ปวดหัว ปวดเบ้าตา ปวดท้ายทอย

ปวดหัว ปวดเบ้าตา ปวดท้ายทอย

ปวดหัวตรงไหน บอกอะไร

ปวดหัวในตำแหน่งต่าง ๆ อาจจะพอบอกโรคคร่าว ๆ ได้บ้าง

  1. โรคปวดศีรษะที่พบมากที่สุด เป็นโรคปวดหัวที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ ตำแหน่งที่ปวดศีรษะที่พบบ่อยคือ ตำแหน่งบริเวณหน้าผากและขมับทั้งสองข้าง บางครั้งร้าวมาที่ด้านหลังของศีรษะและต้นคอ รวมถึงบ่าไหล่ร่วมด้วย อันนี้เป็นภาวะที่สัมพันธ์กับความเครียดด้วย
  2. ปวดศีรษะจากโรคไมเกรน จะมีอาการปวดบริเวณขมับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะปวดสลับกันได้ระหว่างข้างซ้ายหรือข้างขวา และเวลาปวดบางครั้งอาจจะมีปวดร้าวเข้ามาที่กระบอกตาร่วมด้วย คนไข้ก็จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ และขณะที่มีอาการปวด ถ้าอยู่ในที่แสงสว่างจ้า เสียงดังหรือว่ากลิ่นฉุนอาการจะแย่ลง
  3. ปวดอันต่อไปก็เป็นปวดที่พบบ่อย คือปวดบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้างลงมาจนถึงบริเวณหน้าผากด้วย หรือว่าปวดตรงบริเวณดั้งจมูก อันนี้เป็นตำแหน่งของไซนัส ถ้าเกิดมีการอักเสบของไซนัส คนไข้ก็จะมีอาการปวดที่ตรงตำแหน่งนี้
  4. ปวดที่เกิดจากการอักเสบของกราม มักจะมีอาการปวดบริเวณหน้าใบหู ซึ่งสัมพันธ์กับการเคี้ยวอาหารร่วมด้วย คนไข้บางคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีการกัดฟันตอนเวลานอน ตื่นเช้ามาก็รู้สึกว่าเวลาขยับปากหรือเวลาเคี้ยวอาหาร จะรู้สึกปวดบริเวณหน้าใบหู อาจจะสัมพันธ์กับภาวะกระดูกกรามหน้าใบหูอักเสบได้
  5. อาการปวดอาจจะมาจากโรคที่ร้ายแรงมากกว่านั้นได้อีก ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือว่าโรคเนื้องอกสมอง ซึ่งพวกนี้ อาการปวดจะมีลักษณะรุนแรง มีการปวดที่เป็นอย่างรุนแรงมากขึ้นชนิดที่ว่า ในชาตินี้ไม่เคยปวดแบบนี้มาก่อน ไม่เคยปวดแบบนี้จนถึงอายุเกิน 50 ปี อันนี้เราก็เริ่มสงสัยแล้ว นอกจากนี้อาจจะมีอาการมองเห็นที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเห็นภาพซ้อน หรือว่ามองเห็นไม่ชัด มีการชาหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกายร่วมด้วย หรือบางคนอาจจะมีลักษณะพฤติกรรมที่ผิดปกติไปกว่าเดิม รวมไปถึงชัก เมื่อมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้มาพบแพทย์โดยเร่งด่วน หรือว่าอาการปวดศีรษะที่มีไข้หรือคอแข็งร่วมด้วย พวกนี้อาจจะเป็นตัวบอกว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง อันนี้ก็แนะนำให้มาพบแพทย์

ข้อมูลโดย
ผศ. พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ปวดหัวตรงไหน บอกอะไร” ได้ที่นี่

สายตาผิดปกติกับการปวดศรีษะ อ่าน 6,600

ปวดหัว ปวดเบ้าตา ปวดท้ายทอย

อาการปวดศีรษะเป็นการเจ็บป่วยที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง ดังจะเห็นได้จาก สถิติการจำหน่ายยาแก้ปวดภายในประเทศ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าพันล้านบาทต่อปี แม้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจดีว่าอาการปวดศีรษะโดยมากเกิดจากความเครียด ซึ่งไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าความผิดปกติของสายตาเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของอาการปวดศีรษะ ซึ่งความจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น
 

สาเหตุของการปวดศีรษะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. ปวดเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
2. ปวดเนื่องจากไมเกรน
3. ปวดเนื่องจากโรคภายในศีรษะ ตา หู และฟัน เป็นต้น
 

1. การปวดศีรษะเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยอาจรู้สึกสับสนเกี่ยวกับสาเหตุของการปวด เพราะบ่อยครั้งที่ มีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณหลังคอและท้ายทอย กลับทำให้รู้สึกปวดบริเวณหน้าผาก ขมับ ท้ายทอย หรือรอบกระบอกตา แทนที่จะปวดในบริเวณที่กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยเฉพาะ

  สาเหตุของการปวดศีรษะ เนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง อาจเป็นผลจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นบางขณะในชีวิตประจำวัน เช่น เครียดกับการทำงานหรือปัญหาครอบครัว จากการหลับนอนหรือทำงานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามอาการปวดศีรษะที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งคราวเท่านั้น และสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดทั่วไป

  ผู้ป่วยที่ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง บางรายอาจมีอาการเรื้อรัง เนื่องจากสัมพันธ์กับโรคประสาทที่มีอาการซึมเศร้า ภาวะของการมีข้อต่อกระดูกอักเสบ หรือเป็นผู้ที่มีบุคลิกเครียดหรือกังวลอยู่

  อาการปวดศีรษะที่เกิดจากสายตาเพลีย มีสาเหตุจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเช่นกัน แต่เป็นกล้ามเนื้อตา ซึ่งต้องทำงานมากเมื่อดูใกล้ติดต่อกันครั้งละนานๆ อาการปวดศีรษะที่เกิดจากสายตาเพลีย จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ป่วยใช้สายตาอย่างหนักเท่านั้น

2. การปวดศีรษะเนื่องจากไมเกรน

กลไกของการปวดเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดภายในศีรษะ ซึ่งมักจะพบบ่อยกับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน โดยเฉลี่ยจะมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณหนึ่งต่อสิบคน แม้แต่เด็กเล็กก็อาจเกิดอาการเช่นนี้ได้ เช่น บางคนจะรู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรงเป็นช่วงสั้นๆ บางคนมีอาการเห็นแสงวิ่งเป็นเส้นหยัก แล้วตามมาด้วยอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ขณะที่บางคนเห็นแค่แสงแต่ไม่มีอาการปวด และบางคนที่มีอาการปวดศีรษะรุนแรงแต่ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย 

  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนจะมีลักษณะอาการที่เหมือนกัน คืออาการปวดมักไม่ต่อเนื่อง จะเป็นรุนแรงในซีกใดซีกหนึ่งของศีรษะ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีผลแทรกซ้อนที่รุนแรง การเกิดของไมเกรนมักสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระดับความเครียดอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นควรป้องกันไม่ให้เกิดความเครียด แทนที่จะรักษาเมื่อเกิดอาการขึ้นแล้ว

3. การปวดเนื่องจากโรคในศีรษะและสาเหตุอื่นๆ

การปวดศีรษะที่เกิดจากโรคตา มักจะเกิดอาการที่ตา หรือคิ้วของข้างที่เป็น และมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สายตามัวมองเห็นไฟเป็นสีรุ้งหรือสู้แสงไม่ได้ เป็นต้น

  ส่วนอาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคของหู ฟัน ข้อขากรรไกร หรือเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า มักมีลักษณะแตกต่างจากอาการปวดศีรษะทั่วไปได้ ความแตกต่างนี้จะช่วยในการวินิจฉัยหาสมมติฐานของโรคได้

  ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ ควรตรวจวัดความดันโลหิตด้วย ส่วนอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นจากเนื้องอก หรือโรคของสมองนั้นพบได้น้อย อาการปวดมักมีลักษณะเฉพาะ เช่น เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน บางครั้งความรุนแรงของอาการปวดศีรษะอาจเปลี่ยนแปลงไปตามอิริยาบถ เช่น ปวดหัวเมื่ออยู่ในท่าที่ศีรษะอยู่ในระดับต่ำ ตลอดจนมีอาการอื่นๆ เช่น ชา มึนงง แขนขาอ่อนแรง หรือชัก นอกจากนี้การมีไข้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

การตรวจและวินิจฉัย

อาการปวดศีรษะเป็นปัญหาที่พบบ่อย โดยมากไม่มีอันตรายร้ายแรง ดังนั้น การตรวจสอบอย่างละเอียดทางการแพทย์ จึงทำเฉพาะกรณีผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง หรือเป็นซ้ำบ่อยครั้ง แพทย์ทั่วไปสามารถวิเคราะห์สมสติฐานของโรคได้ ผู้ป่วยที่ปวดศีรษะแล้วมีอาการไม่สบายตาร่วมด้วย จักษุแพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุว่าเป็นปัญหาทางตาหรือไม่
 

การรักษา

วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะนั้นขึ้นกับสาเหตุ หากเกิดจากโรคที่อันตรายหรือรุนแรง จะใช้วิธีการรักษาโรคที่อันตรายหรือรุนแรง จะใช้วิธีการรักษาโดยการใช้ยาและผ่าตัด หากเกิดจากภาวะจิตซึมเศร้าหรือกังวลเรื้อรัง จิตแพทย์จะเป็นผู้ให้การรักษา ส่วนอาการปวดศีรษะที่เกิดจากไมเกรนหรือความเครียด แพทย์จะให้ยาและแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัว ซึ่งจะช่วยให้อาการดีชื้นมาก กรณีปวดศีรษะเนื่องจากปัญหาทางตา เช่น สายตาผิดปกติหรือใช้แว่นตาไม่ถูกต้อง จักษุแพทย์สามารถตรวจและวินิจฉัยถึงสาเหตุ ตลอดจนให้การรักษาและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน

  บทความโดย : จักษุแพทย์โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน

อาการปวดหัวปวดเบ้าตาเกิดจากอะไร

การปวดหัวจากความเครียดของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับตา คือการปวดกระบอกตา หลังจากทำงานที่ละเอียด หรือต้องใช้สายตา เช่น งานฝีมือ หรืออ่านหนังสือตัวเล็กๆ นานๆ พวกนี้จะมีอาการปวดกระบอกตา และอาจร้าวไปถึงท้ายทอยได้ สาเหตุ เกิดจากล้ามเนื้อตาล้า หรือกล้ามเนื้อตา ที่ทำงานเกี่ยวกับการเพ่งไม่แข็งแรงคือเพ่งไม่เก่งนั่นเอง ไมเกรน

อาการปวดหัวปวดท้ายทอยเกิดจากอะไร

อาการปวดท้ายทอยหรือปวดศีรษะด้านหลังอาจเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณคอก็เป็นได้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งก้มหน้าเล่นโทรศัพท์นาน ๆ หรือการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกินไป หรือขับรถนาน ๆ ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อคออักเสบ มีอาการปวดท้ายทอยได้ ส่วนการรักษาอาจกินยาพาราเซตามอลบรรเทา ...

ปวดหัวท้ายทอย อันตรายไหม

หากมีอาการปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก ปวดท้ายทอยมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ และแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก อย่าชะล่าใจปล่อยให้อาการรุนแรง ควรรีบมาพบแพทย์และทำการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อให้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม

มึนหัวปวดต้นคอเกิดจากอะไร

อาการมึนศีรษะ ปวดตามต้นคอและบ่า ดังกล่าวมานั้น อาจจะเกิดจาก การมีกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นตึงตัวจากการใช้งาน เช่นมีการเกร็งกล้ามเนื้อตรงบริเวณศีรษะและคอนานๆ เช่นการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ การเพ่งสายตา สาเหตุอื่นๆเช่น ปวดไมเกรน มักปวดศีรษะมากข้างเดียว มีคลื่นไส้ ตาพร่าร่วมด้วยได้ หรือมีภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่ค่อยปวด ...