การเขียนย่อหน้ามีความสําคัญอย่างไร

              ย่อหน้าหนึ่งๆ จะมีความยาวเท่าใดนั้นอยู่ที่ความเหมาะสม  5 บรรทัด หรือ 10 บรรทัด อยู่ที่สาระประเด็นความคิดและรายละเอียดที่จะขยายความว่าต้องการแค่ไหน แต่โดยมากแล้ว ย่อหน้าไม่ควรยาวเกินครึ่งหน้ากระดาษ A4 เพราะจะทำให้อ่านยากเกินไป และสรุปความคิดได้ยาก เนื่องจากมีรายละเอียดมาก  แต่ถ้าสั้นก็ไม่ควรสั้นจนเหลือ 1 – 3 บรรทัด เพราะจะไม่สามารถสรุปสาระประเด็นหลักได้

      4. สารัตถภาพ คือ มีการเน้นย้ำใจความสำคัญ กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างได้เนื้อหาสาระ ได้ใจความที่ชัดเจนเพียงพอ การเน้นย้ำใจความสำคัญนั้น อาจทำได้โดยการวางตำแหน่งของประโยคใจความสำคัญ ไว้ตอนต้นย่อหน้า หรือท้ายย่อหน้า ทั้งนี้เพราะผู้อ่านมักจะให้ความสนใจกับ ประโยคเริ่มต้น และประโยคลงท้าย

..........ส่วนขยาย คือ ส่วนที่มาชยายใจความสำคัญให้ชัดเจน โดย การยกตัวอย่าง อธิบาย เพื่อให้ได้เรื่องราวครบถ้วน สมบูรณ์

ย่อหน้าที่ดีมีลักษณะสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. ความสมบูรณ์ ในแต่ละย่อหน้าต้องเขียนให้มีจุดหมาย เนื้อหา สาระสำคัญ รายละเอียด ส่วนขยายชัดเจน ไม่ออกนอกเรื่อง ไม่ยกตัวอย่างมาก เกินความจำเป็น เมื่ออ่านจบแล้ว ต้องได้ความบริบูรณ์ เหมือนอ่านเรียงความสั้นเพียง ๑ เรื่อง เพราะย่อหน้าก็คือ ความเรียงอย่างย่อเรื่องหนึ่ง
๒. เอกภาพ หมายความว่า ข้อความแต่ละย่อหน้า จะต้องเขียนให้มีความคิด หรือใจความสำคัญเพียงประการเดียว ไม่เปลี่ยนความคิด หรือจุดมุ่งหมาย เป็นหลายอย่างใน ย่อหน้าเดียว
๓. สัมพันธภาพ คือ การเรียบเรียงข้อความในย่อหน้าให้เกี่ยวโยง ต่อเนื่องกัน เกิดความสัมพันธ์กัน เมื่ออ่านแล้วสละสลวยรื่นหู ทำให้แนวความคิด ติดต่อกัน ผู้อ่านสามารถติดตามได้ง่าย
๔. สารัตถภาพ คือ มีการเน้นย้ำใจความสำคัญ กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างได้เนื้อหาสาระ ได้ใจความที่ชัดเจนเพียงพอ การเน้นย้ำใจความสำคัญนั้น อาจทำได้โดยการวางตำแหน่งของประโยคใจความสำคัญ ไว้ตอนต้นย่อหน้า หรือท้ายย่อหน้า ทั้งนี้เพราะผู้อ่านมักจะให้ความสนใจกับ ประโยคเริ่มต้น และประโยคลงท้าย
ฉะนั้น ย่อหน้าที่ดีจึงควรมีทั้งความสมบูรณ์ เอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ ซึ่งจะช่วยให้งานเขียนนั้นเป็นงานเขียน ที่มีความต่อเนื่อง ชัดเจน และสมบูรณ์ขึ้น

...........สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี ไม่นั่งเทียนเขียนจนงานเขียนขาดความน่าเชื่อถือ ใช้ถ้อยคำให้กระชับ ไม่ซ้ำซ้อน เพราะการใช้คำที่ความหมายซ้ำซ้อน จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อได้ง่าย และเมื่อเขียนเสร็จจะต้องอ่านซ้ำเพื่อตัดคำที่เป็นคำฟุ่มเฟือย ซึ่งผู้เขียนสามารถปรับแก้คำที่พิมพ์ผิดหรือเขียนผิดไปในตัว อีกด้วย

หนังสือราชการแต่ละเรื่องย่อมประกอบด้วยย่อหน้าหลายย่อหน้า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานราชการจึงควรรู้แนวทางในการเขียนย่อหน้าที่ดีไว้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ย่อหน้าคือข้อความตอนหนึ่งที่มีสาระหรือความคิดสำคัญเพียงประการเดียว และมีประโยคหรือข้อความสนับสนุนสาระสำคัญนั้นให้กระจ่างชัดเจนขึ้น ตามหลักภาษาไทยย่อหน้าเป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่งที่ช่วยทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน โดยผู้อ่านจะจับใจความได้ง่ายขึ้นเพราะทราบว่าแต่ละย่อหน้ามีความสำคัญเพียงประการเดียว นอกจากนี้ผู้อ่านยังมีโอกาสได้พักสายตาด้วย ส่วนผู้เขียนจะเขียนได้ง่ายขึ้นโดยจะเสนอความคิดสำคัญเพียงหนึ่งอย่างในแต่ละย่อหน้าย่อหน้าแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ ย่อหน้านำความคิด ย่อหน้าโยงความคิด ย่อหน้าแสดงความคิด        และย่อหน้าสรุปความคิด

1) ย่อหน้านำความคิด เป็นย่อหน้าที่เขียนขึ้นเพื่อบอกจุดประสงค์ของการเขียนหรือสร้างความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น หรืออาจจะบอกถึงลักษณะของเนื้อหาที่จะเขียนก็ได้

2) ย่อหน้าแสดงความคิด เป็นย่อหน้าที่ผู้เขียนใช้แสดงความคิด ข้อมูล ความต้องการของตน เป็นย่อหน้าที่มีบทบาทสำคัญและใช้มากในการเขียนทุกประเภทโดยเฉพาะการเขียนเอกสารราชการ ในย่อหน้าแสดงความคิดแต่ละย่อหน้าควรจะมีความคิดสำคัญเพียงหนึ่งอย่างและมีส่วนขยายความคิดนั้นให้เด่นชัดขึ้นมา

3) ย่อหน้าโยงความคิด เป็นย่อหน้าที่ใช้เชื่อมระหว่างย่อหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หรือเป็นคนละประเด็นกัน ย่อหน้าชนิดนี้จึงเป็นย่อหน้าสั้น ๆ

4) ย่อหน้าสรุปความคิด เป็นย่อหน้าที่ใช้สรุปเรื่องที่เขียน

การเขียนย่อหน้านอกจากจะมีความคิดสำคัญเพียงประการเดียวแล้ว ยังต้องมีประโยคที่ช่วยเน้นความคิดสำคัญและให้ความเข้าใจอย่างชัดเจนกับผู้อ่าน ประโยคและข้อความในย่อหน้าแต่ละย่อหน้าต้องต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยผู้เขียนจะต้องเรียบเรียงอย่างสละสลวยอีกด้วยนอกจากความสัมพันธ์ภายในย่อหน้าแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างย่อหน้าต่าง ๆ ในเรื่องก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้เขียนจะต้องเรียงลำดับเรื่องราวหรือเรียงลำดับย่อหน้าให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกันอย่างเหมาะสม มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการเขียนย่อหน้าคือ ความยาวของย่อหน้าแต่ละย่อหน้าไม่จำเป็นจะต้องยาวเท่ากันเพราะความยาวของย่อหน้านั้นขึ้นอยู่กับความคิด และจุดประสงค์ของผู้เขียน ผู้เขียนควรระลึกไว้เสมอว่า ย่อหน้าที่ยาวเกินไปจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่อยากอ่าน

การเขียนย่อหน้ามีความสำคัญอย่างไร

๑. ช่วยให้ผู้เขียนจัดแนวคิดได้ตรงกับเรื่องที่จะเขียน ๒. ทำให้งานมีเอกภาพไม่ปะปนและออกนอกเรื่อง ๓. ช่วยให้งานเขียนมีสัมพันธภาพมีการลำดับความอย่างมีเหตุผลต่อเนื่อง ประเภทของโครงเรื่อง

ลักษณะของย่อหน้าที่ดีเป็นอย่างไร

ย่อหน้าที่ดีจะต้องประกอบด้วย เนื้อหาที่ดี และมีวิธีการเขียนที่ดี คือ เนื้อหาที่ดี 1. มีเอกภาพ คือ แต่ละย่อหน้ามีใจความสำคัญเพียงประการเดียว ส่วนข้อความอื่น ๆ เป็นส่วนขยายรายละเอียด ได้แก่ การอธิบาย ชี้แจง ยกตัวอย่าง หรือสนับสนุน

หนึ่งย่อหน้าจะมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ย่อหน้าหนึ่งย่อหน้าจะประกอบด้วย ใจความส าคัญ/ใจความหลักและ ใจความรอง/ส่วนขยาย * ต าแหน่งของใจความส าคัญมีหลายต าแหน่งอาจจะอยู่...........

ย่อหน้าที่มีเอกภาพจะมีลักษณะอย่างไร

๒. เอกภาพ หมายความว่า ข้อความแต่ละย่อหน้า จะต้องเขียนให้มีความคิด หรือใจความสำคัญเพียงประการเดียว ไม่เปลี่ยนความคิด หรือจุดมุ่งหมาย เป็นหลายอย่างใน ย่อหน้าเดียว