เส้นเลือด ในสมองตีบ รักษา อย่างไร

การมีสุขภาพดี ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก คือการที่มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย  จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยการป้องกันการเจ็บป่วย การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องด้วยความรวดเร็ว  การรักษาโรค การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และการฟื้นฟูความพิการที่ยังหลงเหลืออยู่

Show

ปัจจุบันประชากรโลกมีอัตราส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น  ประเทศไทยก็เช่นกัน พบว่าประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรมีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งจัดว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุ เมื่ออายุยืนยาวขึ้น จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่น ย่อมมีมากขึ้นด้วย  โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ของภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิต  จากสถิติพบว่า ผู้ป่วยสโตรก 2 ใน 3 อาจจะเกิดความพิการไปตลอดชีวิต หากมาถึงโรงพยาบาลช้าเกินไป

โรคหลอดเลือดสมอง คือภาวะหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก จนไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ  มีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น  เมื่อมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป  รวมถึงผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง  โรคเบาหวาน  โรคเครียด  โรคหลอดเลือดแดงแข็ง  โรคหัวใจ

     โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Stroke) คือโรคที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากหลอดเลือดสมอง ได้แก่  แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด วิงเวียนศีรษะหรือเดินเซ หมดสติ

     ชนิดของโรค

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน เกิดจาก “ลิ่มเลือด” ไปอุดหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง ทำให้ขาดเลือด ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน เกิดการตายของเนื้อสมอง

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เกิด “ก้อนเลือด” ไปกดเนื้อสมอง ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ

     การตรวจวินิจฉัย

ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันโรค ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT brain) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กสมอง (MRI brain)

     แนวทางการรักษา แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน

ต้องทำการเปิดหลอดเลือดอย่างเร่งด่วนสามารถทำได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอาการ ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามของการรักษา

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก

ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมระบบประสาท เพื่อวางแผนการรักษาว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่

เส้นเลือด ในสมองตีบ รักษา อย่างไร

ภาพโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน

เส้นเลือด ในสมองตีบ รักษา อย่างไร

ภาพโรคหลอดเลือดสมองแตก

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

วิธีที่ 1 การให้ “ยาสลายลิ่มเลือด” (rt-PA) ทางหลอดเลือดดำ

เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง และไม่มีข้อห้ามในการให้ยา โดยแพทย์จะให้ยาสลายลิ่มเลือดเพื่อเปิดหลอดเลือดทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดออกซิเจนได้ทันเวลา

ข้อดี/ประสิทธิภาพ

ได้รับยา

ไม่ได้รับยา

ความพิการน้อยลงจนแทบไม่มี

43 %

26 %

มีความพิการและต้องมีคนดูแล

40 %

53 %

โอกาสเลือดออกในสมอง

7 %

0.6 %

โอกาสเสียชีวิต

17 %

21 %

ข้อเสีย/ภาวะแทรกซ้อน

  • เลือดออกง่ายผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หรือบริเวณอื่นๆ
  • ผู้ป่วย 1 ใน 100 ราย มีโอกาสแพ้ยารุนแรง
  • ผู้ป่วย 7 ใน 100 ราย มีโอกาสเลือดออกในสมอง

วิธีที่ 2 การใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือด (mechanical thrombectomy) และ/หรือให้ร่วมกับยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำหรือแดงตามข้อบ่งชี้

เมื่อมีอาการหลอดเลือดแดงสมองขนาดใหญ่ตีบหรืออุดตัน แพทย์จะใส่สายสวนทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบไปตามหลอดเลือดจนถึงหลอดเลือดสมองบริเวณที่มีการอุดตันของลิ่มเลือด และทำการลากหรือดูดลิ่มเลือดออกเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้

ข้อดี/ประสิทธิภาพ

ได้รับการรักษา

โอกาสเปิดหลอดเลือดสมองสำเร็จ

80 %

กลับมาใช้ชีวิตปกติ

50 - 60 %

ข้อเสีย/ภาวะแทรกซ้อน

  • หลอดเลือดฉีดขาดหรือเลือดออกจากสมองน้อยกว่า 5%

ในกรณีผู้ป่วยและญาติได้พิจารณาข้อดี/ข้อเสีย และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาแล้วไม่เลือกรับการรักษาทั้ง 2 วิธี ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาตามอาการ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดตามมา และจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด และการทำกายภาพบำบัด

การสังเกตลักษณะอาการมีความสำคัญมาก ดังนั้นควรสังเกตและตรวจเช็คอาการ หากตัวผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองได้

  • พูดไม่ชัด พูดไม่ได้หรือไม่สามารถเข้าใจคำพูดของคนอื่น

    ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสน มึนงง พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด
  • อาการอ่อนแรง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) หรือชาบริเวณหน้า แขน ขา

    ผู้ป่วยจะเกิดอาการอ่อนแรงหรือชาอย่างเฉียบพลัน บริเวณ หน้า แขนหรือขา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการจะเกิดกับร่างกายแค่ด้านเดียว ร่วมกับอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้
  • ปัญหาด้านการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

    ผู้ป่วยจะเกิดอาการตามัวแบบเฉียบพลัน หรือเห็นภาพซ้อน
  • เวียนศรีษะ/ปวดศรีษะ

    อาการรุนแรงแบบเฉียบพลัน มักจะพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปัญหาด้านการเดินเซ การทรงตัวผิดปกติ หรือซึมลง (Altered Consciousness) มึนศีรษะ อาการคลื่นไส้อาเจียน

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันที หากพบอาการคล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดสมอง ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ และหายไป ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามแนวทางของ “FAST” ดังต่อไปนี้

  • F (Face) ใบหน้า – ให้ผู้ป่วยพยายามยิ้ม แล้วสังเกตว่ามีอาการปากเบี้ยวหรือไม่?
  • A (Arm) แขน – ให้ผู้ป่วยพยายามยกแขนขึ้นทั้งสองข้าง เหนีอศรีษะ แล้วสังเกตว่าแขนข้างใดข้างหนึ่งตกไม่มีแรง ต่างจากอีกข้างหนึ่งชัดเจน?
  • S (Speech) คำพูด – ถามคำถามง่าย ๆ ที่ผู้ป่วยน่าจะตอบได้ ฟังเสียงผู้ป่วยและความหมายในการ แล้วลองสังเกตว่าเสียงผู้ป่วยพูดไม่ชัดหรือไม่?
  • T (Time) ระยะเวลา – หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์ทันที

โทรศัพท์หาสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ของผู้ป่วยทันที อย่ารอจนกว่าอาการจะดีขึ้น เพราะยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วเท่าใด ยิ่งลดความเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดและลดความรุนแรงของทุพพลภาพได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น

สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

สาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมี 3 ประเภท สาเหตุแรกคือหลอดเลือดเกิดตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) และหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack) นำมาก่อน

ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke)

พบได้บ่อยถึง 85% ของโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่

 

ภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)

พบได้ประมาณ 15% ของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในเกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตก

  • ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • การได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดที่มากเกินความจำเป็น
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm or arteriovenous malformation)
  • การบาดเจ็บ อุบัติเหตุ
  • มีโปรตีนสะสมผิดปกติในผนังหลอดเลือด (cerebral amyloidosis)

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient ischemic attack – TIA)

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (TIA) คืออาการโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาการเป็นไม่นาน (< 24 ชั่วโมง) แล้วอาการดีขึ้นได้เอง สาเหตุของ TIA เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอเป็นระยะเวลาชั่วคราว ส่วนใหญ่จะมีอาการ 5-15 นาที แล้วอาการดีขึ้นเอง

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรทำการพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจแยกระหว่างโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ

ปัจจัยเสี่ยงที่จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • โรคอ้วน ทานอาหารที่มีไขมันมาก รสเค็ม
  • สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ต่อเนื่อง
  • ดื่มสุราในปริมาณมาก
  • ใช้สารเสพติด

โรคประจำตัวและความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง

  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • ไขมันคลอเรสเตอรอลสูง
  • เบาหวาน
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • โรคหัวใจ เช่น ภาวะะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation, ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ (infective endocarditis)
  • โรคหลอดเลือดแดงที่คอตีบ (severe carotid or vertebral stenosis)
  • ภาวะเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดผิดปกติ (Polycythemia vera or Essential thrombocytosis)
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Thrombophilia)
  • โรคหลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรค Moyamoya, Cerebral autosomal dominant and subcortical leukoencephalopathy (CADASIL)
  • มีการเซาะตัวของผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (carotid or vertebral artery dissection)

ปัจจัยอื่น ๆ

ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • อายุ — ผู้สูงวัยอายุ 55 หรือมากกว่า มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดโรค มากกว่าคนหนุ่มสาว
  • เชื้อชาติ— กลุ่มคนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
  • เพศ — เพศชายมีความเสี่ยงสูงมากกว่าเพศหญิงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่เพศหญิงมักจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่ออายุมากขึ้น และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • การใช้ฮอร์โมน — การใช้ยาคุมกำเนิดหรือการใช้ฮอร์โมนบำบัด ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะแทรกซ้อน

โรคหลอดเลือดสมองสามารถส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย ซึ่งอาจจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว หรือส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความพิการถาวร ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สมองขาดเลือด และขึ้นอยู่กับบริเวณสมองที่ได้รับผลกระทบ

  • อัมพาต

    ผู้ป่วยอาจจะเกิดอัมพาตส่วนใดส่วนหนึ่งบนร่างกาย หรือไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบนใบหน้า อาการอาจจะเกิดขึ้นบริเวณด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้าหรือแขน
  • ปัญหาการพูดหรือการกลืน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองคือผู้ป่วยจะมีปัญหาในการพูด การกลืน หรือการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ผู้ป่วยจะพบปัญหาด้านภาษาอย่างเช่นการพูดคุย การพยายามทำความเข้าใจคำพูดของคนอื่น การอ่านและการเขียนหนังสือ
  • สูญเสียความทรงจำ หรือปัญหาเกี่ยวกับสมอง

    โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดอาการสูญเสียความทรงจำ ผู้ป่วยบางคนอาจจะพบปัญหาเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ หรือการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ
  • อารมณ์แปรปรวน

    ผู้ป่วยจะพบปัญหาในการบริหารอารมณ์ และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า
  • เจ็บปวดหรือชาบริเวณร่างกาย

    ผู้ป่วยจะรู้สึกปวด หรือชาบนร่างกาย โดยเฉพาะส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมอง ยกตัวอย่างเช่นหากโรคส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกในแขนด้านซ้าย ผู้ป่วนจะเริ่มรู้สึกเจ็บแปล๊บแขนด้านดังกล่าว
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงและเกิดการทอดทิ้งตัวเอง (Self-neglect)

    โรคอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีการปลีกแยกจากสังคม และจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือในการดูแลตัวเองและทำกิจวัตรประจำวัน

การวินิจฉัยโรค

หลังจากที่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจผู้ป่วยด้วย CT scan หรือ MRI และแพทย์จะวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการใกล้เคียงอย่างเช่น เนื้องอกในสมอง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงผิดปกติ อื่น ๆ ด้วยวิธีการ

  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจเลือด
  • การตรวจ CT scan
  • การตรวจ MRI
  • การตรวจหลอดเลือดแดงที่คอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Carotid doppler ultrasound)
  • การฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง (Cerebral angiogram)

 

วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมองและภาวะเสี่ยงภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

ในระยะแรกที่เกิดอาการเส้นเลือดในสมองตีบ แพทย์จะทำการประเมินผู้ป่วย หากมีข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดและไม่มีข้อห้าม แพทย์จะให้ยาละลายลิ่มเลือดและตรวจหลอดเลือดสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTA brain) ในกรณีที่มีหลอดเลือดสมองขนาดใหญ่อุดตัน แพทย์จะรักษาโดยการใช้สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบและขึ้นไปที่สมอง (endovascular procedure) เพื่อนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดออกมา (Mechanical thrombectomy)

การใช้ยาเพื่อการรักษา

แพทย์จะทำการสั่งยาเหล่านี้ เพื่อช่วยลดโอกาสการกำเริบของโรคหลอดเลือดสมอง 

  • ยาต้านเกล็ดเลือด (antiplatelet)
  • ยาละลายลิ่มเลือด (anticoagulant)
  • ยาลดไขมัน (statin)
  • ยาลดความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคเบาหวาน

แนวทางการรักษารูปแบบอื่น ๆ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดที่คอตีบรุนแรง (severe carotid stenosis) และมีอาการของสมองขาดเลือด แพทย์จะรักษาโดยการทำผ่าตัดหลอดเลือดเพื่อนำเอาส่วนของไขมันที่หลอดเลือดออกมา (carotid endarterectomy) หรือการใส่ขยายหลอดเลือดที่ตีบและใส่ขดลวด (carotid angioplasty and stenting)

 

การรักษาภาวะหลอดเลือดสมองแตก

หากมีอาการภาวะหลอดเลือดสมองแตก มีการพิจารณาการรักษา ดังนี้

  • การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
  • การผ่าตัดสมอง
  • ในกรณีที่เกิดจากหลอดเลือดโป่งพอง พิจารณาการรักษาด้วยการสวนหลอเลือดและใส่ขดลวด (coiling)
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ (cerebral arteriovenous malformation) พิจารณาการรักษาด้วยการสวนหลอดเลือดและใช่สารอุดหลอดเลือดที่ผิดปกติ (transarterial/venous embolization) หรือ radiosurgery

แนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ควรป้องกันก่อนการเกิดโรคและควรควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการ ตีบ อุดตัน หรือแตก โดยมีแนวทางการป้องกันโรค ดังนี้ 

  • ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • รับประทานผลไม้และผักให้มากยิ่งขึ้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดการดื่มสุรา
  • เข้ารับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด

โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย

หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบวิกฤติจากแผนกฉุกเฉิน ห้องปฏิบัติการสวนหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาและเฝ้าระวังเป็นระยะเวลา อย่างน้อย 24 ชั่วโมง โปรแกรมหลังการรักษาจะมุ่งไปที่การฟื้นฟูร่างกาย เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพ การตรวจการกลืนอาหาร อรรถบำบัดมักจะใช้ในโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

เส้นเลือดในสมองตีบสามารถหายได้ไหม

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดอัน สามารถรักษาให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติได้ โดยผู้ป่วยไม่มีความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาตหลงเหลืออยู่ สิ่งสำคัญคือ จะต้องรีบนำส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันทีหลังมีอาการภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอนที่กล่าวไปข้างต้น และทำการรักษาอย่างเร่งด่วน

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ อันตรายไหม

Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้

เส้นเลือดในสมองตีบเกิดจากสาเหตุใด

หลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือด อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ กลายเป็น โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยของ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เช่น มึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะ

เส้นเลือดในสมองตีบสามารถนวดได้ไหม

โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากการที่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เกิดการอุดตัน ตีบ หรือแตก ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง แต่สำหรับการนวด หรือดัดกระดูกบริเวณคอนั้น มีโอกาสทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองบาดเจ็บ หรือฉีกขาดได้