การอ่านและการเขียนมีความสำคัญอย่างไร

                 ครูภาษาไทยจำเป็นจะต้องเข้าใจว่า การสอนอ่านและเขียน และการพัฒนาทักษะการคิดจะต้องทำควบคู่กัน  การอ่านและการเขียนที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเริ่มจากการพัฒนาภาษาไทยภายใน หรือระบบความคิดเป็นเบื้องต้นเสียก่อน คือ เตรียมพร้อมผู้เขียนให้มีความรู้พื้นฐานมากเพียงพอ  จากนั้นจึงใช้การฝึกหัดด้วยการอ่านหรือเขียนสื่อหลากหลายประเภท อันเป็นภาษาภายนอก เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว จนเรียกว่ามีความชำนาญ สิ่งเหล่านี้จึงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การสอนทักษะภาษาทั้งสองด้านประสบความสำเร็จ

 ความสำคัญของการเขียนและประโยชน์ที่ได้รับ
      นอกจากมีความจำเป็นดังกล่าวแล้ว อาจกล่าวถึงความสำคัญของการเขียนโดยสรุปได้ดังนี้
     1) เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่าน
     2) เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อน
     3) เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์
     4) เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม เช่น ถ่ายทอดสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง เป็นต้น
     5) เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกสิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนาสืบไป
     6) เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์ที่แต่ละคนปรารถนา เช่น เพื่อต้องการทำให้รู้เรื่องราว ทำให้รัก ทำให้โกรธและสร้างหรือทำลายความสามัคคีของคนในชาติ
     7) เป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของผู้เขียน
     8) เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง
     9) เป็นการพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพ ทำให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการแสดงความรู้สึกและแนวคิด
   10) เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

ภาษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร องค์ประกอบของภาษาคือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อเป็นเครื่องช่วยให้คนในสังคมมีความเข้าใจที่ดีต่อกันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การเรียนการสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษามุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษาทั้งทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารถึงการรับรู้ และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้นักการศึกษายังเห็นความสำคัญของวิชาภาษาไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาอื่นๆ อีกด้วย (กิ่งกาญจน์ ถิรสุรคนธ์.2521 : 3

การอ่านเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยปรับและขยายประสบการณ์ของมนุษย์ ทั้งยังช่วยให้สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างความเพลิดเพลินจากหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้มากและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าความสำเร็จในการเรียนของเด็กส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการอ่าน คืออ่านช้า ขาดความเข้าใจในการอ่าน และไม่สามารถจดจำเรื่องที่อ่านได้ ย่อมทำให้การเรียนวิชาต่าง ๆ ไม่ได้ผลไปด้วย ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายวิตกกังวลหรือเกิดความท้อแท้ไม่อยากเรียนต่อไป การอ่าน จึงเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในวิชาการต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น การอ่าน จะช่วยทำให้นักเรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตนอยากรู้ ขยายความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ฉะนั้น การอ่านจึงเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จอีกหลายด้าน

การเขียนนับเป็นการสื่อสารที่มีวิธีการที่ซับซ้อนกว่าทักษะอื่น เพราะผู้ที่สามารถฟัง พูดอ่าน ได้ดีจึงจะช่วยให้สามารถถ่ายทอดความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการออกมาทางการเขียนเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ทักษะการเขียนจึงเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายที่คงทนถาวรเป็นหลักฐานที่ดีกว่าทักษะอื่น (จุไร วรศักดิ์โยธิน. 2520 : 3 ) ฉะนั้นผู้เขียนจึงต้องพยายามเขียนคำให้ถูกต้อง ใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการเขียนที่มีประสิทธิภาพ ในการเขียนนอกจากต้องคำนึงถึงเนื้อความตามวัตถุประสงค์ สำนวนที่สละสลวยถูกต้องตามหลักภาษาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการสะกดคำด้วย (สาลินี ภูติกนิษฐ์. 2530 : 1) เพราะการเขียนสะกดคำที่ถูกต้องนอกจากจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย และรวดเร็วแล้วยังช่วยให้ผู้เขียนเกิดความมั่นใจในตนเองทุกครั้งที่เขียน 

ปัจจุบันพบว่ามีนักเรียนจำนวนหนึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากสมองซีกซ้ายบกพร่อง หรือมีความยากลำบากในการจัดกระทำข้อมูล นักเรียนจะแสดงพฤติกรรมด้านการอ่าน ดังนี้ อ่านช้า อ่านเสียงผิดเพี้ยน ประสมคำไม่ได้ จำรายละเอียดของคำไม่ได้ อ่านข้ามคำที่อ่านไม่ได้ อ่านตกหล่น หรืออ่านเพิ่มคำ ผันเสียงวรรณยุกต์สับสน หรือผันไม่ได้ อ่านเสียงดังอ้อมแอ้มอยู่ในลำคอ แทนที่คำที่อ่านไม่ออกด้วยคำอื่น อ่านตะกุกตะกัก ต้องสะกดไปด้วยระหว่างที่อ่าน อ่านกลับคำ สับสนมาตราตัวสะกดต่าง ๆ อ่านคำควบกล้ำไม่ได้ สับสนเสียงสระโดยเฉพาะสระประสม สระลดรูป ขาดสมาธิในการเรียน ด้านการเขียน นักเรียนจะเขียนช้า เขียนตัวอักษรกลับหลัง วนหัวพยัญชนะหลายรอบ สะกดคำผิดบ่อยแม้แต่คำง่าย ๆ เขียนแล้วลบบ่อย เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง เขียนเพิ่มหรืออาจเขียนตกหล่น วางสระและวรรณยุกต์ไม่ถูกที่ เขียนตัวอักษรสลับกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักเรียนเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน ถึงแม้นักเรียนจะมีระดับสติปัญญาเหมือนนักเรียนปกติอื่นๆ ก็ตาม แต่หากนักเรียนกลุ่มนี้ได้รับความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับนักเรียนปกติ

ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของ เด็กชาย ศราวุธ แสงใหม่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกการอ่านของ ศาสตราจารย์ ดร. ผดุง อารยะวิญญู การสอนประกอบการใช้แบบฝึก เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ให้สามารถอ่านและเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางในการสอนการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ต่อไป

การอ่านและเขียนมีความสำคัญอย่างไร

การอ่านทำให้พัฒนาทักษะการเขียน ผู้ที่เขียนหนังสือได้ดีมักเป็นผู้ที่ชอบอ่าน และอ่านมากจนเกิดความช่ำชองในการใช้ภาษา การอ่านและการเขียนจึงมีปฏิสัมพันธ์กันและกัน นั่นคือการอ่านก็ช่วยพัฒนาการเขียน การเขียนก็ช่วยพัฒนาการอ่าน และทั้งการอ่านและการเขียนช่วยพัฒนาการคิด

การอ่านอกเขียนได้สำคัญอย่างไร

ถึงกระนั้น การมีทักษะการอ่านออกเขียนได้ คำนวณได้ ก็ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดอยู่ดี เพราะหมายถึงการขับเคลื่อนไปสู่การที่ครอบครัว ชุมชน และสังคม กอปรไปด้วยบุคคลที่มีทักษะ ความรู้ และความสามารถ เป็น 'นักเรียนรู้ตลอดชีวิต' ที่มีความมั่นใจและมีประสิทธิภาพนั่นเอง

การเขียน มีความสําคัญอย่างไร

การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน

การเขียนมีความสำคัญกับชีวิตเราอย่างไร

1. การเขียนช่วยจัดระบบความคิด 2. ทำให้มีสมาธิ 3. เข้าใจตัวเองมากขึ้น 4. เป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญ