จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

AR ย่อมาจาก Augmented Reality คือ การนำเทคโนโลยีมาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกันด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น เว็บแคมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็นภาพ วิดีโอ เสียง ข้อมูลต่างๆที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้

ชนิดของ AR สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดหลักๆ ดังนี้

  1. Marker-Based จะใช้วิธีติดตั้งในใบปลิวหรือวัตถุต่างๆ โดยผู้ใช้งานสามารถดูภาพ 3 มิติได้จากการนำกล้องของ smartphone ไปส่องที่วัตถุนั้น เช่น กระดาษเปล่าที่เมื่อส่องด้วยกล้อง smartphone จะเจอข้อมูลแสดงขึ้นมา
  2. Markerless ผู้ใช้งานสามารถหยิบจับวัตถุมาวางในโลกจริงได้ ผ่าน Application เช่น นำเฟอร์นิเจอร์เสมือนมาวางไว้ที่ห้องก่อนจะไปซื้อมาใช้จริง
  3. Location-Based หากนำกล้อง smartphone ส่องไปยัง Location-Based AR จะแสดงผลข้อมูลของสถานที่นั้นๆอ้างอิงจาก GPS เช่น แสดงป้ายบอกทาง และชื่อถนน

ตัวอย่างการเอาเทคโนโลยี AR ไปใช้

  1. การดูภาพ 3 มิติจากการเปิดกล้องใน smartphone ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนได้
  2. แสดงเนื้อหาประกอบในสถานที่จริงนั้นๆ เช่น เป็นป้ายบอกทาง (ของ Google) หรือ ใช้ในธุรกิจการท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์
  3. ใช้กับการเล่นเกมส์ที่เกี่ยวกับ Location เช่น Pokemon GO
  4. ใช้ประโยชน์ในด้านการทหาร เรื่องการซ้อมรบ
  5. ใช้ในงานแสดงศิลปะ โดยให้ความละเอียดที่อ้างอิงจากชิ้นงานจริง
  6. ใช้ในสื่อโฆษณาในการแสดงสินค้าต่างๆ

VR ย่อมาจาก Virtual Reality คือ การจำลองภาพให้เสมือนจริงแบบ 360 องศา ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะต้องใช้ควบคู่ไปกับอุปกรณ์สำคัญ นั่นก็คือ แว่นตา VR โดยผ่านการรับรู้ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น เสียง การสัมผัส หรือแม้กระทั่งกลิ่น และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้

ตัวอย่างการนำเอาเทคโนโลยี VR ไปใช้

  1. ใช้ในการเล่นเกมส์ เช่น เกมส์แนว FPS (จำพวกยิงปืน) จะปืนจำลองให้ถือไปในระหว่างเล่น และตัวจำลองการเดินและวิ่งที่ผูกติดตัวเราไว้ คล้ายๆกับ Treadmill
  2. ใช้ในการจำลองการฝึกขับเครื่องบินของกัปตัน
  3. ใช้ในการจำลองการฝึกหัดทางทหาร เช่น การกระโดดร่ม โดยจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมเป็นชุดกระโดดร่มจริง และ อุุปกรณ์ที่รั้งตัวให้สูงจากพื้น
  4. ใช้ในการสวมเพื่อจำลองห้องที่มีการตกแต่งแล้ว (บริษัทอสังหาริมทรัพย์บางรายมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการโครงการใหม่เพื่อช่วยให้อ้างอิงจากสถานที่จริงได้ง่ายขึ้น)

ความจริงแล้วเทคโนโลยีของทั้ง AR และ VR สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่นๆได้อีกมากมาย

3,692

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรอบรม การสร้างสื่อการสอนด้วย AR ให้กับคุณครูในจังหวัดเชียงราย วันนี้จึงได้โอกาสมาแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนฟังผ่านทางBlogด้วย

ความเป็นจริงเสริมหรือความเป็นจริงแต่งเติม เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างความเป็นจริง และ โลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาผสานเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ รูปทรงสามมิติ และข้อความ ตัวอักษร – วิกิพีเดีย

เทคโนโลยี AR นี้สามารถเชื่อมโยง หรือ สามารถปิดช่องว่างระหว่าง โลกเสมือน Virtual และ โลกแห่งความจริง Physical worlds ได้ กล่าวง่ายๆคือ เราสามารถใช้เทคโนโลยี AR เพื่อนำเนื้อหา Content ดิจิทัลในรูปแบบสามมิติ ข้อมูลตัวอักษร รูปภาพ วิดีโอ แสดงผลซ้อนทับลงบนวิวทิวทัศน์ วัตถุต่างๆบนโลกแห่งความจริงที่เราอาศัยอยู่นี้ผ่านอุปกรณ์ต่างๆเช่น แว่นตา สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

ที่มารูปภาพ http://edtechreview.in/trends-insights/trends/3056-can-ar-facelift-shortcomings-of-education-system

แนวโน้มเทคโนโลยี AR และ VR

จากการทำนายการเติบโตของเทคโนโลยี AR และ VR คาดการว่าในปี 2022 จะมีเม็ดเงินในธุรกิจของเทคโนโลยีนี้ประมาณ 868 ล้านล้านบาท

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

ที่มารูปภาพ https://insanelab.com/blog/vr-ar-mr/augmented-reality-virtual-reality-trends-2018/

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในความสนใจและมีอนาคตสดใส มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อ้างอิงจากรายงานจาก Perkinscoie ว่าตลาดที่มีการลงทุนมากที่สุดคือทางด้านเกม และเอนเตอร์เทนเมน แต่มีการชะลอตัวลดลงจากปี 2016 จาก 79% เป็น 59% ในปี 2018 ส่วนที่เพิ่มมากขึ้นคือทางด้านการศึกษาและทางการแพทย์ (26%) ที่เหลือจะเป็นทางด้านภาพยนต์ โทรทัศน์ และการถ่ายทอดสด จุดที่ผู้ใช้งาน VR และ AR ให้ข้อสังเกตุในการพัฒนาและที่เป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีนี้คือ เรื่องอุปกรณ์ ที่ต้องมีการสวมใส่ เทอะทะ ไม่สะดวกในการใช้งาน และเนื้อหาที่ผลิตออกมาไม่ตอบรับต่อผู้ใช้งาน 81% ของผู้ใช้งานต้องการให้มีการสร้างเครื่องมือ และแอพพลิเคชั่นสนับสนุนการสร้างและการใช้งานให้ดีขึ้นกว่าเดิม และสร้างประสบการณ์ใหม่ เช่นสร้างเครือข่ายโซเชียล  Collaborative and Social experiences

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

ที่มารูปภาพ https://www.perkinscoie.com/images/content/1/8/v2/187785/2018-VR-AR-Survey-Digital.pdf

การประยุกต์ใช้ AR ในการศึกษา

  • เรียนรู้เสมือนจริงแม้อยู่ในชั้นเรียน (Augmented Reality classroom) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้แม้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในห้องเรียน เช่น ผู้เรียนสามารถเห็นปลาวาฬ หรือระบบสุริยะจักรวาล ได้โดยไม่ต้องดำน้ำไปดู หรือขึ้นกระสวยอวกาศออกไปดูนอกโลก
  • ช่วยอธิบายเนื้อหาที่เข้าใจยากให้เห็นภาพได้มากขึ้น (Explain abstract and difficult concepts) ผู้เรียนสามารถเข้าใจการทำงานของเครื่องยนต์กลไกได้จากการใช้สมาร์ทโฟนส่องไปที่รูปภาพ หรือเครื่องยนต์ภายนอก
  • สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาการเรียน (Engagement and interaction) ผู้เรียนสามารถควบคุมมุมมอง หรือการเรียนรู้เนื้อหาได้ด้วยตนเอง เช่นสามารถดูส่วนต่างๆในมุมต่างๆของร่างกายมนุษย์ด้วยการเคลื่อนที่สมาร์ทโฟนไปรอบๆ ผู้เรียนสามารถกดปุ่ม โต้ตอบกับสื่อARได้ สามารถย้อนกลับมาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
  • เรียนรู้จากโมเดลสามมิติ (Objects modelling) ผู้เรียนสามารถมองเห็นรูปร่างของวัตถุ AR ในรูปแบบสามมิติ คือเห็นได้ทุกมุมมองรอบด้านของวัตถุนั้นๆ ต่างจากการมองดูรูปภาพแบนๆ(สองมิติ)บนหนังสือตำราเรียนทั่วๆไป
  • ส่งเสริมทักษะและการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Training) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอบรม เช่นอบรมฝึกให้ช่างซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารได้ด้วยตนเอง ช่างสามารถใช้สมาร์ทโฟนฉายไปที่เครื่องถ่ายเอกสาร แล้วมีข้อมูลขั้นตอนการซ่อมแซมแสดงขึ้นมาให้เรียนรู้ได้ตนเอง

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

https://www.virtualiteach.com/single-post/2017/11/24/Why-AR-8-reasons-to-use-augmented-reality-in-education

จากภาพด้านบนเราจะเห็นได้ว่าจุดเด่นในการนำ AR มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน เช่นผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้แม้สิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในชั้นเรียน ผู้เรียนมองเห็นได้จากทุกมุมมองของเนื้อหา เนื้อหา AR สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ดีขึ้น สื่อ AR สร้างความผูกพันธ์ลึกซึ้งระหว่างเนื้อหาและผู้เรียน สื่อ AR สามารถสร้างประสบการณ์ที่ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถมองทะลุหรือเรียนรู้ภายในสิ่งต่างๆได้ เช่นร่างกายมนุษย์ เครื่องยนต์กลไก สุดท้ายการเรียนรู้จากสื่อ AR เป็นการเรียนรู้ที่มีราคาประหยัด

ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี VR  และ AR และ MR

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

ที่มารูปภาพ http://www.arreverie.com/blogs/extended-reality-mr-ar-vr-whats-the-difference/

กล่าวถึงเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยแว่นตาที่ครอบศรีษะ (Head-mounted Display) เวลาส่วมใส่แล้วผู้ใช้งานเสมือนเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมสามมิตินั้นจริงๆ (Immersive experience) เมื่อเปรียบเทียบกับ VR และ AR แล้ว เทคโนโลยี AR สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้งานโดยเสริม หรือ ต่อเติมจินตนาการ ซ้อนทับบนโลกความจริง ไม่ได้นำผู้ใช้งานหลุดไปอยู่อีกโลกนึงเหมือน VR ส่วน MR (Mixed reality) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อยอดจาก AR โดยเนื้อหา Content สามมิติถูกนำเสนอผสมผสาน ซ้อนทับกับโลกความจริงคล้ายๆเทคโนโลยี AR แต่ที่ต่อยอดมาคือ เนื้อหาที่นำเสนอสามารถผสมผสานซ้อนทับหรือโต้ตอบเข้ากับโลกจริงได้สมจริงมากขึ้น

MR (Mixed reality)

MR นำเอาโลกแห่งความเป็นจริงและองค์ประกอบดิจิตอลมารวมกัน ใน Mixed Reality คุณจะได้โต้ตอบกับสิ่งของและสภาพแวดล้อมทั้งในโลกแห่งความเป็นจริงและเสมือนโดยใช้เทคโนโลยีการสัมผัสและสร้างภาพยุคใหม่ Mixed Reality ช่วยให้คุณเห็นและสัมผัสกับโลกรอบตัวคุณแม้ในขณะที่โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมเสมือนด้วยมือของคุณเองโดยที่ไม่ต้องถอดแว่น เทคโนโลยีนี้ช่วยให้สามารถวางเท้า (หรือมือ) ข้างหนึ่งไว้ในโลกแห่งความเป็นจริง และวางอีกข้างหนึ่งไว้ในโลกเสมือน เป็นการทลายแนวคิดพื้นฐานระหว่างความจริงและจินตนาการที่ให้ประสบการณ์ที่สามารถเปลี่ยนวิธีที่คุณเล่นเกมและทำงานในยุคปัจจุบัน- Intel

https://www.thailand.intel.com/content/www/th/th/tech-tips-and-tricks/virtual-reality-vs-augmented-reality.html

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

https://www.magicleap.com/

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

https://www.magicleap.com/experiences/invaders

จุดเด่นของ MR เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ต่อยอดจากเทคโนโลยี AR คำว่า Mixed (Hybrid) เป็นการนำสื่อดิจิทัลสามมิติ มาซ้อนทับบนวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา แต่ที่เพิ่มความสามารถมากขึ้นกว่านั้นคือ สื่อดิจิทัลสามมิติที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นสามารถอยู่ร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในโลกจริงได้ (Co-exist and interact)

ตัวอย่างผลงานจากบริษัท Magic Leap สร้างอุปกรณ์และสื่อ MR อันดับต้นๆของโลก จากวิดีโอด้านล่างจะเห็นได้ว่าตัวละครในเกมสามารถเดินบนโต๊ะอาหาร หลบหลังต้นไม้ ผู้เล่นสามารถมองเห็น และควบคุมโต้ตอบได้กับตัวละครสามมิติ ผู้เล่นสามารถเล่น MR ได้ทุกที่แม้ในห้องนั่งเล่นของตัวเอง

AR กับการศึกษาในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การศึกษาภาคบังคับได้พัฒนาสื่อวิทยาศาสตร์แบบสื่อดิจิทัลแสดงผลเสมือนจริง หรือสื่อ AR 3 มิติ (Augmented Reality) เพื่อเป็นสื่อประกอบหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ที่เน้นการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และการนำไปใช้ โดยมุ่งเน้นให้ครูผู้สอนและนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ได้ใช้ประกอบหนังสือเรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน อันจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

http://illusion.in.th/tag/สสวท/

สามารถอ่านรีวิวหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ได้ที่เว็บ https://www.parentsone.com/review-science-book-ar/

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

เครื่องมือในการพัฒนาสื่อ AR

ในการอบรมครั้งนี้ผมไม่ได้เลือกใช้ HP Reveal หรือที่เรารู้จักกันดีกับชื่อโปรแกรม Arusma เนื่องจากมีคุณครูบางท่านเคยใช้มาบ้างแล้ว และสามารถหาข้อมูลได้ด้วยตนเองจากเว็บไซต์หรือทางยูทิว

ในการอบรมครั้งนี้ผมจึงนำเสนอโปรแกรมทางเลือก 2 โปรแกรมคือ

  1. Zapworks – https://zap.works/
  2. Metaverse – https://gometa.io/

โปรแกรมแซปเวอร์คซ์ Zapworks

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

จุดเด่นของโปรแกรมแซปเวอร์คซ์คือ

  • โปรแกรมใช้งานง่าย มีหน้าต่าง UI ที่ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นมือใหม่
  • รองรับเนื้อหาในรูปแบบรูปภาพ วิดีโอ ลิงค์ เว็บไซต์
  • สามารถสร้างปุ่ม เพิ่มหน้าการแสดงผล และการเชื่อมโยง ลิงค์ระหว่างเนื้อหา
  • รูปแบบ tag ดูทันสมัยมีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย
  • มีแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่าย รองรับ IOS และ Android ชื่อ Zappar
  • มีโปรแกรมเสริมที่ชื่อ ZapWorks Studio สามารถกำหนดนำวัตถุสามมิติ มาวางบน tag ได้ง่าย สามารถสร้างแอนิเมชั่นแบบ AR ได้

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

ข้อจำกัด

  • เราสามารถสร้างโปรเจคได้ 5 โปรเจคเท่านั้น ถ้าต้องการสร้างเพิ่มต้องเสียเงิน
  • ใช้เวลาในการอ่าน tag นานกว่าเนื้อหาจะแสดงขึ้นมา เมื่อนำสมาร์ทโฟนไปส่องที่tag (ใช้เวลาประมาณ 10-30 วินาที)

เอกสารการอบรมโปรแกรม ZapWorks

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

**เผยแพร่เอกสารการอบรม สามารถอีเมล์สอบถามได้ที่ **

เขียนโดย

จง ยก ตัวอย่าง การ ประยุกต์ ใช้ งาน ความ เป็น จริง เสริม มา 3 รูป แบบ

อ.พฤทธิ์ พุฒจร
สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
Google Scholar: https://scholar.google.co.th/citations?user=TPJONrYAAAAJ&hl=en
Research Gate: https://www.researchgate.net/profile/Pruet_Putjorn