การเข้ามาของชาวยุโรปในแอฟริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 ส่งผลกระทบต่อชาวแอฟริกันอย่างไรบ้าง

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

            คาบสมุทรไอบีเรีย ที่ตั้งของประเทศโปรตุเกส (และสเปน) ในปัจจุบันเคยถูกกลุ่มชนเชื้อชาติเจอร์มานิกยึดครองตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 จากนั้นกองทัพมุสลิมแขกมัวร์จากแอฟริกาเหนือข้ามช่องแคบยิบรอลตาร์มาตีแตก ไล่เจอร์มานิกออกไปแล้วปกครองคาบสมุทรไอบีเรียยาวนาน กว่าชาวไอบีเรียนจะขับแขกมัวร์ออกไปได้อย่างเด็ดขาดก็ล่วงสู่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เข้าไปแล้ว ไอบีเรียนเรียกการยึดครองดินแดนคืนจากแขกมัวร์ว่า “รีคอนคิสตา”

                ยุคที่แขกมัวร์ปกครองไอบีเรีย ชาวเมืองถูกจับเป็นทาส เปลี่ยนศาสนา หลังยึดดินแดนคืนชาวไอบีเรียนก็จับแขกมัวร์เป็นทาสและให้เปลี่ยนศาสนาเช่นกัน แม้ว่าทาสจะมีจำนวนไม่มากมายนักหากเทียบกับประชากรทั้งหมดในยุคนั้น

                เมื่ออาณาจักรของแขกมัวร์เสื่อมลง โปรตุเกสเข้มแข็งขึ้นก็ได้เข้าไปล่าอาณานิคมในแอฟริกาและในมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันออก ระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1430-1440 พวกเขาออกล่าชาวแอฟริกันทางด้านล่างของเขตทะเลทรายสะฮารา (Sub-Saharan Africa - ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวผิวดำ) ได้เป็นจำนวนมาก นำโดยเจ้าชาย “อินฟันตี เฮนริค” หรือ “เฮนรี เดอะเนวิเกเตอร์” จากนั้นการค้าทาสแอฟริกันจึงเริ่มขึ้นในปี 1444 ที่เมืองลากอส ไนจีเรีย โดยตัว “เฮนรี เดอะเนวิเกเตอร์” นั่นเอง อีก 1 ปีต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงมอบสิทธิ์ในการค้าทาสในแอฟริกาตะวันตกให้กับโปรตุเกส โดยมีเงื่อนไขว่าทาสเหล่านั้นต้องเปลี่ยนมานับถือโรมันคาทอลิก

                เจ้าชายเฮนรีผูกขาดการค้าทาสในแอฟริกาอยู่จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี 1460 จากนั้นเรือที่ออกจากโปรตุเกสไปยังแอฟริกาจะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากกษัตริย์โปรตุเกส สินค้าที่ขนส่งกลับโปรตุเกสต้องเสียภาษี ส่วนทาสนั้นเพิ่มความพิเศษเข้าไปหน่อยคือต้องเข้าพิธีศีลจุ่มเสียให้เรียบร้อยก่อนลงเรือ

การเข้ามาของชาวยุโรปในแอฟริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 ส่งผลกระทบต่อชาวแอฟริกันอย่างไรบ้าง

โปรตุเกสคือผู้นำการค้าขายทาสชาวแอฟริกัน ทั้งซื้อจากหัวหน้าเผ่าและเข้าไปล่าเอง ตั้งแต่มอริเตเนียยันโมซัมบิก ภาพจาก The News Minute

                นักวิชาการประมาณตัวเลขทาสจากแอฟริกาถูกขนไปยังคาบสมุทรไอบีเรียและเกาะในแอตแลนติกตะวันออก ซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ระหว่างปี 1441-1521 อาจมีจำนวนมากถึง 156,000 คน (สถิติที่แท้จริงถูกทำลายหรือหายไป เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในกรุงลิสบอน ปี 1755) ประมาณปี 1518 การขนส่งทาสได้มีปลายทางแห่งใหม่อยู่ที่ทวีปอเมริกาเพื่อขายทาสให้กับอาณานิคมของสเปน ก่อนหน้านี้ทาสผิวดำที่ถูกจับหรือซื้อมาจากแอฟริกาจะต้องนำขึ้นเรือไปเสียภาษีที่โปรตุเกสก่อนมุ่งหน้าทวีปอเมริกา

                โปรตุเกสในเวลานั้นคือผู้นำของโลกในการเดินเรือเชื่อมภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะความสำเร็จของ “วาสโก ดา กามา” ในการเดินเรือจากยุโรปไปถึงอินเดียได้สำเร็จเป็นคนแรกเมื่อปี 1498 ก่อนนั้นโปรตุเกสได้รับสิทธิ์ดินแดนในบราซิลตามเส้นแบ่งในสนธิสัญญาตอร์เดซิยัสที่ทำกับสเปนเมื่อปี 1494 พวกเขารอถึงปี 1500 จึงได้ออกเดินเรือสำรวจไปขึ้นฝั่งที่ปอร์โตเซกูโร ทางเหนือของบราซิล นำโดยกัปตันเรือ “เปโดร อัลวาเรซ คาบรัล” และเขาได้อ้างสิทธิ์ถวายแด่พระเจ้ามานูเอลที่ 1 กษัตริย์โปรตุเกสทันที ทว่ากว่าจะมีชาวโปรตุเกสเข้าไปตั้งรกรากแห่งแรกก็ปาเข้าไปปี 1516 แล้ว

                ระหว่างปี 1500-1530 ผลประโยชน์ของโปรตุเกสอยู่ในแอฟริกาและอินเดียมากกว่า ในช่วงนี้พวกเขาเดินทางไปยังบราซิลเพื่อพืชที่ชื่อ “ต้นบราซิล” เป็นหลัก ต้นบราซิลเป็นไม้ประจำถิ่น ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการทำสีย้อม แต่เมื่อยุโรปชาติอื่นๆ ได้แก่ ฝรั่งเศสและดัตช์ เริ่มเข้ามาหาผลประโยชน์ในดินแดนแถบนี้ โปรตุเกสจึงมาพร้อมกับกองทหารและตั้งอาณานิคมขึ้นในที่สุด

                แรงงานที่ใช้ในบราซิล ช่วงต้นเป็นแรงงานทาสชนพื้นเมือง ก่อนที่แรงงานเหล่านี้จะค่อยๆ หาได้ยากขึ้น เพราะติดโรคระบาดที่เข้าไปจากยุโรปและทาสมักจะก่อจลาจล รวมถึงหลบหนีเข้าป่า ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มนำทาสแอฟริกันเข้าไป เนื่องจากพวกนี้มีภูมิคุ้มกันโรคจากยุโรปแล้ว อีกทั้งมีแนวโน้มในการหลบหนีน้อยกว่า เพราะบ้านเดิมอยู่ไกลถึงอีกฝั่งของมหาสมุทร หรือแทบจะไม่มีที่ให้ไปนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การใช้แรงงานทาสชนพื้นเมืองก็ยังคงมีอยู่ต่อไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18

                ในช่วง 250 ปีแรกของการตั้งอาณานิคมบราซิล ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดคือทาส โดยทาสชนพื้นเมืองมีราคาในการซื้อขายถูกกว่าทาสแอฟริกัน แม้ว่าทาสแอฟริกันจะมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 23 ปี ด้วยสาเหตุตรากตรำทำงานหนัก ทว่าก็ยังทนทานกว่าทาสชนพื้นเมืองที่เสียชีวิตไปก่อนเฉลี่ยตั้ง 4 ปี

                สินค้าสำคัญที่ทำกำไรอย่างงดงามระหว่างปี 1600-1650 จากบราซิลไปยังโปรตุเกสคือน้ำตาล ก่อนจะมีการค้นพบทองและเพชรในปี 1690 ทำให้ความต้องการทาสแอฟริกันเพิ่มมากขึ้นอีกโข แม้ล่วงถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้ว แต่แรงงานทาสแอฟริกันก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดในบราซิล เพราะกิจการปศุสัตว์และการผลิตอาหารเติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวนประชากรที่เข้าไปอยู่อาศัยมากขึ้นเป็นลำดับ

                ระหว่างปี 1700-1800 มีทาสถูกส่งไปยังบราซิลถึง 1.7 ล้านคน และช่วงที่กาแฟได้รับความนิยมอย่างยิ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 1830 ก็ยังมีทาสแอฟริกันถูกขนเข้าไปอีกมหาศาล กว่าจะมีการเลิกทาสในปี 1888 มีทาสแอฟริกันถูกขนส่งไปยังบราซิลเกือบ 5 ล้านคน หรือคิดเป็น 35-40 เปอร์เซ็นต์ของทาสแอฟริกันทั้งหมดในทวีปอเมริกา และโปรตุเกสก็เหนือกว่าชาติมหาอำนาจอื่นใดในฐานะผู้นำการค้าทาสในดินแดนโลกใหม่ นอกจากส่งให้อาณานิคมตัวเองแล้วก็ยังขายให้อาณานิคมของชาติอื่นด้วย โดยเฉพาะอาณานิคมสเปนที่ซื้อทาสจากพ่อค้าชาวโปรตุเกสมากกว่า 500,000 คน ในระยะเวลา 300 กว่าปี

                มีหัวข้อที่น่าสนใจ นอกจากการใช้แรงงานทาสในทวีปอเมริกาแล้ว โปรตุเกสยังมีประวัติการค้าทาสในทวีปเอเชียอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย

การเข้ามาของชาวยุโรปในแอฟริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 ส่งผลกระทบต่อชาวแอฟริกันอย่างไรบ้าง

“เจ้าชายเฮนรี เดอะเนวิเกเตอร์” ผู้บุกเบิกการค้าทาสแอฟริกัน รูปปั้นนี้ตั้งอยู่ในรัฐแมสซาชูเซตส์ อุทิศแด่เจ้าชายโดยชาวโปรตุเกสในสหรัฐ ภาพจาก lindahall.org

                เนื่องจากว่าสนธิสัญญาตอร์เดซิยัสที่สเปนและโปรตุเกสทึกทักแบ่งโลกนอกทวีปยุโรปกันเองนั้นไม่ได้กำหนดดินแดนอีกฝั่งของโลกอย่างชัดเจน จึงได้มีการกำหนดกันขึ้นใหม่ในสนธิสัญญาซาราโกซา ปี 1529 โดยวางเส้นแวง 17 องศาจากตะวันออกของเกาะมาลูกูในอินโดนีเซียไว้เป็นเส้นแบ่ง โปรตุเกสได้ดินแดนทั้งหมดทางตะวันตกของเส้นนี้ (ทำให้โปรตุเกสครองโลกกินพื้นที่ 191 องศา ส่วนสเปนได้ไป 169 องศา) โปรตุเกสจึงมีอิทธิพลในทวีปเอเชียเกือบทั้งหมด และแม้ว่าฟิลิปปินส์จะอยู่ในเขตของโปรตุเกส แต่เมื่อสเปนเข้ายึดครองได้สำเร็จในปี 1565 โปรตุเกสก็ไม่ได้คัดค้านอะไรมากนัก เพราะเห็นว่าไม่ใช่ดินแดนที่เต็มไปด้วยเครื่องเทศเหมือนอย่างอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และติมอร์

                หลังจากปี 1543 ซึ่งมีหลักฐานว่าโปรตุเกสได้ไปขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่น เวลาต่อมาพวกเขาก็มีการซื้อคนญี่ปุ่นไปขายในดินแดนอื่นๆ รวมถึงที่โปรตุเกสเองด้วยในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-17

                มีเอกสารของทางศาสนจักรระบุว่า พ่อค้าทาสชาวโปรตุเกสซื้อเด็กหญิงญี่ปุ่นกลับไปยังคาบสมุทรไอบีเรียเพื่อวัตถุประสงค์ทางกามารมณ์ พระเจ้าเซบาสเตียนทรงกังวลว่าจะเกิดผลกระทบในแง่ลบต่อการเผยแผ่และสนับสนุนให้คนเปลี่ยนศาสนา เนื่องจากว่าการค้าทาสในญี่ปุ่นมีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีคำสั่งให้เลิกในปี 1571

                ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้มีหลักฐานว่าทาสชาวญี่ปุ่น 3 คน ได้ถูกซื้อจากพ่อค้าทาสชาวโปรตุเกสในญี่ปุ่นแล้วถูกส่งต่อไปยังฟิลิปปินส์ จากนั้นพวกเขาทั้ง 3 คนถูกขนลงเรือไปยังเม็กซิโก

                หลุยส์ เซอร์เกอิรา คณะเยสุอิตชาวโปรตุเกส ได้บันทึกไว้ในปี 1598 ว่า มีทาสผู้หญิงชาวญี่ปุ่นถูกขายเป็นภรรยาน้อยให้กับคนเรือทั้งชาวยุโรปและชาวแอฟริกันในเรือของโปรตุเกสที่ทำการค้าในญี่ปุ่น จากกรณีเหล่านี้ทำให้ “โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ” ผู้นำญี่ปุ่นในเวลานั้นไม่พอใจคณะเยสุอิตและชาวโปรตุเกสเป็นอย่างมาก นำไปสู่การแบนศาสนาคริสต์และชาวต่างชาติในที่สุด อย่างไรก็ตาม ตัวเขาเองกลับมีส่วนร่วมในการค้าทาสเชลยสงครามชาวเกาหลีที่พ่ายแพ้ให้กับญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว รวมถึงไดเมียวที่เป็นคริสเตียนก็มีส่วนในการขายเพื่อนร่วมชาติให้กับชาวโปรตุเกสด้วยเช่นกัน

                สำหรับทาสชาวจีนนั้นมีการบันทึกไว้ว่า ได้ไปถึงกรุงลิสบอนของโปรตุเกสตั้งแต่ปี 1540 เป็นทาสที่มีความรู้ ถูกกองโจรโปรตุเกสจับมาจากชายฝั่งทางใต้ของจีน ต่อมาได้ทำงานกับนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกส มีหน้าที่แปลหนังสือภาษาจีนเป็นภาษาโปรตุเกส

                ทางภาคใต้ของโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงแม้จะมีทาสชาวจีนอยู่แล้ว แต่ก็เป็นจำนวนที่ไม่มาก ทาสที่มีอยู่มากกว่าคือทาสจากอินเดีย ชาวแขกมัวร์ และแอฟริกันผิวดำ โดยทาสชาวจีน อินเดีย และแขกมัวร์จะมีราคาสูงกว่าทาสแอฟริกันผิวดำ ทั้งนี้ จีนและมะละกาเป็นต้นทางของทาสที่ถูกส่งมายังไอบีเรียโดยอุปราชโปรตุเกส

                มีเด็กชายชาวจีนจำนวนหนึ่งถูกลักพาตัวมาจากมาเก๊าและถูกขายเป็นทาสในกรุงลิสบอนของโปรตุเกส เมื่อโตขึ้นก็ถูกขนลงเรือไปยังบราซิล “ฟิลิปโป ซาสเซตติ” นักสำรวจจากฟลอเรนซ์ บันทึกไว้ในปี 1578 ว่ามีทาสชาวจีนและญี่ปุ่นอยู่หลายคนในกรุงลิสบอน อย่างไรก็ตาม ทาสผิวดำยังมีจำนวนมากกว่า

                นอกจากนี้ “เอโวรา” ถือเป็นอีกเมืองที่มีทาสจากเอเชียอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากเป็นเมืองที่เจริญทางด้านการค้า งานฝีมือ และงานบริการ อีกทั้งในคอนแวนต์ของแม่ชีก็มีการใช้แรงงานทาสเอเชียกันอย่างกว้างขวาง เป็นการให้เหตุผลว่า “รับใช้ต่อผู้รับใช้พระเจ้า”

                โปรตุเกสจัดระดับทาสจากจีนและญี่ปุ่นหรือแม้แต่อินเดียไว้สูงกว่าทาสแอฟริกันผิวดำและแขกมัวร์ โดยมักจะมอบงานที่ต้องใช้ความสามารถและความขยันหมั่นเพียรให้ทำมากกว่าทาสจากแอฟริกา

                ในปี 1595 โปรตุเกสได้ออกกฎหมายให้ยกเลิกการซื้อขายทาสชาวจีนและชาวญี่ปุ่น เนื่องจากความไม่ปลอดภัยระหว่างการขนส่งที่มักจะถูกกองกำลังในพื้นที่เข้าขัดขวาง จากนั้นในปี 1624 กษัตริย์ของโปรตุเกสได้สั่งห้ามการใช้แรงงานทาสชาวจีนทั้งหมด ไม่ว่าหญิงหรือชาย

                กลับไปยังจีน ซูมลงไปที่มาเก๊า ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือตอนต้นของการเข้าครอบครองมาเก๊าของโปรตุเกส มีทาสแรงงานประมาณ 5,000 คนบนเกาะแห่งนี้ ส่วนมากมาจากแอฟริกา มีชาวโปรตุเกสอยู่บนเกาะประมาณ 2,000 คน ส่วนชาวจีนนั้นเยอะกว่าหลายเท่า อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่แต่งงานกับชายชาวโปรตุเกสส่วนมากไม่ใช่หญิงชาวจีน แต่กลับเป็นผู้หญิงที่มาจากกัว (อินเดีย), ศรีลังกา, อินโดจีน, มะละกา และญี่ปุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีผู้หญิงจากชาติต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้ตกเป็นพาร์ตเนอร์ของชายชาวโปรตุเกสด้วย

                กงสุลอังกฤษในสมัยราชวงศ์ชิง ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1800 บันทึกไว้ว่า พ่อค้าชาวโปรตุเกสยังคงซื้อเด็กอายุระหว่าง 5-8 ขวบอยู่ในเวลานั้น

                ในปี 1826 สมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้มีกฎหมายลงโทษชาวยุโรป ซึ่งก็คือชาวคริสเตียนโปรตุเกสผู้ที่เผยแผ่ศาสนาเป็นวงกว้างแก่ชาวฮั่นและชาวแมนจูจะถูกลงโทษรัดคอให้ตาย สำหรับสาวกชาวโปรตุเกสทั่วไปที่ไม่สำนึกผิดและไม่เลิกนับถือศาสนาคริสต์ก็จะถูกส่งไปยังซินเจียงเพื่อมอบให้กับผู้นำมุสลิมที่นั่น

                การเลิกทาสในโปรตุเกสและอาณานิคมโปรตุเกสในอินเดียมีกฎหมายออกมาในปี 1761 ตามมาด้วยเกาะมาเดราในแอตแลนติกตะวันออก ปี 1777 ส่วนการขนส่งทาสข้ามแอตแลนติกนั้นมีกฎหมายห้ามในปี 1836 ซึ่งมาจากการถูกกดดันจากชาติยุโรปอื่นๆ ที่มีกฎหมายเลิกค้าทาสไปก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะอังกฤษที่ถึงขั้นนำกองเรือออกดักจับเรือทาสของโปรตุเกสอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ในอังกฤษอาจพูดกันว่าเป็นเรื่องของหลักมนุษยธรรม แต่ชาติอื่นๆ มองว่าเพราะอังกฤษเสียเปรียบในเรื่องการแข่งขันทางการค้ามากกว่า เนื่องจากตัวเองไม่มีแรงงานฟรีให้ใช้ประโยชน์แล้วนั่นเอง

                การใช้แรงงานทาสในอาณานิคมแอฟริกาของโปรตุเกสมีกฎหมายยกเลิกในปี 1869 แต่ยังมีการใช้แรงงานทาสอยู่ต่อไปแม้ล่วงเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 แล้ว โดยอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่าแรงงานพันธสัญญา ซึ่งแทบไม่ต่างจากการเป็นทาส พวกเขาลงชื่อในกระดาษโดยไม่รู้ความหมายที่อยู่ในเอกสารนั้น ในหลายกรณีพวกเขาไม่ได้รับค่าแรง และมีจำนวนไม่มากที่ได้กลับบ้านเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ส่วนบราซิลซึ่งได้รับเอกราชจากโปรตุเกสตั้งแต่ปี 1822 แต่การใช้แรงงานทาสมีต่อไปจนถึงปี 1888

                โปรตุเกสแม้เป็นเพียงประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบแล้วเล็กกว่าอังกฤษเกือบ 3 เท่า เล็กกว่าสเปน 5 เท่า เล็กกว่าฝรั่งเศส 6 เท่า แต่ในอุตสาหกรรมการค้าทาสและการใช้แรงงานทาส ต้องยอมรับว่าชาติฝอยทองไม่เป็นสองรองใคร.

******************************

อ้างอิง :

-slaveryandremembrance.org

-en.wikipedia.org/wiki/Atlantic_slave_trade_to_Brazil

-en.wikipedia.org/wiki/Colonial_Brazil

-en.wikipedia.org/wiki/Slavery_in_Brazil

-en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Zaragoza

-en.wikipedia.org/wiki/Slavery_in_Portugal

-face2faceafrica.com/article/four-facts-about-portugals-unique-participation-in-the-transatlantic-slave-trade

การที่ชาวยุโรปเข้ามาปกครองชาวแอฟริกันพื้นเมืองส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนอย่างไร

การเข้าครอบครองของชาติตะวันตกได้ทำให้เกิดความทุกข์ยากแก่ชาวแอฟริกาทั้งมวล เดิมทีชาวพื้นเมืองดำรงชีพด้วยการทำไร่ เลี้ยงสัตว์ตามแบบดั้งเดิมที่เคยทำกันมา ชาวแอฟริกามีภาษาเขียนไม่มากนัก แต่มีงานทางด้านศิลปะ คือ รูปปั้นสำริด การแกะสลักไม้และงาช้าง มีภาพวาดตามแบบพื้นเมืองจำนวนมาก ชาวพื้นเมืองไม่เคยรู้เรื่องของวิทยาการ ...

ชาวยุโรปเข้ามาสํารวจทวีปแอฟริกาในยุคแรกมีจุดมุ่งหมายใด

การเข้ายึดครองแอฟริกาของชาวยุโรปในครั้งนั้นมีข้ออ้าง 3 ประการ คือ เพื่อเปิดประตูการค้าให้กว้างขวางตลอดทั่วภาคพื้นทวีป เพื่อปลดปล่อยชนเผ่าต่างๆให้เป็นอิสระจากพวกนักค้าทาสชาวอาหรับ เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนที่ชาวยุโรปเรียกว่ากาฬทวีป ( Dark Continent )

สินค้าส่งออกที่สำคัญของทวีปแอฟริกาคืออะไร

สินค้าส่งออกสําคัญของแอฟริกา อาทิ นํ้ามัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ เหล็ก อัญมณี สินค้า เกษตรและประมง สินค้านําเข้าสําคัญของแอฟริกา อาทิ ข้าว สินค้าอาหารและเภสัชภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค ยาน ยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรกล และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ประเทศคู่ค้าสําคัญของแอฟริกา ได้แก่ สหรัฐฯ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และจีน

วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการออกสำรวจดินแดนของชาวยุโรปในยุคสำรวจ คือข้อใด

การสำรวจทางทะเลของชาวยุโรปเกิดจากความต้องการพัฒนาเส้นทางทะเลติดต่อระหว่างยุโรป กับเอเชียส่งผลให้เกิดเส้นทางเดินเรือติดต่อระหว่างดินแดนต่าง ๆ รอบโลก ทำให้ค้นพบดินแดนใหม่ๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมา ก่อน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอย่างกว้างขวาง

การที่ชาวยุโรปเข้ามาปกครองชาวแอฟริกันพื้นเมืองส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนอย่างไร ชาวยุโรปเข้ามาสํารวจทวีปแอฟริกาในยุคแรกมีจุดมุ่งหมายใด สินค้าส่งออกที่สำคัญของทวีปแอฟริกาคืออะไร วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการออกสำรวจดินแดนของชาวยุโรปในยุคสำรวจ คือข้อใด ประเทศหรือพื้นที่ในข้อใด เป็นดินแดนที่อังกฤษเข้ายึดครองในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพราะเหตุใด ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาจึงประสบปัญหาด้านการเมือง อาณานิคมในยุคแรกของทวีปแอฟริกา ผลกระทบจากการล่าอาณานิคม การล่าอาณานิคม สรุป ลัทธิจักรวรรดินิยม ผลกระทบ เหตุใดประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกาจึงยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนไว้ได้มาก