. หารสอง เพื่อให้รู้ว่า กำไรครึ่งปีเป็นเท่าไร แล้วนำไปคูณอัตราภาษี โดยปกติ คือ 20% แต่ถ้าเป็น SMEs ตามกฎหมาย คือ ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทจะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีลงไป

ถ้าคำนวณเรียบร้อยแล้ว ตรงนี้เราก็เลือก “อัตราภาษี” ได้เลยครับ
และถ้ามี ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของ 6 เดือนแรกก็ใส่ให้เรียบร้อยครับ

หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว เราจะมาเช็คข้อมูลตรงนี้อีกทีครับ
ถ้าหากยังไม่แน่ใจสามารถกด “บันทึกร่าง” ไว้ก่อนได้ครับ
แต่ถ้าชัวร์แล้วก็ไปต่อที่ “ตกลงยื่นแบบ” ได้เลยครับ

หลังจากนั้นเราจะเจอหน้านี้เพื่อคอนเฟิร์มอีกทีหนึ่งครับ
ให้เช็คแบบอีกครั้งเพื่อความชัวร์ หลังจากนั้นก็ “ยืนยันการยื่นแบบ” ครับ

หลังจากนั้นจะมาเจอหน้านี้ ถ้าหากไม่มีภาษีต้องจ่ายก็จะจบตรงนี้ครับ
แต่ถ้าหากแบบ ภ.ง.ด.51 ของเรามีภาษีที่ต้องจ่ายก็ไป “ชำระภาษี” ต่อครับ

มาถึงหน้านี้ ถ้าพร้อมจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีแล้ว
ก็ให้เลือกรายการแล้วกดปุ่ม “ชำระ” ต่อเลยครับ

ซึ่งวิธีการชำระเงินค่าภาษีนั้น ก็มีให้เลือกมากมายหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น QR Code , E-Payment, Credit Card, ATM หรือแม้แต่ชุดชำระภาษีที่เป็น Pay in Slip ไปจ่ายที่เคาน์เตอร์ธนาคาร (แต่ไม่มีการชำระผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแล้วนะครับ) ดังนั้น เลือกให้สะดวกกับเราที่สุดนะครับ และถ้าชำระเรียบร้อยแล้วก็อย่าลืมเข้าไปพิมพ์ใบเสร็จรับเงินมาเก็บไว้เป็นหลักฐานการชำระภาษีด้วยนะครับผม

สรุป

สำหรับการยื่นภาษีแบบ ภ.ง.ด. 51 ประจำปี 2564 ผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น จะเห็นว่าระบบใหม่กรอกง่ายขึ้น และมีความสะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกออนไลน์ไว้ได้ รวมถึงหน้าตาเมนูใช้งานก็เข้าใจได้ง่ายขึ้น เพียงแต่ว่าสิ่งที่ยากอาจจะเป็นเรื่องของการคำนวณที่ถูกต้อง และป้องกันไม่ให้เจอปัญหาการประมาณการขาดเกินมากกว่าครับ

สำหรับคนที่ยังงง ๆ อ่านแล้วไม่แน่ใจว่าทำถูกต้องไหม ผมแนะนำคลิปสอนยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ปี 2564 ในรูปแบบคลิปวีดีโอด้านล่างนี้เพิ่มเติมนะครับ คิดว่าน่าจะช่วยให้เห็นภาพและทำตามได้ง่ายขึ้นครับ

สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าบทความและคลิปนี้จะมีประโยชน์ในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (แบบ ภ.ง.ด. 51) ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป และช่วยให้ทุกคนยื่นได้อย่างถูกต้อง ไม่ล่าช้า และไม่มีปัญหาย้อนหลังใดๆ นะครับ

ขอให้ประมาณการกำไรได้อย่างถูกต้อง ไม่ขาดเกินครับ

TAXBugnoms


ภาษีเงินได้นิติบุคคล

TaxBugnoms

คือ นามปากกาของพรี่หนอม (ถนอม เกตุเอม) ผู้มีความเชื่อว่าภาษีเป็นเรื่องยาก แต่กลับชื่นชอบในการทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องเรียบง่าย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจในการใช้ชีวิต

ยื่นภาษีออนไลน์ ภงด.51 2565 ได้ถึงวันไหน

เช็คให้ชัวร์ "ระยะเวลาการยื่นภาษีครึ่งปี (เฉพาะการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต)" ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภ.ง.ด. 94 กำหนดยื่นแบบ วันนี้-10 ตุลาคม 2565. ภ.ง.ด. 51 กำหนดยื่นแบบ วันนี้ - 8 กันยายน 2565.

ภงด.51 ยื่นตอนไหน

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรอบระยะเวลาบัญชีครบ 12 เดือน มีหน้าที่ยื่นแบบฯ .ง.ด. 51 ภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้าย ของรอบระยะเวลา 6 เดือน (นับจากวันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี) การยื่นแบบฯ Online ผ่านระบบ E-FILING ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯ และชำาระภาษีออกไปอีก 8 วัน

ภงด 50 ยื่นตอนไหน

A 7 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จะต้องยื่นแบบฯ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ไม่ยื่น ภ งด 51 ได้ ไหม

Q18 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เกินกำหนด ต้องรับผิดอย่างไรบ้าง A18 : กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เกินกำหนดเวลาต้องรับผิด 1. ค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กำหนด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ