ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

๕ คำถาม จาก”ใบอนุญาต” สู่ “ใบรับรอง” หรือความหมายจะวิบัติในกฎหมายการศึกษา?รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรักประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

Show

#คำถามที่ ๑.ทำไมครูต้องมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”?

ผมเป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนสวรรควิทยา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๒๕

ผมจึงไม่มีวาสนาได้มี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เนื่องจาก”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เริ่มมีขึ้นครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖มาตรา ๔ ดังนี้“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้“ใบอนุญาต” หมายความว่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตําแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามพระราชบัญญัตินี้

ครูจึงถูกกำหนดให้ต้องมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้นมา

##คำถามที่ ๒ คำว่า “วิชาชีพ” (profession) ต่างกับ คำว่า “อาชีพ”(occupation) อย่างไร?

#คำว่า “วิชาชีพ”(profession) หมายถึง อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านเรียกว่า วิชาชีพ เช่น วิศวกร แพทย์ พยาบาล ทนายความ#คำว่า “อาชีพ”(occupation) หมายถึง รูปแบบการดำรงชีพในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน อาชีพเป็นหน้าที่ของบุคคลในสังคม การที่บุคคลประกอบอาชีพจะได้มาซึ่งค่าตอบแทน หรือ รายได้ เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต

##ผู้ประกอบ”วิชาชีพ”(profession) นอกจากต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านแล้ว ยังต้องมีใบอนุญาต(license) มีจรรยาบรรณ (ethics)กำกับการประกอบวิชาชีพ โดยมีองค์กรหรือหน่วยงานกำกับควบคุมการประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพด้วย

###คำถามที่ ๓ ประเทศไทยมีวิชาชีพกี่ประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต?

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ” เป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศไทยปัจจุบัน มีวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตเพื่อประกอบวิชาชีพ ดังนี้

* ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ออกโดย แพทยสภา
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ออกโดย ทันตแพทยสภา
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ออกโดย สัตวแพทยสภา
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ออกโดย สภาเภสัชกรรม
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ออกโดย สภาการพยาบาล
* ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ออกโดย สภาการแพทย์แผนไทย
* ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ออกโดย สภาการแพทย์แผนไทย
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ออกโดย สภาเทคนิคการแพทย์
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ออกโดยสภากายภาพบำบัด
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ออกโดย สภาการสาธารณสุขชุมชน
* ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ออกโดย สภาทนายความ
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดย สภาวิศวกร
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ออกโดย สภาสถาปนิก
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ออกโดย คุรุสภา
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ออกโดย สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบัญชี ออกโดย สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
* ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ออกโดย สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
* ใบประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ออกโดย สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์

ดังนั้น ครูในประเทศไทย จึงต้องมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ที่ออกโดย”คุรุสภา”

####คำถามที่ ๔ “ใบอนุญาต” (license)แตกต่างกับ”ใบรับรอง” (certificate) อย่างไร?

“ใบอนุญาต” (license)น. หมายถึง ใบอนุมัติ เอกสารสิทธิ์ เช่น ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ใบอนุญาตสำหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง (license; a permit from an authority to own or use something, do a particular thing, or carry on a trade (especially in alcoholic beverages).”a gun license”)“ใบรับรอง” (certificate) หมายถึง หนังสือรับรอง ใบสุทธิ เอกสารที่แสดงการรับรอง เช่น ใบรับรองแพทย์(certificate; an official document attesting a certain fact.)

#####คำถามที่ ๕ เปลี่ยนจาก”ใบอนุญาต” เป็น “ใบรับรอง” ใช่ความวิบัติในกฎหมายการศึกษาหรือไม่?

กฎหมายที่กำหนดให้ครูในประเทศไทย ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในปัจจุบัน มี ๒ ฉบับคือ

๑)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ #ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด

๒)พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖มาตรา ๔ ในพระราชาบัญญัติฉบับนี้“ใบอนุญาต” หมายความว่า “#ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ”ซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่ง ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามพระราชบัญญัตินี้

ส่วน(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….หลักการ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กำหนดดังนี้ครับมาตรา ๓๗ ครูซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) (ข) ต้องมี”#ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู”ความเป็นครู เว้นแต่ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาหนึ่งวิชาใดเป็นการเฉพาะตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด

###หมายเหตุ ข้อความใน(ร่าง)ปัจจุบัน มาจาก(ร่างเดิม)ที่กำหนดใช้”ใบรับรองความเป็นครู” เมื่อมีการวิพากษ์กันมาก ก็ปรับเปลี่ยนเป็น “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” เปลี่ยนจาก”รับรองตัวครู” เป็น”รับรองการประกอบวิชาชีพครู”

###หากพิจารณาความหมาย จากคำถามที่ ๔ ที่ว่า”ใบอนุญาต” (license)แตกต่างกับ”ใบรับรอง” (certificate) อย่างไร? จะสามารถตีความได้ว่า “ผู้ที่มีใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” คือผู้ที่เป็นครูแล้ว จึงมี#ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” และใบรับรองฯที่ผมเข้าใจ คือ”บัตรประจำตัวข้าราชการครู” ซึ่งมีความหมายแตกต่างกับ”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” นั่นคือ ผู้ที่จะเป็นครูได้ต้องมี”ใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครู”ก่อน(แม้แต่ผู้ที่เรียนจบวุฒิการศึกษาในหลักสูตรครูโดยตรง ก็ไม่สามารถเป็นครูได้ “ถ้าไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”)

##ผมผู้ไม่เคยมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ต้องขอบคุณสถาบันผลิตครูที่หล่อหลอมผมมาให้ชอบตั้งคำถามเชิงปรัชญาเพื่อหาคำตอบตั้งแต่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุตรดิตถ์ (ป.กศ.) วิทยาลัยครูเทพสตรี (ป.กศ.สูง.) และวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร (กศ.บ.) วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาโทภาษาไทยผมยังยืนยันว่า “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” เป็นความวิบัติทางความหมายของ(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ…….ที่จะนำมาใช้ทดแทน”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

###ของเก่าดีอยู่แล้ว ถ้าเปลี่ยนแปลงดีขึ้นก็จะสรรเสริญ

#####แต่เปลี่ยนแปลงแล้วเป็นความวิบัติทางความหมาย จะเปลี่ยนแปลงไปเพื่ออะไร? ไม่ทราบ?

ขอบคุณที่มา : Facebook สมบัติ นพรัก 

  • แท็ก
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

Facebook

Twitter

Pinterest

LINE

บทความก่อนหน้านี้แบบทดสอบออนไลน์ ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกียวกับ covid19 โดย สพป.สุพรรณบุรีเขต 3

บทความถัดไปแบบทดสอบออนไลน์ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้เชิงรุก และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดย สพป. สกลนคร เขต 3

ครูอาชีพดอทคอม

https://www.kruachieve.com

บทความโดย : ครูอาชีพดอทคอม ติดตามได้ที่ : https://www.facebook.com/kruachieve เว็บไซต์ : https://www.kruachieve.com

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากผู้เขียน

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

เรื่องราวน่าสนใจ

แนวทางการเขียนบันทึกหลังการสอน บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยดร.อัครเดช จำนงค์ธรรม

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

เรื่องราวน่าสนใจ

แนะนำเว็บไซต์ Picker Wheel เครื่องมือช่วยในการสุ่ม การจัดกลุ่ม สร้างความตื่นเต้นในชั้นเรียน

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

เรื่องราวน่าสนใจ

แนะนำเทคนิคการสร้าง QR code อย่างง่าย ไม่หมดอายุและไม่ติดโฆษณาโดยใช้สูตรใน Google Sheet

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

เรื่องราวน่าสนใจ

แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน Co 5 steps

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

เรื่องราวน่าสนใจ

แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

เรื่องราวน่าสนใจ

แจกไฟล์สรุปอ่านสอบใบประกอบวิชาชีพครู แนวข้อสอบประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู

ทิ้งคำตอบไว้ ยกเลิกการตอบ

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!

กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

คุณป้อนที่อยู่อีเมลไม่ถูกต้อง!

กรุณาใส่ที่อยู่อีเมลของคุณที่นี่

บันทึกชื่ออีเมลและเว็บไซต์ของฉันในเบราว์เซอร์นี้ในครั้งต่อไปที่ฉันแสดงความคิดเห็น

Δ

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

ค้นหา

เว็บไซต์พันธมิตรฯ

สอบ IELTS  |  IELTS Life Skills

E-sports     |  รับทำบัญชี

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

ป้ายกำกับ

COVID-19 Starfish Labz ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ การประกวด ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ครูผู้ช่วย คุรุสภา คู่มือ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ดาวน์โหลด ดาวน์โหลดฟรี ตรีนุช เทียนทอง ทดสอบออนไลน์ บรรจุครู พนักงานราชการ พุทธศาสนา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย รับเกียรติบัตรฟรี ลูกเสือ วPA วิทยฐานะ วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ วิทยาการคำนวณ วิทยาศาสตร์ สพฐ. สมัครงาน สมัครสอบ สสวท สอบครู สอบครูผู้ช่วย สื่อการสอน หลักสูตร อบรมออนไลน์ อบรมออนไลน์ฟรี อัมพร พินะสา เปิดภาคเรียน เรียกบรรจุครูผู้ช่วย เรียนออนไลน์ เสวนาออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้ โควิด 19 โค้ดดิ้ง ใบประกอบวิชาชีพ

บทความล่าสุด

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้มาอย่างไร

ดาวน์โหลด

แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง Be Internet Awesome ความปลอดภัยและการเป็น พลเมืองในโลกดิจิทัล รับเกียรติบัตรทางทันที ผ่านร้อยละ 80 % ขึ้นไป โดยสพป.พิจิตร เขต 2 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีอะไรบ้าง

1. ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ... .
2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ... .
3. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ... .
4. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ... .
5. ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ... .
6. ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ... .
7. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ... .
8. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด.

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมีความสําคัญอย่างไร

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หมายถึง ผู้ถือใบนี้สามารถปฏิบัติการสอนได้เต็มรูปแบบในการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับต่ำกว่าปริญญาตรี สามารถรับได้จากการเรียนหลักสูตรทางการศึกษาที่ได้รับการรับรองของคุรุสภา, หรือผู้ทำคุณสมบัติครบตามที่ระบุในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษามีกี่ประเภท

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี 4 ประเภท คือ.
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู.
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา.
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา.
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น.

ทำอย่างไรจึงจะได้ใบประกอบวิชาชีพครู

สามารถนามาขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ เพราะคุรุสภาประเมินมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดไว้ ซึ่งหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรองจะต้องรวมประสบการณ์ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาไว้ อย่างน้อย 1 ปี (1 ปีการศึกษา) ซึ่งเป็น คุณสมบัติใน ...