เด็กปฐมวัยมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านร่างกายอย่างไร

เด็กวัยอนุบาลมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านร่างกาย

เด็กปฐมวัยมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านร่างกายอย่างไร

  เด็กอายุ 3-6 ขวบ พัฒนาการด้านร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องความสูงและน้ำหนัก เด็กจะมีสัดส่วนของร่างกายใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น แขนและขายาวขึ้น เคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น ชอบวิ่งเล่น กระโดดโลดเต้น ไม่อยู่นิ่ง พร้อมทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง ใช้กำลังมากขึ้น ชอบอยู่กลางแจ้ง นอกจากนี้ยังสามารถใช้มือในการหยิบจับสิ่งของต่างๆได้มากขึ้น เด็กจึงสามารถแต่งตัว หวีผม แปรงฟัน และทำงานที่ละเอียดขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนมีดังนี้

  • ฟัน เด็กวัยนี้จะมีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ หลังจากนั้นฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดและจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ซี่แรกที่ขึ้นมาเป็นฟันกรามซี่ล่าง เด็กจะปวดและรำคาญ อาจเป็นสาเหตุให้เบื่ออาหาร พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กควรช่วยทำความสะอาดปากและฟันให้กับเด็ก ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดหรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และระมัดระวังไม่ให้แปรงสีฟันกระทบเนื้อเยื่อในปาก เพราะจะทำให้เด็กเจ็บและไม่อยากแปรงฟัน
  • กล้ามเนื้อใหญ่ จะมีความก้าวหน้ามากกว่ากล้ามเนื้อเล็ก เด็กวัยนี้สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี เดินได้คล่อง สามารถ
  • วิ่งและกระโดดได้ดี ไม่ค่อยอยู่นิ่ง
  • กล้ามเนื้อเล็ก เด็กวัยนี้ ยังจับดินสอไม่ค่อยถนัด แต่ก็สามารถวาดวงกลมหรือรูปเรขาคณิตได้ และเด็กจะทำได้ดีขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น
  • ความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ ยังไม่สมบูรณ์ เด็กวัยนี้จึงมีความยากลำบากในการใช้สายตาจับจ้องหรือเพ่งดูวัตถุเล็กๆ ดังนั้น ตัวหนังสือที่จะให้เด็กวัยนี้อ่าน จึงควรเป็นตัวโตๆ และความถนัดในการใช้มือซ้ายหรือขวาของเด็ก จะเห็นได้ชัดในวัยนี้ พ่อแม่จึงควรสังเกตความถนัดของเด็ก และอธิบายให้เด็กที่ถนัดซ้ายทราบว่าเป็นของธรรมดา ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติ
อายุพัฒนาการด้านร่างกายตามวัยที่สำคัญของเด็ก
3 ปี
  • ความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 5-8 เซนติเมตร หรือ 2-3 นิ้วต่อปี (มีความยาวลำตัวมากกว่าแรกเกิด 2 เท่าในช่วงอายุนี้) น้ำหนักตัวขึ้น 1.4-2.3 กิโลกรัม
  • ขาจะยาวกว่าแขน ผอมเก้งก้าง แลดูตัวสูงคล้ายผู้ใหญ่ ไม่เป็นเด็กอ้วนเหมือนสมัยทารก
  • นอนนาน 10-12 ชั่วโมงในเวลากลางคืน
  • รับประทานอาหารไม่ค่อยหก สามารถถือถ้วยน้ำดื่มแบบมีหู โดยน้ำไม่หก
  • แปรงฟันและล้างมือเองได้ เริ่มฝึกการขับถ่าย ไม่ถ่ายเลอะ ต้องช่วยแต่งตัวอยู่บ้าง
  • กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ กระโดดขาเดียวได้
  • รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว เตะลูกบอลได้
  • เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้ ถีบจักรยาน 3 ล้อได้
  • เขียนรูปวงกลมตามแบบ ลากเส้นแนวตั้ง แนวนอนได้
  • จับดินสอคีบระหว่างนิ้ว 3 นิ้วได้ (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วหัวแม่มือ)
  • ใช้กรรไกรมือเดียวได้
  • ต่อบล็อกหรือแท่งไม้ได้สูง 7 ชั้นหรือมากกว่า
4-5 ปี
  • ความสูงโดยเฉลี่ย 102-114 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 14-18 กิโลกรัม
  • กระฉับกระเฉง ไม่ชอบอยู่เฉย
  • ชอบกระโดดข้ามสิ่งของเล็กๆ กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้ ชอบปีนป่ายสิ่งต่างๆ
  • เดินขึ้น-ลงบันไดสลับเท้าได้
  • เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
  • ใช้กรรไกรเป็น ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
5-6 ปี
  • ความสูงโดยเฉลี่ย 107-117 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 17-20.5 กิโลกรัม
  • ศีรษะมีขนาดเกือบเท่าผู้ใหญ่
  • รู้จักความสะอาดและไม่ทำเลอะ สามารถเข้าห้องน้ำขับถ่ายเองและดูแลความสะอาดได้
  • ติดกระดุมและรูดซิปเอง รับประทานอาหารเองโดยใช้ช้อนส้อม โดยไม่หก
  • กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ยืนขาเดียวได้ เรียนรู้ที่จะกระโดดข้ามหรือกระโดดเชือกได้
  • เดินขึ้น-ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว เดินต่อเท้าได้ เดินถอยหลังตามเส้นได้
  • รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
  • เขียนรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
  • ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ ยืดตัว คล่องแคล่ว

ที่มา http://taamkru.com/th

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกด้านพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เด็กช่วงวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจ ชอบทดลองเรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว โดยพัฒนาการของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อม เด็กต้องเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสม ดังนั้นการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพจึงต้องเริ่มต้นจากครอบครัว ซึ่งเป็นสังคมกลุ่มแรกของเด็กในการเรียนรู้และปรับตัว

โครงการวิจัย “สถานการณ์ปัญหาสภาวะสุขภาพ พัฒนาการ และพื้นฐานอารมณ์ของเด็กปฐมวัย” ได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ภาวะสุขภาพ พัฒนาการ พื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพื้นฐานทางอารมณ์ โดยสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของเด็กปฐมวัยและครอบครัว ภาวะสุขภาพเด็ก แบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(Developmental surveillance and promotion manual: DSPM) และแบบประเมินพื้นฐานอารมณ์เด็กปฐมวัย

สถานการณ์ภาวะสุขภาพ พัฒนาการ พื้นฐานอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

ในปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะเขตปริมณฑล พบการย้ายถิ่นเข้ามาทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ส่งผลให้ขาดเครือข่ายระบบสังคมช่วยเหลือดูแลเด็ก จากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าเด็กอายุ 3-5 ปี ได้รับการดูแลจากสถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็ก และโรงเรียนกว่าร้อยละ 53.3 จำนวนเด็กปฐมวัยที่ต้องผละออกจากพ่อแม่ก่อนวัยอันควรถูกส่งไปเลี้ยงดูในโรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยลักษณะการแข่งขันในสังคมที่ทั้งพ่อและแม่ต้องหารายได้ ส่งผลให้ครอบครัวมีความตึงเครียด มีเวลาให้กับบุตรน้อยลง การดูแลตอบสนองเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจลดลง นอกจากนั้นสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาของพ่อแม่ รายได้ของครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและพัฒนาการองค์รวมของเด็กปฐมวัยเช่นกัน

ในขณะเดียวกันจากการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ในเขตปริมณฑลพบว่า เน้นไปที่การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การเจริญเติบโต พัฒนาการ ทันตสุขภาพ และการป้องกันอุบัติเหตุ ส่วนฐานข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเด็กให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และส่งเสริมให้เด็กมีพื้นฐานทางอารมณ์ที่เหมาะสมยังมีน้อย ไม่มีแนวทางการป้องกันแก้ไขเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับพื้นฐานทางอารมณ์ ทั้งที่พื้นฐานทางอารมณ์ในเด็กปฐมวัยเป็นหัวใจสำคัญของบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะสำคัญของบุคคลในวัยต่อมา

ปัจจุบันพบปัญหาสุขภาพจำนวนมากที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กไม่เหมาะสม เด็กที่มีปัญหาการควบคุมอารมณ์เพิ่มขึ้น และหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจก่อให้เกิดการทำผิดกฎหมาย เป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพจิต มีพฤติกรรมความรุนแรง ทั้งนี้ การแก้ปัญหามีความยากลำบากกว่าการป้องกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาสถานการณ์ภาวะสุขภาพ พัฒนาการ พื้นฐานอารมณ์ของเด็กและปัจจัยที่มีผลต่อพื้นฐานทางอารมณ์ในเด็กปฐมวัย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้วางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาด้านพื้นฐานทางอารมณ์ต่อไป

เด็กปฐมวัยมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านร่างกายอย่างไร

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัย คือ เด็กอายุ 1-5 ปี เป็นช่วงวัยที่ต้องการเรียนรู้ แสดงความตื่นเต้นต่อสิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา เมื่ออายุได้ 2 ปีจะมีการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานการเดินและการพูดมากขึ้น มีการพัฒนาความเข้าใจลักษณะเฉพาะของแต่ละคน และเข้าใจความต้องการของบุคคลอื่น การพัฒนาทักษะเหล่านี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ความปรารถนาของบุคคลอื่น และมีความสามารถในการควบคุมการตอบสนองของตนเองมากขึ้น ความสำคัญของเด็กวัยนี้ คือเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการหลาย ๆ ด้านจะผสมกลมกลืนกัน โดยพัฒนาการของเด็กแต่ละด้าน มีดังต่อไปนี้

  • พัฒนาการด้านร่างกาย พฤติกรรมและพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างการทำงานและความสามารถของร่างกาย การประเมินพัฒนาการทางกายประเมินจาก น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบอก อายุกระดูก โดยพิจารณาเปรียบเทียบตามเกณฑ์ ตามวัย การพัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกายเป็นปัจจัยด้านชีววิทยา การเตรียมพร้อมให้เด็กช่วยเหลือตนเอง และการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ มีผลต่อประสบการณ์และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็ก
  • พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ กับตนเอง การรู้คิด รู้เหตุผลและความสามารถในการแก้ปัญหา มีการแสดงออกโดยการใช้ภาษาสื่อความหมายและการกระทำ โดยเด็กเรียนรู้โลกภายนอกรอบตัว และพัฒนาความคิดไปตามลำดับขั้นตอน ความเฉลียวฉลาดทางปัญญา หรือเชาว์ปัญญา เกิดจาก 2 ส่วน คือ จากยีนหรือพันธุกรรม และอีกส่วนจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมที่เกิดภายหลัง ดังนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสม จะช่วยกระตุ้นเซลล์สมองของเด็กให้มีเส้นใยประสาท จุดเชื่อมต่อ และไขมันล้อมรอบเส้นใยประสาทมากขึ้น อันจะช่วยในการคิดตัดสินใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์
  • พัฒนาการด้านอารมณ์ ตั้งแต่แรกเกิด เด็กแต่ละคนมีลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะติดตัวมา ทำให้เด็กมีการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ถึงแม้พื้นฐานอารมณ์จะเป็นปัจจัยพื้นฐานชีวภาพที่มีอิทธิพลแต่เด็ก แต่จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมก็มีอิทธิพลต่อพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กไม่น้อยเช่นกัน ลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์มีผลต่อลักษณะพฤติกรรมการแสดงออก การเข้าสังคม และการตอบสนองทางอารมณ์ ในช่วงแรกของชีวิตมักขึ้นอยู่กับประสบการณ์จากครอบครัว ผู้ใกล้ชิด ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกคนอื่นและเข้าใจอารมณ์ของตนเอง การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กพบว่ามี 5 ลักษณะเด่น ดังนี้ สนใจ ประหลาดใจ สนุกสนานพึงพอใจ โกรธ และกลัว เมื่อเด็กโตขึ้นในช่วงปฐมวัยจะมีการแสดงออกทางอารมณ์ชัดเจนมากขึ้น เด็กเรียนรู้ที่จะตอบสนองและเริ่มเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ตัวเอง การใช้เหตุผลในการตัดสินใจของสมอง และอารมณ์ความรู้สึกมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ปัจจุบันมีการศึกษายืนยันจำนวนมากว่าบุคคลจะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเฉลียวฉลาดของสติปัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความสามารถทางอารมณ์ อันเป็นความสามารถของบุคคลที่จะตระหนักถึงความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์และแรงกระตุ้นภายใน สามารถรอคอยและตอบสนองความต้องการของตนเองอย่างเหมาะสม ตลอดจนมีทักษะในการเข้าสังคมอันเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยนี้มีความสำคัญ และจะมีผลต่อวัยต่อไป
  • พัฒนาการด้านสังคม เป็นความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ความสามารถในการทำหน้าที่ตามบทบาทของตนร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบและมีความเป็นตัวของตัวเองในเด็ก หมายความรวมถึงความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ประสบการณ์สังคม การรู้จักออมชอม การให้และรับ โดยเราสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กวัยนี้ได้ ผ่านการเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นตัวของตัวเอง และเกิดความภาคภูมิใจในตนเองขึ้น
  • พัฒนาการด้านจิตวิญญาณ เป็นความสามารถในการรู้จักคุณค่าของชีวิต สิ่งแวดล้อม คุณธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี สุนทรียภาพ วัฒนธรรม ความสามารถการเลือกดำรงชีวิตในทางสร้างสรรค์เป็นประโยชน์
ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัย

จากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยที่เข้ารับบริการที่คลินิก โรงพยาบาล และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนในเขตปริมณฑล ชี้ให้เห็นว่า

  • ภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการที่สมส่วน คิดเป็นร้อยละ 02 ภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 16.67 และภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ร้อยละ 15.31
  • การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามแบบบันทึกการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) จำแนก 5 ด้าน พบว่าเด็กส่วนใหญ่มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 56.08 และมีเด็กที่สงสัยว่ามีพัฒนาการล่าช้า (เด็กที่ประเมินพัฒนาการไม่ผ่านตามเกณฑ์อย่างน้อย 1 ด้าน) ร้อยละ 43.92 และเด็กที่ประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 5 ด้าน ร้อยละ 0.45 เด็กปฐมวัยผ่านเกณฑ์การประเมินการเคลื่อนไหวมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม ส่วนด้านที่ไม่ผ่านมากที่สุดคือด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา รองลงมาคือด้านการเข้าใจภาษา
  • ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานอารมณ์เด็กปฐมวัย พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพื้นฐานทางอารมณ์เด็กปฐมวัย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบ คือ รายได้รวมของครอบครัว ส่วนปัจจัยทางบวก ได้แก่ ด้านการเลี้ยงดูบุตร ด้านความเข้าใจในพฤติกรรมบุตร ด้านปฏิสัมพันธ์กับบุตร ด้านสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ เพศเด็ก ลำดับที่ของบุตร ภาวะสุขภาพเด็ก จำนวนสมาชิกในครอบครัว ศาสนา การศึกษาพ่อแม่ อาชีพพ่อแม่ รูปแบบการเลี้ยงดูเด็ก

เด็กปฐมวัยมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านร่างกายอย่างไร

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย
  • ควรสรรหาบุคลากรให้เพียงพอต่อการดูแลเด็กปฐมวัย โดยเน้นการดูแลเด็กในเชิงคุณภาพ และมีการติดตามประเมินเด็กที่มีปัญหา มีการจัดระบบการดูแลและส่งต่ออย่างเหมาะสม
  • ควรให้ความรู้กับครู บุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ดูแลเด็ก รวมถึงคัดกรองเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ พัฒนาการ พื้นฐานอารมณ์ ให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ครอบครัวในการดูแลเด็ก และควรมีการวางแผนกับครอบครัวในการดูแลและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กอีกด้วย
  • ควรเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่ายในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กในบุคลากรทีมสหวิชาทุกระดับอย่างจริงจัง
  • ควรรณรงค์ให้ทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ จนถึงก่อนวัยเรียน

อ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย “สถานการณ์ปัญหาสภาวะสุขภาพ พัฒนาการ และพื้นฐานอารมณ์ของเด็กปฐมวัย”

หัวหน้าโครงการ : ชิดกมล สังข์ทอง
สนับสนุนโดย : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

เรียบเรียง นพรดา คำชื่นวงศ์กราฟิก ชนกนันท์  สราภิรมย์