แอร์ 12 000 btu กินไฟกี่แอมป์

เรื่องน่ารู้ บอกไว้เป็นแนวทาง สำหรับผู้ที่จะติดตั้งแอร์

ประเภทบทความ : บทความเกี่ยวกับแอร์   

เปิดอ่าน 53,223

  1. เวลาติดตั้งแอร์ ให้ติดแอร์ในตำแหน่งที่พ่นลมไปทางด้านยาวของห้อง เช่นห้องขนาด 4x6 เมตร แอร์ต้องอยู่ด้าน 6 เมตรแล้วส่งลมไปตามยาว
     
  2. ถ้า เป็นห้องนอน หากเป็นไปได้ติดแอร์ให้พ่นลมโดนบริเวณที่นอน แล้วตั้งให้ส่ายไปมา ทำให้รู้สึกเย็นมากโดยไม่ต้องตั้งแอร์ให้ทำงานที่อุณหภูมิต่ำๆให้เปลืองไฟ
     
  3. ที่ เชียร์ไดกิ้นเพราะ ไม่ว่าจะซื้อร้านไหน ถ้าแอร์มีปัญหาในช่วง 1 ปีแรก โทรตามศูนย์ไดกิ้นได้เลย ช่างมาเร็ว ไม่ต้องไปคุยกับร้านที่คุณซื้อเลย ดังนั้นจะซื้อร้านไหนก็ไม่สำคัญ เน้นที่ราคาถูก ช่างติดตั้งทำงานเรียบร้อย
     
  4. บอกช่างด้วยว่าให้แวคอากาศออกจากระบบ 30 นาทีก่อนปล่อยน้ำยา ห้ามใช้น้ำยาแอร์ไล่อากาศเด็ดขาด
     
  5. อย่าลืมให้ช่างต่อสายดินให้แอร์ด้วย
     
  6. หุ้ม ฉนวนท่อแอร์ทั้ง 2 ท่อต้องหุ้มแยกกัน แอร์ใหม่เดี๋ยวนี้จะให้ท่อมาแค่ 4 เมตร ถ้าใครต้องเดินท่อยาวกว่านั้นต้องจ่ายเงินเพิ่ม แต่พยายามให้ท่อสั้นที่สุด ยิ่งท่อยาวแอร์จะเสียกำลังในการทำความเย็นไป
     
  7. เวลาติดตั้งแอร์ให้ด้านบนของคอล์ยเย็นต่ำกว่าเพดาน 1 ฟุต เวลาล้างจะล้างง่าย
     
  8. คอล์ยร้อนให้ติดตั้งในที่ที่สะดวกต่อการติดตั้งและซ่อมบำรุง เวลาล้างจะล้างได้เอง
     
  9. เวลา ช่างมาล้างแอร์ สั่งเลยว่า ห้ามวัดน้ำยา ห้ามเปิดจุกเติมน้ำยาเด็ดขาด และห้ามเติมน้ำยา แอร์เย็นดีอยู่แล้ว ไม่งั้นช่างจะมั่วนิ่มหาเงินเพิ่มด้วยการเติมน้ำยาทั้งที่ไม่จำเป็นเลย เพราะแอร์เป็นระบบปิด น้ำยาจะไม่รั่วไหลไปไหน แอร์ที่บ้านผมอายุ 12 ปียังเย็นโดยไม่ต้องเติมน้ำยาเลย
     
  10. ไม่แนะนำแอร์ SJ เพราะเห็นแต่กระทู้บ่นทั้งนั้น ที่แน่ๆคือเสียงดังมาก บางคนก็บ่นว่าช่างตามยาก แก้ปัญหาไม่ได้
     
  11. ไม่แนะนำแอร์เกาหลี เพราะราคาสูสีหรือแพงกว่าแอร์ญี่ปุ่น แต่แอร์ญี่ปุ่นแน่นอนกว่าทั้งบริการหลังการขาย อะหลั่ย คุณภาพ
     
  12. บ้าน ที่ใช้มิเตอร์ไฟ 5 แอมป์ติดแอร์ 13000 btu ได้ 1 ตัวเท่านั้น มิเตอร์จ่ายกระแสได้เต็มที่ 15 แอมป์ แอร์ 13000 btu กินกระแสไฟแถวๆ 5 แอมป์ แต่ต้องเผื่อเวลาคุณใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆด้วย
     
  13. บ้านที่ใช้ มิเตอร์ไฟ 15 แอมป์ติดแอร์ 13000 btu ได้หลายตัว มิเตอร์จ่ายกระแสได้เต็มที่ 45 แอมป์ แอร์ 13000 btu 1 ตัวกินกระแสไฟแถวๆ 5 แอมป์ บวกกระแสไฟที่แอร์ทุกตัวใช้ บวกกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆด้วย
     
  14. ช่วง นี้อากาศร้อนมาก แอร์จะเย็นช้ากว่าปกติ ไม่ได้หมายความว่าน้ำยาแอร์ขาดอย่างที่ช่างแอร์บางคนอ้างจะหาเรื่องเติมน้ำยาแอร์กินเงินคุณโดยไม่จำเป็น
     
  15. แอร์ที่ติดตั้งแล้วมีน้ำไหลออกมามาก ทางท่อน้ำทิ้ง หรือมีหยดน้ำเกาะที่ท่อแอร์นั้นเป็นอาการที่ดี แสดงว่าแอร์มันเย็นมาก น้ำถึงเกาะท่อแอร์ ส่วนน้ำทิ้งออกมามากแสดงว่าในห้องมีความชื้นสูง แอร์จะดูดความชื้นออกจากห้องจนหมด แต่ห้องไม่ควรชื้นมาก เพราะแอร์จะทำงานหนักและกินไฟกว่าปกติ
     
  16. การล้างแอร์ให้ล้างก็ต่อเมื่อ พัดลมกรงกระรอกในคอล์ยเย็นตัน ไม่ได้ระบุว่าต้องล้างทุก 3-4 เดือน ตันเมื่อไหร่ก็ล้าง ถ้าเปิดแอร์บ่อยมันตันเร็วก็ล้างก่อน 3 เดือน ถ้าไม่ค่อยเปิด แอร์ตันช้า 5-6 เดือนค่อยล้างก็ได้
     
  17. เวลาล้างแอร์ใช้น้ำเปล่าล้างก็พอ ไม่ต้องใช้โฟมกระป๋องราคา 200 กว่าบาทนั่นหรอก เปลืองเงิน แล้วก็ไม่ได้สะอาดกง่ากันเลย
     
  18. เวลา ฉีดน้ำล้างคอล์ยร้อน ให้ฉีดจากด้านในแผงระบายความร้อน ออกมาด้านนอก ฉีดจากด้านบนแผงเฉียงลงล่างแผง ห้ามฉีดอัดจากนอกแผงเข้าในแผงเพราะจะดันฝุ่นให้ติดเข้าไปลึก ล้างออกยาก
     
  19. แรงดันน้ำยาแอร์ในท่อ Low presssure ปกติจะอยู่ช่วง 68-75 psi ช่วงนี้อากาศร้อนมาก แรงดันน้ำยาอาจขึ้นสูงกว่านี้ ไม่ได้หมายความว่าน้ำยาแอร์เกิน แล้วไปปล่อยออก จริงๆแล้วน้ำยาแอร์มันพอดีมาจากโรงงานแล้ว ที่วัดความดันได้สูงเพราะอากาศร้อน ไม่ต้องปล่อยน้ำยาออก
     
  20. ถ้าแอร์มี น้ำยาน้อย หรือน้ำยาขาดไป อาการคือแอร์ไม่ค่อยเย็น ถ้าไปดูท่อแอร์นอกบ้านจะพบว่าน้ำแข็งเกาะท่อแอร์เลย แต่ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่าแอร์ไม่ตัน ล้างพัดลมกรงกระรอกสะอาดแล้ว เพราะแอร์ตันก็ไม่เย็นเช่นเดียวกัน
     
  21. แอร์เก่าๆอายู 15-20 ปีกินไฟมาก เสียงดัง  ถ้ามีโอกาสก็เปลี่ยนใหม่ ราคาตอนนี้ก็ไม่ได้แพงอะไร ประหยัดค่าไฟไปเยอะ
     
  22. ตั้ง อุณหภูมิเท่าไรที่แอร์ประหยัดที่สุด ทางการรณรงค์ให้ตั้งที่ 25 องศา ไม่ได้หมายความว่าที่ 25 องศาประหยัดที่สุด เพียงแต่ 25 องศาเป็นอุณหภูมิที่เรากำลังเย็นดีและแอร์ก็กินไฟไม่มากจนเกินไป ถ้าอยากประหยัดไฟต้องตั้งอุณหภูมิให้สูงที่สุดเท่าที่ยังรู้สึกเย็นสบายอยู่ อาจตั้ง 27 หรือ 28 องศาแล้วเปิดพัดลมแบบตั้งพื้นช่วย พัดลมกินไฟน้อยกว่าแอร์มาก เปิดพัดลม 1 ตัวกับแอร์ที่ 28 องศารับรองว่าค่าไฟถูกกว่าตั้งที่ 25 องศามาก

แอร์ 12 000 btu กินไฟกี่แอมป์

แอร์ 12 000 btu กินไฟกี่แอมป์

เชียงใหม่แอร์แคร์เอ็นจิเนียริ่ง

จำหน่าย ติดตั้ง รับเหมา วางระบบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น จำหน่ายอะไหล่แอร์ราคาส่งทั่วประเทศ พร้อมบริการหลังการขายครบครัน

เชื่อว่าหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หลายคนลังเลไม่กล้าติดเครื่องปรับอากาศเพื่อใช้งานภายในบ้านนั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องค่าใช้ไฟฟ้า ที่ถึงแม้ว่าหลายคนจะยืนยันว่าการติดเครื่องปรับอากาศทำให้เสียไฟฟ้าเพิ่มมากกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากความก้าวหน้าของนวัตกรรมทำให้ระบบการทำงานมีความทันสมัยและประหยัดไฟฟ้าได้มากขึ้น นอกจากนั้นสมัยนี้คนส่วนใหญ่ยังเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องหมายไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นการยืนยันการันตีว่าแอร์เครื่องนี้ประหยัดพลังงานแน่นอน แต่ถึงอย่างนั้นหากสามารถคำนวณว่า แอร์ 9000 BTU แอร์ 12000 BTU แอร์ 18000 BTU กินไฟกี่บาท ก็จะช่วยให้ประเมินค่าไฟฟ้าต่อเดือนคร่าวๆ ได้ ดังนั้น วันนี้เราจึงมีวิธีการคำนวณค่าไฟแอร์ตามขนาด BTU มาฝาก แต่จะคำนวณได้อย่างไรนั้น มาดูกันเลย

แอร์ 12 000 btu กินไฟกี่แอมป์

การคำนวณค่าไฟแอร์

สำหรับการคำนวณอย่างแรกต้องรู้ก่อนว่าเป็นแอร์ประเภทไหน ระบบแอร์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือระบบแอร์รุ่นธรรมดา (Non-Inverter) หากเป็นระบบอินเวอร์เตอร์จะประหยัดกว่า โดยสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าของแอร์ต่อปี

แอร์อินเวอร์เตอร์

ค่าไฟต่อปีจะเท่ากับจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานตลอดทั้งปี คูณ Cooling Capacity (btu/hr) หารด้วย ค่า SEER (btu/hr/w) คูณกับค่าไฟต่อหน่วย จากนั้นนำผลรวมทั้งหมดหารด้วย 1000 ก็จะได้ค่าไฟฟ้าต่อปีของแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

ซึ่งค่า Cooling Capacity และค่า SEER หรือค่าประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาลนั้น สามารถดูจากข้อมูลจำเพาะของสินค้าหรือสอบถามจากพนักงานผู้ขาย

ระบบแอร์รุ่นธรรมดา

ค่าไฟฟ้าจากการใช้งานแอร์ต่อปีจะคำนวณได้จากสูตร ค่าไฟต่อปีเท่ากับ จำนวนชั่วโมงการใช้งานตลอดทั้งปีคูณด้วย ค่ากำลังไฟฟ้า (วัตต์) คูณด้วยค่าไฟต่อหน่วย จากนั้นนำค่าทั้งหมดมาหารด้วย 1000 เท่านี้ก็จะได้ค่าไฟทั้งหมดตลอดทั้งปีของการใช้แอร์รุ่นธรรมดา

ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ต้องรู้คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ เพราะฉะนั้นต้องมีข้อมูลว่า

  • แอร์ 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์
  • แอร์ 12000 BTU กินไฟกี่วัตต์
  • แอร์ 18000 BTU กี่วัตต์

ขึ้นอยู่กับขนาดของแอร์ที่จะเลือกใช้ด้วย

แอร์ 12 000 btu กินไฟกี่แอมป์

เมื่อเห็นสูตรค่าไฟต่อปีที่ใช้คำนวณแล้ว หลายคนอาจถอดใจและงงว่าทำไมการคำนวณสำหรับค่าไฟแอร์ถึงได้ดูยากขนาดนี้ แถมในกรณีระบบแอร์อินเวอร์เตอร์ต้องรู้ข้อมูลหรือสอบถามข้อมูลจำเพาะของแอร์จากผู้ขายอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนไม่นำเรื่องนี้คำนวณไฟฟ้าก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ สุดท้ายก็ต้องมานั่งสงสัยอยู่ดีว่าทำไมค่าไฟที่บ้านถึงได้สูงจังทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ค่อยได้เปิดใช้งาน

แต่ถึงอย่างนั้นเพื่อให้หลายคนนำข้อมูลนี้ไปประกอบการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น จึงมีการคำนวณไฟฟ้าคร่าวๆ ต่อเดือนไว้ในอินเทอร์เน็ต ทำให้สะดวกในการประเมินค่าไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งในกรณีเลือกซื้อเป็นแอร์แบบติดผนังระบบอินเวอร์เตอร์

  • แอร์ 9000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 433 บาท
  • แอร์ 12000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 594 บาท
  • แอร์ 18000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 733 บาท

โดยค่าไฟจะขยับสูงขั้นตามขนาด BTU ในขณะที่หากเป็นแอร์ติดผนังรุ่นธรรมดา ขนาด 9000 BTU จะเสียค่าไฟฟ้าเริ่มต้นประมาณเดือนละ 678 และขยับสูงขึ้นไปตามขนาด BTU ของแอร์เช่นเดียวกัน

แอร์ 12 000 btu กินไฟกี่แอมป์

แต่หากเป็นแอร์แบบแขวนใต้ฝ้า ถ้าเป็นแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

  • 12000 BTU มีการคำนวณไว้คร่าวๆ ว่าต้องเสียค่าไฟต่อเดือนประมาณ 650 บาท
  • แอร์ 18000 BTU ประมาณ 940 บาท และจะขยับขึ้นหลักพันเมื่อใช้
  • แอร์ 24000 BTU ค่า ไฟ จะอยู่ที่ราวๆ 1,360 บาท
  • และถ้าใช้แอร์ 40000 BTU จะต้องเสียค่าไฟฟ้าอยู่ที่ราวๆ 2,260 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นแอร์รุ่นธรรมดาต้องเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า เพราะแอร์รุ่นธรรมดา

  • ขนาด 12000 BTU เสียค่าไฟฟ้าต่อเดือนอยู่ที่ 950 บาท
  • และสูงสุดที่ 3,100 บาท สำหรับแอร์รุ่นธรรมดาขนาด 40000 BTU

แอร์ 12 000 btu กินไฟกี่แอมป์

อย่างไรก็ตามการคำนวณค่าไฟแอร์จากการใช้งานเครื่องปรับอากาศ ไม่ว่าจะใช้สูตรคำนวณหรือเทียบเคียงจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ที่ใช้หลักการคำนวณประเมินเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าไฟแอร์ที่แท้จริงมาจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น ขนาดห้อง เวลาในการใช้งาน การตั้งอุณหภูมิ โหมดการทำงานที่เลือกใช้ การดูแลรักษา ที่สำคัญต้องรู้ว่า แอร์ใช้กระแสไฟกี่แอมป์ โดยเฉพาะที่ขนาด BTU สูง เพราะหากไม่รู้ว่า

  • แอร์ 24000 BTU กินไฟกี่แอมป์
  • แอร์ 30000 BTU กิน ไฟ กี่ แอมป์
  • แอร์ 36000 BTU กินไฟกี่แอมป์

อาจทำให้กระแสไฟฟ้าภายในบ้านไม่เพียงพอต่อการใช้งานได้

สูตรคำนวณค่าไฟแอร์

วันนี้เราจะมาสอนวิธีคำนวณค่าไฟแอร์ง่ายๆ กัน เป็นวิธีที่คำนวณไม่ยากเลยไปดูวิธีคำนวณกันเลยดีกว่า! ซึ่งการใช้สูตรคำนวณนี้ก็จะได้รู้ค่าไฟแอร์แบบคร่าวๆ โดยหน่วยค่าไฟนั้นสามารถเปลี่ยนไปตามอัตราค่าไฟของการไฟฟ้าด้วย การคำนวณค่าไฟของแอร์แต่ละเครื่องนั้น จะถูกทำการคำนวณจากการเปิดแอร์ 8 ชม.ต่อวัน แต่สูตรนี้ยังไม่คำนวณรวมกับสภาพของแอร์ หากเป็นแอร์ที่ใช้งานมานานมากแล้ว อัตราการกินไฟอาจจะสูงกว่านี้เล็กน้อย ดังนั้นอย่าลืมหมั่นตรวจดูสภาพแอร์อยู่เสมอ แอร์จะได้มีอายุการใช้งานและได้ประสิทธิภาพที่ดีอีกด้วย

  • ค่าBTU / ค่า SEER / 1000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

ตัวอย่าง X-Inverter : 42TVAA013 / 38TVAA013

ขนาดแอร์ 12,200 BUT /ค่า SEER 22.50 / 1000 x 8 ชั่วโมงต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้า 3.96 บาท/หน่วย 

ค่าไฟฟ้าต่อปี = 6,270 บาท

เทคนิคเปิดแอร์ยังไงให้ประหยัดไฟ เย็นสบาย ไม่เปลืองไฟ

แม้จะรู้วิธีคำนวณค่าไฟแอร์กันไปแล้ว แต่หลายคนก็อาจจะยังมีความกังวล เกี่ยวกับค่าไฟกันอยู่ ดังนั้นเราจึงมีเคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยประหยัดค่าไฟจากการเปิดแอร์ให้รู้กัน มาดูกันว่าหน้าร้อนนี้เปิดแอร์ยังไงให้ไม่เปลืองไฟกันบ้าง

  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่ให้ความร้อนในขณะที่เปิดแอร์ : การเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ อย่างพร้อมกันย่อมกินไฟมากกว่าเดิมเป็นธรรมดา ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ควรเปิดพร้อมกันกับการเปิดแอร์มากที่สุดก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ปล่อยความร้อนต่างๆ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น หม้อ กระทะ เตาอบ เพราะหน้าที่ของแอร์คือการทำให้อุณหภูมิในห้องนั้นลดลง และเย็นขึ้น ดังนั้นการมีความร้อนเกิดขึ้นภายในห้อง ก็จะยิ่งทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้นและเปลืองไฟมากขึ้นนั่นเอง
  • ตั้งอุณหภูมิสที่ 25 องศาหรือสูงกว่า 25 องศาเล็กน้อย : จริงอยู่ที่ว่าอุณหภูมิที่ 25 องศาเป็นอุณหภูมิที่ช่วยประหยัดไฟได้มาก แต่ในความจริงแล้วเราสามารถลดการทำงานของแอร์ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิให้อยู่ที่ 26-27 องศา ก็ยังสามารถทำให้อากาศภายในห้องเย็นสบายได้ไม่น้อยกว่าตอนเปิด 25 องศาเลย แถมยังประหยัดไฟกว่าด้วย
  • หลีกเลี่ยงใช้แอร์ในห้องพื้นที่เปิด หรือพื้นที่ที่มีขนาดกว้าง : สำหรับคนที่มีแอร์หลายห้อง อยู่บ้านขนาดกลางขึ้นไป ย่อมรู้กันดีว่าการเปิดแอร์ในห้องโถงหรือห้องนั่งเล่นนั้นเป็นอะไรที่กินไฟมากๆ ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรที่จะติดแอร์บริเวณห้องโถงเลย แต่หากจำเป็นจริงๆ ควรติดตั้งฉากกั้นระหว่างทางขึ้นบันได หรือทางเดินไปห้องต่างๆ ภายใรบ้าน รวมถึงปิดหน้าต่างและผ้าม่านให้สนิท ก็จะช่วยประหยัดไฟไปได้มากเลยทีเดียว
  • ใช้พัดลมช่วยไล่ความร้อนภายในห้องก่อนเปิดแอร์ : หากห้องนั้นไม่ได้เปิดแอร์หรือเปิดพัดลมมาทั้งวัน และมีอากาศอบอ้าวอยู่การเปิดแอร์ทันทีอาจทำให้แอร์กินไฟเพราะต้องทำงานหนักเพื่อปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นขึ้น ดังนั้นก่อนเปิดแอร์การเปิดพัดลมไล่และระบายอากาศออกก่อนจะช่วยทำให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นขึ้น และยังช่วยทำให้คุณไม่ต้องเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเลย

แอร์ 12000 BTU กินกระแสไฟกี่วัตต์

เช่น เปิด แอร์ขนาด 12,000 BTU/hour ที่มีค่า EER = 11 ไป 1 ชั่วโมง ใช้ไฟเท่ากับ 12,000/11 = 1,091 Wh. เรียกว่า แอร์ตัวนี้กินไฟเท่ากับ 1,091 W.

แอร์ 12000 BTU กินไฟ วันละกี่หน่วย

อัตราการกินไฟ (จำนวนวัตต์) = 1040. ค่าไฟต่อหน่วย = 3 บาท ชั่วโมงที่ใช้งาน ประมาณ 8 ชั่วโมง ... .

แอร์13000 BTU กินไฟกี่แอมป์

บ้านที่ใช้ มิเตอร์ไฟ 15 แอมป์ติดแอร์ 13000 btu ได้หลายตัว มิเตอร์จ่ายกระแสได้เต็มที่ 45 แอมป์ แอร์ 13000 btu 1 ตัวกินกระแสไฟแถวๆ 5 แอมป์ บวกกระแสไฟที่แอร์ทุกตัวใช้ บวกกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆด้วย

แอร์ 25000 BTU กินไฟกี่แอมป์

แอร์แต่ละรุ่นจะมีปริมาณการกินไฟที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นจะกินไฟมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าแอร์ที่บ้านของคุณมีอายุการใช้งานมานานแค่ไหนแล้ว ถ้าแอร์เก่าก็อาจจะกินไฟมากขึ้น สำหรับแอร์ 25000 BTU จะกินไฟอยู่ที่ประมาณ 12.5 แอมป์