เช่าซื้อ ทรัพย์สิน บันทึกบัญชี

ความแตกต่างระหว่างการเช่ากับการเช่าซื้อทรัพย์สิน

Publish date : 22/05/2020 | Publish by : abhimuk

การเช่าและการเช่าซื้อทรัพย์สิน มักจะหมายถึงการทำสัญญาเช่าหรือทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงถ้ากิจการต้องลงทุนซื้อเงินสดก็คงมีไม่เพียงพอดังนั้นผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อที่มีเงินไม่เพียงพอจึงต้องการที่จะผ่อนชำระเป็นงวดๆเพื่อลดภาระการจ่ายเงินเป็นก้อนในครั้งเดียว ส่วนใหญ่กิจการที่เป็นนิติบุคคลจะตัดสินใจเช่าหรือว่าเช่าซื้อมักคำนึงถึงวิธีการลงบัญชีมากกว่าเพื่อให้งบการเงินออกมาดีไม่ขาดทุนนั่นเอง ทรัพย์สินที่สถาบันการเงินหรือบริษัทเช่าซื้อพร้อมให้สินเชื่อได้ทั้งเช่าแบบ Leasing หรือเช่าซื้อ(Hire purchase) ก็คือ รถยนต์นั่งและรถบรรทุกเกือบทุกประเภท, เครื่องจักรที่มีตลาดมือสองรองรับเช่น เครื่องพิมพ์สี่สี เครื่องฉีดหรือเป่าพลาสติกเป็นต้น สำหรับทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ประเภท ที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้างไม่มีการให้เช่าซื้อจะมีก็แต่เพียงสัญญาเช่ากับเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นอาจจะเป็นการเช่าทั้งระยะยาวและระยะสั้นก็ได้ หากระยะเวลาการเช่านานเกิน 3 ปีก็ขึ้นไปก็ต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานเขตที่ทรัพย์สินนั่นตั้งอยู่ การขอสินเชื่อลีสซิ่งซึ่งแปลว่าการเช่านั่นเองและการขอสินเชื่อเช่าซื้อกับผู้ขายทรัพย์สินถือเป็นการให้วงเงินสินเชื่ออย่างหนึ่งเป็นประเภทสินเชื่อระยะยาว การทำสัญญาเช่าแบบลีสซิ่งนั้นผู้เช่ายังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์สินจนกว่าจะตกลงกันกับผู้ให้เช่าว่าจะซื้อทรัพย์สินหรือไม่ตามราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเมื่อชำระเงินครบตามจำนวนที่ตกลงกันไว้แล้วทรัพยสินนั้นถึงจะเป็นของผู้เช่า

    สินเชื่อเช่าซื้อทรัพย์สิน เป็นการซื้อทรัพย์สินแบบผ่อนชำระจะมีการกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระและจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระ ในการบันทึกบัญชีของกิจการที่เป็นนิติบุคคลจะบันทึกความเป็นเจ้าของทรัพย์สินตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาโดยบันทึกทรัพย์สินในฝั่งสินทรัพย์ถาวรของงบแสดงฐานะทางการเงิน ส่วนเงินที่ค้างหรือจำนวนหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อจะถูกบันทึกเป็นหนี้ที่ต้องผ่อนชำระในฝั่งเจ้าหนี้เงินกู้ของงบแสดงฐานะทางการเงิน ค่างวดที่ผ่อนชำระจะไปตัดจากหนี้เช่าซื้อที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในงบการเงิน ดังนั้นผู้เช่าซื้อควรเข้าใจว่าทรัพย์สินที่เช่าซื้อมานั้นเป็นทรัพย์สินของผู้เช่าซื้อเอง หากยังมีหนี้ที่ค้างชำระแต่ทรัพย์สินถูกยึดไปขายแล้วยอดหนี้คงค้างหักลบกับราคาขายรถที่ยึดไปเมื่อไม่เพียงพอผู้เช่าซื้อก็ยังมีหน้าที่ต้องชำระให้ครบจำนวนอยู่นั่นเอง

    สินเชื่อเช่าแบบลีสซิ่ง การเช่าแบบลีสซิ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เช่าคือ

    1. สัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease) คล้ายกับการทำเช่าซื้อแต่ความเป็นเจ้าของยังบันทึกในงบการเงินไม่ได้เหมือนสัญญาเช่าซื้อ แต่ภาระผูกพันเท่ากันคือยังคงความเป็นหนี้กับผู้ให้เช่าแต่มีสิทธิ์ในการซื้อทรัพย์สินได้เมื่อครบกำหนดการเช่า ผู้ให้เช่าจะมีบันทึกสัญญาต่อท้ายเรื่องการซื้อทรัพย์สินโดยระบุราคาซื้อเมื่อครบกำหนดการเช่า ระยะเวลาการเช่าของสัญญาเช่านี้จะมีอายุนานประมาณ 3 ปีขึ้นไปและมักทำสัญญาเช่ากับทรัพย์สินที่มีราคาสูงๆ การบันทึกค่าเช่าจะถือเป็นค่าใช้จ่ายหักได้ครบ 100% ยกเว้นรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งที่ให้หักได้ไม่เกินจำนวน 36,000 บาทต่อเดือนในบัญชีภาษีส่งสรรพากร

    2. สัญญาเช่าดำเนินการ (Operating lease) เป็นสัญญาเช่าที่เหมือนการเช่าจริงๆ มีระยะสั้นประมาณตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี สินเชื่อเช่าดำเนินการนี้จะถูกใช้กับการซื้อทรัพย์สินประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องใช้สำนักงาน โดยผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจะซื้อทรัพย์สินมาให้บริษัทที่เป็นนิติบุคคลเช่าโดยกำหนดระยะเวลาการเช่าตามที่ผู้เช่าต้องการเมื่อครบกำหนดก็จะมานำทรัพย์สิน

เช่าซื้อ ทรัพย์สิน บันทึกบัญชี




เช่าซื้อ ทรัพย์สิน บันทึกบัญชี

กรณี เช่าซื้อ และ ลิสซิ่ง กับการ ประหยัดภาษี คงเป็นประเด็นที่นักบัญชีและสรรพากร เองก็คงกุมขมับทุกครั้งที่พูดถึง และในมุมของผู้ประกอบการนั้น การที่จะเช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง แล้วต้องการจะปรับหยัดภาษีแบบไหนจะมากกว่ากัน วันนี้เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ

–   สมมุตว่าซื้อรถยนต์ มูลค่า   4,799,000 บาท

–   จ่ายเงินดาวน์   2,251,264.48 บาท

–   ผ่อน 60 งวด งวดที่ 1 – 59 ผ่อนงวดละ 36,000 บาท

–  งวดที่ 60 ผ่อน 1,235,750 บาท

–   ราคาซากหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า 3,471,324 บาท

 เรามาทำความเข้าใจกับสัญญาการซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง  การบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษีของรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ได้มาโดยสัญญา แต่ละประเภทกันก่อนดีกว่า  พอจะสรุปได้ดังนี้

ลำดับ

สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อทรัพย์สิน

คชจ.ทางบัญชี

คชจ.ทางภาษี

1

สัญญาเช่าซื้อ หรือ เงินสด

ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวน

ค่าเสื่อมราคาส่วนที่ไม่เกินล้าน(ที่เกินล้านบวกกลับ)

2

สัญญาลิสซิ่ง (ทางการเงิน)

ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวน

ค่าเช่าไม่เกิน36,000.-/เดือน (บวกกลับค่าเสื่อม)

3

สัญญาลิสซิ่ง(ดำเนินงาน)

ค่าเช่าตามจริง

ค่าเช่าไม่เกิน 36,000.-/เดือน (บวกกลับค่าเช่าส่วนเกิน)

 จากข้อมูล การซื้อรถยนต์ BMW  โดยสัญญาลิสซิ่ง(ทางการเงิน)  จะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายทางบัญชี และ ค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนี้

ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี  1 ปี  ( 4,799,000 * 20% *1 )                                              =      959,800.00   บาท

ค่าเสื่อมราคาทางภาษี  1 ปี    ( 4,799,000 + 832,324 ) * 20% * 1                           =   1,126,264.80   บาท

เทียบค่างวดที่ผ่อนชำระ  1  ปี    ( 36,000 * 12 )                                                       =      432,000.00   บาท

ประเภทสัญญา

ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี

ค่าเสื่อมราคาทางภาษี

ค่าเสื่อมราคาบวกกลับทางภาษี

สัญญาเช่าซื้อ

959,800

200,000

759,800

สัญญาเช่าลิสซิ่ง(ทางการเงิน)

1,126,264.80

432,000

694,268.80

จากข้อมูลสรุปข้างต้นการซื้อรถยนต์ตามสัญญาลิสซิ่ง ทางบัญชีจะบันทึกเป็นทรัพย์สิน และคำนวณหักค่าเสื่อมราคา แต่ทางภาษีถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นการเช่า เนื่องจากกรรมสิทธิ์ตามสัญญายังไม่เป็นของบริษัท จึงต้องบวกกลับค่าเสื่อมทางบัญชีในการคำนวณภาษี และนำค่าเช่าหรือค่างวดที่จ่ายชำระมาหักเป็นรายจ่าย แต่ไม่เกินเพดานที่กำหนด

 จากข้อมูลสรุปได้ว่า การซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ด้วยสัญญาลิสซิ่ง  จะสามารถประหยัดภาษีมากกว่า  สัญญาเช่าซื้อ

โดยสามารถนำค่างวดที่ชำระไม่เกินเพดานที่กำหนด คูณ ด้วยระยะเวลาเช่า ซึ่งสามารถหักรายจ่ายได้เท่ากับ

 432,000 X 5         =             2,160,000

 เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาเช่าซื้อ จะสามารถหักค่าเสื่อมราคาฯ รถยนต์ได้เพียง 1.0 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อครบสัญญาลิสซิ่ง  หากกิจการซื้อซากรถยนต์ มูลค่า 3,471,324  บาท สามารถนำมาบันทึกทรัพย์สิน และคำนวณหักค่าเสื่อมราคาฯ ทางภาษีสำหรับมูลค่าส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาทได้อีกด้วยจ้า

 ที่ปรึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  คำตอบข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน เพื่อทำความเข้าใจ สำหรับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในอนาคตต่อไป

อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เราคิดตามกรณี รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ซึ่งถ้าเป็นกรณีรถทั่วไป เช่น รถกระบะ หรือรถตู้11ที่นั่ง ก็จะถือว่า

> การเช่าซื้อสามารถตัดค่าเสื่อมราคาได้ทั้งมูลค่ารถยนต์ (ไม่มีเกณฑ์ห้ามเกิน 1 ล้านมาคิด) และ

> ถ้าเป็นกรณีลิสซิ่งก็สามารถนำค่าเช่ามาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เลยทั้งก้อน (ไม่จำกัดแค่ 36,000 บาท ต่อเดือน)

ที่มา : https://onesiri-acc.com/