การประกันคุณภาพการศึกษามี กี่ องค์ประกอบ

1) การควบคุมคุณภาพภายใน (Internal  Quality  Control) เป็น ส่วนที่สถาบันอุดมศึกษา จะต้องจัดให้มีระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพภายในขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อคุณภาพของบัณฑิต และต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการของการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งการมีระบบตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการภายในด้วย

2) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality  Auditing) หมาย ถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการของระบบและกลไกควบคุมคุณภาพภายในที่สถาบันอุดม ศึกษาได้จัดให้มีขึ้น โดยจะเป็นการตรวจสอบเชิงระบบ มุ่งเน้นการพิจารณาว่า สถาบันได้มีระบบการควบคุมคุณภาพหรือไม่ได้ใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นเพียงใด และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่า การจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ มุ่งเน้นการตรวจสอบในคณะวิชาเป็นหลัก

3) การประเมินคุณภาพ (Quality  Assessment) หมาย ถึง กระบวนการประเมินผลการดำเนินการของคณะวิชาโดยภาพรวมว่าเมื่อได้มีการใช้ระบบ การประกันคุณภาพ หรือระบบควบคุมคุณภาพแล้วได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพมากน้อย เพียงใด ทั้งนี้ การตรวจสอบและประเมินคุณภาพนี้จะกระทำอย่างเป็นระบบ โดยมีกฎเกณฑ์และแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน

1) การประกันคุณภาพภายใน หมาย ถึง กิจกรรมการควบคุมคุณภาพภายในสถาบันอุดมศึกษา โดยการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษาเอง เพื่อให้มีความมั่นใจว่าสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามภารกิจหลักอย่างมี คุณภาพกระบวนการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย

(1) การควบคุมคุณภาพ

(2) การตรวจสอบคุณภาพ

(3) การประเมินคุณภาพ

2) การประกันคุณภาพภายนอก หมาย ถึง การดำเนินการตามระบบควบคุมคุณภาพภายในพร้อมทั้งการตรวจสอบและการประเมินผล ทั้งระบบ โดยหน่วยงานภายนอก เพื่อประกันว่าสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการภารกิจหลักได้อย่างมีคุณภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษา

ภายในกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก

การประกันคุณภาพการศึกษามี กี่ องค์ประกอบ

ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษามี กี่ องค์ประกอบ

1) เกิด การพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ระดับมาตรฐานสากลและ มีความเป็นเลิศ ทางวิชาการ ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา

2) การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3) การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล อันจะทำให้การผลิตบัณฑิตทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศ

4) สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานบริหารการศึกษา และรัฐบาล มีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการการศึกษา

5) นักศึกษา และผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

6)  ผู้ประกอบการ  ชุมชน  สังคมและประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงาน พัฒนาองค์กร  ชุมชน  สังคมและประเทศชาติต่อไป

7)  บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาได้ทำงานอย่างมืออาชีพ  ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี  มีประสิทธิภาพ  โดยเน้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กร  มีทิศทางการจัดการศึกษาที่ชัดเจนตามมาตรฐานกลางที่กำหนด

กระบวนการและวิธีการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษากำหนดเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดแนวทางควบคุมคุณภาพ

1) กำหนดองค์ประกอบ ตัวชี้วัดและเกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับสภาพของวิทยาลัย

2) กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ประเมินชี้วัด ตามภารกิจหลักของหน่วยงานระดับ ฝ่าย คณะ สำนัก

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบงานของวิทยาลัย

1) กำหนดพันธกิจ ปรัชญา วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

2) กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา

3) จัดทำแผนประกันคุณภาพการศึกษา

4) กำหนดกรอบภาระงานประกันคุณภาพการศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหน่วยงาน  ระดับคณะ  และระดับสถาบัน

5) ประเมินตามกรอบภาระงานประกันคุณภาพการศึกษา

ขั้นตอนที่ 3 การจัดระบบเอกสาร

1) คู่ มือการประกันคุณภาพ เป็นเอกสารที่ระบุนโยบายและแนวทางในการดำเนินการประกันคุณภาพรวมทั้งราย ละเอียดของโครงสร้างการบริหารงาน ภารกิจหลักและองค์ประกอบต่างๆ ของหน่วยงานเป็นลายลักษณ์อักษร

2) รายงานประเมินตนเอง (SAR) เป็นเอกสารที่รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงาน เป็น เอกสารที่แสดงถึงผลการดำเนินประกันคุณภาพของหน่วยงาน หน่วยงานแต่ละหน่วยจะต้องรวบรวมเอกสาร ระเบียน คำสั่งหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพของหน่วยงานเป็นรูปเล่มไว้ประจำหน่วยงานของ ตน พร้อมที่จะให้กรรมการตรวจสอบและประเมินผลของวิทยาลัยได้ตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบคุณภาพภายใน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1 หน่วยงาน  ศูนย์ สำนักงาน  วิทยาลัย จะตรวจสอบความพร้อมของข้อมูลและเอกสารที่จะนำมาใช้เป็นข้อมูลส่วนกลางเพื่อ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินภายในของสถาบันดำเนินการประเมิน

ระดับที่ 2 สาขาวิชาและ คณะ วิทยาลัย จะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิหรือคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน เพื่อตรวจสอบในระดับต้น ผลการตรวจสอบจะเป็นข้อมูลในการจัดทำในการประเมินตนเอง ระดับหน่วยงาน  คณะ สำนัก และเตรียมความพร้อมเพื่อรับการตรวจสอบจากคณะกรรมการระดับวิทยาลัยประเมินคุณภาพภายใน

ระดับที่ 3 ระดับสถาบันการ ตรวจสอบระดับนี้ ดำเนินการโดยคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิที่ วิทยาลัยแต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจสอบหน่วยงานระดับหน่วยงาน คณะ สำนัก รายงานผลการตรวจสอบของหน่วยงานภายใน จะได้รับการประมวลเพื่อจัดทำสรุปเป็นการรวบรวมเสนอผู้บริหาร เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาวิทยาลัย และเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป

ลำดับขั้นตอนการประเมินคุณภาพภายในวิทยาลัยนครราชสีมา

การประกันคุณภาพการศึกษามี กี่ องค์ประกอบ

ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพภายนอก

การประเมินคุณภาพระดับนี้ ดำเนินการโดยผู้ประเมินภายนอก ซึ่ง สมศ. (องค์การมหาชน) เป็นผู้มอบหมายให้ดำเนินการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา โดยการ

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีกี่ประเภท

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47 ประกอบด้วย 2 ระบบคือ 1.ระบบการประกันคุณภาพภายในและ 2. ระบบการประกันคุณภาพภายนอก

การประกันคุณภาพการศึกษาคืออะไร

การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) หมายถึง การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ และมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิต ...

คุณภาพการศึกษา คืออะไร และมีองค์ประกอบอย่างไร

คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปณิธานและภารกิจของการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการของประเทศ อุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและภารกิจ เฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการควบคุม

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีกี่มาตรฐาน

มีจำนวน ๔ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน