แนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565

เลื่อนเก็บ ภาษีที่ดิน 2565 ออกไปอีก 3 เดือน ถึงสิ้น ก.ค. เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนผู้เสียภาษี ให้ผู้เสียภาษีมีเวลาชำระภาษีมากขึ้น

  • ภาษีลาภลอย คืออะไร? “คลัง” พิจารณาแนวทางจัดเก็บอีกครั้ง
  • ครม. เห็นชอบต่ออายุอัตรา “ภาษีที่ดิน” คงอัตราเดิมอีก 2 ปี ถึงปี 2566

25 มิถุนายน 2565 – ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายกำหนดเวลาดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ประจำปี พ.ศ.2565 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 เพื่อขยายเวลาเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ออกไปอีก 3 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนผู้เสียภาษี ให้ผู้เสียภาษีมีเวลาชำระภาษีมากขึ้น หลังจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้รับผลกระทบ

เลื่อนเก็บ “ภาษีที่ดิน” ไปถึงกรกฎาคม 2565 ช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนผู้เสียภาษีให้ผู้เสียภาษีมีเวลาชำระภาษีมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เห็นชอบให้ขยายกำหนดเวลาดำเนินการของผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เฉพาะการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี พ.ศ.2565 เป็นการทั่วไป ออกไปอีก 3 เดือน ดังนี้

  1. ขยายกำหนดเวลาของผู้เสียภาษีในการชำระภาษีตามแบบแจ้งการประเมินภาษี ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 จากเดิมภายในเดือนเมษายน 2565 เป็นภายในเดือนกรกฎาคม 2565
  2. ขยายกำหนดเวลาของผู้เสียภาษีในการผ่อนชำระภาษี ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และข้อ 3 ของกฎกระทรวงการผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ดังนี้
    • 2.1 งวดที่หนึ่ง จากเดิมภายในเดือนเมษายน 2565 เป็นภายในเดือนกรกฎาคม 2565
    • 2.2 งวดที่สอง จากเดิมภายในเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นภายในเดือนสิงหาคม 2565
    • 2.3 งวดที่สาม จากเดิมภายในเดือนมิถุนายน 2565 เป็นภายในเดือนกันยายน 2565
  3. ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษี ที่มีภาษีค้างชำระ ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 จากเดิมภายในเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นภายในเดือนสิงหาคม 2565
  4. ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแจ้งรายการภาษีค้างชำระ ให้สำนักงานที่ดินหรือสำนักงานที่ดินสาขา ตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 จากเดิมภายในเดือนมิถุนายน 2565 เป็นภายในเดือนกันยายน 2565

สรุปการปรับเวลาเลื่อนเก็บภาษีที่ดิน 2565

ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2565 นี้ กำหนดการเดิมจะเปลี่ยนแปลง ดังนี้

กิจกรรม เดิม ใหม่
ชำระภาษี ภายใน เม.ย. 2565 ภายใน ก.ค. 2565
ผ่อนชำระภาษีงวดแรก ภายใน เม.ย. 2565 ภายใน ก.ค. 2565
ผ่อนชำระภาษีงวดที่สอง ภายใน พ.ค. 2565 ภายใน ส.ค. 2565
ผ่อนชำระภาษีงวดที่สาม ภายใน มิ.ย. 2565 ภายใน ก.ย. 2565
ส่งหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่ค้างชำระภาษี ภายใน พ.ค. 2565 ภายใน ส.ค. 2565
ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแจ้งรายการภาษีค้างชำระ ให้สำนักงานที่ดินหรือสำนักงานที่ดินสาขา
ภายใน มิ.ย. 2565 ภายใน ก.ย. 2565

ภาษีที่ดิน เลื่อนเก็บภาษีที่ดิน

Last modified: 27 June, 2022

 “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565” (Part 1)

มาดูกันนะคะว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปีนี้จะมีอะไรเปลี่ยนไปจากปีที่แล้วมั้ยน้าา ??

🌟ฐานภาษี ผู้เสียภาษี และผู้จัดเก็บภาษี

👉ฐานภาษี :

▪มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ราคาประเมินทุนทรัพย์)

👉ผู้เสียภาษี :

▪เจ้าของที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง

▪ผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)

▪เจ้าของห้องชุด

👉ผู้จัดเก็บภาษี :

▪กรุงเทพมหานคร

▪เทศบาล

▪อบต.

🤔การจัดเก็บภาษี พิจารณาการทำประโยชน์อย่างไร ?

1. เกษตรกรรม

ทำนำ ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการตามที่ประกาศกำหนด

▪ดูตามสภาพข้อเท็จจริง

▪หากทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์

▪รวมถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อเนื่องที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม

2. ที่อยู่อาศัย

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัย แบ่งเป็น

▪บ้านหลังหลัก

▪เจ้าของบ้านและที่ดิน

▪เจ้าของเฉพาะตัวบ้านมีชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ + ทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน หรือเจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน)

🏘บ้านหลังอื่นๆ

▪เจ้าของบ้านที่ชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

3. อื่นๆ

▪พาณิชยกรรม

▪อาคารสำนักงาน

▪อุตสาหกรรม

▪ร้านอาหาร

▪โรงแรม

▪อื่นๆ

4. ว่างเปล่า / ไม่ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

▪ทิ้งที่ดินไว้ว่างเปล่า

▪ไม่ได้ประโยชน์ในปีก่อนหน้า

สรุป “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565” (Part 2)

ต่อจาก Part 1 กันนะคะ โดยในตอนนี้เราจะมาพูดถึง อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2565-2565

👉มาดูกันนะคะ ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนไปจากปีที่แล้วมั้ย ??


🏡🏗อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565-2566

1. เกษตรกรรม

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 75 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.01%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 7,500 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 75 - 100 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.03%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 30,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 100 - 500 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.05%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 250,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 500 – 1,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.07%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 700,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 1,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.1%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 1,000,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

2. ที่อยู่อาศัย

2.1 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

(เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 25 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.03%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 7,500 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 25 - 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.05%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 25,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.1%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

2.2 สิ่งปลูกสร้าง

(เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 40 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.02%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 8,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 40 – 65 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.03%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 19,500 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 65 – 90 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.05%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 45,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 90 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.1%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 90,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

2.3 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย

นอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม 2.1 และ 2.2 (บ้านหลังอื่นๆ)

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 0 - 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.02%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 10,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 50 - 75 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.03%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 22,500 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 75 - 100 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.05%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 50,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 100 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.1%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป

3. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก 1 และ 2

▪มูลค่าทรัพย์สิน : ไม่เกิน 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.3%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 150,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 50 - 200 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.4%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 800,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 200 – 1,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.5%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 5,000,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 1,000 – 5,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.6%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 30,000,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 5,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.7%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 35,000,000 บาทขึ้นไป

4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์

▪มูลค่าทรัพย์สิน : ไม่เกิน 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.3%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 150,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 50 - 200 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.4%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 800,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 200 – 1,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.5%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 5,000,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 1,000 – 5,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.6%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 30,000,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 5,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.7%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 35,000,000 บาทขึ้นไป

สรุป “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565” (Part 3)

มาถึง part สุดท้ายแล้วนะคะ สำหรับเรื่อง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565” โดยใน Part สุดท้ายนี่เราจะพูดถึงเรื่องอะไรมารับชมพร้อมๆกันได้เลยค่า

👉มาดูกันนะคะ ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนไปจากปีที่แล้วมั้ย ??


🗓Timeline การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565

▪เดือนมกราคม : ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษี

▪เดือนกุมภาพันธ์ : การแจ้งประเมินภาษี โดยส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี

▪เดือนเมษายน : ชำระภาษี

▪เดือนเมษายน – มิถุนายน : ผ่อนชำระภาษี

▪เดือนพฤษภาคม : แจ้งเตือนภาษีค้างชำระ

▪เดือนมิถุนายน : แจ้งชื่อผู้ค้างชำระภาษี

‼️โทษปรับ หากชำระภาษีเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด

1. เบี้ยปรับ

ค่าปรับจากการที่ชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด

- ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด และได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ

- ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีตามเวลาที่แจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ

- ไม่ได้ขำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ

2. เงินเพิ่ม

- ดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระภาษีล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด

- คิดอัตรา 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) โดยไม่นำเบี้ยปรับมารวมคำนวณเพื่อเสียเงินเพิ่มด้วย

- เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีจนถึงวันที่ชำระภาษี

- เพดานสูงสุดไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่จะชำระ (แต่ถ้าได้รับการขยายกำหนดเวลาชำระภาษี และชำระภาษีภายในกำหนดเวลานั้น อัตราเงินเพิ่มจะลดลงเหลือ 0.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน)

3. โทษทางอาญา

การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือการนำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ มาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องโดนเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม

(หากเป็นกรณีที่ชำระภาษีล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด)

- เนื่องจากไม่ได้รับใบประเมินเรียกเก็บภาษี หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ขยาย หรือเลื่อนกำหนดเวลาในการชำระภาษีด้วยตนเอง

ผู้เสียภาษีไม่มีความผิด จึงไม่ต้องเสียภาษี

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

.

➡️ ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line : //page.line.me/accrevo

Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

Instagram : accrevo_ai

Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

โทร : 086-531-6211

Website : www.accrevo.com

☑️☑️ สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> //bit.ly/2H8HqFE

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ