หนังสือยกเลิกสัญญาซื้อขายบ้าน

การซื้อบ้านหนึ่งหลังผู้ซื้ออาจต้องทำสัญญาถึง 3 สัญญาด้วยกัน ถึงจะได้กรรมสิทธิ์ในตัวบ้านโอนมาเป็นของคนซื้อ อาจจะฟังดูเหมือนการซื้อบ้านหลังหนึ่งมีความซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าเข้าใจความหมายและหน้าที่ของสัญญาทั้งหมด จะพบว่าไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิดไว้เลย ซึ่งสัญญาทั้ง 3 ฉบับที่ผู้ซื้อสามารถพบเจอได้นั้น มีอะไรบ้างมาดูกันเลย

เป็นสัญญาแรกที่เกิดขึ้น แต่อาจไม่ได้เกิดกับผู้ซื้อทุกคน สัญญาประเภทนี้คือ เมื่อผู้ซื้อตัดสินใจที่จะซื้อบ้านก็ต้องวางเงินจองเอาไว้ก่อน (สำหรับบ้านใหม่) ซึ่งสัญญาจองซื้อนี้ระบุเงื่อนไขให้ผู้ซื้อต้องผ่อนเงินดาวน์ไปเรื่อย ๆ ตามรายการแนบท้ายสัญญา โดยหากผู้ขายได้รับใบอนุญาตให้ปลูกสร้างจากหน่วยงานราชการแล้ว ผู้ซื้อต้องเข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขายอีกครั้ง และมักมีเงื่อนไขระบุว่า หากไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขาย จะถือเป็นการยกเลิกสัญญาและถูกริบเงินมัดจำทั้งหมด แต่หากครบกำหนดผ่อนชำระแล้ว ผู้ขายไม่สามารถขออนุญาตก่อสร้างได้ก็จะคืนเงินให้แต่ไม่มีดอกเบี้ย 

แต่ในกรณีบ้านมือสองแล้วแต่เงื่อนไขบางที่จะให้วางเงินจองแล้วรอขอสินเชื่อกับธนาคารถ้าไม่ผ่านถึงจะคืนเงิน* หรือเปลี่ยนเป็นหลังอื่นที่ขนาด และราคาลดลงมา

เป็นสัญญาที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำ แต่ในชีวิตจริงเรื่องบ้านถือเป็นเรื่องใหญ่ รวมถึงอาจมีการขอสินเชื่อ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจของทั้ง 2 ฝ่าย จึงเกิด “สัญญาจะซื้อจะขาย” ขึ้น โดยสัญญาจะซื้อจะขายนี้ แตกต่างจากสัญญาจองซื้อตรงที่ผู้ซื้อมีหน้าที่จ่ายเงินตามสัญญา เมื่อครบกำหนดผู้ขายมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์บ้านโดยทำสัญญาซื้อขาย หากผู้ซื้อผิดสัญญา ผู้ขายสามารถยกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำหรือเงินดาวน์ที่ผ่อนมาได้ตามกฎหมาย หากผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อสามารถฟ้องให้โอนกรรมสิทธิ์ได้ หรือยกเลิกสัญญาและให้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่โครงการผิดนัด

เป็นสัญญาที่กฎหมายบังคับให้ทำ โดยมีชื่อเป็นทางการว่า “หนังสือสัญญาขายที่ดิน” โดยวันที่เซ็นสัญญาเป็นวันที่กรรมสิทธิ์ในตัวบ้านจะโอนมาเป็นของคนซื้อ ดังนั้น ผู้ขายต้องแจ้งผู้ซื้อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันทำสัญญาซื้อขาย สำหรับผู้ซื้อในวันทำสัญญาซื้อขายจะเป็นวันที่พร้อมชำระเงินหรือได้รับสินเชื่อจากธนาคารพร้อมที่จะจ่ายเงินให้กับผู้ขาย และเป็นวันที่ผู้ซื้อต้องเซ็นสัญญาซื้อขายที่สำนักงานที่ดิน จดทะเบียนการโอน และจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ดังนั้นในการซื้อบ้านหนึ่งหลัง อาจต้องทำสัญญากันถึง 3 ครั้ง แต่สัญญาครั้งสุดท้าย ถือเป็นสัญญาที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ “สัญญาซื้อขาย” ที่จะทำให้เรามีกรรมสิทธิ์ในตัวบ้านนั่นเอง

หลังจากตัดสินใจจองซื้อบ้านและทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านไปแล้ว หากโครงการนั้นมีปัญหาขึ้นมา เช่น ไม่ปลูกสร้างอาคาร หรือปลูกสร้างแต่ล่าช้า ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารแปลงที่ขาย ไม่ดำเนินการจัดทำสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและหรือสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินแปลงที่ขาย ปลูกสร้างบ้านไม่เรียบร้อย ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ทิ้งโครงการ หรือขายโครงการให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น แล้วผู้ซื้อจะทำอย่างไรได้บ้าง ? นี่จังเป็นอีกคำถามที่ทำให้หลายคนกังวลใจ Home Buyers จึงอยากจะมาช่วยคลายข้อข้องใจเหล่านี้

1. กรณีที่ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้

กรณีแรกหากผู้ขายไม่ทำงานให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ และส่วนนั้นเป็นสาระสำคัญ ถือว่าผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อก็มีสิทธิจะยกเลิกสัญญาได้ แต่อะไรบ้างที่เป็นส่วนสำคัญก็ต้องพิจารณากันเป็นกรณี ๆ 

ที่สำคัญผู้ซื้อต้องเก็บรวบรวมเอกสารตอนทำสัญญาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไว้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง หรือแม้แต่บอร์ดโฆษณาก็สามารถถ่ายรูปเก็บไว้ใช้ได้เช่นกัน

2. กรณีที่ก่อสร้างเสร็จล่าช้ากว่าข้อตกลง

ส่วนกรณีที่สองนั้นแยกออกเป็นสองลักษณะ คือในสัญญามีกำหนดเวลาแล้วเสร็จกันไว้ และไม่มีกำหนดเวลาส่งมอบ  

 หากมีกำหนดเวลา เมื่อครบกำหนดเวลานั้นแล้วยังสร้างไม่เสร็จ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าให้ส่งมอบก่อน บางกรณีไม่ได้กำหนดวันแล้วเสร็จไว้ แต่ระบุไว้คร่าวๆ เช่น คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 20 เดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2538 เมื่อครบกำหนดนี้แล้วยังส่งมอบไม่ได้ก็ถือว่าผิดสัญญา (ฎีกาที่ 132/2544) หรือระบุว่าโครงการจะแล้วเสร็จปลายปี พ.ศ.2539 เมื่อพ้นเวลานั้นแล้วยังไม่สามารถส่งมอบบ้านหรือห้องชุดได้ก็ถือว่าผิดสัญญา (ฎีกาที่ 851/2544) 

เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่เสร็จ ผู้ซื้อมีสิทธิหยุดชำระเงินได้เลยโดยไม่ผิดสัญญา แต่ถ้าไม่มีกำหนดเวลา หากผ่อนชำระจนครบตามงวดแล้ว หรือแม้ว่ายังไม่ครบ แต่ระหว่างผ่อนชำระทางผู้ขายก็ไม่ดำเนินการใดๆ เลย ทิ้งร้างไปบ้าง หรือเหลือเงินดาวน์น้อยแล้ว แต่ยังไม่สร้างสักที หรือความก้าวหน้างานช้าอย่างมาก พิจารณาดูแล้วหากผ่อนจนครบงวดเงินดาวน์ก็สร้างไม่ทันแน่ๆ ผู้ซื้อต้องมีหนังสือแจ้งให้เขาดำเนินการ มิเช่นนั้นแล้วจะเลิกสัญญา หากไม่ยอมทำตามจึงจะมีหนังสือยกเลิกสัญญาได้  

ซึ่งการเลิกสัญญาก็จะต้องมีหนังสือบอกกล่าวแสดงเจตนาว่าขอยกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้ขายผิดสัญญาเพราะอะไร และเรียกร้องเงินที่ชำระไปแล้วคืนทั้งหมด พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของเงินแต่ละงวดจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยหลังจากเลิกสัญญาแล้วก็ต้องฟ้องเรียกเงินคืน คดีลักษณะนี้เป็นคดีผู้บริโภคจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม    

หนังสือยกเลิกสัญญาซื้อขายบ้าน

ถือเป็นปัญหาที่เจอบ่อยมากๆ เวลาตัดสินใจจองซื้อบ้านไปแล้ว เเต่อยากจะยกเลิกสัญญา เพราะเห็นว่าโครงการนั้นมีปัญหาเหลือเกิน ไม่อยากฝากความหวังอีกต่อไป เเล้วทีนี้สัญญาเดิมต้องผ่อนต่อมั้ย เงินที่ผ่อนไปแล้วจะทำอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้เเล้วค่ะ
ส่วนใหญ่เเล้วปัญหาที่ผู้ซื้อปวดหัวมากที่สุด เจอบ่อยที่สุด ก็คือ...
- ไม่ปลูกสร้างอาคาร หรือปลูกสร้างเเต่ล่าช้า
- ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเเละเเปลงอาคารที่ขายได้
- ไม่ดำเนินการเรื่องสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่สามารถแบ่งเเยกโฉนดที่ดินแปลงที่ขายได้
- สร้างบ้านไม่เรียบร้อย ไม่ได้มาตรฐาน
- ทิ้งโครงการ หรือขายโครงการให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่นเเทน
ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามานี่เป็นเเค่ตัวอย่างคร่าวๆ เท่านั้นที่หลายคนเจอกัน ทีนี้เราจะแบ่งปัญหาออกเป็น 2 ลักษณะคร่าวๆ กันก่อนนะคะ คือ 1.ไม่เป็นตามที่ตกลงกันไว้ และ 2.เสร็จล่าช้ากว่าข้อตกลง

กรณีเเรก : ไม่เป็นตามที่ตกลงกันไว้
หากผู้ขายไม่ทำงานตามที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาและส่วนนั้นเป็นส่วนสำคัญ แบบนี้ถือว่าผู้ขายผิดสัญญา มีสิทธิยกเลิกสัญญาได้เลย เเต่มีอะไรบ้างที่สำคัญก็ต้องพิจารณากันเป็นกรณีๆ ไป
ยกตัวอย่าง...ก่อสร้างผิดจากแบบแปลน เช่น คานระบุไว้ 20X40 ซม. สร้างจริงเหลือ 15X40 ซม. หรือเสามีขนาดเล็กลง หลังคาไม่ใช้โครงเหล็กตามที่ระบุไว้ ไม่มีคานเอาคอนกรีตมารับแทน หรือเพิ่มจำนวนชั้นคอนโดมากขึ้น ไม่สร้างสาธารณูปโภคตามที่ได้กล่าวไว้ ฯลฯ
ทั้งหมดที่ว่ามาถือว่าผิดสัญญา ดังนั้นเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ ต้องเก็บรวบรวมหลักฐานเอกสารตอนทำสัญญาไว้ให้มากที่สุด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง เเม้เเต่แผ่นโฆษณาก็ใช้ได้นะจ๊ะ

กรณีที่สอง : เสร็จล่าช้ากว่าข้อตกลง
กรณีนี้เเยกเป็น 2 อย่าง คือในสัญญามีกำหนดเวลาเเล้วเสร็จ และไม่มีกำหนดสัญญาเวลาส่งมอบ

กรณีมีกำหนดเวลา
เมื่อครบกำหนดเวลาเเล้วยังสร้างไม่เสร็จ มีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญาได้ทันที โดยไม่ต้องเเจ้งล่วงหน้าให้ส่งมอบก่อน
บางกรณีไม่ได้กำหนดวันเเล้วเสร็จไว้ เเต่กล่าวไว้พอได้ความคร่าวๆ เช่น คาดว่าจะเเล้วเสร็จประมาณ 20 เดือนนับตั้งเเต่เดือนมีนาคม 2538 อย่างนี้ถ้าครบกำหนดยังส่งมอบไม่ได้ถือว่าผิดสัญญา ดังนั้นถ้าครบกำหนดเวลาเเล้วยังไม่เสร็จ ผู้ซื้อมีสิทธิหยุดชำระเงินได้เลย ไม่ผิดสัญญา

กรณีไม่มีกำหนดเวลา
กรณีนี้หากผ่อนชำระจนครบตามงวดเเล้ว หรือยังไม่ครบ เเต่ระหว่างผ่อนชำระผู้ขายก็ไม่ดำเนินการใดๆ เลย ทิ้งร้างไปบ้าง หรือเหลือเงินดาวน์น้อยแล้วเเต่ยังไม่สร้างสักที หรือความก้าวหน้างานช้ามาก ดูแล้วผ่อนจนครบงวดเงินดาวน์ก็สร้างไม่ทันเเน่ๆ
แบบนี้เราต้องมีหนังสือเเจ้งให้ดำเนินการ มิเช่นนั้นจะยกเลิกสัญญา หากไม่ยอมทำตามจึงมีหนังสือยกเลิกสัญญาได้
การเลิกสัญญาก็ต้องมีหนังสือบอกกล่าวเเสดงเจตนาว่าขอยกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้ขายผิดสัญญาเพราะอะไร เเละเรียกร้องเงินที่ชำระไปแล้วคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินเเต่ละงวดจนกว่าจะชำระเสร็จ
หลักเลิกสัญญาเเล้วก็ต้องฟ้องเรียกเงินคืน ซึ่งคดีแบบนี้เป็นคดีผู้บริโภคจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ภาระการพิสูจน์จะไปตกเเก่เจ้าของโครงการ เเละถ้าผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบโดยไม่เป็นธรรม หรือนำพาความเสียหายมาสู่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่วางใจของประชาชน ศาลพิพากษาให้จ่ายค่าเสียหายในเชิงลงโทษได้อีก 2 เท่าของค่าเสียหายจริง เเต่หากค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท ก็กำหนดโทษได้ไม่เกิน 5 เท่า

เรียบเรียงโดย : ศศิชา พุ่มทับทิม
อีเมล : [email protected]