กระดูกคอทับเส้นประสาทรักษาอย่างไร

การรักษา ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยและช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

Show

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงมากนัก

สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการทานยา และทำกายภาพบำบัด

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ทานยาแล้วไม่ดีขึ้นทำอย่างไรก็ไม่หาย

กลุ่มนี้จะมีนวัตกรรมการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่เข้ามาช่วยในการรักษา เช่น การรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ

หมอนรองกระดูกคอจะคั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอที่จะมีประมาณทั้งหมด 7 ปล้อง มีหน้าที่ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวกระดูกคอ ทำให้มนุษย์เราสามารถก้มหรือเงยคอได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ หรือใช้ไม่ถูกต้องก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้

พฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นหมอนรองกระดูกคอเสื่อมเร็วของคนในปัจจุบัน ได้แก่

พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน คนที่จดจ่อใช้มือถือสมาร์ทโฟนแบบหนักหน่วง คนทำงานห้องแล็บที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์บ่อยๆ คนทำงานฝีมือก้มๆ เงยๆ ต่างๆ พฤติกรรมเหล่านี้จะยิ่งเร่งให้หมอนรองกระดูกคอของเราเสื่อมไวกว่าปกติ ส่วนมากโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะพบในคนที่อายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป และมักจะเป็นบริเวณปล้องที่ 5 ต่อ 6 รองลงมา คือ ปล้องที่ 6 ต่อ 7

เมื่อมีการเสื่อมหรือแตกของหมอนรองกระดูก

ก็จะมีโอกาสเกิดการกดทับที่ประสาทไขสันหลังและรากประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวดคอร้าวมาที่แขน หากเป็นมากๆ หรือมีการกดทับเส้นประสาทมากๆ ก็จะทำให้เกิดอาการแขนอ่อนแรง ชาบริเวณปลายนิ้ว เป็นต้น

การที่เราสะบัดคอแล้วมีเสียงดังกร็อบแกร็บ คือ อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมหรือไม่?

ต้องบอกว่าไม่ใช่ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมส่วนใหญ่จะไม่มีเสียง หากเราสะบัดแล้วมีเสียงกร็อบแกร็บแต่ไม่มีอาการปวดใดๆ ก็ไม่น่าจะมีผลขนาดต้องทำการรักษา ซึ่งเสียงที่ว่า คือ เสียงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมากกว่า แต่โดยปกติแล้วการสะบัดคอให้มีเสียงดังๆ นั้น แพทย์แนะนำว่า “ไม่ควรทำ” เพราะมีผลทำให้ข้อต่อบริเวณคอเสื่อมเร็วได้เช่นกัน เกิดจากการทำงานที่หนักเกินไปเวลาเราสะบัดแรงๆ

การรักษาโดยทั่วไปของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

จะเป็นการชะลอไม่ให้มันเสื่อมไวขึ้น ส่วนใหญ่คนไข้จะมาด้วยอาการปวดบริเวณต้นคอถึงสะบัก แพทย์จะให้ทานยาลดการอักเสบ การนอนพัก กายภาพบำบัด ประคบด้วยน้ำร้อน การบริหาร อาการปวดเหล่านี้ก็จะสามารถหายได้เอง ส่วนการผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียมนั้น ปัจจุบันก็มีการผ่าตัดอยู่เหมือนกันแต่ให้ผลได้ไม่ดีเท่าที่ควร การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมที่จำเป็นต้องทำ คือ หมอนรองกระดูกมีการแตกและกดทับบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งโชคดีหน่อยที่เราพบได้ค่อนข้างน้อยมาก

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ
หัวหน้าหน่วยกระดูกสันหลัง ภาควิชาออโธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Big Story วัยทำงานเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อม” ได้ที่นี่

YouTube: https://youtu.be/CaKabEeiWOc

คอ โรคกระดูก หมอนรองกระดูก พนักงานออฟฟิศ ติดหน้าจอ นั่งหน้าคอมนาน สะบัดคอ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกคอเสื่อม

กระดูกคอทับเส้นประสาทรักษาอย่างไร

ความรู้ทั่วไป

     โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม กดทับเส้นประสาท เกิดจากภาวะที่มีหมอนรองกระดูกคอ หรือหินปูนที่เกิดขึ้นจากกระดูกคอเสื่อมเคลื่อนตัว ไปกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ร้าวลงสะบัก ร้าวลงที่แขน และมือทั้งสองข้างมีอาการชาแขน มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ซึ่งโดยทั่วไป ภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือโพรงประสาทตีบแคบ อาจพบมีอาการข้างเดียว หรือ 2 ข้าง ในรายที่มีอาการหนัก

     โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ในคนอายุน้อยอาจเกิดจากการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก เช่นการยกของหนัก การเล่นกีฬา หรือการได้รับอุบัติเหตุ อาจจะพบอาการได้มากขึ้นในช่วงอายุ 40-50 ปี จะเริ่มเกิดภาวะกระดูกคอเสื่อม มีหินปูนหรือโพรงประสาทตีบแคบ เมื่อเกิดภาวะ หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ หมอนรองกระดูกคอข้อที่ 5 -6 และ 6-7

กระดูกคอทับเส้นประสาทรักษาอย่างไร

อาการแสดง

อาการปวดต้นคอเรื้อรัง หรืออาจจะมีปวดต้นคอเฉียบพลัน หลังจากการยกของหนัก นั่งขับรถเป็นเวลานาน ต่อมาจะมีอาการปวดร้าวลงที่สะบัก ปวดร้าวลงแขน อาจจะมีชามือ หรือแขนอ่อนแรง การตรวจร่างกาย จะตรวจพบตำแหน่งที่กดเจ็บอยู่บริเวณกล้ามเนื้อคอ ตรวจพบอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณสะบักทั้ง 2 ข้าง มีอาการร้าวมาที่ข้อศอก อาการปวดร้าวมาที่ปลายนิ้วมือ มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือ หากเป็นมากจะพบการอ่อนแรง ของกล้ามเนื้อแขน และกล้ามเนื้อมือ

กระดูกคอทับเส้นประสาทรักษาอย่างไร

การวินิจฉัยโรค

โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ จากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย การตรวจเอกซเรย์แบบไดนามิก เป็นการตรวจเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัย ภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกคอ

การตรวจ CT Scan สามารถตรวจพบช่องโพรงประสาทตีบแคบ และหินปูนกดทับเส้นประสาท

การตรวจ MRI เป็นการตรวจที่เห็นรายละเอียดชัดเจนของหมอนรองกระดูก ที่กดทับเส้นประสาทได้มากกว่า 95 % และสามารถบอกความรุนแรงของโรค ในกรณีที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

การตรวจ emg NGV เป็นการตรวจความไวของเส้นประสาทจากการกดทับ ซึ่งจะช่วยในการแยกโรคจากภาวะเส้นประสาทส่วนปลาย

กระดูกคอทับเส้นประสาทรักษาอย่างไร

แนวทางการรักษา

     ในเบื้องต้น การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท  สามารถรักษาด้วยยา และรักษาโดยวิธีการทำกายภาพบำบัด

     ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ดีขึ้นในเวลา 6 สัปดาห์ หรือมีภาวะชาและอ่อนแรงของแขนมากขึ้น  ทางแพทย์จะแนะนำรักษาโดยการผ่าตัด

• การรักษาโดยการผ่าตัด

     การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอ โดยใช้กล้องและเชื่อมข้อทางด้านหน้า ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังจะผ่าตัดเข้าทางด้านหน้าบริเวณคอ ใช้เครื่องมือสอดและถ่างขยายบริเวณช่องว่างกล้ามเนื้อคอ และนำหมอนรองกระดูกคอที่ถูกกดทับเส้นประสาทออกตามความจำเป็น  หลังจากนั้นศัลยแพทย์จะปิดช่องว่าง โดยการเชื่อมข้อ  ใช้วัสดุเชื่อมข้อเทียมแทนหมอนรองกระดูกสันหลัง และบางครั้งจะยึดตรึงด้วยสกรู หรือแผ่นโลหะ  ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านภายใน 2-3 วัน หลังการผ่าตัด สามารถปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันได้ปกติในเวลา 2-3 สัปดาห์  อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะใช้เวลา 3 ถึง 6 เดือนในการสร้างกระดูกใหม่ เพื่อเชื่อมกระดูก ติดกัน

• ผลของการผ่าตัด

     การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอทางด้านหน้า หวังผลประสบความสำเร็จได้ 92 ถึง 100%  โดยทั่วไปอาการปวดแขนจะลดลงได้มากกว่าปวดคอ  อาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะดีขึ้นหลังผ่าตัด ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน

ความเสี่ยงจากการผ่าตัด

• ความเสี่ยงทั่วไป

     อาจเกิดผลแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ ภาวะแผลติดเชื้อ การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ความเสี่ยงนี้ พบได้ 1-2 %

• ความเสี่ยงเฉพาะ

– บาดแผลติดเชื้อ อาการบาดเจ็บเส้นประสาท ภาวะเสียงแหบ สามารถพบได้ 1-3 %

– ภาวะกระดูกไม่เชื่อมติดตามกำหนด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน หรือ อาจเกิดจากโลหะที่ใช้ยึดตรึง มีการหลวม หรือหัก ในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดเข้าไปแก้ไขใหม่

การปฏิบัติตัว หลังการรักษา

     – หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การขับรถ ใน 2-4 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด งดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก

     – ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ เริ่มจากการเดินในระยะสั้น และค่อยเพิ่มจำนวนการเดินจนถึง 1-2 กิโลเมตร หลีกเลี่ยงการนั่งติดต่อกัน เป็นเวลานาน

     – ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายให้มาทำแผลผ่าตัด หลังจากออกโรงพยาบาล 1-2 สัปดาห์ และนัดมาติดตามอาการเป็นระยะ อาจมีการแนะนำ การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟู กล้ามเนื้อ หรือแนะนำ ให้ใส่อุปกรณ์พยุงคอ

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นรักษาหายไหม

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการทานยา และทำกายภาพบำบัด กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ทานยาแล้วไม่ดีขึ้นทำอย่างไรก็ไม่หาย กลุ่มนี้จะมีนวัตกรรมการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่เข้ามาช่วยในการรักษา เช่น การรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ

รักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ไหนดี

สำหรับท่านใดที่มีอาการปวด ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถเข้ารับการตรวจหมอนรองกระดูกทับเส้นได้ที่ รพ.เอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท ไม่ต้องรอคิวนาน สามารถพบแพทย์ และตรวจในวันเดียวกันได้เลย

กระดูกคอทับเส้นประสาทนวดได้ไหม

ดังนั้นการที่แพทย์แผนปัจจุบัน สั่งห้ามนวดในผู้ป่วยที่มีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เนื่องจากแพทย์ต้องการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการนวดโดยผู้ที่ไม่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ

หมอนรองกระดูกคออยู่ตรงไหน

หมอนรองกระดูกคอ คือส่วนที่คั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอ ประกอบด้วยชิ้นส่วนทั้งหมด 7 ชิ้นเรียกว่า cervical spine ซึ่งชิ้นที่ 1 จะอยู่ติดกับกะโหลก ไล่ลงมาจนถึงชิ้นที่ 7 ที่อยู่ติดกับกระดูกหน้าอก