จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

Show

กฏของเมนเดล 

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

ประวัติของเมนเดล (Biography of Gregor Mendel)

       เกรเกอร์ เมนเดล (พ.ศ. 2365-พ.ศ. 2427) บิดาทางพันธุศาสตร์ เกิดที่เมืองไฮน์เซนดรอฟ ประเทศออสเตรีย เป็นบุตรชายคนเดียวในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของครอบครัวชาวนาที่ยากจน โดยต่อมา เมนเดลได้ไปบวชแล้วได้รับตำแหน่งรับผิดชอบดูแลสวน ในปี พ.ศ. 2390

ผลงานทางพันธุศาสตร์

       เกรเกอร์ เมนเดล เผชิญความผิดหวังนับ 20 ปี ที่เขายังคงสอนหนังสือเพื่อชดเชยความผิดหวัง เขาทำงานในสวนของวัดทุกเวลาที่ว่าง ที่นั่นมีพันธุ์พืชมากมาย แต่ละชนิดแตกต่างหลากหลายอย่าง ความแตกต่างนี้ ทำให้เกรเกอร์นึกสงสัย เขาได้ผสมพันธุ์ถั่วเดียว กันและต่างพันธุ์ เป็นจำนวนแตกต่างถึง 22 ชนิดของต้นถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะทั้งหมด เป็นเวลารวม 8 ปีเต็มในการทดลองร่วมพันครั้ง พบได้ 3 สิ่ง ดังนี้
  • สิ่งแรก เมื่อผสมพันธุ์ถั่วชนิดต่างกันสองชนิดผลผลิตต่อมาที่ได้เป็นพันธุ์ชนิดเดียว ยกตัวอย่าง ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วเมล็ดสีเหลืองกับชนิดเมล็ดสีแดง มันจะผลิตพันธุ์เมล็ดสีเหลืองออกมา
  • ต่อไป เมื่อผสมพันธุ์ต่างชนิดกันของผลผลิตรุ่นแรก รุ่นต่อไปจะมีเมล็ดทั้งสองชนิด ในทุกๆสี่ต้นจะมีสามต้นที่มีเมล็ดสีเหลือง และ 1 ต้น ที่มีเมล็ดสีเขียว นี่เป็นเพราะว่าหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดสีเหลืองเป็นหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ เด่น คือ โดมิแนนท์ยีน หน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดสีเขียวเรียกว่า รีเซสซีพยีน หรือหน่วยถ่ายพันธุ์ด้อย
  • สิ่งที่สาม ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วต่างชนิดกันด้วยถั่วสองชนิด หรือมากกว่านั้นที่มีลักษณะแตกต่างกัน เขาจะค้นพบกฎข้อที่สาม สมมติว่าเขาผสมพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ดเรียบสีเหลืองกับพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ด หยาบสีเขียว รุ่นแรกเมล็ดเรียบสีเหลืองจะเป็นตัวเด่น ในรุ่นต่อไปจะมีอัตราส่วนเมล็ดเรียบสีเหลือง 9 ส่วน ต่อเมล็ดเรียบสีเขียว 3ส่วน เมล็ดหยาบสีเหลือง 3 ส่วน ต่อเมล็ดหยาบสีเขียว 1 ส่วน

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

การทดลองของเมนเดล

    เมนเดลประสบผลสำเร็จในการทดลอง จนตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายังลูกหลานใน ช่วงต่อๆมาได้เนื่องจากสาเหตุสำคัญสองประการ คือ

1. เมนเดลรู้จักเลือกชนิดของพืชมาทำการทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ในการทดลองคือถั่วลันเตา (Pisum sativum) ซึ่งมีข้อดีในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์หลายประการ เช่น

1.1 เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self- fertilized) ซึ่งสามารถสร้างพันธุ์แท้ได้ง่าย หรือจะทำการผสมข้ามพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้างลูกผสมก็ทำได้ง่ายโดยวิธีผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination)

1.2 เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษามากนัก ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวภายในหนึ่งฤดูปลูก (growing season) หรือประมาณ 3 เดือน เท่านั้น และยังให้เมล็ดในปริมาณที่มากด้วย

1.3 เป็นพืชที่ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกันชัดเจนหลายลักษณะ ซึ่งในการทดลองดังกล่าว เมนเดลได้นำมาใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน

2.เมนเดลรู้จักวางแผนการทดลอง

2.1 เลือกศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาแต่ละลักษณะก่อน เมื่อเข้าใจหลักการถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ แล้ว เขาจึงได้ศึกษาการถ่ายทอดสองลักษณะไปพร้อม ๆ กัน

2.2 ในการผสมพันธุ์จะใช้พ่อแม่ พันธุ์แท้ (pure line) ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน มาทำการผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination )

2.3 ลูกผสมจากข้อ 2.2 เรียกว่าลูกผสมช่วงที่ 1 หรือ F1( first filial generation) นำลูกผสมที่ได้มาปลูกดูลักษณะที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ2.4 ปล่อยให้ลูกผสมช่วงที่ 1 ผสมกันเอง ลูกที่ได้เรียกว่า ลูกผสมช่วงที่ 2 หรือ F2( second filial generation) นำลูกช่วงที่ 2 มาปลูกดูลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ


ลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาที่เมนเดล ใช้ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม

1. ลักษณะของเมล็ด – เมล็ดกลม และ เมล็ดย่น (round & wrinkled)

2. สีของเปลือกหุ้มเมล็ด – สีเหลือง และ สีเขียว (yellow & green)

3. สีของดอก – สีม่วงและ สีขาว (purple & white)

4. ลักษณะของฝัก – ฝักอวบ และ ฝักแฟบ (full & constricted)

5. ลักษณะสีของฝัก – สีเขียว และ สีเหลือง (green & yellow )

6. ลักษณะตำแหน่งของดอก-ดอกติดอยู่ที่กิ่ง และเป็นกระจุกที่ปลายยอด (axial & terminal)

7. ลักษณะความสูงของต้น – ต้นสูง และ ต้นเตี้ย (long & short)

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ของเมนเดล

1. การถ่ายทอดลักษณะหนึ่งลักษณะใดของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยปัจจัย (fector) เป็นคู่ๆ ต่อมาปัจจัยเหล่านั้นถูกเรียกว่า ยีน (gene)2. ยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆจะอยู่กันเป็นคู่ๆ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้3. ลักษณะแต่ละลักษณะจะมียีนควบคุม 1 คู่ โดยมียีนหนึ่งมาจากพ่อและอีกยีนมาจากแม่ 4. เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์(gamete) ยีนที่อยู่เป็นคู่ๆจะแยกออกจากกันไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของแต่ละเซลล์และ ยีนเหล่านั้นจะเข้าคู่กันได้ใหม่อีกในไซโกต5. ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น F1  ไม่ได้สูญหายไปไหนเพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้6. ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่น F1   มีเพียงลักษณะเดียวเรียกว่า ลักษณะเด่น ( dominant) ส่วนลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F2  และมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไปได้น้อยกว่า เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)7. ในรุ่น F2 จะได้ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยปรากฏออกมาเป็นอัตราส่วน เด่น : ด้อย = 3 : 1

ชมตัวอย่างสักแบบ

ความน่าจะเป็น (Probability)

    ความหมาย   “อัตราส่วนจำนวนครั้งของเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น ต่อเหตุการณ์นั้น”

อัตราส่วนในทางพันธุศาสตร์ คือ อัตราส่วนทางจีโนไทป์ และอัตราส่วนทางฟีโนไทป์

กฎความน่าจะเป็น

1. กฎการบวก (Addition Law)
– เหตุการณ์ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมๆกันได้
– เรียกเหตุการณ์นี้ว่า mutually exclusive events
– โอกาสที่เกิดเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งจะเท่ากับผลบวกของโอกาสที่จะเกิดแต่ละเหตุการณ์
               P(เหตุการณ์ A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่ง) = P(A) + P(B)
2. กฎการคูณ (Multiplication Law)
– เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์หรือมากกว่า
– เหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน
– เรียกเหตุการณ์นี้ว่า Independent events
            โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ A และ B พร้อมกัน = P(A) x P(B)

การคำนวณหาอัตราส่วนทางพันธุศาสตร์

1. การหาชนิดและอัตราส่วนของเซลล์สืบพันธุ์
      จำนวนชนิดของเซลล์สืบพันธุ์ = 2n
      n คือ จำนวนคู่ของยีนในสภาพ heterozygous
2. การคำนวณหาชนิดและอัตราส่วนของจีโนไทป์และฟีโนไทป์
– การสร้างเป็นตาราง (punnet square)
– การใช้สูตร
    ชนิดของจีโนไทป์ = 3n
    ชนิดของฟีโนไทป์ = 2n
    n คือ จำนวนคู่ของยีนที่อยู่ในสภาพ heterozygous

 

ตัวอย่าง  ถ้าผสมถั่วเมล็ดเรียลสีเหลืองที่เป็น homozygous dominance กับถั่วเม็ดขรุขระสีเขียวที่เป็น

                     homozygous recessive จะได้ลูก F1 ถ้านำ F1 ผสมกันเอง จงหา F2 genotype และ F2 phenotype

วิธีทำ 1. สร้างตาราง Punet square

          2. สร้างเส้นแบบแตกแขนง ( Branching หรือ Fork-line method )

          3. ใช้หลักความน่าจะเป็น ( Probability ) โดยผสมทีละลักษณะ

1.       ตารางพันเนต ( Punnet Square ) ของ F2

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

สูตร หาชนิดจีโนไทป์ = 3n  n = จำนวนคู่ของ heterozygous gene ) เช่น จากกรณีตัวอย่างผสม YySs เข้าด้วยกัน จะเห็นว่า n = 2 คือจำนวนคู่ของ heterozygous gene  มี 2 คู่ ดังนั้นชนิดจีโนไทป์จึงมี 9 ชนิด (32 9 )

จากตางรางพันเนตมีฟีโนไทป์ 4 ชนิด คือ

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ


สูตร หาชนิดของฟีโนไทป์ คือ 2n = จำนวนคู่ของ heterozygous gene )

จากกรณีตัวอย่างมี heterozygous gene  2 คู่ คือ  Ss และ Yy ดังนั้นจำนวนชนิดฟีโนไทป์เท่ากัน 22 = 4 ชนิด

       2.   สร้างแบบแตกแขนง Branching หรือ Fork-line method )

2.1 หาชนิดจีโนไทป์ ให้แยกคู่ยีนแล้วผสมทีละลักษณะเป็น monohybrid พร้อมกับนำความน่าจะเป็นของแต่ละลักษณะมาคูณกัน ดังนี้

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ


                2.2 หาชนิดและสัดส่วนฟีโนไทป์  : ให้รวมจีโนไทป์ ที่มีฟีโนไทป์เป็นแบบเดียวกัน แล้วนำไปผสมกันแต่ละลักษณะ โดยนำค่าความน่าจะเป็นมาคูณกัน ดังนี้

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

      3.    ใช้หลักความน่าจะเป็น ( Probability )

ให้ผสมทีละลักษณะ (Monohybrid cross ) และนำค่าความน่าจะเป็นของแต่ละลักษณะมาคูณเช่นกัน

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

กฎของเมนเดล

กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยก ( Law of Segregation )

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

สาระสำคัญของกฎ          ยีนที่อยู่คู่กัน จะแยกตัวออกจากกันไปอยู่ในแต่ละเซลล์สืบพันธุ์ ดังนั้นภายในเซลล์สืบพันธุ์จะไม่มียีนที่เป็นคู่กันเลย

                                                                                  

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

กฎข้อนี้ เมลเดลได้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะโดยพิจารณายีนคู่เดียว ( Monohybrid cross )

ตัวอย่าง ถ้านำถั่วลันเตารุ่นพ่อแม่ ( P ) ลักษณะเมล็ดกลมกับเมล็ดขรุขระที่ต่างเป็นพันธุ์แท้มาผสมกันจะได้รุ่นลูก ( F1 ) มีจีโนไทป์และฟีโนไทป์ชนิดเดียวกันทั้งหมด และปล่อยให้รุ่นF1 ผสมกันเองได้รุ่นหลาน ( F2 )จะได้จีโนไทป์แตกต่างกันเป็น 3 ชนิด ในสัดส่วน 1 : 2 : 1 และได้ฟีโนไทป์แตกต่างกันเป็น 2 ชนิด ในสัดส่วน 3 : 1 ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

สัดส่วนของจีโนไทป์และฟีโนไทป์จากการผสมโดยพิจารณายีนคู่เดียว ( Monohybrid cross )

กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ ( Law of independent assortment )

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

สาระสำคัญของกฎ             ยีนที่อยู่เป็นคู่กันเมื่อแยกออกจากกันแล้ว แต่ละยีนจะไปกับยีนอื่นใดก็ได้อย่างอิสระ นั่นคือ เซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรมของลักษณะต่างๆ โดยการรวมกลุ่มที่เป็นไปอย่างอิสระ จึงทำให้สามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูกรุ่นหลานได้ กฎข้อนี้ เมนเดลได้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะโดยพิจารณาจากยีน 2 คู่ ( Dihybrid cross )

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

ดังนั้นเราสามารถใช้สูตรหาชนิดเซลล์สืบพันธุ์ คือ 2n

( n = จำนวนคู่ของ heterozygous gene )

ตัวอย่าง สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีจีโนไทป์ AaBbCc จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มียีนต่างกันได้กี่แบบ

วิธีที่ 1 ใช้สูตร ชนิดเซลล์สืบพันธุ์  = 2n

                                            =  

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ
  = 8 ชนิด

วิธีที่ 2 ใช้กฎแห่งการรวมกลุ่มโดยอิสระ

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

ข้อควรทราบ 1. ยีนที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์เดียวกัน จะต้องไม่มียีนที่เป็นคู่อัลลีลกัน

                   2.โครโมโซมที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์เดียวกัน จะต้องไม่มีโครโมโซมที่เป็นคู่กัน หรือเป็นโฮโมโลกัส เนื่องจาก

                      เซลล์สืบพันธุ์มักเกิดการจากแบ่งเซลล์ที่มีการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส

เพิ่มความเข้าใจ 

การทดสอบพันธุกรรม (Test Cross)

   Test Cross คือ การนำสิ่งมีชีวิตที่สงสัยว่าเป็นลักษณะเด่นหรือไม่ไปผสมกับลักษณะด้อยของสิ่งมีชีวิตนั้น(tester) แล้วสังเกตุอัตราส่วนของลูกที่ได้ มีขั้นตอนดังนี้

1. นำตัวที่มีลักษณะเด่นไปผสมกับตัวที่มีลักษณะด้อย

2. รอดูอัตราส่วนในรุ่นลูก โดยพิจารณาดังนี้

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

 

การผสมกลับ (Back Cross)

     Backcross (การผสมกลับ)  เหมือนกับ Test Cross แต่เป็นการนำรุ่น F1 กลับไปผสมกับพ่อหรือแม่

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

ตัวอย่าง

    ผสมตัวเอง โดยการนำถั่วลันเตาเมล็ดเรียบนั้น ไปปลูกแล้วปล่อยให้ผสมตัวเอง ถ้าลูกที่ได้เป็นเมล็ดเรียบทั้งหมดแสดงว่ามีจีโนไทป์เป็น SS แต่ถ้าอัตราส่วนของลูกเป็นเมล็ดเรียบ : เมล็ดย่น = 3 : 1 แสดงว่ามีจีโนไทป์เป็น Ss

การข่มร่วมกัน (Co-Dominant)

     Co-dominant  การถ่ายทอดนี้ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล ยีนทั้งสองที่ควบคุมลักษณะจะไม่ข่มซึ่งกันและกันแต่สามารถแสดงความเด่นได้ เท่าๆกันจึงปรากฏลักษณะออกมาร่วมกัน เช่น

1. การถ่ายทอดลักษณะหมู่เลือดระบบ ABO ถูกควบคุมด้วยยีนซึ่งมีอัลลีลเกี่ยวข้อง 3 อัลลีล คือ IA , IB, iพบว่าอัลลีล IA และอัลลีล IB ต่างก็แสดงลักษณะเด่นเท่าๆกัน (อัลลีล IA และอัลลีล IB ต่างก็เป็น Co – dominant allele ส่วนอัลลีล i เป็น recessive allele)

– IAIA และ IA i แสดง หมู่เลือด A

– IBIและ IB i แสดง หมู่เลือด B

– IAIB แสดง หมู่เลือด AB

– ii แสดง หมู่เลือด O

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ
     

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

    2.  การถ่ายทอดลักษณะหมู่เลือดระบบ MN มียีนควบคุมอยู่ 1 คู่ โดยมี Co – dominant allele M และ N (LM , LN) ควบคุมการสร้าง antigen M และ antigen N ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงทั้ง LM และ LN แสดงลักษณะเด่นได้เท่าๆ กัน  

– LM LM แสดงหมู่เลือด M

– LN LN แสดงหมู่เลือด N

– LMLN แสดงหมู่เลือด MN

       การถ่ายทอดลักษณะเด่นเกิน (Over – dominant) เกิดจากอัลลีลในสภาพ Heterozygous จะแสดงลักษณะที่ปรากฏออกมา (phenotype) เหนือกว่าในสภาพHozygous เช่น TT (สูง 3 ฟุต ) x tt (สูง 1 ฟุต) ได้ลูกผสม Tt (สูง 5 ฟุต)

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

การข่มแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominant)

    Incomplete dominant คือ การแสดงออกของ gene ที่เป็น gene เด่นไม่สามารถข่ม gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีการแสดงออกของ gene ทั้งสองแบบเป็นผสมกันหรือเป็นแบบกลาง ๆ ระหว่างสองลักษณะ เช่น สีดอกลิ้นมังกร 

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

Multiple alleles

    Multiple alleles คือ ลักษณะทางพันธุกรรม ที่ถูกควบคุมด้วยยีนมากกว่า2 อัลลีลส์ ได้แก่ หมู่เลือด ABO ซึ่งมียีนควบคุมถึง 3 อัลลีลส์ ( IA , IB และ i )

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

ตัวอย่าง

หมู่เลือด ABO ถูกควบคุมด้วยอัลลีลส์ IA , IB และ i

จงหาชนิดและอัตราส่วนฟีโนไทป์ของลูกที่เกิดจากพ่อและแม่ที่มีจีโนไทป์ดังต่อไปนี้

   1. IAi     x    IB IB

เฉลยIA IB :  IB i

= 1    :    1

ดังนั้นลูกที่ได้จะเป็น       AB : B

=  1  :  1

2.  Ii      x     ii

เฉลยIi ii

= 1    :    1

ดังนั้นลูกที่ได้จะเป็น      A : O

=  1  :  1

Multiple gene

    Multiple gene (Polygenes)   คือ  การที่ยีนหลายคู่ร่วมกันควบคุมลักษณะที่แสดง
ออกมา เช่น ผิวดำ (อัลลีลที่ควบคุมการสร้างเมลานิน ) โดยสีผิวดำถูกควบคุมด้วยยีนเด่น 3 อัลลีลส์ คือ A, B,C ส่วน อัลลีล a, b, c แสดงการไม่สร้างเม็ดสีและปฏิกิกริยาของยีนเป็นแบบincomplete dominance

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

สีของเมล็ดข้าวสาลี ซึ่งมียีนควบคุม 3 คู่ คือ R1  R2  R3  เป็นยีนที่ทำให้เมล็ข้าวสาลีมีสีแดง ส่วนอัลลีลของยีนเหล่านี้คือ r1  r2  r3  เป็นยีนที่ทำให้เมล็ดข้าวสาลีไม่มีสี ถ้าจีโนไทป์มียีนควบคุมสีแดงจำนวนมาก สีของเมล็ดจะเข้ม

กราฟแสดงลักษณะทางพันธุกรรม

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

 

Complementary Gene

    complementary gene  เป็นยีนที่ทำงานร่วมกันแบบเสริมสร้างซึ่งกันและกัน เช่น ลักษณะสีของดอกในถั่วชนิดหนึ่งถูกควบคุมด้วยยีน 2 คู่ ถ้ามีคู่ยีนสำหรับลักษณะเด่นของยีนทั้งสองคู่ปรากฎอยู่ในจีโนไทป์ ลักษณะที่ปรากฎทางฟีโนไทป์ คือ ดอกสีม่วง แต่ถ้าขาดคู่จีนเด่นตัวใดตัวหนึ่งไป ลักษณะที่ปรากฎทางฟีโนไทป์จะเป็นดอกสีขาว ตามแผนภาพดังนี้

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

      จากแผนภาพนี้จะเห็นได้ว่า คู่จีน C และคู่จีน P ต่างทำงานร่วมกัน ในการปรากฎของดอกสีม่วงและแต่ละคู่จีน ไม่สามารถทำงานโดยอิสระได้ อัตราส่วนของฟีโนไทป์จะได้ ดอกสีม่วง : ดอกสีขาว = 9 : 7

Complementary Gene

    complementary gene  เป็นยีนที่ทำงานร่วมกันแบบเสริมสร้างซึ่งกันและกัน เช่น ลักษณะสีของดอกในถั่วชนิดหนึ่งถูกควบคุมด้วยยีน 2 คู่ ถ้ามีคู่ยีนสำหรับลักษณะเด่นของยีนทั้งสองคู่ปรากฎอยู่ในจีโนไทป์ ลักษณะที่ปรากฎทางฟีโนไทป์ คือ ดอกสีม่วง แต่ถ้าขาดคู่จีนเด่นตัวใดตัวหนึ่งไป ลักษณะที่ปรากฎทางฟีโนไทป์จะเป็นดอกสีขาว ตามแผนภาพดังนี้

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

        จากแผนภาพนี้จะเห็นได้ว่า คู่จีน C และคู่จีน P ต่างทำงานร่วมกัน ในการปรากฎของดอกสีม่วงและแต่ละคู่จีน ไม่สามารถทำงานโดยอิสระได้ อัตราส่วนของฟีโนไทป์จะได้ ดอกสีม่วง : ดอกสีขาว = 9 : 7

Epistasis

    Epistasis คือ การเกิดปฏิกิริยาร่วมระหว่างยีนที่อยู่คนละตำแหน่ง (locus) ซึ่งมีผลให้ยีนจากตำแหน่งหนึ่งไปเปลี่ยนแปลงอิทธิพลของยีน ณ อีกตำแหน่งหนึ่งได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างยีนจาก 2 ตำแหน่งหรือมากกว่าก็ได้ ที่ควบคุมลักษณะปรากฎ (phenotype) เดียวกัน ยีนที่ข่มตัวอื่นเรียกว่า epistatic gene ส่วนยีนที่ถูกข่ม เรียกว่า“hypostatic gene”

ประเภทของ Epistasis

1. Complementary epistasis : ต้องการผลิตผลที่สร้างจากยีนทั้งสองตำแหน่งเพื่อการแสดง phenotype เช่น หงอนไก่

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

2. Recessive epistasis : ควบคุมด้วยยีน 2 คู่ โดย homozygous recessive ของยีนตำแหน่งหนึ่ง สามารถข่มการแสดงออกของยีนอีกตำแหน่งหนึ่งได้ เช่น สีขนแมว

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

3. Dominant epistasis : ควบคุมด้วยยีน 2 คู่ โดย dominance allele ของตำแหน่งหนึ่ง สามารถข่มการแสดงออกของยีนอีกตำแหน่งหนึ่งได้ เช่น สีขนแกะ

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

4. Duplicate recessive epistasis : ยีนทั้ง 2 ตำแหน่ง ทำให้เกิด phenotype ที่เหมือนกัน แต่ homozygous recessive genotype ของยีนตำแหน่งหนึ่ง สามารถข่มการแสดงออกของยีนอีกตำแหน่งหนึ่งได้เช่นเดียวกันกับ recessive epistasis ทั่วไป เช่น ยีนที่ควบคุมลักษณะขนกำมะหยี่ของกระต่าย

5. Duplicate dominant epistasis : ยีนทั้ง 2 ตำแหน่ง ทำให้เกิด phenotype ที่เหมือนกัน แต่ dominant allele ของตำแหน่งหนึ่ง สามารถข่มการแสดงออกของยีนอีกตำแหน่งหนึ่งได้เช่นเดียวกันกับ dominant epistasis ทั่วไป เช่น ยีนที่ควบคุมลักษณะหน้าสีขาวแบบ Simmental และ แบบ Hereford

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

คลายเครียดกันหน่อยยยน๊าาาาาาาาาาาา

จงยกตัวอย่างลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของต้นถั่วลันเตามาอย่างน้อย 5 ลักษณะ

ขอขอบคุณ

ลักษณะใดของต้นถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษาเป็นลักษณะเด่นทั้งหมด

เมนเดลอธิบายผลการทดลองว่า ลักษณะต้นสูงที่ปรากฏในทุกรุ่น เรียกว่า ลักษณะเด่น (dominant)ส่วนลักษณะต้นเตี้ยที่มีโอกาสปรากฏในบางรุ่น เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive) เมนเดลได้ท าการทดลองแบบเดียวกันนี้กับลักษณะอื่น ๆ ของถั่วลันเตาอีก 6 ลักษณะ ปรากฏว่าได้ผลออกมาในท านองเดียวกัน

ลักษณะพิเศษของถั่วลันเตาคืออะไร

ลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษา รูปร่างของเมล็ด แบ่งออกเป็น เมล็ดกลม และเมล็ดขรุขระ สีของเมล็ด แบ่งออกเป็น สีเหลือง และสีเขียว รูปร่างของฝัก แบ่งออกเป็น ฝักอวบ และฝักแฟบ สีของฝัก แบ่งออกเป็น สีเหลือง และสีเขียว

ถั่วลันเตามีกี่ลักษณะ

เกรเกอร์ เมนเดล บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ได้ทำการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตา 7 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะของเมล็ด, สีของเมล็ด, ลักษณะของฝัก, สีของฝัก, บริเวณที่เกิดดอก, สีของดอก และลักษณะความสูง ผลจากการศึกษาดังกล่าว พบว่า มีหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ยีน

เมนเดลสรุปลักษณะเด่นและลักษณะด้อยต่างกันอย่างไร

กฎของลักษณะเด่น (Law of dominance) เมื่อยีนลักษณะเด่นจับคู่กับยีนลักษณะด้อยลักษณะที่ปรากฏจะเป็นลักษณะเด่น (พันทาง) ส่วนลักษณะด้อยจะถูกข่มการแสดงออกเอาไว้ แต่ยีนลักษณะด้อยนั้นไม่ได้หายไปไหน เมื่อใดที่ยีนลักษณะด้อยจับคู่กับยีนลักษณะด้อยด้วยกันเอง ก็จะปรากฏลักษณะด้อย (พันธุ์แท้) นั้นออกมา