กระบวนการกลุ่มเกิดขึ้นได้อย่างไร

ความหมาย
    กลุ่ม  หมายถึง  บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกันหรือมาปรึกษาหารือกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เพื่อที่จะแก้ไขหรือขจัดข้อขัดข้องในเรื่องนั้นๆ  หรือปัญหานั้นๆ  ให้หมดไป  หรือให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของตนเองที่มีจุดหมายเอาไว้

    การรวมกลุ่ม  หมายถึง  บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน  เพื่อให้กิจกรรมนั้นบรรลุจุดหมายปลายทางที่กลุ่มกำหนดไว้โดยที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม

1.เกิดจากความชอบพอกันเป็นส่วนตัวระหว่างสมาชิดด้วยกันเอง  เช่น  เป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน
2. เกิดจากการถูกชักชวนหรือชักจูงไป  เช่น ชาวบ้านในชนบทถูกกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน ชวนไปรวมเป็นกลุ่มเกษตร  ตั้งกลุ่มเลี้ยงไหม
3. เกิดจากความพอใจในเป้าหมายกิจกรรมของกลุ่ม  หรือกลุ่มมีจุดหมายตรงกับอุดมการณ์ของบุคคลที่จะเข้าไปเป็นสมาชิก  เช่น กิจกรรมนันทนาการ  กิจกรรมทางวิชาการ  พรรคการเมือง
4. เกิดจากการได้รับคัดเลือกหรือแต่งคั้งจากผู้มีอำนาจ  เพื่อให้ปฏิบัติงานร่วมกันโดยเฉพาะ  เช่น  กลุ่มแพทย์ศัลยกรรม  ชุดปฏิบัติการพิเศษกู้ภัย
5. เกิดจากความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  เป็นการสนองตอบความต้องการทางจิตใจหรือทางจิตวิทยา  เช่น  เกิดจากากรเหงา  เบื่อหน่าย  หรือต้องการมีเพื่อน  ต้องการใกล้ชิดเจ้านาย  ก็ไปเล่นกีฬา  ตีกอล์ฟ  แล่นเทนนิส
6.  เกิดจากการต้องการพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเอง  เป็นการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมงานบางอย่าง  ด้วยกัน  ปกป้องผลประโยชน์ของตนเองเป็นการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมงานบางอย่าง  ด้วยกัน  ปกป้องผลประโยชน์ของตนเองและของกลุ่ม  เช่น  สหภาพแรงงาน  สภาหอการค้า  กลุ่มตลาดร่วมยุโรป

กระบวนการกลุ่มเกิดขึ้นได้อย่างไร

ประเภทของกลุ่ม
    1.กลุ่มปฐมภูมิและกลุ่มทุติยภูมิ (Primary and Secondary Group) การแบ่งกลุ่มแบบนี้ยึดถือความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่มเป็นหลัก  พิจารณาความเกี่ยวข้องมาก-น้อง-ชิด-ห่าง ของสมาชิกเป็นสำคัญ  กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) เป็นกลุ่มที่สมาชิกมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากมีการพบปะสังสรรค์  หรือพบหน้าค่าตากัน  อยู่เสมอ  มีการร่วมมือกันทำงนโดยไม่หวังประโยชน์ตอบแทน  ส่วนกลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) เป็นกลุ่มที่สมาชิกมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการหรือโดยหน้าที่  ไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัว
    2.กลุ่มทางด้านสังคมและกลุ่มทางจิตวิทยา (Socio-group and Psycho-group) การแบ่งกลุ่มแบบนี้มีรากฐานมาจากจุดมุ่งหมายของการจัดกลุ่มที่แตกต่างกันคือกลุ่มทางด้านสังคม (Socio-Group) กลุ่มประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับสมาชิกเป็นรายบุคคล  แต่จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ส่วนกลุ่มทางจิตวิทยา (Psycho-group) เป็นกลุ่มที่สมาชิกมารวมกันตามความพอใจของสมาชิกเอง  หรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อพบปะกันระหว่างเพื่อสนิท
    3.กลุ่มที่สมาชิกรู้สึกว่าตนเองอยู่ในกลุ่มกับกลุ่มที่สมาชิกรู้สึกว่าตนเองอยู่นอกกลุ่ม (In-Group and Out Group)  กลุ่มประเภทนี้แบ่งตามความรู้สึกและเจตคติของสมาชิกเป็นสำคัญกลุ่มที่สมาชิกรู้สึกว่าตนเองอยู่ในกลุ่ม (In-Group) กลุ่มประเภทนี้สมาชิกมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม  มีความรู้สึกเป็นเจ้าของกลุ่ม  และมีความสุขที่ได้ทำงานกับบุคคลในกลุ่ม  เมื่อมีการทำงานทุกคนจะมีเจตคติแบบเห็นอกเห็นใจ  มีมิตรภาพต่อเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการดำเนินงานกลุ่ม  ส่วนกลุ่มที่สมาชิกรู้สึกว่าตนเองอยู่นอกกลุ่ม (Out Group)  กลุ่มประเภทนี้สมาชิกไม่มีความภาคภูมิใจในกลุ่ม  ไม่อยากเป็นสมาชิก  ไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ  เมื่อมีการทำงานร่วมกันสมาชิกจะไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจ  ไม่ชอบกลุ่ม  รู้สึกสงสัยอยู่ตลอดเวลา  การทำงานกลุ่มจะไม่ได้ผลดี
    4.กลุ่มเป็นทางการและกลุ่มไม่เป็นทางการ (Formal and Informal Groups) กลุ่มประเภทนี้แบ่งตามโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสมาชิกเป็นหลักกลุ่มเป็นทางการ (Formal Group) คือ กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยกฎหมายมีสายการบังคับบัญชาที่แน่นอน  เป้าหมายชัดเจน  มีระเบียบวินัยของสมาชิ  สมาชิกมีความสัมพันธ์กันตามบทบาทหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้  ส่วนกลุ่มไม่เป็นทางการ (In-formal Group) เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยสมาชิกจำนวนไม่มากนัก  ไม่มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์  หรือกฎหมายรองรบที่ชัดเจน  ไม่มีการระบุเป้าหมายที่เด่นชัด  เกิดขึ้นง่าย  สลายตัวง่าย  และอาจะเกิดขึ้นอีกก็ได้ข้อเปรียบเทียบการตัดสินใจโดยกลุ่มกับการตัดสินใจโดยเอกบุคคล
                ๕.) การประเมินผลและปรับปรุงการทำงาน คือ การนำเสนอผลงานที่ได้จากการปฏิบัติงานทั้งหมด มีระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่มที่ตั้งไว้ว่าอยู่ในระดับใด เป็นการประเมินผลภาพรวมทั้งหมดของการทำงานร่วมกันของสมาชิกภายในกลุ่ม และผลงานที่ได้นำเสนอทั้งหมดจะต้องนำไปพัฒนาเป็นการต่อยอดกรอบแนวความคิดใหม่ในการทำงานครั้งต่อไป เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาระบบการทำงานกลุ่ม การนำเสนอผลงานควรจัดทำในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน เอกสารแผ่นพับ หรือการนำเสนอผลงานต่อหน้าครู ผู้ปกครองและเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยวิธีหนี่งวิธีใดหรือทั้งหมด มีการบรรยายประกอบชิ้นงาน หรือการจัดนิทรรศการแสดงผลงานประกอบด้วย เป็นต้น