กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กี่วันหาย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย จากสถิติพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี โดยเฉพาะสาวๆ ออฟฟิศที่นั่งติดอยู่กับที่โต๊ะทำงาน แบบไม่อยากขยับเขยื้อนตัว
ลุกไปไหน

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กี่วันหาย

สาเหตุที่พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมาจากสรีระทางร่างกายผู้หญิงซึ่งมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย ดังนั้นเชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ท่อปัสสาวะของผู้หญิงยังเปิดออกสู่ภายนอกในบริเวณใกล้กับช่องคลอด และทวารหนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อทั้งจากช่องคลอด และจากทวารหนักโดยเฉพาะเจ้าเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายเข้าไปอีก

Show

เชื้อแบคทีเรีย ตัวการทำกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุ ของกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาจากเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่ง 75-95% โดยประมาณเกิดจากเชื้ออีโคไล ส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบเฉียบพลัน (รักษาหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์) และแบบอักเสบเรื้อรัง ซึ่งลักษณะนี้มักมีอาการอักเสบเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง แต่มีอาการรุนแรงน้อยกว่าการอักเสบเฉียบพลัน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • กลั้นปัสสาวะนาน ส่งผลให้ปัสสาวะแช่ค้าง เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี
  • ผู้สูงอายุ เพราะสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี
  • ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมักนั่งๆ นอนๆ
  • ดื่มน้ำน้อย

อาการส่อแววเสี่ยงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ปัสสาวะบ่อยครั้ง ครั้งละน้อยๆ ปวด เบ่ง แสบ โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
  • ปัสสาวะเป็นเลือด อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า คือปัสสาวะสีชมพู หรือเป็นเลือด
  • ปัสสาวะขุ่น หรืออาจเป็นหนองขึ้นกับความรุนแรงของโรค
  • มีกลิ่นผิดปกติ
  • ปวดท้องน้อย
  • มีไข้ ทั้งไข้สูง และไข้ต่ำ
  • บางครั้งอาจมีสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย
  • อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยเมื่อเป็นการติดเชื้อเฉียบพลัน อาจมีนิ่วปนออกมาในปัสสาวะ เมื่อเกิดร่วมกับนิ่วในไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

วิธีป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ไม่กลั้นปัสสาวะนาน พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ รักษาความสะอาดในการขับถ่าย ไม่ควรใช้สเปรย์ หรือยาดับกลิ่นตัวบริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจก่อการระคายเคืองเลี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และหากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะชนิดหนึ่ง ที่มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือด และอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ โรคนี้มักจะรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ แต่หากเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ การรักษาก็จะมุ่งเน้นไปที่การจัดการกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแทน

คำจำกัดความ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออะไร

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะที่มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น การใช้ยาบางชนิด การฉายรังสี การแพ้สารเคมี หรืออาจเป็นอาการหนึ่งของโรคอื่น เช่น โรคเบาหวาน โรคนิ่วในไต ทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการอักเสบ และมีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ

โดยปกติ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะพบได้บ่อยในเพศหญิง เนื่องจากลักษณะโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะที่สั้นกว่า ทำให้เชื้อโรคมีโอกาสเข้าถึงกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่าในเพศชาย

อาการ

อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจมี ดังต่อไปนี้

  • มีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย แต่อาจปัสสาวะน้อย
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม ขุ่น หรือมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
  • มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย
  • มีไข้ อ่อนแรง
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบในเด็กเล็ก

สำหรับเด็กเล็ก อาจสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะราดในตอนกลางวัน
  • อ่อนแรง
  • เบื่ออาหาร
  • หงุดหงิดง่าย

โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะมักจะหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน แต่หากเชื้อลุกลาม อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากกว่า เช่น ไตอักเสบ และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

ควรไปพบคุณหมอเมื่อไหร่

หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อเร่งทำการรักษาในทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของติดเชื้อที่รุนแรงได้

  • มีเลือดออกปนกับปัสสาวะ
  • ไข้สูง หนาวสั่น
  • อาเจียน
  • ปวดหลังหรือข้างลำตัว

นอกจากนี้ หากอาการยังคงไม่หายไป หรืออาการกำเริบอีกครั้ง หลังจากทำการรักษา ก็ควรติดต่อคุณหมอเช่นกัน

สาเหตุ

สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล (E. coli) ที่สามารถพบได้บนผิวหนังและลำไส้เล็ก ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การเช็ดทำความสะอาดจากบริเวณทวารหนักมายังอวัยวะเพศ อาจทำให้เชื้อโรคมีโอกาสสัมผัสกับรูปัสสาวะ และทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) ไอฟอสฟาไมด์ (Ifosfamide) ที่มักใช้ในการทำเคมีบำบัด อาจทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้
  • การฉายรังสีบำบัด เพื่อทำการรักษาบริเวณอุ้งเชิงกราน อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกราน รวมถึงกระเพาะปัสสาวะ เกิดการเสียหาย และเกิดอาการอักเสบได้
  • สิ่งแปลกปลอมที่สอดใส่ในทางเดินปัสสาวะ เช่น สายสวนปัสสาวะ อาจทำให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้
  • โรคเรื้อรัง เช่น กลุ่มอาการปวดกระเพาะปัสสาวะ โรคเบาเหวาน นิ่วในไต ภาวะต่อมลูกหมากโต อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังต่อไปนี้

  • เพศ ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่า ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าถึงกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า
  • การคุมกำเนิดบางชนิด เช่น หมวกยางครอบปากมดลูก หรือไดอะแฟรม (Diaphragms) มักมียาฆ่าเชื้ออสุจิ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้
  • การมีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ ทำให้เชื้อแบคทีเรียมีโอกาสเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
  • การอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

คุณหมอสามารถวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อดูอาการ จากนั้นคุณหมอก็อาจทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย เลือด หรือน้ำหนอง ที่อาจปะปนในปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) โดยการสอดท่อขนาดเล็กที่มีกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะ เพื่อตรวจดูลักษณะและความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ
  • การฉายภาพกระเพาะปัสสาวะ สำหรับโรคกระเพาะปัสสาวะที่ยังไม่แน่ชัดว่าเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อาจจำเป็นต้องสแกนฉายภาพภายในกระเพาปัสสาวะเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่อาจนำไปสู่การอักเสบ เช่น เนื้องอก

การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สำหรับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่มีอาการเล็กน้อย อาจสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้

  • การใช้ยาปฏิชีวนะ สำหรับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ คุณหมอจะให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ ควรรับประทานยาให้ครบตามที่คุณหมอกำหนด อย่าหยุดกินยาเองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้
  • กระบวนการทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ การขยายกระเพาะปัสสาวะด้วยน้ำหรือแก๊ส สำหรับผู้ที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบเนื่องจากความผิดปกติทางกายภาพของกระเพาะปัสสาวะ เช่น มีแผลเป็น
  • การกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง (Nerve stimulation) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และช่วยลดความถี่ในการปัสสาวะ

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และดูแลตัวเอง อาจทำได้ดังนี้

  • รักษาความสะอาดของอวัยวะเพศให้ดี ล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากขับถ่าย ควรระวังไม่เช็ดทำความสะอาดจากส่วนทวารหนักมาด้านหน้า
  • ปัสสาวะให้บ่อย อย่าอั้นปัสสาวะนาน ๆ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำเคมีบำบัดและฉายแสงบำบัด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้ระคายเคือง เช่น น้ำหอม แป้งฝุ่น กับอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะระคายเคืองและอักเสบ
  • ปัสสาวะและทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังมีเพศสัมพันธ์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

กระเพาะปัสสาวะอักเสบใช้เวลากี่วันหาย

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การรักษาหลักๆ คือ การกินยาปฏิชีวนะ ประมาณ 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยากลายการบีบตัวของกระเพาะปัสาวะ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยควรรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ แม้อาการจะดีขึ้นก่อนก็ตาม เนื่องการรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ ...

ทำยังไงให้หายเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

วิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แนวการรักษาหลักๆ คือการให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วันขึ้นอยู่กับชนิดของยา ร่วมกับการรักษาตามอาการหากจำเป็น เช่น ยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และพยายามดื่มน้ำให้มากๆ ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยารับประทานเองเนื่องจากอาจได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรคและจะทำให้ดื้อยาได้ง่าย

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หายเองได้ไหม

อย่างไรก็ตาม โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถหายขาดได้เองโดยไม่ต้องได้รับการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่อาการปานกลาง ไม่ได้อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือมีโรคประจำตัว เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะค่อย ๆ ขจัดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายออกไป แต่อาจพบอาการเดิมคงอยู่นาน 2-3 วันหรือบางรายนานเป็นสัปดาห์ ดังนั้น หากต้องการให้หายไว ...

ผลข้างเคียงจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือข้อใด

เมื่อเป็นการติดเชื้อเฉียบพลัน อาจมีนิ่วปนออกมาในปัสสาวะ เมื่อเกิดร่วมกับนิ่วในไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผลข้างเคียงจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ การลุกลามเป็นการอักเสบของไต ซึ่งเมื่อเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้ หรือเมื่อการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสโลหิต ซึ่งทั้งสองกรณีเป็น ...