ติดเชื้อทางเดินอาหาร กี่วันหาย

นอกจากนี้ในรายที่เป็นรุนแรง เชื้อไวรัสโรตาจะทำลายเยื่อบุลำไส้ทำให้ลำไส้ขาด ส่งผลให้น้ำย่อยที่ใช้ย่อยน้ำตาลแล็กโตสในนมไม่ทำงาน ทำให้เกิดอาการท้องเสียมากขึ้น ถ่ายเหลว ท้องอืด เวลาถ่ายจะมีแก๊สหรือลมออกมาด้วยหลังจากเด็กกินนมไปไม่นาน และผิวหนังบริเวณก้นรอบทวารหนักจะมีผื่นแดง ถ้ายังให้เด็กกินนมตามปกติ จะยิ่งทำให้มีอาการท้องเสียเรื้อรังไม่หาย และเป็นโรคขาดอาหารได้ ดังนั้นการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะช่วยให้ลูกหายเร็วไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง จนเกิดผลเสียหรืออันตรายต่อชีวิต

วิธีดูแลรักษาเบื้องต้นที่บ้านก่อนพาลูกไปหาหมอ?
ให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่ที่เหมาะสำหรับเด็กท้องเสีย อาจจะเป็นชนิดน้ำหรือผงเกลือแร่ ไม่ควรใช้น้ำอัดลมและน้ำเกลือแร่ชนิดขวดสำหรับนักกีฬาผสม เพราะปริมาณน้ำตาลเกลือแร่ไม่เหมาะสมกับเด็ก ควรให้ลูกจิบ-ดื่มน้ำเกลือแร่ทีละน้อยแต่บ่อย ๆ และไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละมาก ๆ เพราะอาจทำให้ลูกอาเจียนมากขึ้น

ให้ลูกกินอาหารและนมอย่างไรดีเมื่อลูกอาเจียนและท้องเสีย?
หากเด็กที่มีอาการท้องเสียไม่มาก ควรให้กินอาหารและดื่มนมตามปกติและไม่ควรเจือจางนม เพราะจะทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ส่วนเด็กที่ท้องเสียอย่างรุนแรง ควรให้กินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก แต่ถ้ามีอาการอาเจียนควรให้กินอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อไม่ให้กระเพาะ ตึงและช่วยลดอาการอาเจียนลงได้ ควรงดผัก ผลไม้ และน้ำผลไม้ เพราะอาจทำให้อาการท้องเสียมากขึ้น แต่กรณีที่ลูกไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโตสได้ หมอจะเปลี่ยนเป็นนมวัวหรือนมถั่วเหลืองแทนประมาณ 3-7วัน เพราะไม่มีน้ำตาลแล็กโตส เมื่อเด็กหายเป็นปกติแล้วก็สามารถกลับมากินนมชนิดเดิมได้

ไม่ควรให้ลูกกินยาประเภทใด?
กรณีที่ลูกมีอาการปวดท้องและอาเจียน อาจให้ยาแก้ปวดท้อง หรืออาเจียนตามอาการได้ แต่ไม่ควรให้กินยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส การกินยาปฏิชีวนะจึงไม่ช่วยให้โรคนี้หายเร็วขึ้น แต่กลับจะมีผลเสียและผลข้างเคียงทำให้อาการท้องเสียมากขึ้น และหายช้าลง เพราะผลข้างเคียงจากยา เช่น Amoxycilin, Augmentin ส่วนยาแก้ท้องเสีย จะยิ่งทำให้เชื้อโรค หรือสารพิษคั่งค้างอยู่ในลำไส้นานขึ้น

เมื่อไหร่จึงควรพาลูกไปหาหมอ?
หากอาการอาเจียน หรือท้องเสียไม่ดีขึ้น และลูกเริ่มมีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง เช่น ปากแห้ง กระหม่อมหรือเบ้าตายุบ ไข้สูง ซึมลง กระวนกระวาย หอบเหนื่อย ปัสสาวะน้อยลง หรืออาการท้องเสียไม่ดีขึ้นภายใน 3-5 วัน เป็นเรื้อรัง เป็น ๆหาย ๆ ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือมีอาการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจควรพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน

หมอทำอย่างไร เมื่อรับตัวเด็กท้องเสียไว้รักษาตัวที่โรงพยาบาล?
เด็กที่มีอาการอาเจียนหรือท้องเสีย จนมีอาการขาดน้ำหรือเกลือแร่อย่างรุนแรง หมอจะรีบให้น้ำเกลือแร่เข้าหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำและเกลือแร่นั้นให้สู่ภาวะปกติ จะตรวจอุจจาระเพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากเชื้อโรคอะไรเพื่อจะได้ รักษาให้ถูกต้อง ตรวจเลือดเพื่อดูว่า ระดับเกลือแร่ในเลือดมีความผิดปกติมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ปรับความเข้มข้นของเกลือแร่ในน้ำเกลือให้เหมาะสม
เมื่อเด็กพ้นภาวะวิกฤตฉุกเฉิน เช่น ภาวะช็อก ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ หมอจะพิจารณาเริ่มให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่ กินอาหารอ่อน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นอาหารปกติ และดื่มนม เช่น นมแม่ หรือนมชนิดเดิมตามความเหมาะสม แต่ถ้าหากเด็กมีปัญหาไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโตสได้ จะพิจารณาให้นมที่ไม่มีน้ำตาลแล็กโตสแทนประมาณ 3-7 วัน เมื่ออาการถ่ายดีขึ้นจึงจะพิจารณาให้กลับมากินนมเดิมที่เคยทานอยู่ต่อไป

วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคไวรัสลงกระเพาะ?
วิธีป้องกันที่ดีที่สุด ได้แก่
ขับถ่ายอุจจาระลงส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ให้ออกมาปนเปื้อนกับอาหารหรือสิ่งแวดล้อม ต้องล้างมือให้สะอาดหลังขับถ่าย
ควรต้มหรือนึ่งขวดและจุกนมอย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนใช้ทุกครั้ง และควรรับประทานอาหารที่สะอาดและสุกแล้ว
ปัจจุบันเริ่มมีการผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรตาแล้วครับ วัคซีนบางชนิดกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา บางชนิดอยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพ และบางชนิดเพิ่งได้รับการจดทะเบียน และเฝ้าติดตามประสิทธิภาพในการป้องกันโรค และความปลอดภัยของวัคซีน คาดว่าคงจะมีการนำเข้ามาใช้ในอนาคต แต่ก่อนจะรอให้วัคซีนมา การป้องกันและดูแลลูกน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ขอบคุณที่มา : นิตยสาร Modern Mom

“ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน” เป็นโรคที่เกิดมาจากสัมผัสสิ่งของที่สกปรกรอบตัวเราในแต่ละวัน ซึ่งสิ่งของนั้นอาจมี “เชื้อโรคปนเปื้อนอยู่”  โดยที่เชื้อโรคนั้นเข้าสู่ร่างกาย จากการหยิบจับอาหารเข้าปาก หรือรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ส่งผลให้เกิด “โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน” ตามมานั้นนั่นเอง

ทำความรู้จัก! โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน
โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีสารพิษหรือเชื้อโรคเข้าไป โดยทั่วไปในทางการแพทย์จะถือว่า อาหารที่เป็นต้นเหตุของโรคลำไส้คืออาหารมื้อล่าสุดก่อนเกิดอาการ แต่สำหรับโรคติดเชื้อทางลำไส้นั้นจะไม่แน่นอนเสมอไป ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อไปจนถึงเวลาที่มีอาการเกิดขึ้นจะเรียกว่าระยะฟักตัว อันเป็นลักษณะของโรคติดเชื้อ โดยสามารถใช้เวลาก่อนเกิดอาการเพียงไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงหลายวันหลังจากได้รับเชื้อก็เป็นได้

ประเภทของลำไส้อักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อ
1.เกิดจากพิษของแบคทีเรีย
เป็นไปในลักษณะที่ไม่มีการรุกรานทำลายผิวของลำไส้ (Non-invasive) ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาจทำให้ถ่ายมากกว่า 10 ลิตรต่อวัน และทำให้เกิดภาวะช็อกจากการสูญเสียน้ำได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง

2.เกิดจากการรุกรานทำลายผิวของลำไส้โดยแบคทีเรีย (Invasive)
อาการของโรค จะเกิดจากการทำลายผนังของลำไส้ ทำให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง มีไข้สูง อุจจาระมีมูกเลือดหรือมีกลิ่นเหม็น
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (Viral gastroenteritis) เป็นสาเหตุของการท้องเสียที่พบบ่อยในเด็กเล็ก แต่ปัจจุบันพบโรคนี้มากขึ้นในผู้ใหญ่ ได้แก่การติดเชื้อ Rota visus, Adenovirus หรือ Norovirus ทำให้มีอาการท้องเสีย มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ ปวดตามตัว เป็นต้น

ติดเชื้อทางเดินอาหาร กี่วันหาย

ลำไส้อักเสบเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
เป็นสาเหตุส่วนน้อยของโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการได้รับสารพิษจากการกิน เช่น สารพิษจากปลาทะเล สารโลหะหนัก เห็ดพิษบางชนิด หรือกินยาผิด ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังได้รับพิษ หรืออาจเกิดจากการกินอาหารที่ย่อยยากเข้าไปมากๆ ก็เป็นได้

มีอาการเหล่านี้เมื่อไหร่…อย่าชะล่าใจ
ในกรณีที่มีอาการรุนแรงเหล่านี้ ทางที่ดีควรรีบพบแพทย์ เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน กินอาหารไม่ได้ ทำให้มีความเสี่ยงร่างกายขาดน้ำจนเกิดภาวะช็อกได้
  • สูญเสียน้ำจากการท้องเสีย รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืดจะเป็นลม ปากแห้ง มือเท้าเย็น หรือเหมือนจะหมดสติ
  • ปวดท้องแบบบิดๆ เกิดเป็นพักๆ มักมีอาการถ่ายท้องตามมา แต่หากเป็นการปวดท้องตลอดเวลาโดยไม่มีเว้นช่วง ให้ระวังไว้ว่านั่นอาจไม่ใช่การปวดจากลำไส้อักเสบธรรมดา
  • มีไข้สูง หนาวสั่น แบบนี้อาจเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง
  • ถ่ายมีมูกเลือด หรือมีอาการปวดหน่วงๆ ที่ทวาร อาจเป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ

ส่วนวิธีป้องกันและดูแลตัวเองที่ดีที่สุด คือ การเลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ในภาชนะที่สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำทิ้งไว้นานๆ ล้างมือก่อนกินอาหาร และหากพบความผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
อาคาร 1 ชั้น 2 โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1210 – 1211
Line id : @Paolochokchai4

ติดเชื้อทางเดินอาหาร รักษายังไง

ไม่มีการักษาที่เฉพาะเจาะจง เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวเวลามีไข้ ให้ยาแก้อาเจียน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) เพื่อชดเชยการสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ โดยการดื่มทีละน้อยแต่บ่อยๆ ควรงดทานดื่มนม ยกเว้นนมแม่ หรือให้นมที่ไม่มีน้ำตาลแล็กโตส(lactose free) งดทานผักผลไม้ไปก่อน (ยกเว้นกล้วยและฝรั่ง ...

ติดเชื้อในกระเพาะอาหารกี่วันหาย

พึงระลึกไว้เสมอว่า โรคแผลกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มักไม่หายขาดตลอดชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อน ใน 3-7 วัน แต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ใช้เวลาถึง 4-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้ว จะกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ได้แก่

ติดเชื้อทางเดินอาหาร เกิดจากอะไร

ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร คือ การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การรับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณที่มากเกินควร รับประทานอาหารรสจัด รับประทานอาหารที่ไม่มีใยอาหาร การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้รับประทานอาหารไม่ตรงต่อเวลา ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินอาหารได้

ลำไส้อักเสบถ่ายเหลวกี่วัน

อาการหลักของ Gastroenteritis คือ ท้องเสีย เพราะเมื่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กติดเชื้อจนไม่สามารถกักเก็บของเหลวไว้ได้ ร่างกายจะขับถ่ายอุจจาระออกมาในลักษณะถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ โดยอาการท้องเสียและอาการอื่น ๆ มักปรากฏขึ้นภายใน 1 วันหลังจากติดเชื้อ และอาจหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ แต่อาการอาจยังคงอยู่นานกว่านั้นในบางกรณี