การคิดแบบอริยสัจ มีความ สอดคล้อง กับการคิดแบบวิทยาศาสตร์ อย่างไร ให้ เหตุผล ประกอบ

                          

การคิดแบบอริยสัจ มีความ สอดคล้อง กับการคิดแบบวิทยาศาสตร์ อย่างไร ให้ เหตุผล ประกอบ

ตัวอย่างการแก้ปัญหาโดยใช้ อริยสัจ ๔ ในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างที่ ๑

ทุกข์ (ผล)           พิจารณารู้ว่าได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่จักรยานยนต์ล้ม

สมุทัย (เหตุ)        พิจารณารู้ถึงสาเหตุว่าขับรถด้วยความประมาท

นิโรธ (ผล)           พิจารณารู้ถึงการขับขี่รถอย่างปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุ

มรรค (เหตุ)         พิจารณารู้ถึงสาเหตุที่จะขับขี่รถอย่างปลอดภัย คือ มีสติและ

 ระมัดระวังขณะขับขี่

ตัวอย่างที่ ๒

ทุกข์ (ผล)           น้ำหนักตัวมากจนรู้สึกอึดอัด ถูกเพื่อนล้อ

สมุทัย (เหตุ)        ทานอาหารมากเกินไป

นิโรธ (ผล)          หุ่นดี ร่างกายแข็งแรง

มรรค (เหตุ)         พยายามในการควบคุมปริมาณการกิน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ตัวอย่างที่ ๓

ทุกข์ (ผล)           สอบตก ทุกข์ใจเพราะการสอบตก

สมุทัย (เหตุ)        ไม่ตั้งใจเรียน ไม่อ่านหนังสือ

นิโรธ (ผล)          สอบผ่าน

มรรค (เหตุ)         ตั้งใจเรียน อ่าน ท่องหนังสือ

สรุปข่าว

หัวข้อ ตัวอย่างการแก้ปัญหาโดยใช้ อริยสัจ ๔ ในชีวิตประจำวัน

อัลบั้มภาพ

การคิดแบบอริยสัจ มีความ สอดคล้อง กับการคิดแบบวิทยาศาสตร์ อย่างไร ให้ เหตุผล ประกอบ

การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนากับการคิดแบบวิทยาศาสตร์

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีวิธีการที่เป็นระบบเหมือนกัน ดังนี้

  1. วิธีคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา เป็นกระบวนการคิดพิจารณาค้นคว้าหาคำตอบ

ของพระพุทธเจ้าเพื่อตรัสรู้ สรุป ได้ 2 วิธี คือ

  (1) คิดโดยสืบสาวจากผลไปหาเหตุ เช่น การสังเกตสภาพของคนแก่ คนเจ็บ คน

ตาย (เป็นผล) และคิดตามหลักอริยสัจ 4 (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค)

  (2) คิดโดยสืบสาวจากเหตุไปหาผลคือ การคิดจะลงมือปฏิบัติโดยวิธีการต่าง ๆ

เช่น การบำเพ็ญเพียรทางจิต จะส่งผลให้เกิดการรู้แจ้งในสัจธรรม

  2. วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการคิดใช้เหตุผล หรือคิดตามกระบวนการของ “วิธีการ

วิทยาศาสตร์” โดยเริ่มตั้งแต่ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล การตั้งสมมติฐาน การทดสอบ และการสรุปผลตามลำดับ

  4. ความสอดคล้องกันระหว่างแนวคิดของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดสอดคล้องกัน 2 ประการ ดังนี้

  1. ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งในโลก สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นและดำเนินเป็นไป

ตามกฎแห่งเหตุและผลตามธรรมชาติ (หลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ของพระพุทธศาสนา) สอดคล้องกับทรรศนะของวิทยาศาสตร์ที่ว่าทุกสิ่งในสากลจักรวาลมีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง

  2. มนุษย์คือผลผลิตของธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการปั้นแต่งของพระเจ้า

  3. การพิสูจน์ความจริงอย่างเสรีและมีเหตุผล พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้เชื่ออะไร

ง่าย ๆ (หลักคำสอนเรื่องกาลามาสูตร) โดยไม่ได้พิสูจน์ให้ประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเองเสียก่อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์เช่นกัน

  ความแตกต่างในแนวคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

  มีคำสอนในพระพุทธศาสนาบางเรื่องที่วิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ เพราะวิทยาศาสตร์ไม่สามารถแยกแยะหรือพิสูจน์ได้ มีดังนี้

  1. คำสอนเรื่องของจิต ได้แก่ หลักคำสอนเรื่อง “เบญจขันธ์” หรือองค์ประกอบของมนุษย์ 5 ประการ ได้แก่ รูปขันธ์ (ร่างกาย) และนามขันธ์ 4 (ส่วนประกอบที่เป็นจิต 4 อย่าง ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญาณ) ซึ่งวิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้เครื่องมือพิสูจน์ให้ประจักษ์ได้

  2. คำสอนเรื่องปัญญา คำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องปัญญาขึ้นสูงสุด คือ การ

เข้าถึงโลกุตระ (ปัญญาที่ที่หลุดพ้นจากกิเลสหรือวิสัยทางโลก) โดยวิธีฝึกอบรมวิปัสสนาจนเกิดปัญญารู้แจ้งตามความจริงนั้น เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับ ฤ


                วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือคิดแบบแก้ปัญหา เรียกตามโวหารทางธรรมได้ว่า "วิธีแห่งความดับทักข์จัดเป็นวิธีคิดแบบหลักอย่างหนึ่ง เพราะสามารถขยายให้ครอบคลุมวิธีคิดแบบอื่นๆ ได้ทั้งหมด อาทิเช่น  พระพุทธพจน์ ว่า

"ภิกษุนั้นย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่าทุกข์คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่าเหตุเกิดแห่งทุกข์คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่าความดับแห่งทุกข์คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่าข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์คือดังนี้ เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์ 3 อย่างคือ สักกายทิฎฐิ  วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส  ย่อมถูกละเสียได้

วิธีคิดแบบอริยสัจ  มีลักษณะทั่วไป 2 ประการคือ

1. เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล  พึงระวังว่าเหตุและผล (Cause and effect) เป็นคนละอย่างกับเหตุผล (reason) สืบสาวจากผลไปหาเหตุแล้วแก้ไขและทำการที่ต้นเหตุ จัดเป็น 2 คู่คือ คู่ที่ 1. ทุกข์เป็นผลเป็นตัวปัญหา เป็นสถานการณ์ที่ประสบซึ่งไม่ต้องการ สมุทัยเป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา เป็นจุดที่จะต้องกำจัด หรือแก้ไข จึงจะพ้นจากปัญหาได้  คู่ที่ 2. นิโรธเป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา เป็นจุดหมายซึ่งต้องการจะเข้าถึง มรรคเป็นเหตุ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำในการแก้ไขสาเหตุ เพื่อบรรลุจุดหมายคือภาวะสิ้นปัญหา อันได้แก่ความดับทุกข์

2. เป็นวิธีคิดที่ตรงจุดตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำต้องปฏิบัติต้องเกี่ยวข้องของชีวิต ใช้แก้ปัญหา ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อ ที่สักว่าคิดเพื่อสนองตัณหามานะทิฐิ ซึ่งไม่อาจนำมาใช้ปฏิบัติไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา หลักการหรือสาระสำคัญของวิธีคิดแบบอริยสัจก็คือ การเริ่มต้นจากปัญหาหรือความดับทุกข์ ที่ประสบโดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจกับปัญหาคือความทุกข์นั้นให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ไข ในเวลาเดียวกันก็กำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดว่า คืออะไร จะเป็นไปได้หรือไม่ และเป็นไปได้อย่างไร

 ขั้นที่ 1. ทุกข์ คือสภาพปัญหา ความคับข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น บกพร่อง ที่เกิดมีแก่ชีวิตหรือที่คนได้ประสบ ซึ่งเมื่อว่าอย่างกว้างที่สุดก็คือ ภาวะที่สังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ 5 หรือโลกและชีวิตตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมดา เป็นของไม่เที่ยงแท้คงที่ ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ กดดันบีบคั้น และขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนที่จะอยู่ในอำนาจครอบครองบังคับได้จริงนั่นเอง

 สำหรับทุกข์นี้ เรามีหน้าที่เพียงกำหนดรู้ คือ ทำความเข้าใจ และกำหนดขอบเขตให้ชัด เหมือนอย่างแพทย์กำหนดรู้หรือตรวจให้รู้ว่าเป็นอาการของโรคอะไร เป็นที่ไหน หน้าที่นี้เรียกว่า ปริญญา เราไม่มีหน้าที่เอาทุกข์มาครุ่นคิดมาแบกไว้ หรือคิดขัดเคืองเป็นปฏิปักษ์กับความทุกข์ หรือห่วงกังวล อยากหายทุกข์ เพราะคิดอย่างนั้นมีแต่จะทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น เราอยากแก้ทุกข์ได้ แต่เราก็แก้ทุกข์ด้วยความอยากไม่ได้ เราต้องแก้ด้วยรู้มันและกำจัดเหตุของมัน ดังนั้นจะอยากไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษเพิ่มขึ้น ขั้นนี้ นอกจากกำหนดรู้แล้ว ก็เพียงวางใจวางท่าทีแบบรู้เท่าทัน คติธรรมดา  เหมือนแพทย์ตรวจดูอาการของโรค  ความผิดปกติของร่างกาย  วินิจฉัยให้รู้ว่าเป็นอะไรที่ตรงไหน  รู้เข้าใจโรคและร่างกาย เฉพาะอย่างยิ่งส่วนซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคให้ชัดเจน  ทุกข์นั้นเราสามารถกำหนดรู้ได้ด้วยลักษณะดังนี้

(1) สภาวะทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร ที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน  ไม่มียกเว้น   ได้แก่   ชาติทุกข์ ทุกข์จากการเกิด   ชราทุกข์ ทุกข์เกิดจากความเสื่อมโทรมของสังขาร และมรณทุกข์ ทุกข์เกิดจากการตาย

(2)  ปกิณกทุกข์ ทุกข์ที่จรมาเป็นครั้งคราว ได้แก่ โสกะความเศร้าใจ ปริเทวะ ความคร่ำครวญ ความรำพันด้วยความเสียใจ ทุกข์โทมนัส  อุปายาส  ความแค้นใจ

(3)    นิพันธทุกข์  ทุกข์เนืองนิตย์   ทุกข์ประจำ  ได้แก่ ความหนาว ร้อน   หิวกระหาย ปวดอุจจาระ

ปวดปัสสาวะ

                (4) พยาธิทุกข์ ได้แก่ความเจ็บไข้ได้ป่วยในร่างกายหรือทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่ทำหน้าที่ตามปกติ เช่นโรคตา โรคหู จมูก ปากและผิวหนัง เป็นต้น

                (5)  สันตาปทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากความกระวนกระวายใจ  ความเร่าร้อนใจเพราะถูกกิเลส คือ ราคะ(ความกำหนัด) โทสะ (ความประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง)  เผาลนใจให้เร่าร้อน

                (6) วิปากทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากผลกรรม ได้แก่ ความเดือดร้อนใจที่เป็นทุกข์ในปัจจุบันทันตาเห็น  เช่น  ได้รับโทษตามอาญาบ้านเมือง  ประสบกับความยากลำบากในการดำเนินชีวิต  หรือ ทุกข์ขั้นที่เลยตาเห็น  เช่น  ตายแล้วไปเกิดในทุคติ

                (7)  สหคตทุกข์  ทุกข์ไปด้วยกัน  หรือทุกข์กำกับ  ได้แก่ทุกข์ที่เป็นผลจากความพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ  เช่น  ได้รับลาภ  ยศ  สุข  สรรเสริญ  แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นที่ชื่นชอบ  แต่ก็ไม่วายที่จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นด้วย  เพราะกลัวจะสูญหายไป

                (8)  อาหารปริเยฏฐิ ทุกข์ทุกข์ที่เกิดจาการแสวงหาอาหารมาเลี้ยงชีพจะต้องมีการแข่งขัน ตัดรอนกัน หรือหาไม่พอเลี้ยงชีพเป็นต้น

                (9)  วิวาทมูลทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากการทะเลาะเบาะแว้งกันสู้คดีกัน  รบกัน เป็นต้น

                (10)  ทุกข์ขันธ์ ทุกข์รวบยอดหรือกองทุกข์  คือทุกข์ซึ่งเกิดจากอุปาทานขันธ์ 5 อันได้แก่ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

               ขั้นที่ 2. สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหาได้แก่ เหตุปัจจัยต่างๆที่เข้าสัมพันธ์ขัดแย้ง ส่งผลสืบทอดกันมาจนปรากฎเป็นสภาพบีบคั้น กดดัน คับข้อง ติดขัด อึดอัด บกพร่อง ในรูปต่างๆ แปลกๆกันไป อันจะต้องค้นหาให้พบ แล้วทำหน้าที่ต่อมันให้ถูกต้อง คือ ปหานได้แก้ กำจัดหรือละเสีย ตัวเหตุแกนกลางที่ยืนพื้นหรือยืนโรง กำกับชีวิตอยู่ควบคู่กับความทุกข์ พื้นฐานของมนุษย์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งระดับตัวแสดงหน้าโรงคือ ตัณหา และระดับเต็มกระบวนหรือเต็มโรง คือการสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัยเริ่มแต่ อวิชชา ตามหลักปฏิจจสมุปบาท เมื่อประสบทุกข์หรือปัญหาจำเพาะ แต่ละกรณีก็ต้องพิจารณาสืบ สาวหาสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ใช้วิธีคิดแบบที่ 1 เหมือนแพทย์ค้นหาสมุฏฐานของโรค  รู้ชนิดของเชื้อโรค  ความผิดปกติของร่างกาย  ความวิปริตทางจิตใจ  หรือสาเหตุภายนอกอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นสาเหตุของโรค  ซึ่งจะเยียวยาได้ถูกต้องตรงจุด โดยมิใช่รักษาแต่เพียงอาการ

       ขั้นที่ 3 นิโรธ คือความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ภาวะพ้นปัญหา หมดหรือปราศจากปัญหาเป็นจัดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่สัจฉิกกริยา หรือประจักษ์แจ้ง ทำให้เป็นจริง ทำให้สำเร็จหรือบรรลุถึงในขั้นนี้จะต้องกำหนดได้ว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร การที่ปฏิบัติอยู่นี้หรือจะปฏิบัติเพื่ออะไร จะทำกันไปไหน จุดหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่  เป็นอย่างไร มีหลักการในการเข้าถึงอย่างไร มีจุดหมายรองหรือจุดหมายลดหลั่นแบ่งเป็นขั้นตอนในระหว่างได้อย่างไรบ้าง  เหมือนแพทย์รู้ว่าโรคนั้น  ๆ รักษาได้  ภาวะที่หายจากโรคนั้น  จะแค่นั้น  จะอย่างนั้น  มองเห็นกระบวนการของโรคชัดเจน  ว่าจะหายไปได้อย่างนั้น ๆ  ด้วยอย่างนั้น ๆ เพื่อไม่ต้องรักษาสุ่ม ๆ ไป

ขั้นที่ 4 มรรค คือ ทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์หรือวิธีแก้ไขปัญหา ได้แก่วิธีการและรายละเอียดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหา ให้เข้าถึงจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ ภาวนา คือปฏิบัติหรือลงมือทำ สิ่งที่พึงทำในขั้นของความคิดก็คือ กำหนดวางวิธีการ แผนการและรายการสิ่งที่จะต้องทำ ซึ่งจะช่วยให้แก้ไขสาเหตุของปัญหาได้สำเร็จ โดยสอดคล้องกับจุดหมายที่ต้องการ  เหมือนแพทย์เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการของโรคว่าจะหายไปอย่างไร ๆเชื้อโรคหรือสมุฏฐาน จะถูกกำจัดด้วยอะไร ๆ แล้วก็วางยา  วางรายละเอียดขั้นวิธีรักษา  วิธีปฏิบัติตัวของคนไข้  เป็นต้น  เพื่อบำบัดโรคให้สำเร็จต่อไป

มรรค  จึงหมายถึง  หนทางหรือแนววิธีปฏิบัติสำหรับดำเนินไปสู่ความดับทุกข์  เป็นหนทางที่ทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นพระอริยบุคคลได้  ซึ่งมรรคประกอบด้วยองค์  8  ดังนี้

(1)  สัมมาทิฎฐิ ( Right understanding)  ความเห็นถูกต้องหมายถึงการเห็นและการเข้าใจ เช่น เข้าใจอริยสัจ 4 เข้าใจไตรลักษณ์ ช่วยให้สู่จุดหมายสูงสุด คือนิพพาน หลักธรรมข้อนี้สามารถนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

(2) สัมมาสังกัปปะ (Right Intention) ดำริชอบ คือ ไม่ดำริหาความสุขสำราญ และเพลิดเพลินในรูป รส กลิ่น เสียง ดังนี้คือ ดำริออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์ ดำริในทางไม่พยาบาท ดำริในทางไม่เบียดเบียน

(3)   สัมมาวาจา (Right speech) วาจาที่ถูกต้อง ได้แก่การพูดจาที่เว้นจากวจีทุจริต 4 ประการ  คือ  พูดเท็จ  พูดส่อเสียด  พูดคำหยาบ  และพูดเพ้อเจ้อ

                (4) สัมมากัมมันตะ (Right action) การงานที่ถูกต้องได้แก่ การงานที่เว้นจากกายทุจริต  3 ประการ คือ  ฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  และประพฤติผิดในกาม

                (5) สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) การเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง ชีวิตสุจริตในทางถูกธรรมเนียมทั้งทางโลก ไม่ผิดกฎหมาย และทางธรรมไม่ผิดศีลธรรม

                (6) สัมมาวายามะ (Right Effort) ความเพียรที่ถูกต้อง ได้แก่ พยายามที่จะป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น (สังวรปธาน)  พยายามที่จะกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมด (ปหานปธาน)  พยายามที่จะสร้างความดีที่ยังไม่เกิดขึ้น (ภาวนาปธาน)  และพยายามรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม (อนุรักขนาป  ธาน)

                (7) สัมมาสติ (Right mindfulness) ความระลึกที่ถูกต้อง ได้แก่ความระลึกได้ในสติปัฏฐาน  4  คือ  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม

                (8)  สัมมาสมาธิ (Right Concentration) ความตั้งใจที่ถูกต้อง คือ ความมั่นคงของจิต การที่จิตแน่วแน่กับสิ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่านส่ายไปส่ายมาจนเกิดเอกัคคตา ในการเจริญฌาน 4  คือ  ปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และจตุตถฌาน

                 ธรรม  8  ประการนี้  เป็นสามัคคีธรรมต่างสนับสนุซึ่งกันและกันทำให้มีกำลังมากสามารถให้ผู้ปฏิบัติบรรลุผลชั้นสูง  คือ  อริยมรรค  อริยผล  และพระนิพพานได้  โดยสมควรแก่การปฏิบัติ

ในองค์มรรคทั้ง  8 นั้น  ความเห็นถูกต้อง  ความดำริอันถูกต้อง  สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา,   วาจาที่ถูกต้อง  การงานที่ถูกต้อง  การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง  สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา,  ความเพียรที่ถูกต้อง  ความระลึกที่ถูกต้อง  ความตั้งใจที่ถูกต้อง  สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา

เหตุใดจึงกล่าวว่า วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 สอดคล้องกับวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์

วิธีการคิดแบบพระพุทธศาสนาและวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องกัน คือ มีขั้นตอนและรูปแบบวิธีการคิดเหมือนกัน ทุกข์ในวิธีการคิดของอริยสัจ 4 คือ ปัญหา ของวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์จากนั้นมีการตรวจสอบสาเหตุของทุกข์และปัญหา รวมทั้ง การทดลองเพื่อขจัดปัญหา สุดท้ายนาไปสู่การวิเคราะห์และรู้แจ้งสามารถขจัดปัญหา ดังนั้น จึงกล่าวได้ ...

วิธีคิดแบบอริยสัจเป็นการคิดแบบใด

โยนิโสมนสิการแนวอริยสัจ หมายถึง วิธีคิดที่เป็นไปตามเหตุและผล สืบสาวจากผลไปหาเหตุ แล้วแก้ไขและท าการที่ต้นเหตุ ที่ตรงจุดตรงเรื่อง โดยมุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องท า ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีความส าคัญ คือช่วยให้เห็นจุดเด่น จุดด้อย หรือส่วนดีและส่วนที่ต้องแก้ไขของภารกิจต่างๆ ที่ดาเนินการอยู่ได้ชัดเจน

วิธีคิดเเบบอริยสัจคืออะไรยกตัวอย่างเช่น

วิธีคิดแบบอริยสัจจ์นี้ มีลักษณะทั่วไป ๒ ประการคือ ๑.เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล จัดเป็น ๒ คู่คือ คู่ที่ ๑ "ทุกข์" เป็นผล เป็นตัวปัญหา กับ "สมุทัย" เป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา คู่ที่ ๒ "นิโรธ" เป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา กับ "มรรค" เป็นเหตุ เป็นวิธีการ (ข้อปฏิบัติ)ในการแก้ปัญหา

วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องที่สุด

ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) ... .
สมุทัย (หลักธรรมที่ควรละ) ... .
นิโรธ (หลักธรรมที่ทำให้บรรลุ) ... .
มรรค (หลักธรรมที่ควรเจริญ หรือทำให้เกิดขึ้น).