การถ่ายโอนความร้อน ตัวอย่าง

การถ่ายโอนความร้อน ตัวอย่าง

heat transfer หรือคุ้นเคยกันในชื่อการถ่ายโอนความร้อน เป็นการเอาทฤษฎีการนำความร้อนในรูปแบบที่แตกต่างกันมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ผ่านการถ่ายเทความร้อน แต่สิ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ คือ การถ่ายโอนพลังงานความร้อนเป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญต่อระบบทำความเย็น ซึ่งเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับหลาย ๆ อุตสาหกรรมในปัจจุบัน

บทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการถ่ายเทความร้อน ไม่ว่าจะเป็น ความหมายของการถ่ายโอนความร้อน รูปแบบการกระจายความร้อน หรือหลักการนำ heat transfer ไปใช้ในอุตสาหกรรมระบบทำความเย็น เป็นต้น

การถ่ายโอนความร้อน หรือ การถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) คือ

การถ่ายโอนความร้อน หรือการถ่ายเทความร้อน (heat transfer) เป็นพฤติกรรมทางความร้อนที่เกิดการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยถ่ายเทความร้อนจะหยุดก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิที่เท่ากัน heat transfer มีความสำคัญในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • การปรุงอาหารด้วยความร้อน
  • และระบบความเย็นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ 
  • กระบวนการแปรรูปอาหาร เช่น การแช่เย็น การอบแห้ง เป็นต้น

ซึ่งการถ่ายเทความร้อน (heatflow) มีรูปแบบการเคลื่อนที่ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การพาความร้อน การแผ่รังสีความร้อน และการนำความร้อน


การพาความร้อน (Convection)

การถ่ายโอนความร้อน ตัวอย่าง

การพาความร้อน (Convection) เป็นหนึ่งในรูปแบบการเคลื่อนที่ของการถ่ายโอนความร้อน (heat transfer) ที่เกิดขึ้นในของไหล เช่น ของเหลวหรือแก๊ส ที่มีโมเลกุลอิสระซึ่งจะสามารถเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ ได้ การพาความร้อนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • การพาความร้อนแบบธรรมชาติ (Natural or Free Convection) : เป็นการเคลื่อนที่ของความร้อนระหว่างของแข็งและของไหล โดยไม่มีปัจจัยใด ๆ มากระตุ้น ซึ่งผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นจากอุณหภูมิของไหลที่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดแรงลอยตัวขึ้น
  • การพาความร้อนแบบบังคับ (Forced Convection) : เป็นการเคลื่อนที่ของความร้อนระหว่างของแข็งและของไหล จากการที่ของไหลถูกบังคับให้เคลื่อนที่ไปสัมผัสกับผิวของของแข็ง โดยกลไกภายนอก เช่น  เครื่องสูบ หรือพัดลม เป็นต้น

การพาความร้อนจะทำให้ของไหลเกิดการขยายตัว ทำให้มีความหนาแน่นลดลงจนเกิดการลอยตัวพาเอาความร้อนเคลื่อนที่ติดไปด้วย จากนั้นของไหลที่มีอุณหภูมิต่ำ และมีความหนาแน่นสูงกว่าจะลงมาแทนที่และไปติดกับโมเลกุลซึ่งกำลังเคลื่อนที่อยู่ ส่งผลให้เกิดการถ่ายเทความร้อนและเกิดการไหลเวียนความร้อนขึ้น


การแผ่รังสีความร้อน (Radiation)

การถ่ายโอนความร้อน ตัวอย่าง

การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) เป็นการเคลื่อนที่ของการถ่ายโอนความร้อน (heat transfer) อีกรูปแบบหนึ่ง โดยความร้อนที่ส่งออกมาจะอยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เคลื่อนที่อย่างอิสระ ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง และไม่ต้องการตัวกลางในการเคลื่อนที่ 

การแผ่รังสีความร้อนเป็นการถ่ายเทความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางใด ๆ ซึ่งเป็นการแผ่รังสีที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับคลื่นแสง เช่น การถ่ายโอนความร้อนจากดวงอาทิตย์ หรือความรู้สึกร้อนเมื่อสัมผัสหลอดไฟฟ้า การแผ่รังสีความร้อนนั้นจะเกิดขึ้นได้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดกลืนความร้อนของวัตถุแต่ละชนิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย คือ

  • สีของวัตถุ : วัตถุสีเข้มจะดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าวัตถุสีอ่อน
  • ผิววัตถุ : วัตถุผิวขรุขระจะดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าวัตถุผิวเรียบ

การนำความร้อน (Conduction)

การถ่ายโอนความร้อน ตัวอย่าง

การนำความร้อน (Conduction) เป็นการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งของการถ่ายเทความร้อน (heat transfer) จากวัตถุหนึ่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังอีกวัตถุหนึ่งที่มีชนิดเดียวกันหรือต่างกันที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยไม่มีตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น การจับแท่งโลหะที่ปลายอีกข้างเผาไฟจากนั้นจะรู้สึกถึงความร้อนมาถึงมือที่จับแท่งโลหะอยู่

การนำความร้อนเป็นการถ่ายเทความร้อนผ่านจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่งโดยการสัมผัสกัน ซึ่งวัตถุจะนำความร้อนได้ดีหรือไม่ดีนั้น จะขึ้นอยู่กับสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (k) นอกจากนี้การนำความร้อนจะเกิดขึ้นในของแข็งได้ดีในของเหลวและแก๊สเท่านั้น

ตัวนำความร้อนที่ดี

ตัวอย่าง 10 วัสดุตัวนำความร้อนที่ดีหลังจากผ่านการให้ความร้อนแล้ว สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

  • เงิน 
  • ทองแดง 
  • อะลูมิเนียม
  • แมกนีเซียม
  • สังกะสี
  • นิกเกิล
  • แคดเมียม
  • โคบอลต์
  • เหล็ก
  • สเตนเลส

ตัวอย่างการถ่ายโอนความร้อน Heat Transfer ในอุตสาหกรรมระบบทำความเย็น

การถ่ายโอนความร้อน ตัวอย่าง

การถ่ายโอนความร้อน (heat transfer) ที่พบได้บ่อยในอุปกรณ์ที่ช่วยในการทำงานของระบบทำความเย็นภายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 อุปกรณ์ ดังนี้

  • คอนเดนเซอร์ : เป็นอุปกรณ์ควบแน่นที่พบได้ในระบบทำความเย็นทั่วไป ทำหน้าที่ควบแน่นสารทำความเย็นให้กลั่นตัวให้เป็นของเหลวภายในคอนเดนเซอร์ด้วยการถ่ายโอนความร้อน
  • shell and tube heat exchanger : เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายเทความร้อนจากของไหลชนิดหนึ่ง ไปยังของไหลอีกชนิดหนึ่ง ผ่านผนังท่อโดยของไหลทั้งสองชนิดจะไม่เกิดการผสมกัน
  • ฟินคอยล์ : เป็นอุปกรณ์หนึ่งในระบบแลกเปลี่ยนความร้อนเย็นและระบบปรับอากาศ ฟินคอยด์ทั้ง 3 ชนิด มีหน้าที่หลักในการถ่ายโอนความร้อนทั้งสิ้น

สรุปการถ่ายโอนความร้อน

การถ่ายโอนความร้อน หรือการถ่ายเทความร้อน (heat transfer) เป็นหลักการถ่ายเทความร้อนที่สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ การพาความร้อน การแผ่รังสีความร้อน และการนำความร้อน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการนำความร้อนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

นอกจากนี้ heat transfer จะเป็นสิ่งที่ผู้คนนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว การถ่ายเทความร้อนยังมีการนำมาปรับใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมทำความเย็น อุตสาหกรรมอาหาร หรืออุตสาหกรรมการขนส่ง การถ่ายโอนความร้อนจึงเป็นอีกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที


  • ตอนที่ 1 : Chiller (ชิลเลอร์) ระบบทำความเย็น เครื่องทำความเย็น และชิลเลอร์ในทางอุตสาหกรรม
  • ตอนที่ 2 : เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ระบบปรับอากาศ Air Conditioning คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร? มีกี่ประเภท?
  • ตอนที่ 3 : Accumulator ระบบทำความเย็นคืออะไร มีประโยชน์ยังไง แอคคิวมูเลเตอร์ทําหน้าที่อะไรและมีหลักการทำงานยังไงบ้าง
  • ตอนที่ 4 : BTU (บีทียู) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับแอร์?
  • ตอนที่ 5 : เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ใช้ทำอะไรได้บ้าง ดูแลรักษาอย่างไร
  • ตอนที่ 6 : 10 อันดับ โรงงานผลิตเครื่องสำอาง บริษัทไหนมีผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง มาดูกัน
  • ตอนที่ 7 : โรงงานผลิตครีม ที่ได้มาตรฐานสากล สร้างแบรนด์ครีมบริษัทเหล่านี้ดีแน่
  • ตอนที่ 8 : 12 อันดับโรงงานผลิตคอลลาเจนที่ไหนดีประจำปี 2565
  • ตอนที่ 9 : โรงงานผลิตสบู่ ได้มาตรฐาน พร้อมสร้างแบรนด์
  • ตอนที่ 10 : แอร์โรงงานอุตสาหกรรมและแอร์บ้าน แตกต่างกันยังไง? (ฝากแต่งด้วยครับ)
  • ตอนที่ 11 : รับผลิต Water-Cooled Condensers คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำ
  • ตอนที่ 12 : 12 โรงงานรับผลิตกาแฟ ที่ไหนดี รวมรายชื่อไว้ให้แล้วที่นี่
  • ตอนที่ 13 : ติดตั้งเครื่องสแกนนิ้วคุณภาพดี ประโยชน์ครอบคลุม ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองเพียง 3 ขั้นตอน
  • ตอนที่ 14 : คอยล์ร้อนคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
  • ตอนที่ 15 : การถ่ายโอนความร้อน หรือ การถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) คือ
  • ตอนที่ 16 : ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ( Clean Agent ) ราคาพิเศษ ขนาด 10, 15 lbs
  • ตอนที่ 17 : ถังดับเพลิง ราคาพิเศษ บริษัทที่ขายถังดับเพลิงทุกประเภทที่มีคุณภาพสูง
  • ตอนที่ 18 : อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) หรือ คอยล์เย็น คืออะไร ทำอะไรในระบบทำความเย็น