พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีแบบไหน

เมื่ออาชีพขายของออนไลน์ช่วยสร้างรายได้อย่างดี แถมไม่ต้องลาออกจากงานประจำก็ทำได้ อาชีพนี้จึงกลายเป็นอาชีพยอดนิยมของยุคนี้ และเมื่อเรามีรายได้เป็นของตัวเอง หน้าที่สำคัญที่จะลืมหรือเลี่ยงไม่ได้เลยนั่นก็คือ "หน้าที่การเสียภาษี" และ ปีนี้สรรพากรเริ่มเอาจริงเอาจังกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีรายได้แต่ไม่ยื่นภาษีให้ถูกต้องกันแล้ว ฉะนั้น! วันนี้มาทำความเข้าใจเรื่องของภาษีกันว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยค่ะ

Show

สนใจตรงไหน เลือกอ่านได้เลย!

ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหน? ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษียังไง?

ทำความเข้าใจกันก่อนว่าการขายของออนไลน์นั้นหากไม่ได้มีการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่ง ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) คือเงินได้จากการค้าขาย และช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วงดังนี้ค่ะ

  • ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงวันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. ของทุกปี เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา (เช่น รายได้ในปี 2565 ต้องยื่นภายใน มี.ค. 2566)

  • ยืนภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงวันที่ 1 ก.ค. - 30 ก.ย. ของทุกปี เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000

คำนวณภาษีอย่างไร?

สำหรับร้านค้าออนไลน์ ภาษีหลัก ๆ จะมีอยู่ 2 แบบ คือ เสียภาษีแบบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และ เสียภาษีแบบนิติบุคคล (กรณีนี้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท)

ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าออนไลน์มักจะไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ วันนี้พิมเพลินขอพูดถึงเฉพาะการคำนวณภาษีแบบบุคคลธรรมดาละกันค่ะ ซึ่งการคำนวณภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดานั้น สูตรคือ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย จุดสำคัญอยู่ที่ ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน นั่นเองค่ะ

ข้อควรรู้ : กรณีที่พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ที่มีรายได้ (ย้ำนะคะว่ารายได้ ไม่ใช่กำไร) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วยนะคะ ซึ่งกฎหมายจะบังคับให้พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยปัจจุบันยังจัดเก็บอยู่ที่ 7% นั่นเองค่ะ

ศัพท์ภาษีน่ารู้รายได้สุทธิ หมายถึง รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อนต่างๆค่าลดหย่อน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้อัตราภาษี หมายถึง อัตราภาษีที่รัฐบาลประกาศ

Page365 แนะนำ

ให้เรื่องบัญชีรายได้จากการขายของออนไลน์และภาษีจัดการง่ายขึ้นอีกขั้น ด้วยการใช้ Page365 สามารถเชื่อมกับระบบบัญชี Peak Account ส่งข้อมูลรายได้การขายผ่าน บิลออนไลน์ ออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบบัญชี พร้อมสู่การยื่นภาษีอย่างถูกต้องค่ะ

สมัครใช้งาน Page365 ฟรี

ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์มีกี่แบบ?

  1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อมา ขายไป ไม่ได้ผลิตเอง

  2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง แต่กรณีนี้ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเย๊อะมว้าาาาาก

  3. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือ คิดภาษี 0.5% หากคุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)

ยังมีเรื่อง การลดหย่อน และตารางอัตราภาษี อีกด้วยนะ !!

การลดหย่อนภาษี คือ รายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้ เพื่อให้เราคำนวณ รายได้สุทธิ ออกมากและนำไปเปรียบเทียบคิดภาษีกับตารางอัตราภาษี ที่เรามักจะได้ยินว่า คำนวณภาษีแบบขั้นบันได นั่นแหล่ะค่ะ

สูตรคือ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย ที่เรียกว่าขั้นบันไดเพราะว่า เมื่อเราได้ รายได้สุทธิ แล้วต้องนำรายได้สุทธินั้นมาเทียบกับกับตารางอัตราภาษี เพื่อดูว่า เราจะเสียภาษีเท่าไร (รายได้สุทธิคือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 ใช้ยื่นปี 2566

เงินได้สุทธิต่อปีอัตราภาษี0 - 150,000*ได้รับการยกเว้นภาษี*150,001 - 300,0005%300,001 - 500,00010%500,001 - 750,00015%750,001 - 1,000,00020%1,000,001 - 2,000,00025%2,000,001 - 5,000,00030%5,000,001 บาทขึ้นไป35%

มาลองคำนวณภาษีแบบวิธีที่ร้านส่วนใหญ่ใช้ คือ หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา กันดีกว่า...

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน)xอัตราภาษี=ภาษีที่ต้องจ่าย

ลองใส่ตัวเลขเข้าไปดูค่ะ ยกตัวอย่าง

  • นาย A มีรายได้จากการขายของออนไลน์ 1,000,000 บาท

  • คิดภาษีด้วยการหักค่าใช้จ่ายตามอัตราคือ 60% เท่ากับค่าใช้จ่าย 600,000 บาท

  • มีค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียว 60,000 บาท

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(1,000,000 - 600,000 -60,000)=รายได้สุทธิ 340,000 บาท

จากนั้นนำรายได้สุทธิไปเทียบกับตารางอัตราภาษี

เงินได้สุทธิต่อปี

อัตราภาษี

เทียบอัตรา

ภาษีที่ต้องเสีย

0 - 150,000

*ได้รับการยกเว้นภาษี*

เงินบาทที่ 0 - 150,000 = ได้รับการยกเว้นภาษี

ได้รับยกเว้น

150,001 - 300,000

5%

เงินบาทที่ 150,001 - 300,000 = เสียภาษี 5%

7,500 บาท

300,001 - 500,000

10%

เงินบาทที่ 300,001 - 340,000 = เสียภาษี 10%

4,000 บาท

500,001 - 750,000

15%

750,001 - 1,000,000

20%

1,000,001 - 2,000,000

25%

2,000,001 - 5,000,000

30%

5,000,001 บาทขึ้นไป

35%

ภาษีที่นาย A ต้องเสียเท่ากับ 7,500 + 4,000 = 11,500 บาท

ทั้งนี้ภาษีจะเสียมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อนเนี่ยล่ะค่ะ เช็กข่าวสารกันให้ดี เพราะแต่ละปีสรรพากรประกาศค่าลดหย่อนไม่เท่ากันนะคะ อาจทำให้เราวางแผนผิดกันได้ค่ะ

แล้วปีนี้มีอะไรสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง?

อย่างที่บอกไปค่ะว่า แต่ละปี สรรพากรจะประกาศลดหย่อนไม่เท่ากัน สำหรับของปี 2565 เพื่อยื่นภาษีในปี 2566 มีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้างมาดูกันค่ะ

เงินได้สุทธิต่อปีอัตราภาษีกลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัวค่าลดหย่อนส่วนตัว60,000 บาทค่าลดหย่อนคู่สมรส60,000 บาทค่าลดหย่อนบุตรคนละ 30,000 บาทค่าลดหย่อนบิดา - มารดาคนละ 30,000 บาทค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพคนละ 60,000 บาทค่าฝากครรภ์และทำคลอดจ่ายตามจริงและไม่เกินท้องละ 60,000 บาทกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุนประกันสังคม6,300 บาทเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาทเบี้ยประกันสุขภาพตนเองจ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทเบี้ยประกันสุภาพบิดา - มารดาจ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทเบี้ยประกันชีวิตบำนาญ15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูฯ15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาทกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาทกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาทกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช)13,200 บาทเงินลงทุนธุรกิจ social enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทกลุ่มลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดอกเบี้ยบ้านจ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทกลุ่มเงินบริจาคเงินบริจาคพรรคการเมืองจ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาทเงินบริจาคเพื่อการศึกษา/ กีฬา/ การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไปตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนกลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐช้อปดีมีคืน (1 ม.ค. - 15 ก.พ. 2565)จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท

ข้อควรรู้!! : สำหรับค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม การลง ในส่วนของประกันชีวิตบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุน RMF, กองทุน SSF, กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครู,กองทุนออมแห่งชาติ ทั้งหมดนี้รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ

ช้อปดีมีคืน 2566 มีไหม? ใช้ลดหย่อนได้เมื่อไหร่?

มีแน่นอนค่ะ โดยโครงการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” ที่จะนำไปใช้ลดหย่อนภาษีในปี 2567 จะสามารถใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2566 รวมทั้งสิ้น 46 วัน โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 40,000 บาท ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้ค่ะ

  1. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวน 30,000 บาท ที่มีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์
    e-Tax Invoice & e-Receipt

  2. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวน 10,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice &
    e-Receipt เท่านั้น

 

พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีแบบไหน
พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีแบบไหน

ภาพจาก: เว็บไซต์กระทรวงการคลัง

 

Page365 แนะนำ

สำหรับการขอใบกำกับภาษี e-Tax Invoice & e-Receipt ถ้าซื้อของชิ้นใหญ่ ๆ อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พิมเพลินแนะนำว่าให้ขอใบกำกับภาษี e-Tax Invoice เลยค่ะ เพราะสามารถลดได้ 40,000 บาท แต่ถ้าเป็นแบบกระดาษจะนำมาลดได้แค่ 30,000 บาทค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงการคลัง และ itax.in.th

ข้อควรรู้เรื่องภาษีออนไลน์ "อีเพย์เมนต์ (e - Payment)"

แม่ค้าออนไลน์สงสัยกันใช่มั๊ยละคะว่า “แล้วสรรพากรจะรู้ได้ยังไงว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น?” ตอนนี้มีกฎหมายออกมารองรับให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “อีเพย์เมนต์ (e-Payment)” ที่เริ่มมีผลบังคับใช้จริงแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ ซึ่งจะมีเงื่อนไขที่เข้าข่ายโดนสรรพากรตรวจสอบมีดังนี้ค่ะ

  1. เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม

  2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท

เงื่อนไขที่กล่าวมานี้ หากธนาคารพบว่าบัญชีใดเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งก็มีสิทธิ์ถูกตรวจสอบและทำการส่งข้อมูลให้ทางสรรพากรค่ะ แต่ถ้าคุณพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์รู้สึกสงสัยเกี่ยวกับภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) สามารถวาร์ปไปที่ ธนาคารจะส่งข้อมูลบัญชีแบบไหนให้กรมสรรพากรบ้าง? (ฉบับอัปเดทปี 2022) ได้เลยค่าา

โปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์

สำหรับใครที่อ่านมาเยอะแล้วก็ยังคงงงอยู่ดี ไม่ต้องกลัวค่ะ เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีช่วยเราได้ เลิกกังวลแล้วมองหาตัวช่วยในการคำนวณภาษีได้ที่นี่เลยค่ะ แค่ใส่ตัวเลขก็คำนวณยอดภาษีออกมาให้เราได้เลย

1. RD Smart Tax

เป็นแอพสำหรับมือถือมีให้ใช้ทั้ง iOS และ Android หาดาวโหลดเอามาคำนวณกันได้เลย 

พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีแบบไหน
พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีแบบไหน

2. เว็บไซต์ของธนาคาร

ถ้ากังวลเรื่องความปลอดภัยการใช้โปรแกรมหรือแอพบนมือถือล่ะก็ เว็บของธนาคารก็มีไว้รองรับและช่วย พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ ในการคำนวณภาษีเช่นกันค่ะ

  • โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกสิกรไทย

  • วางแผนเงินของคุณกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา

3. iTAX Pro

 

พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีแบบไหน
พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีแบบไหน

 

โปรแกรมสุดท้ายสำหรับช่วยคำนวณภาษีกับ iTAX Pro โปรแกรมนี้มีให้ใช้ทั้งบนคอมฯ และมือถือ แอพหน้าตาสวยงามดูง่าย กรอกตัวเลขเป็นขั้นตอนชัดเจน ไม่งงงวยเหมือนเวลาเรากรอกในเว็ปสรรพากรแน่นอน ลองโหลดนำไปคำนวณภาษีกันได้เลยจ้า มีให้ใช้ทั้ง iOS และ Android เช่นกัน

Page365 แนะนำ

วางแผนภาษีร้านออนไลน์ง่าย ๆ ด้วยการ Export บิลออนไลน์ และ ใบกำกับภาษี ช่วยสรุปยอดขายรายเดือนได้ในคลิกเดียว อย่าลืมขอใบกำกับภาษีในทุกการใช้จ่ายในร้านออนไลน์ เช่น ค่าโฆษณาเฟสบุ๊ค ค่าขนส่ง เป็นต้น เพื่อใช้คำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของร้านค้าด้วยนะคะ

สมัครใช้งานฟรี

การเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ เราผู้เป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ก็ถือว่าเป็นผู้มีรายได้เช่นกัน เพราะหากเราไม่ทำการยื่นภาษี เราจะโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แถมยังต้องเสียค่าปรับอีกด้วย ทางที่ดีทำให้ถูกต้องตามกฎหมายไว้ก่อน สบายใจกว่ากันเยอะค่ะ

พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีอะไร

เรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าต้องระวังก็คือ หากมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งให้กรมสรรพากร โดยต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ เพื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 นำ ส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และ ชำระเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ค้าขาย ยื่นภาษีประเภทไหน

สำหรับร้านขายของชำที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน หลังจากมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท และนำยอดขายในแต่ละเดือนภาษียื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากยื่นออนไลน์สามารถยื่นได้อีก 8 วัน คือภายในวันที่ 23 ของทุกเดือน จดทะเบียนพาณิชย์

พ่อค้าแม่ค้าต้องเสียภาษีไหม

1. ผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์ทุกคน ต้องเสียภาษี ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ไม่สำคัญ แต่ถ้ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด (กรณีลูกจ้างบริษัท หากมีเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี) ก็ต้องยื่นแบบภาษีทุกคน 2. ขายของออนไลน์ รายได้เกิน 60,000 บาทต่อปีต้องยื่นภาษี

ยื่นภาษีออนไลน์ 2565 ได้ถึงวันไหน

สำหรับ การยื่นภาษีออนไลน์ 2565 กรมสรรพากร กำหนดไว้ยื่นภาษี ภายในวันที่ 10 เม.ย. 2566 ซึ่งหากใครยื่นภาษีออนไลน์ล่าช้า เกินที่กรมสรรพากรกำหนด จะมีโทษปรับดังนี้