มาตรฐานการปฏิบัติงานมีประโยชน์อย่างไร

Show

มาตรฐานการปฏิบัติงานมีประโยชน์อย่างไร


มาตรฐานการปฏิบัติงาน 

        มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยูเสมอ 

            การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพรผลงานทางวิชาการและการเข้ารวมกิจกรรมทาง วิชาการที่องคการหรือหนวยงาน หรือสมาคมจัดขึ้น เชน การประชุม การอบรม การสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ เปนต้น ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจน 

               การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน หมายถึง การเลือกอย่างชาญฉลาดด้วยความรักและหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้นในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ครูต้องคํานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแกผู้เรียนเปนหลัก 

          มาตรฐานที่ 3 มุงมั่นพัฒนาผูเรียนใหเต็มตามศักยภาพ 

               การมุงมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใชความพยายามอยางเต็มความสามารถของครูที่จะใหผูเรียนเกิดการเรียนรูใหมากที่สุด ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะหวินิจฉัยปญหาความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะใหไดผลดีกวาเดิมรวมทั้งการสงเสริมพัฒนาการด้านตางๆ ตามศักยภาพของผูเรียนแตละคนอยางเปนระบบ 

        มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนใหสามารถปฏิบัติไดเกิดผลจริง 

          การพัฒนาแผนการสอนใหสามารถปฏิบัติไดเกิดผลจริง หมายถึง การเลือกใช ปรับปรุงหรือสร้างแผนการสอน บันทึกการสอน หรือเตรียมการสอนในลักษณะอื่นๆ ที่สามารถนําไปใชจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใหผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงคของการเรียนรู 

        มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนใหมีประสิทธิภาพอยูเสมอ 

            การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หมายถึง การประดิษฐ คิดค้น ผลิตเลือกใช ปรับปรุงเครื่องมือ อุปกรณ เอกสารสิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีการตางๆ เพื่อใหผูเรียนบรรลุจุดประสงคของการเรียนรู 

        มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเนนผลถาวรที่เกิดแกผูเรียน 

        การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแกผูเรียน หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่มุงเน้นใหผูเรียนประสบผลสําเร็จในการแสวงหาความรู้ตามสภาพความแตกตางของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริงและสรุปความรูทั้งหลายไดด้วยตนเองกอใหเกิดคานิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเปนบุคลิกภาพถาวรติดตัวผูเรียนตลอดไป 

        มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผูเรียนไดอยางมีระบบ 

           การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผูเรียนได้อยางมีระบบ หมายถึง การรายงานผลการพัฒนาผูเรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให ครอบคลุมสาเหตุ ปจจัย และ การดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนําเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้ 1) ปญหาความต้องการของผูเรียนที่ต้องไดรับการพัฒนาและเปาหมายของการพัฒนาผูเรียน 2) เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นํามาใช เพื่อการพัฒนา คุณภาพของผู เรียน และขั้นตอนวิธีการใช เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้นๆ  3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กําหนด ที่เกิดกับผู้เรียน 4) ข้อเสนอแนะแนวทางใหมๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผูเรียนใหได ผลดียิ่งขึ้น  

        มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเปนแบบอยางที่ดีแกผูเรียน 

        การปฏิบัติตนเปนแบบอยางที่ดีแกผูเรียน หมายถึง การแสดงออก การประพฤติ และปฏิบัติในดานบุคลิกภาพทั่วไป การแตงกาย กิริยา วาจา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับ ความเปนครูอยางสม่ำเสมอ ที่ทําใหผูเรียนเลื่อมใสศรัทธา และถือเปนแบบอยาง 

        มาตรฐานที่ 9 รวมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอยางสรางสรรค์

        การรวมมือกับผูอื่นในสถานศึกษาอยางสร้างสรรค หมายถึง การตระหนักถึง ความสําคัญ รับฟงความคิดเห็น ยอมรับในความรู ความสามารถ ใหความรวมมือในการ ปฏิบัติกิจกรรมตางๆ ของเพื่อนรวมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อใหบรรลุเปาหมายของสถานศึกษาและรวมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทํานั้น 

        มาตรฐานที่ 10  รวมมือกับผู้อื่นในชุมชนอยางสรางสรรค์

        การรวมมือกับผูอื่นในชุมชนอยางสร้างสรรค หมายถึง การตระหนักถึงความสําคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน และรวมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา ใหชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏบิัติงานรวมกันด้วยความเต็มใจ 

        มาตรฐานที่ 11  แสวงหาและใชขอมูลขาวสารในการพัฒนา 

        การแสวงหาและใชข้อมูลขาวสารในการพัฒนา หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจํา และรวบรวมข้อมูลขาวสารตามสถานการณของสังคมทุกด้านโดยเฉพาะสารสนเทศ เกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห วิจารณอยางมีเหตุผล และใชข้อมูลประกอบการแก้ปญหา พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได อยางเหมาะสม 

        มาตรฐานที่ 12 สรางโอกาสใหผูเรียนไดเรียนรูในทุกสถานการณ  

         การสร้างโอกาสใหผูเรียนไดเรียนรูในทุกสถานการณ หมายถึง การสร้างกิจกรรมการเรียนรูโดยการนําเอาปญหาหรือความจําเปนในการพัฒนาตางๆ ที่เกิดขึ้นในการเรียน และการจัดกจกรรมอื่นๆ ในโรงเรียนมากําหนดเปนกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนําไปสูการพัฒนาของผูเรียนที่ถาวร เปนแนวทางในการแกปัญหาของครู อีกแบบหนึ่งที่จะนําเอาวิกฤติตางๆ มาเปนโอกาสในการพัฒนา ครูจําเปนต้องมองมุมตางๆ ของปญหาแล้วผันมุมของ ปญหาไปในทางการพัฒนา กําหนดเปนกิจกรรมในการพัฒนาของผูเรียน ครูจึงต้องเปนผูมองมุมบวกในสถานการณตางๆได กล้าที่จะเผชิญปญหาตางๆ มีสติในการแกปญหา มิไดตอบสนองปญหาตางๆ ด้วยอารมณหรือแงมุมแบบตรงตัว ครูสามารถมองหักมุมในทุกๆ โอกาสมองเห็นแนวทางที่นําสูผลก้าวหน้าของผูเรียน

                                 

เพราะเหตุใด การดำเนินงานของหน่วยงานต้องมีมาตรฐาน

ประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรฐานการทำงานที่ดี มาตรฐานการทำงานที่ดีจะทำให้พนักงานมีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ส่งผลให้กระบวนการผลิตมีความสม่ำเสมอ พนักงานจะเกิดการยอมรับรูปแบบการทำงานใหม่ๆที่เป็นมาตรฐานได้อย่างรวดเร็ว พนักงานจะมีส่วนร่วมในการสร้าง แก้ไข และปรับปรุงมาตรฐานการทำงานมากขึ้น

มาตรฐาน คืออะไร มี ประโยชน์ อย่างไร

มาตรฐาน” (Standards) ได้ถูกเขียนขึ้นโดยนำเอารายละเอียดของความจำเพาะทางเทคนิค หรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เห็นพ้องร่วมกัน เพื่อใช้เป็นกฏ, แนวทาง หรือ คำนิยามของคุณลักษณะต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า วัตถุดิบ, ผลิตภัณฑ์, กระบวนการ หรือบริการต่างๆ เหมาะสมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้”

การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานจะเป็นประโยชน์ในกรณีใด

ประโยชน์ของมาตรฐานการปฏิบัติงาน 1. ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติงานจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง การเปรียบเทียบผลงานที่ทำได้กับที่ควรจะเป็นมีความชัดเจน มองเห็นแนวทางใน การพัฒนาการปฏิบัติงานให้เกิดผลได้มากขึ้น และช่วยให้มีการฝึกฝนตนเองให้เข้าสู่มาตรฐานได้

มาตรฐานผลการปฏิบัติงาน คืออะไร

1. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ผลการปฏิบัติงานในระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็น เกณฑ์ที่น่าพอใจหรืออยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทําได้ โดยจะมีกรอบในการพิจารณากําหนดมาตรฐาน หลาย ๆ ด้าน อาทิ เช่น ด้านปริมาณ คุณภาพ ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย หรือพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะงานประเภทนั้น ๆ ด้วย