เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก

โดย จาก Garr Reynolds , Professor of Management and Design at Kansai Gaidai University, author, designer and world-renowned communications consultant

Garr นำเสนอ 10 วิธีที่จะทำให้การนำเสนอของเราน่าสนใจมากขึ้นด้วยวิธีต่อไปนี้

1. Turn off the computer : ปิดมือถือ คอมพิวเตอร์ ในช่วงเตรียมการ อย่าใช้เวลาไปกันการนั่งเสิร์ชเป็นชั่วโมงๆ ให้หันมาใช้ กระดาษและ post-it ในการเรียบเรียงความคิดแทน

2. Audience first! Your story is really their stories : ให้คำนึงถึงผู้ฟังเป็นที่ตั้ง เรื่องของเรา ก็คือเรื่องของเขา ต้องมีความเข้าอกเข้าใจคนฟังในขั้นตอนของการเตรียมการ และแสดงความรู้สึกนี้ ออกมาผ่านเรื่องราวที่เราเล่า

3. Have solid structure : เหมือนเวลาเราดูหนัง จริงๆ แล้วหนังที่เราดูนั้นมีโครงเรื่องที่แข็งแรงมาก แต่ในฐานะคนดู เราอาจจะไม่สังเกตสิ่งเหล่านั้น เพราะมัวแต่สนุก อินกับหนังอยู่ หรือกับเรื่องที่เราเล่า คนฟังก็มัวแต่ตั้งอกตั้งใจ ทำความเข้าใจ และมีส่วนร่วมกับเรื่องที่เราเล่าอยู่ จนเค้าไม่ทันได้จนตระหนักรู้ถึงโครงสร้างเรื่องเล่าที่เราวางเอาไว้

พื้นฐานของโครงเรื่องสุดคลาสสิคก็คือ ต้นเรื่อง(เกริ่นนำ) – กลางเรื่อง – ตอนจบ ในสัดส่วนประมาณนี้

เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก
เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก

บ่อยครั้ง ในการทำงานภาคธุรกิจ อย่างเวลาเรานำเสนองาน ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการใดๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า

การเล่าเรื่องของเรา มักจะ focus อยู่ที่ ปัญหา (conflict) และ แนวทางแก้ไข (Solution) แทน

เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก
เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก

Garr เสนอแนะวิธีที่ใช้สอนให้ลูกศิษย์ที่มหาลัยเวลาสอน หรือเวลาที่ไป consult ให้กับธุรกิจ ในการลำดับเรื่องราว สร้างโครงสร้างเรื่อง และใช้ในการ Brain Storm ในทีม โดยให้เริ่มต้นจาก

  1. Ideal world สิ่งที่เราอยากเห็น ภาพอนาคต
  2. Reality สถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นจริง
  3. Problem ปัญหาที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ในข้อ 2
  4. Solution ทางออกของปัญหา
  5. Next Step หรือ Action ที่เราจะทำต่อไป

ให้แต่ละคนลองทำ Storyboard โดยวาดภาพ 1> 2 > 3 > 4 > 5 จากนั้น ช่วยกันถามคำถามให้ชัดเจนขึ้น นำไอเดียต่างๆ มารวมกัน โดยใช้ Post it แล้วแปะลงไปตามช่อง

เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก
เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก

4. Have clear theme : สิ่งที่เราต้องการจะสื่อให้คนฟังรับรู้ หรือ Key message ของเรื่องต้องชัด

สิ่งนึงที่ Garr เน้นก็คือ ไม่ว่าเรื่องราวที่เล่าจะแตกต่างกันไป แต่มันมักจะมีความเหมือนกันอย่างนึง คือ theme ของเรื่องที่เป็นสากลเสมอ มักจะเชื่อมโยงกับคนฟัง เช่น เรื่องเกี่ยวกับความยากลำบาก ความแตกต่าง การสร้างการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

5. Remove the non-essential : เอาอะไรที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องออกไป ทุกอย่างที่ใส่เข้ามาต้องมีเหตุผล เกี่ยวเนื่องกับ Key Message เสมอ

6. Hook them early : เริ่มด้วยประโยคที่ดึงความสนใจผู้ฟัง เพื่อให้เค้าอยู่กับเรา ตั้งแต่ต้น ประโยคแรกสำคัญมาก ที่จะ ใช้ “break the ice”

7. Show a clear conflict : Garr อ้างอิงนิยามคำว่า Story จาก หนังสือชื่อ “Story Proof” the science behind the starting power of story ว่า

Story เป็นเรื่องเล่าที่ประกอบด้วย ตัวละคร อุปสรรค การก้าวข้าม เพื่อไปสู่เป้าหมาย

เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก
เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือเกี่ยวกับธุรกิจ สินค้า และบริการ องค์ประกอบที่สำคัญคือ ตัวละคร อุปสรรค เป้าหมาย และวิธีที่เข้าใช้แก้ไขปัญหา ก้าวข้ามอุปสรรคนั้นๆ นั่นเอง

เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก
เทคนิคการเล่าเรื่องให้สนุก

8. Demonstage a clear change : แสดงให้เห็น Before/After อย่างชัดเจน ให้เห็น Conflict ที่เกิดขึ้น จะช่วยให้เรื่องเล่าของเรา “ทรงพลัง”ขึ้น เช่น ถ้าเป็นสินค้าและบริการ เราช่วยให้ลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย ก้าวข้ามอุปสรรค ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง

Garr บอกให้เราระลึกไว้เสมอว่า ทุกครั้งที่เรายืนอยู่บนเวที ไม่ว่าเราจะนำเสนอสินค้า สอนหนังสือ หรือพรีเซนท์ เรามักจะพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าเราไม่ได้พูดเรื่องนี้ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะยืนอยู่บนเวที

“Life is all about change”

9. Do something unexpected : เช่น Shocking moment : หรือการแสดงให้เห็น Transformation เป็นต้น

10. Make them feel : ถึงแม้เราจะมีข้อมูล และหลักฐานมาแสดงให้ผู้ฟังมากมาย แต่บางครั้งมันก็ไม่เพียงพอ สิ่งที่เราต้องใส่เข้าไปในเรื่องเล่าของเราคือ ทำให้ผู้ฟัง ‘รู้สึก’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่เราต้องการที่จะเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนพฤติกรรมคน ให้เค้าตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลง storytelling เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังเสมอ

และสุดท้ายท้ายสุด หัวใจสำคัญที่สุดของ Storytelling ก็คือ Be authentic การเป็นเนื้อแท้ เมื่อไหร่ที่เราอนุญาตให้ตัวเองเปราะบางได้ (vulnerable) เราทำให้ผู้คนได้สัมผัสเรื่องราวที่เราเล่า เห็นตัวเขาในตัวเรา และในเรื่องที่เราเล่า รู้สึกไปพร้อมๆ กัน