Garmin forerunner 45 ตั้งค่า

สำหรับคนที่เริ่มใช้นาฬิกาออกกำลังกาย Garmin ต้องดาวโหลดแอพ Garmin Connect™ Mobile
เพื่อบันทึกข้อมูลกิจกรรมและออกกำลังกายมาแสดงผลที่สมาร์ทโฟน ซึ่งละเอียดกว่าเก็บข้อมูลย้อนหลังได้
ค้นหาแอพ Garmin Connect™ Mobile  ซึ่งมีให้ดาวโหลดแล้วบนสมาร์ทโฟน

  • บน IOS : App Store คลิก
  • บน Android : Google Play คลิก 

* สำหรับผู้ที่ใช้งานครั้งแรก
ต้องทำการสมัคร Account ของ Garmin Connect ก่อนใช้งานเพื่อเก็บเป็นข้อมูลส่วนตัวและสามาถนำไป Log in กับอุปกรณ์ได้โดยข้อมูลของเรายังอยู่ครบ
แนะนำควรตั้งรหัสที่มีตัวเลข และ พยัญชนะตัวพิมพ์ใหญ่ เพื่อสมัครใช้งาน

Garmin forerunner 45 ตั้งค่า

  • เมื่อเข้ามาแล้วเลื่อนลงมาที่ อุปกรณ์ Garmin
  • ในหน้านี้จะแสดงนาฬิกาออกกำลังกาย Garmin ที่เคยเชื่อมต่อด้วย ถ้าต้องการเพิ่มอุปกรณ์ เลื่อนลงมาข้างสุด เลือก เพิ่มอุปกรณ์
  • เข้ามาในหน้าเลือกอุปกรณ์แล้ว เลือกรุ่นนาฬิกาออกกำลังกายให้ตรงกับรุ่นที่เราใช้งาน

ถ้าแน่ใจแล้วเลือกนาฬิกาออกกำลังกายรุ่นที่ถูกต้องแล้ว
แอพ Garmin Connect™ Mobile จะให้คุณกำหนด เพศ ความสูง น้ำหนัก วันเกิด ปริมาณกิจกรรมและเวลานอนหลับ

  • ในขั้นตอนนี้ต้องเปิด Bluetooth ที่สมาร์ทโฟนก่อน แล้วกด เริ่ม
  • ถ้าแอพกับนาฬิกาออกกำลังกายสามารถเชื่อมต่อได้ จะแสดงหน้านี้ขึ้นมา
  • โดยต้องนำเลขรหัสจากนาฬิกาออกกำลังกายมายืนยันในแอพก่อน ซึ่งทำแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
  • ถ้าต้องการตั้งให้นาฬิกาออกกำลังกายที่กำลังเพิ่มเข้าไปเป็นนาฬิกาหลักให้กด ใช่
  • เมื่อเชื่อมต่อเสร็จสมบูรณ์แอพจะแสดงหน้านี้ขึ้นมา กด เสร็จ
  • ถ้าไม่แน่ใจว่าเชื่อมต่อถูกต้องหรือไม่ ให้เข้ามาในหน้าตั้งค่า แล้วดูสถานะใต้รุ่นนาฬิกาออกกำลังกาย

เมื่อเราใส่นาฬิกาออกกำลังกายทำกิจกรรมประจำวันหรือออกกำลังกายโดยใช้โหมดกีฬาและเชื่อมต่อกับ
แอพ Garmin Connect™ Mobile ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และสามารถดูย้อนหลังได้

สนใจนาฬิกาออกกำลังกาย Garmin จาก Tsmactive.com
รับประกันศูนย์ไทยเต็มๆ 1 ปี พร้อมรับโปรโมชั่นของแถมพิเศษที่นี่ที่เดียว
ที่ https://tsmactive.com/Garmin-brand

พื้นฐานของการติดตามการวิ่งทั้งหมด เริ่มต้นจาก "โหมดวิ่ง" ใน Forerunner 45 โดยผู้ใช้งานเป็นคนกำหนดให้นาฬิกาเริ่มติดตามในช่วงเวลาวิ่งนั้นๆตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้น หรืออธิบายให้ลึกกว่าเดิม คือ ทำให้นาฬิการู้ว่าเรากำลังเริ่มวิ่งด้วยการเข้าโหมดวิ่ง และ กด Start โดยแสดงข้อมูล & สถิติการติดตามให้ผู้ใช้งานได้ทราบ อย่างเช่น ช่วงเวลา, อัตราการเต้นของหัวใจ, ระยะทาง, Pace, รอบ และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลที่นักวิ่งควรที่จะทราบ สามารถพลิกข้อมือขึ้นมาดูได้อย่างทันที เพื่อรู้ถึงประสิทธิภาพและเป้าหมายของตนเอง

 

ระบบ GPS : วัดระยะทางจากดาวเทียม

Garmin forerunner 45 ตั้งค่า
อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับการวิ่งกลางแจ้ง คือ "ระบบ GPS" ที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องการวัดระยะการวิ่งจากตำแหน่งของผู้ใช้งานกับการสื่อสารกับดาวเทียม ที่จะทำให้ได้ข้อมูลของระยะทาง, ความเร็ว, Pace ฯลฯ ซึ่งถ้าไม่มีระบบ GPS เข้ามาช่วยในจุดนี้ ข้อมูลที่ได้ออกมาจะถูกอ้างอิงจากการเคลื่อนไหว ซึ่งจะไม่แม่นยำเท่ากับระบบ GPS นั้นเอง

โดย Forerunner 45 มาพร้อมระบบ GPS, Glonass และ Galileo ที่จะช่วยเพิ่มความแม่นยำมากยิ่งขึ้น สำหรับพื้นที่กลางแจ้ง

 

VO2MAX : เช็คระดับความฟิต

บางทีการวิ่งโดยไม่รู้ประสิทธิภาพของร่างกาย อาจจะทำให้การพัฒนา หรือ ปรับปรุงฟอร์ม ล่าช้ากว่าคนที่รู้ประสิทธิภาพของตนเอง ซึ่งใน Forerunner 45 มาพร้อมคุณสมบัติ "VO2MAX" ที่จะมาช่วยประมวลผลจากสถิติการวิ่งของผู้ใช้งาน ด้วยตัวเลขที่บ่งบอกได้ว่าขณะนั้นร่างกายคุณฟิตพร้อมที่พัฒนามากน้อยเพียงใด

 

เซ็นเซอร์วัดชีพจร : เพื่อการวิ่งโซน 2 

ในเมื่อมี GPS แล้ว ก็ต้องมีเซ็นเซอร์ "วัดชีพจร" ซึ่งIntervalsใน Forerunner 45 จัดมาให้ครบ จึงเหมาะสำหรับมือใหม่ที่ต้องการเริ่มวิ่ง โดยยังไม่ต้องใช้งานอุปกรณ์เสริมใดๆ สามาถออกไปวิ่งได้ทันที สำหรับการวัดชีพจร ถือว่าเป็นจุดประสงค์หลักที่ผู้ใช้งานควรทราบ เพื่อรู้ระดับความหนัก/เบา ของการใช้งานพลังงานของร่างกาย โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ หรือ 5 โซนนั่งเอง สำหรับนักวิ่งที่ต้องการลดน้ำหนัก หรือ เริ่มต้นวิ่งเพื่อสุขภาพ ลองวิ่งและรักษาระดับโซนชีพจรให้อยู่ในช่วงโซน 2 (อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระดับ60-70%) ทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้ใช้งานทำตามเป้าหมายได้สำเร็จจนเสร็จกิจกรรม 

 

Intervals : ลองวิ่งช้าๆสลับกับวิ่งเร็วบ้าง

ถ้าเบื่อการวิ่งแบบเดิมๆ อยากให้ลองซ้อมวิ่งในรูปแบบ "Intervals" ประโยชน์ที่ได้จะทำให้การเผาผลาญมีประสิทธิภาพมากกว่าการวิ่งแบบเบาๆ ซี่งแนะนำให้ทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอ

วิธีการฝึกซ้อม Intervals ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนกำหนดจาก Forerunner 45 ด้วยข้อมูลระยะเวลา, ระยะทาง, จำนวนรอบ และช่วงเวลาพัก ก่อนการวิ่ง เมื่อเริ่มวิ่งนาฬิกาจะบอกช่วงเวลาของการวิ่ง พร้อมกับการสลับช่วงเวลาพัก และ จำนวนรอบ หรือความเร็วที่จะใช้วิ่ง 

 

Auto Lap : วัดรอบอัตโนมัติ

เคยบ้างไหม? วิ่งๆอยู่จำไม่ได้ ว่าวิ่งมาแล้วกี่รอบ อยากให้ลองใช้คุณสมบัติ "Auto Lap" หรือ การกำหนดรอบการวิ่ง ที่จะเข้ามาช่วยการนับรอบในใจ หรือ วิ่งฟังเพลงเพลินจะลืมนับ โดย Auto Lap จะอาศัยการวัดระยะทางทุกๆ 1 กิโลเมตร นับให้เป็น 1 รอบอัตโมัติ หรือ ผู้ใช้งานสามารถกดปุ่ม เพื่อนับรอบด้วยตนเอง

 

Foot Pod : รองรับอุปกรณ์เสริม

สิ่งเดียวที่เป็นอุปกรณ์เสริมที่ตรงสายนักวิ่ง นอกจากสายคาดอกวัดชีพจรแล้ว ยังมี "Foot Pod" อุปกรณ์เสริมที่ต้องจ่ายเพิ่มสำหรับติดที่รองเท้า เพื่อวัดระยะทางแบบเจาะลึก หรือ ใช้สำหรับการวิ่งในร่ม หรือ ลู่วิ่ง ส่วน Running Dynamics จะไม่รองรับสำหรับ Forerunner 45 ซึ่งมีเฉพาะรุ่นพี่อย่าง Forerunner 245

 

สรุปกับ Forerunner 45

หลังจากที่สรุปฟังก์ชั่นเพื่อนักวิ่งกันแล้ว ต้องบอกเลยว่า Forerunner 45 เป็นนาฬิกาวิ่งอีกหนึ่งรุ่นที่น่าสนใจ สำหรับมือใหม่ หรือ ผู้ที่ต้องการความคุ้มค่า ทั้งคุณสมบัติการวิ่งที่คัดมาเน้นๆ ขนาดตัวเรือนที่กระทัดรัด มีน้ำหนักเบา และการดีไซน์ที่เป็นหน้าปัดกลมตามยุคสมัย จนแทบไม่มีข้อติ สำหรับผู้เริ่มต้นที่กำลังหันมาสนในนาฬิกาวิ่งจากแบรนด์ Garmin