พระ กับ เณร ต่างกันอย่างไร

แต่ในขณะเดียวกันก็มีเรื่องน่าเศร้าเกิดขึ้นเมื่อ จ.อ. สมาน กุนัน ได้เสียชีวิตลงขณะปฏิบัติหน้าที่เข้าไปช่วยน้องๆในถ้ำ เมื่อ ทั้ง13 คน รู้ข่าวการเสียชีวิต ต่างก็โศกเศร้าและเสียใจอย่างมาก หลังจากนั้น โค้ชและเด็กๆทั้ง 11 คน (มีเด็ก 1 คนไม่ได้บวชเนื่องจากนับถือศาสนาคริสต์) จึงตัดสินใจบวชให้กับ จ.อ. สมาน  เพื่อเป็นกุศลและแสดงความอาลัยต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับ ชั่วโมง Discovery Special  จึงขอนำเสนอถึง 5 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการออกบวชในพระพุทธศาสนา มีอะไรบ้างไปติดตามกันเลย

 

1. เป็นสามเณรก่อน การที่จะบวชเป็นพระได้นั้น ต้องเป็นเณรก่อน เณรถือเป็นก้าวแรกในการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ซึ่งจะไม่หนักเท่ากับการเป็นพระ แม้ว่ากิจวัตรส่วนมากของเณรจะเหมือนของพระ เมื่อเป็นเณรแล้วถึงจะเป็นพระได้ แต่ก็ต้องทำพิธีบวชพระอีกครั้ง เพราะพิธีบวชพระ กับ เณรนั้น จะคล้ายๆกัน แต่บทสวดจะไม่เหมือนกัน 

2. นับถือศีล 10 ข้อ  การที่บวชเป็นเณรหรือพระนั้นต้องนับถือศีล 10 ข้อเหมือนกัน เพราะเมื่อเราบวชเป็นพระหรือเป็นเณรถือว่าเราได้ละทางโลกแล้ว 
3. ในสมัยก่อน การบวชนั้นถือเป็นการเรียนรู้ชีวิตแบบหนึ่ง เรียนรู้ถึงความชั่วและความดี ในประเทศไทยส่วนมากการบวชจะเกิดขึ้นในพื้นที่แถบชนบทและหมู่บ้าน มีพระหรือเณรหลายคนบวชเพราะพ่อแม่เสียชีวิตหรือถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่ไปเลยมาอาศัยวัดอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เด็กๆเหล่านั้นก็จะบวชแบบไม่มีกำหนดสึก แต่กับเด็กบางคนที่มีพ่อแม่ก็จะบวชเป็นชั่วคราว ในช่วงวันหยุดและจะมีกำหนดสึกจากพระอุปชา

4. การเสียสละเพื่อโชคดี หนึ่งสิ่งสำคัญในการบวช นั่นคือ การโกนหัวและคิ้ว เมื่อเราจะบวชร่างกายต้องสะอาดหมดจดจากข้างในสู่ข้างนอก โดยเฉพาะผมและคิ้ว วิธีการโกนนั้นจะให้พ่อแม่และญาติๆที่มาร่วมพิธีขลิบเส้นผม จากนั้นพระจะโกนผมให้ ส่วนมากแล้วการโกนผมเพื่อที่จะบวชนั้น จะทำก่อนพิธีหนึ่งวัน การโกนผมเป็นความเชื่อว่าจะให้โชคกับครอบครัวและญาติที่มาขลิปผมของผู้ที่บวช

5. พิธีบวช ผู้บวชต้องมีความยินยอมบวช ก่อนบวชจะต้องมีการโกนผมหรือปลงผม เมื่อปลงผมเสร็จแล้ว ผู้บวชก็จะนุ่งขาวห่มขาว มีสถานะเป็นนาค ซึ่งเป็นเหมือนสะพานเข้าสู่การเป็นพระ เมื่อเป็นนาคแล้ว หลังจากนั้นพระอุปชาผู้ที่จะมาทำพิธีบวชและพระอีกหลายรูปจะเริ่มดำเนินพิธี โดยให้ผู้บวชท่องบทสวดสำหรับบวชในข้อแรก หลังจากนั้นพระพี่เลี้ยงจะนำนาคไปหลังโบสถ์เพื่อทำพิธีบวช แล้วเปลี่ยนชุดเป็นพระ โดยพระพี่เลี้ยงจะเป็นผู้ช่วยในการห่มผ้าเหลือง จากนั้นผู้บวชก็จะกลับมาหาพระอุปชาเพื่อสวดและทำพิธีต่อ พิธีนั้นจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง แล้วแต่จำนวนผู้บวช เมื่อเสร็จสิ้นพิธีก็จะมีการเลี้ยงพระใหม่ หรือ เลี้ยงเพล และส่งพระใหม่ไปที่กุฏิ ถือเป็นเสร็จพิธี

การบวชนั้นถือเป็นบุญสูงสุดของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกชาย ถือเป็นการทดแทนพระคุณพ่อแม่และผู้ที่เลี้ยงดูเรามา นอกจากผู้บวชจะได้บุญแล้ว ครอบครัวและญาติมิตรสหายก็จะได้บุญไปด้วย 

เมื่อเดือนกันยายน 2541 ผมไปฟื้นความหลังที่อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขณะที่ผ่านวัดชีโพนมีคนถามว่า “ชีโพน” แปลว่าอะไร ผมก็ตอบเขาไม่ได้ จะเดาตอบว่าครั้งหนึ่งมีชีมาโพนช้างที่นี่ก็ไม่กล้า จึงเพียงเล่าให้เขาฟังว่าวัดนี้แต่เดิมชื่อวัดชีตาเห็นว่ามีคนมาเห็นชีที่นี่ แต่ผู้รู้ภาษาบาลีหวนเห็นว่าไม่เหมาะที่จะเป็นชื่อวัด จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “วัดชีโพน”

ผู้ใหญ่ที่อยู่อำเภอผักไห่เล่าให้ฟังเมื่อ พ.ศ. 2500 ว่าอ้ายอ่วมอกโรยถูกประหารผ่าอกที่หน้าวัดชีโพนในสมัยรัชกาลที่ 5

นึกถึงอาจารย์ท่านหนึ่งอยู่บางขุนเทียนเล่าให้ฟังว่าวัดนางนองนั้นแต่เดิมชื่อวัดนางนอน และวัดนางชีนั้นชื่อว่าวัดนางชี้ ว่ามีนางอะไรนางหนึ่งมานอนและมาชี้ที่นั่นสร้างเป็นวัดขึ้น

เรื่องต่างๆ เหล่านี้ฟังสนุกแล้วดี ความจริงคนไทยใกล้ชิดกับพระเถรเณรชีมาก คำเหล่านี้จึงติดปาก มีอะไรเกิดขึ้นก็ต้องนึกถึง ซึ่งจะเห็นได้จากคำอุทานของคนเฒ่าคนแก่สมัยก่อน เมื่อตกใจก็จะอุทานออกมาว่า “คุณพระช่วย” บ้าง “ตาเถรช่วย” บ้าง ที่พิสดารหน่อยก็เป็น “ตาเถรตกน้ำ” ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นก็ไม่ทราบ สุนทรภู่ก็เคยได้ลายแทงจากตาเถร (รำพันพิลาป)

ที่น่าสังเกตก็คือเมื่อพูดถึงนักบวชดังกล่าวจะลำดับตำแหน่งไว้ชัดเจนว่า “พระเถรเณรชี” จะเห็นว่า “เถร” อยู่ระหว่างพระกับเณร แสดงว่าเถรต่ำกว่าพระและสูงกว่าเณร ตามความที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงสอบถามสมเด็จพระสังฆราชแต่ครั้งยังเป็นสมเด็จพระวันรัต (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม ท่านบอกว่า เถรเป็นพวกครึ่งพระครึ่งเณร อาศัยวัดอยู่ตามศาลามุขหน้าโบสถ์ หลังโบสถ์ พระระเบียงหรือพะเพิงอะไรตามแต่จะหาได้ โดยมากพึ่งพระสงฆ์ ขอผ้าและอาหารที่เหลือไปบริโภค ทำการให้แต่พระสงฆ์ตามสมัครใจ ศีลนั้นไม่ปรากฏว่าถืออย่างไร อาจเป็นศีลสิบ ศีลแปด ศีลห้า หรือไม่ถือศีลเลยก็ได้ การนุ่งห่มนั้นใช้ผ้าเหลืองตามแต่จะหาได้ ลางคนก็นุ่งแต่ผ้าอาบหรือสบงเท่านั้น หรือมีผ้าห่มพาดบ่าอย่างที่เรียกว่าพาดควายก็มี และมีไตรจีวรครองเหมือนพระสงฆ์ก็มี ความประพฤติเอาแน่ไม่ได้ ที่ดีเหมือนพระภิกษุก็มีคนเคารพนับถือ ที่เลวถึงสูบกัญชาก็ไม่มีคนนับถือ แต่ก่อนมีที่วัดสระเกศมากกว่าที่อื่น

เหตุที่พวกตาเถรถือศีลไม่มีกำหนดเหมือนพวกยายชีนุ่งห่มก็ไม่มีระเบียบเพียงแต่ตาเถรใช้ผ้าเหลือง ยายชีใช้ผ้าขาว อาศัยวัดเหมือนกัน ตาเถรเป็นชาย ยายเป็นหญิง จึงมีนิทานตาเถรกับยายชีเล่ากันเป็นที่ครื้นเครง และด้วยเหตุที่ตาเถรมีรูปเป็นภิกษุแต่ไม่มีศีลเท่าภิกษุและแก่เกินเณรทางกฎหมายจึงวางไว้ระหว่างภิกษุกับเณร ใช้คำติดกันว่าพระภิษุสงฆ์เถรเณร บางทีจะเกิดเพราะบวชเป็นเณรแล้วไม่บวชเป็นพระเมื่ออายุครบแต่ไม่สึก หรือบวชเป็นพระแล้วประพฤติตัวเหลวไหลจึงเลื่อนลงเป็นเถร อย่างเสภาเรื่องเถรสังของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ที่แต่งไว้ว่า “กล่าวถึงเถรสังบางกระจะ บวชเป็นพระแล้วเลื่อนลงเป็นเถน”

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยตรัสเรียกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พี่ทิด” บ้าง “พี่เถร” บ้าง รัชกาลที่ 4 เห็นจะทรงรำคาญ เพราะคำว่า “เถร” หมายได้ทั้งดีและไม่ดี จึงทรงกำหนดใหม่ให้เรียกพวกตาเถรทั้งหลายนั้นว่า “เถน” (ในภาษาบาลี เถน แปลว่า ขโมย) เพื่อให้เขียนต่างกัน

พระ กับ เณร ต่างกันอย่างไร
(ซ้าย) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, (ขวา) พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

มีสำนวนไทยที่ชอบพูดกันอีกสำนวนหนึ่งคือ “ชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์” บรรดาแม่ชีทั้งหลายตั้งข้อสงสัยว่าเหตุใดฝ่ายชั่วจึงมาอยู่กับชี ฝ่ายดีทำไมไปอยู่กับสงฆ์ ความจริงชีในที่นี้เป็นคำรวมหมายถึงพระสงฆ์เอง คือพระจะดีชั่วอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของท่าน (เรื่องมันเลยยุ่งอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้) ในสมัยรัชกาลที่ 3 สามเณรเล่นเตะตะกร้อมีคนไปกราบทูลก็ทรงตัดบทว่า เจ้ากูจะเล่นบ้างก็ช่างเจ้ากูเถิด หรือครั้งหนึ่งพระเถรไปเที่ยววัดพระเชตุพนฯ ไปเดินเบียดเสียดกับผู้คน มีคนไปกราบทูลก็รับสั่งว่าคนมากก็ต้องเบียดกันบ้าง พระเณรที่ชอบปลีกวิเวกก็ได้ใจถือว่าการเดินเบียดสีกาโดยไม่เจตนาไม่เป็นไร (ความจริงเจตนาแต่กำหนดใจว่าไม่เป็นไร)

มีคำที่เรียกพราหมณ์และนักบวชอีกคำหนึ่งว่า “ธชี” หรือ “ทชี” ก็เรียก ท่านที่เคยอ่านหนังสือมหาเวสสันดรชาดก จะพบว่าเรียกชูชกว่า ธชี คำทั้งสองนี้ตามความเห็นของพระธรรมนิเทศทวยหาญ (อยู่ อุดมศิลป์) ว่าควรใช้ต่างกันดังนี้

1. ผู้ที่ออกบวชนั้น ถ้าออกบวชจากราชตระกูล ควรเขียนเป็น “ธชี” คำว่า “ธ” ย่อมาจากคำว่า “ท้าวเธอ”

2. ผู้ที่ออกบวชนั้น ไม่ได้ออกบวชจากราชตระกูลทั้งไม่เกี่ยวข้องกับราชตระกูลด้วย ควรเขียนเป็น “ทชี” คำว่า “ท” ย่อมาจากคำว่า “ท่าน”

นอกจากนี้ยังมี “ชีปะขาว” (ชีผ้าขาว) เป็นผู้ชายนุ่งห่มขาว ชอบมาช่วยหล่อพระพุทธรูปที่คนอื่นหล่อไม่สำเร็จหล่อให้แล้วก็หายไปไม่ประสงค์จะให้คนรู้จัก ชีปะขาวนี้บางทีก็ไม่ใช่มนุษย์เป็นเทวดาปลอมแปลงมาก็มี ฉะนั้น ชีปะขาวจึงเหนือชั้นกว่าตาเถรหรือเถน

สามเณร ต่างจากพระอย่างไร

สามเณร เป็นคำเรียกผู้ที่ดำรงเพศอย่างภิกษุในพระพุทธศาสนา แต่เป็นเด็กชายที่มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี และสมาทานศีลเพียง ๑๐ ข้อ แม้จะถือศีลเพียง ๑๐ ข้อ แต่สามเณรก็จะปฏิบัติตนเช่นเดียวกับภิกษุ เช่น การไม่ถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิง ออกรับอาหารบิณฑบาต ไม่ฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลคือหลังจากเวลาเที่ยงแล้วเป็นต้น.

บวชพระ กับ บวชเณร ต่างกันยังไง

1. เป็นสามเณรก่อน การที่จะบวชเป็นพระได้นั้น ต้องเป็นเณรก่อน เณรถือเป็นก้าวแรกในการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ซึ่งจะไม่หนักเท่ากับการเป็นพระ แม้ว่ากิจวัตรส่วนมากของเณรจะเหมือนของพระ เมื่อเป็นเณรแล้วถึงจะเป็นพระได้ แต่ก็ต้องทำพิธีบวชพระอีกครั้ง เพราะพิธีบวชพระ กับ เณรนั้น จะคล้ายๆกัน แต่บทสวดจะไม่เหมือนกัน

พระกับเณรแต่งกายต่างกันอย่างไร

พระสงฆ์-เณร จะครองผ้าได้เแค่ 3 ชิ้น พระที่ใส่เสื้อทับ-กางเกง ก็อาบัติหมด ถึงแม้จะเป็นการทำงานร้อนๆ หนักๆ ก็ยังครองแค่ผ้าอาบน้ำฝนทำงาน ส่วนพระที่ใส่เสื้อ-กางเกง เป็นพระสงฆ์คนละนิกาย กับเราละครับ เห็นได้ทั่วไป แต่ถ้าเป็นเมืองหนาวมากๆ ก็คงอยู่ที่ตัวท่านพิจารณา ในการครองใส่เสื้อคลุม หมวก ถุงมือ ถุงเท้า

สามเณร กับ เณร ต่างกันอย่างไร

(สามมะเนน) น. ผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐, เรียกสั้น ๆ ว่า เณร. สามเณรี (สามมะ-) น. หญิงที่บวชเป็นสามเณร.