ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

คุณมักมีอาการปวด บวม และและรู้สึกไม่สบายในช่องปากหลังผ่าฟันคุดและคุณอาจจะอยากทราบว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนที่อาการเหล่านี้จะหายไป และเมื่อไหร่ถึงจะเคี้ยวอาหารแข็งอย่างผักผลไม้เนื้อแข็งได้?

Show

ผ่าฟันคุด

ฟันคุดหรือเรียกอีกชื่อว่า "ฟันกรามซี่ที่สาม" เป็นฟันชุดสุดท้ายของฟันกรามที่งอกออกมา ผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะถอนฟันคุดออกเพราะว่าฟันคุดไม่ได้มีประโยชน์แต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นฟันคุดอาจก่อให้เกิดอันตรายกับช่องปากของเราได้เนื่องจากลักษณะการงอกที่มักไม่ขึ้นตรงเหมือนฟันซี่อื่น ๆ และมักจะไปเบียดฟันที่อยู่ด้านข้างได้ ปกติแล้วฟันคุดจะขึ้นมาในช่วงที่อายุ 18 – 25 ปี เหตุเพราะพื้นที่เหงือกในปากของเราไม่เพียงพอให้ฟันคุดขึ้นมาเพิ่มจากฟันแท้ซี่อื่น ๆ ดังนั้นฟันคุดจึงขึ้นในลักษณะเอียงหรือเฉ และอาจทำให้เกิดฟันซ้อนได้ บางครั้งฟันคุดก็งอกออกมาไม่เต็มที่ ลักษณะนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาในช่องปากได้ในอนาคตได้ เช่น ติดเชื้อที่เหงือกบริเวณฟันคุด หรือเกิดการปวดฟัน

ทันตแพทย์ยังแนะนำว่าวัยรุ่นควรไปตรวจฟันคุดก่อนอายุ 20 ปีเพื่อให้รู้ว่าฟันคุดของคุณจะขึ้นมาอย่างไร จะขึ้นมาเบียดกับฟันกรามที่อยู่ข้างหน้าหรือไม่ หรือในกรณีที่ฟันขึ้นมาไม่สุด ทันตแพทย์จะทำการเอกซ์เรย์เพื่อดูว่าฟันคุดขึ้นมาโดยมีลักษณะเอียงหรือเฉหรือไม่ และหากจำเป็น ทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากแนะนำให้ถอนฟันคุดดังกล่าวออกในขณะที่รากฟันยังเติบโตไม่เต็มที่ การผ่าฟันคุดนั้นเป็นกระบวนการศัลยกรรมที่ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ (ฉีดเข้าไปที่เหงือก) ก่อนการถอนฟันคุด เมื่อยาชาหมดฤทธิ์แล้วคุณจะรู้สึกได้ถึงอาการปวด จากนั้นกระบวนการฟื้นสภาพหลังผ่าฟันคุดก็จะเริ่มขึ้น

การดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด

หลังจากถอนฟันคุดออกไปแล้ว ปากของคุณอาจมีอาการบวมหรือปวดที่เหงือกบริเวณที่ถูกถอน บางครั้งอาจมีเลือดออกมามากหลังจากผ่าเสร็จใหม่ ๆ ทันตแพทย์จะให้คุณกัดผ้าก๊อซไว้เพื่อห้ามเลือด ขณะที่ช่องปากของคุณกำลังฟื้นคืนสภาพ ต้องระวังอย่าให้มีลิ่มเลือดไหลออกมา และพยายามอย่าทำอะไรที่เป็นกระทบกระเทือนเหงือกในช่วงนี้ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ โซดา หรือของร้อน ควรรับประทานอาหารอ่อนในช่วง 2 -3 วันแรกหลังผ่าฟันคุด รวมถึงไม่ควรแปรงฟันในวันแรกหลังผ่าเพราะช่องปากจำเป็นต้องควบคุมไม่ให้เลือดไหลออกมามาก ระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าฟันคุดทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 3 – 4 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

ข้อแนะนำหลังผ่าฟันคุดเพิ่มเติม ให้คุณทำกิจกรรมที่มีการกระทบกระเทือนน้อยลง นอนโดยที่ยกศีรษะสูงขึ้นมาเล็กน้อยประมาณ 2 – 3 วัน หรือหากมีความจำเป็นไม่สามารถหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ได้ ให้ระมัดระวังไม่ให้มีลิ่มเลือดออกมาจากบริเวณฟันที่ถอนออกไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

สำหรับอาการปวด ปกติแล้วทันตแพทย์จะให้ยาแก้ปวดมาเพื่อช่วยบรรเทาหลังยาชาหมดฤทธิ์ หรือถ้าปากของคุณบวมมากก็ให้ใช้ถุงน้ำแข็งประคบข้างแก้มได้ เพื่อลดอาการปวดและบวมจากการอักเสบ

วิธีการดูแลช่องปากของคุณในช่วงนี้ อาจต้องหลีกเลี่ยงการแปรงฟัน บ้วนน้ำลาย ขัดฟัน หรือใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นคุณสามารถแปรงฟันเบา ๆ ได้โดยที่ไม่ให้โดนบริเวณที่ถอนฟัน การใช้น้ำเกลืออุ่นบ้วนปากในระยะนี้จะช่วยทำให้ช่องปากของคุณสะอาดและลดอาการติดเชื้อได้ พยายามรับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้มหรือน้ำซุปไปก่อน จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มอาหารที่มีลักษณะแข็งหลังผ่านไป 2 – 3 วันหรือเมื่อคุณแน่ใจว่าช่องปากของคุณเริ่มมีสภาพดีขึ้น

หากสังเกตเห็นว่ามีหนองออกมา หรือมีอาการปวดรุนแรง และมีไข้ ให้ไปพบทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากทันที เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อเพิ่มได้
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

Post Views: 37,402

Last Updated on 18 ตุลาคม 2022 by

ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด คือ อะไร สาเหตุและวิธีรักษา ราคาเท่าไหร่? สรุปครบ!

ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด คือ อะไร?

ผ่าฟันคุด (ผ่าตัดฟันคุด) หรือ ถอนฟันคุด (Tooth Impaction Removal) คือ การเอาฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งเป็นซี่สุดท้าย ในขากรรไกรที่ไม่สามารถ โผล่ขึ้นมาในช่องปากได้ออก โดยฟันซี่ดังกล่าว อาจฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกร หรืออยู่ในเหงือก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น ปวดหรือบวมได้ และ ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ฟันซี่นั้นๆ อาจต้องได้รับการเอาออก

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด โดยทันตแพทย์เฉพาะทาง

สารบัญ

การวินิจฉัยความจำเป็นที่ต้อง “ผ่าฟันคุด”

สำหรับ การถอนฟันคุด หรือ การผ่าฟันคุด นั้น ทันตแพทย์เฉพาะทาง จะต้องพิจารณา เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละเคส ทั้งนี้เนื่องจากฟันคุด มักจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นต้องมีการถ่ายเอกซเรย์ เพื่อดูลักษณะการวางตัวของฟัน ว่าตั้งตรงหรือเอียงนอน และดูตำแหน่งความลึกของฟันคุดซี่นั้นๆ

ในบางกรณี อาจไม่มีความจำเป็นต้องทำ การผ่าตัดฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด ซี่นั้นๆออก เช่น กรณีที่ฟันมีแนวตั้งตรง และมีพื้นที่บริเวณขากรรไกรเพียงพอ แต่ถ้าหากถ่ายเอกซเรย์แล้ว พบว่าฟันมีทิศทางนอนเอียง ก็จะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า ฟันซี่นั้นๆจะไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้

ทำให้กรณีเช่นนี้ มักจะต้องทำ การผ่าตัดฟันคุด หรือทำ การถอนฟันคุด ซี่นั้นๆออก นอกจากนี้แล้วในการจัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟัน มักจะแนะนำให้เอาฟันคุดออก ก่อนเริ่มทำการจัดฟัน เนื่องจากฟันคุดอาจจะขึ้นมา เบียดซี่ฟันในภายหลังได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง ทำให้ฟันที่จัดไปแล้ว เกิดการเบียดตัวเอนหรือซ้อนกันได้

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
ภาพ X-Ray ฟันคุด ที่จำเป็นต้องทำการรักษาด้วย การผ่าฟันคุด

ปัญหาที่เกิดจาก “ฟันคุด”

การที่มี ฟันคุด แล้วไม่ได้ทำการผ่าออกหรือถอนฟันซี่นั้นๆออกมา อาจส่งผลให้ มีปัญหาต่างๆ ตามมาได้ดังต่อไปนี้

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
ฟันคุด แบบต่างๆ – ที่จำเป็นต้องรักษาด้วย การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด

✔ อาการปวด

อาจเกิดจากแรงดันของฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ แล้วไปเบียดฟันซี่ข้างๆหรืออวัยวะข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวดตึงๆ หรือปวดตุบๆ แต่ในบางกรณี อาการปวดอาจเกิดจาก การอักเสบของเหงือกที่คลุมฟันคุดเอาไว้

✔ อาการบวม

เมื่อเหงือกที่ปกคลุม ฟันคุด โดนฟันคู่สบกัดลงมาโดน หรือ มีเศษอาหารติดในช่องว่าง ระหว่างเหงือกที่ปกคลุมฟันคุดอยู่ เนื่องจากฟันคุดจะทำความสะอาดได้ยาก จึงทำให้มีอาการ อักเสบและติดเชื้อ และเกิดการบวมบริเวณใบหน้าได้ ในบางครั้งหากเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น ผู้ที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดี มีหินปูนเป็นต้น อาจทำให้เกิดการอักเสบ ลามไปถึงบริเวณ ต่อมน้ำเหลืองได้

✔ ทำให้ฟันซี่ข้างเคียงผุ

ในกรณีที่ ฟันคุด ขึ้นมาในทิศทางเอียง จะทำให้มีเศษอาหารติด ที่บริเวณซอกฟันบริเวณนั้นๆเยอะ และ เมื่อแปรงไม่ออก หรือ ทำความสะอาดได้ไม่ดี ก็จะส่งผลให้ฟันซี่ข้างเคียง ที่อยู่ติดกันเกิดการผุได้

✔ เกิดถุงน้ำ(ซีสต์)รอบๆ ฟันคุด

ฟันคุด ที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ อาจมีการพัฒนาเกิดเป็นถุงน้ำหรือซีสต์ รอบๆฟันซี่นั้นๆ ซึ่งถ้าถุงน้ำมีการขยายขนาดจนใหญ่ ก็จะส่งผลให้กระดูกขากรรไกรบริเวณดังกล่าวถูกทำลายได้

✔ ส่งผลต่อการจัดฟัน

บางกรณี ฟันคุด ที่ขึ้นมา อาจส่งผลให้การจัดฟัน ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือ ทำให้รีเทนเนอร์เดิมที่เคยทำไว้ใส่ไม่ลง

ทำไมควรเลือก ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด กับทันตแพทย์เฉพาะทาง?

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
ทำไมควรเลือกทำ การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด กับทันตแพทย์เฉพาะทาง?

การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด ถือเป็นงานศัลยกรรมที่มีความซับซ้อนมากกว่า การถอนฟันทั่วไป รวมถึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้มากกว่า เช่น อาการชาของเส้นประสาท หรือ มีการติดเชื้อภายหลัง การผ่าตัดฟันคุด

ทันตแพทย์เฉพาะทางผ่าฟันคุด คือ ทันตแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและใบหน้า รวมถึงเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายบริเวณใบหน้า การผ่าตัดฟันคุด กับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง จึงมีข้อดีดังต่อไปนี้คือ

✔ มีความแม่นยำ เกี่ยวกับตำแหน่งของเส้นประสาทบริเวณบนใบหน้า

ทำให้การฉีดยาชาได้ตรงตำแหน่งและเกิดการชาได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการ ผ่าตัดฟันคุด จนเหลือน้อยมาก

✔ เนื่องจากทันตแพทย์เฉพาะทางมีประสบการณ์สูงในการ ผ่าตัดฟันคุด

ทำให้การรักษาใช้เวลาน้อย แผลผ่าฟันคุดมีขนาดเล็กและเนื้อเยื่อรอบข้างบอบช้ำน้อย และรู้สึกเจ็บน้อยลงมาก

✔ ความแม่นยำในการผ่าตัด

ส่งผลให้แผลมีขนาดเล็ก และหายได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาพักฟื้นเพียงไม่นาน

✔ ทันตแพทย์เฉพาะทาง จะสามารถให้คำแนะนำภายหลังผ่าฟันคุดได้อย่างครบถ้วน

รวมถึงหลังจากที่มีการ ผ่าตัดฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการนัดตรวจเพื่อติดตามผลหลังทำการรักษาเรียบร้อยแล้ว

✔ ความอุ่นใจและความสบายใจ

ด้วยทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง ที่จบสาขา “ศัลยกรรมช่องปาก” ที่มีประสบการณ์สูงในด้านการ ผ่าตัดฟันคุด และ การถอนฟันคุด ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมืออาชีพ ความรวดเร็วและความแม่นยำในการผ่าตัด ส่งผลให้แผลจากการผ่าตัดเล็ก และหายได้อย่างรวดเร็ว กว่าแผลที่มีการบอบช้ำและแผลผ่าตัดที่มีขนาดใหญ่

การผ่าฟันคุด และ ถอนฟันคุด กี่วันหาย?

การผ่าฟันคุด และ การถอนฟันคุด จะใช้เวลาในการทำรักษาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของฟันคุด ซึ่นั้นๆ ส่วนระยะเวลาต่อคำถามที่ว่า ผ่าฟันคุดกี่วันหาย ส่วนใหญ่ ร่างกายจะยังคงมีความเจ็บปวดภายหลังผ่าฟันคุดประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังหมดฤทธิ์ยาชา

คนส่วนใหญ่อาจจะยังรู้สึกเจ็บได้ประมาณ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุด และอาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 2-3 วัน ภายหลังการ ผ่าตัดฟันคุด

สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัว จนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ คือประมาณ 3-4 วัน หรือไม่เกิน 1-2 สัปดาห์

ในกรณีที่มีการกรอกระดูก อาจต้องรอประมาณ 1-2 เดือน แผลผ่าฟันคุดหรือรอยแยกบริเวณเหงือก จึงกลับมาปิดสนิท กลายเป็นชิ้นเดียวกับเนื้อเยื่อในช่องปาก

การถอนฟันคุด หรือ การผ่าฟันคุด เจ็บไหม?

คำถามที่ว่า ผ่าฟันคุดเจ็บไหม คำตอบที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะให้คือ อาจมีอาการเจ็บเวลาที่ฉีดยาชาบ้าง แต่พอยาชาออกฤทธิ์เต็มที่แล้ว จะยังคงมีอาการเหมือนโดนกด หรือรู้สึกมีความสั่นสะเทือนในช่องปาก แต่ถ้าหากยังคงมีอาการเจ็บปวด หรือรู้สึกว่า อดทนไม่ได้แล้ว คุณสามารถแจ้งกับทันตแพทย์ได้ตลอดเวลา เพราะทันตแพทย์ จะเติมยาชาให้จนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น จนสามารถรับการ ผ่าตัดฟันคุด จนเสร็จสิ้นกระบวนการ

อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคำถามที่ว่าการ ผ่าตัดฟันคุด หรือ ถอนฟันคุดเจ็บไหม ก็คือ ความอดทนของแต่ละบุคคลด้วย ในบางกรณี ฟันคุดในลักษณะเดียวกัน บางคนบอกว่าเจ็บมาก แต่บางคนบอกว่า ผ่าฟันคุดไม่เจ็บ แต่อย่างไรก็ดี การ ผ่าฟันคุดกรอกระดูก จะย่อมมีความรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าฟันคุดที่สามารถถอนออกได้ธรรมดา หรือฟันคุดที่ไม่ต้องกรอกระดูกอยู่แล้ว รวมถึง ฟันคุดที่ถอนได้ยาก หรือต้องผ่าออก ก็จะต้องใช้เวลานานกว่าในการหายของแผล หรือถ้าจะตอบคำถามว่า ผ่าฟันคุดกี่วันหาย ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยความยากง่ายของฟันคุดเช่นกัน

ผลกระทบของการมี “ฟันคุด” แล้วไม่ได้เอาออก

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
ลักษณะของ ฟันคุด ที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้

ในกรณีที่มี “ฟันคุด” ในช่องปาก แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การปล่อยปละละเลยเอาไว้ ไม่ได้ไปทำการรักษาด้วยการถอนหรือผ่าฟันคุดซี่นั้นๆออก อาจส่งผลเสียได้ดังต่อไปนี้

  • ปวด: อาการปวดอาจเกิดมาจากการที่ฟันคุดพยายามเบียดหรือดันตัวเอง ให้ขึ้นมาในช่องปาก แต่ขึ้นมาไม่ได้ เพราะติดกระดูกหรือฟันข้างเคียง ซึ่งอาการปวดดังกล่าวจะส่งผลต่อการรับประทานอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารบริเวณที่ฟันคุดกำลังจะขึ้นไม่ได้ รวมถึงอาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมาภายหลังอาการปวด เช่น การบวมหรือการติดเชื้อ
  • การบวมหรือการติดเชื้อ: เกิดมาจากฟันคุดที่ไม่ได้รับการรักษา แล้วมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน เนื่องจากเวลาที่รับประทานอาหาร แล้วมีเศษอาหารเข้าไปสะสม และเกิดการบูดเน่า อาจจะส่งผลให้มีการอักเสบ บวม หรือเป็นหนอง ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก
  • การเกิดถุงน้ำหรือเกิดซีสต์: ฟันทุกซี่จะมีถุงหุ้มหน่อฟันปกคลุมที่ตัวฟันเอาไว้ ซึ่งถุงหุ้มหน่อฟันเหล่านี้ จะสลายตัวไปเมื่อฟันโผล่พ้นขึ้นมาในช่องปาก แต่ในกรณีของฟันคุดที่ไม่สามารถโผล่พ้นจากขากรรไกรขึ้นมาได้ เยื่อหุ้มหน่อฟันจะไม่มีการสลายตัวไป และอาจจะพัฒนาไปเป็นถุงน้ำ หรือซีสต์ในขากรรไกร ซึ่งอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเอาออก
  • ฟันซี่ข้างเคียงผุ: กรณีที่ฟันคุดขึ้นมาในทิศทาง เอียงหรือเบี้ยวชนฟันซี่ข้างเคียง จะเกิดจุดที่มักมีเศษอาหารเข้าไปติดหรือสะสม และทำความสะอาดได้ยาก หากปล่อยเอาไว้เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เกิดฟันผุได้ และถ้าหากไม่ได้รับการอุดฟันอย่างทันท่วงที อาจทำให้รอยผุทะลุเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันก็เป็นได้
  • เป็นจุดอ่อนของขากรรไกร: ในขากรรไกรที่มีฟันคุดฝังตัวอยู่และไม่ได้รับการรักษา บริเวณดังกล่าวจะเป็นจุดอ่อนที่ง่ายต่อการแตกหัก ในกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุ หรือมีอะไรมากระแทกที่บริเวณขากรรไกรบริเวณนั้น จะส่งผลให้เกิดขากรรไกรหักได้
  • เกิดกลิ่นปาก: เนื่องจากการอักเสบและกลิ่นของเศษอาหารที่สะสม ซึ่งทำความสะอาดไม่ถึงเกิดการบูดเน่า อันจะส่งผลต่อบุคลิกภาพโดยรวม และส่งผลถึงอนามัยของช่องปาก ทั้งนี้ การอักเสบติดเชื้อที่เกิดขึ้นเรื้อรังภายในช่องปาก จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ คืออาจจะทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลง เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อน การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด

การเตรียมตัวสำหรับก่อนการเข้ารับการรักษาด้วย การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการรักษา ดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลสุขภาพโดยรวม:

หากมีข้อจำกัดด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวใดๆ หรือมียาอะไรที่รับประทานอยู่เป็นประจำ ควรจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ประจำตัว ก่อนเข้ารับการผ่าตัดฟันคุด เช่น ต้องมีการหยุดยาละลายลิ่มเลือดที่รับประทานอยู่เป็นประจำหรือไม่ รวมถึงต้องควบคุมความดันให้ได้ก่อนเข้ารับการผ่าตัดฟันคุด เป็นต้น ซึ่งการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมเหล่านี้ จะช่วยให้ การผ่าฟันคุด เป็นไปได้อย่างราบรื่น รวมทั้งมีผลข้างเคียงจากการ ผ่าตัดฟันคุด ให้น้อยที่สุด

2. เตรียมร่างกายให้พร้อม:

ควรนอนหลับพักผ่อนมาให้เต็มที่ หากมียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ (และไม่มีผลต่อ การผ่าฟันคุด) ก็ให้รับประทานมาให้เรียบร้อย ควรรับประทานอาหารรองท้องมาบ้าง แต่ไม่ควรมากจนเกินไป รวมถึงควรจัดการกิจธุระต่างๆให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการผ่าฟันคุด เนื่องจากภายหลังจากการ ผ่าตัดฟันคุด ทันตแพทย์จะแนะนำไม่ให้ออกแรงหนักในวันนั้นๆ ภายหลังการรักษา

3. วางแผนการเดินทางไป-กลับบ้าน:

ภายหลังการ ผ่าตัดฟันคุด คงไม่เป็นการดีนักหากจะต้องขับรถกลับบ้านด้วยตนเอง ( ยกเว้นว่าเป็นกรณีของ การถอนฟันคุด ที่ไม่ยาก) ควรวางแผนการเดินทางกลับจากคลินิก เช่น ใช้บริการรถสาธารณะ หรือมีคนช่วยขับรถกลับบ้านให้ ทั้งนี้ ผู้ที่รับ การผ่าฟันคุด อาจพิจารณาอยู่สังเกตอาการที่คลินิก จนมั่นใจก่อนที่จะเดินทางกลับบ้าน ก็เป็นทางเลือกที่ดี

4. ควรทำความสะอาดช่องปากมาให้เรียบร้อยก่อนการ ผ่าฟันคุด :

เนื่องจากภายหลัง ผ่าฟันคุด คุณหมอจะให้กัดผ้าก๊อซไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และในเย็นวันนั้น อาจจะแปรงฟันได้ค่อนข้างลำบาก การทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดที่สุดก่อนการรักษา จึงเป็นการดี

5. งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์:

เนื่องจากบุหรี่จะส่งผลให้การหายของแผลไม่เป็นปกติ แผลจากการ ผ่าตัดฟันคุด จะหายยาก และมีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้เยอะ ส่วนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนการผ่าตัด จะส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว มีผลทำให้เลือดหยุดช้ากว่าปกติ

การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเข้ารับการ ผ่าฟันคุด จะทำให้มีอัตราการสำเร็จที่สูง มีอาการแทรกซ้อนข้างเคียงน้อย และมีความเจ็บปวดภายหลังทำไม่มาก รวมถึงแผลก็จะหายเร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ในระยะเวลาไม่นาน

ขั้นตอนสำหรับ การผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
ขั้นตอนการ ถอนฟัน-ผ่าฟันคุด หรือ ผ่าตัดฟันคุด

สำหรับวิธีการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่แบบป้ายก่อน เพื่อให้เนื้อเยื่อบริเวณที่จะฉีดยามีอาการชา จากนั้นทันตแพทย์จะฉีดยาชา บริเวณที่จะทำการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด ออก ซึ่งบางครั้งอาจฉีดมากกว่า 1 เข็ม ขึ้นอยู่กับว่าชาเพียงพอแล้วหรือยัง จากนั้นทันตแพทย์จะทำการทดสอบอาการชา หากพบว่าชาเพียงพอจะทำการผ่าฟันคุด โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ

1) การผ่าฟันคุด กรณีที่ฟันคุดฝังอยู่ในกระดูก

ทันตแพทย์ต้องเปิดเหงือก และหาตำแหน่งกระดูก ที่ฟันคุดฝังอยู่ให้เจอ จากนั้นทันตแพทย์จะทำการกรอกระดูก บริเวณที่คลุมฟันคุดอยู่ และทำการตัดแบ่ง ฟันคุด ออกเป็นชิ้นๆ เพื่อให้แผลที่จะนำฟันคุดออกมามีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งจะลดการเจ็บปวดและผลข้างเคียงหลังจากผ่าฟันคุด

2)  การผ่าฟันคุด กรณีที่ฟันคุดขึ้นมาได้บางส่วน

ทันตแพทย์อาจพิจารณาว่า จะต้องมีการกรอกระดูกร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อช่วยนำฟันคุดออกมาซึ่งถ้าไม่มีการกรอกระดูก จะช่วยลดความเจ็บปวด และแผลหลังผ่าตัดจะหายเร็วกว่า แบบที่มีการกรอกระดูกมาก

3)  การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด กรณีที่ฟันคุดขึ้นมาได้เต็มซี่

สำหรับกรณีการ ผ่าตัดฟันคุด กรณีที่ ฟันคุด ซี่นั้นๆสามารถขึ้นมาได้เต็มที่ ทันตแพทย์เฉพาะทางจะเลือกใช้วิธีการ ถอนฟันคุด ออกโดยไม่ต้องมีการผ่ากระดูกหรือเปิดเหงือก ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้ความเจ็บปวดจะน้อยพอๆกับ การถอนฟัน และใช้เวลาเพียงไม่นานในการฟื้นตัว ภายหลังจากทำการรักษาด้วยการ ถอนฟันคุด นั่นเองค่ะ

การดูแลตัวเอง ภายหลังการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
การดูแลตัวภายหลังการ ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด

ส่วนใหญ่แล้วภายหลังการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด มักจะทำให้เกิดแผลขึ้นในช่องปาก บริเวณที่เคยมี ฟันคุด อยู่ ซึ่งการดูแลทำความสะอาดภายหลังการ ผ่าตัดฟันคุด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงระยะ ดังนี้ คือ

ระยะที่-1: การดูแลแผลภายหลัง การผ่าฟันคุด เสร็จใหม่ๆ

ภายหลัง การผ่าฟันคุด เสร็จใหม่ๆในวันแรก จะยังคงมีอาการชาตกค้างอยู่ประมาณ 1-2ชั่วโมง หลังจากหมดฤทธิ์ของยาชา จะเริ่มมีอาการเจ็บแผลที่ผ่าตัด ข้อควรปฏิบัติในการดูแลตัวเองมีดังนี้

  1. สังเกตบริเวณรอยแผลผ่าตัด: อาจพบมีไหมสีดำ หรือไหมสีขาวเย็บอยู่ที่บริเวณปากแผล และบริเวณรอบๆแผลอาจยังมีเลือดซึมๆอยู่ได้บ้าง ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดเป็นลิ่มๆ หรือมีเลือดออกเป็นปริมาณมาก หรือไหมที่เย็บไว้หลุดออกจากแผล ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที
  2. หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนแผลโดยตรง: จากกิจกรรมต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณนั้นโดยตรง, หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารจุดที่เพิ่ง ผ่าฟันคุด มา เป็นต้น
  3. สามารถบ้วนน้ำเกลือเบาๆได้ภายหลัง การผ่าฟันคุด เสร็จแล้ว 24 ชั่วโมง: ควรหลีกเลี่ยงน้ำยาบ้วนปากทุกชนิด และหลีกเลี่ยงการบ้วนหรือกลั้วด้วยความรุนแรง เพราะอาจทำให้แผลเกิดมีเลือดออกมาได้อีก โดยน้ำเกลือสามารถผสมเองได้ ในอัตราส่วน เกลือแกง 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 200 มิลลิลิตร หรือจะใช้น้ำเกลือที่มีขายตามร้านขายยาก็ได้เช่นกัน ในบางกรณี ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำยาคลอเฮ็กซิดีน เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  4. ไม่ใช้สิ่งของหรือนิ้วแคะเศษอาหารออกจากแผลถอนฟัน: ในวันถัดจากวันที่ ผ่าฟันคุด หากมีเศษอาหารติดในแผลผ่าฟันคุด ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันหรือนิ้วแคะออก เพราะจะทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ และมีเลือดออกได้ อีกทั้งยังเป็นการรบกวนการหายของแผลตามปกติอีกด้วย ควรใช้วิธีการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เพื่อนำเศษอาหารออกมาจะดีกว่า
  5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการใช้หลอดดูด: การออกแรงดูดจะทำให้การหายของแผลไม่เป็นไปตามปกติ เนื่องจากจะมีการรบกวนลิ่มเลือดที่ก่อตัวมาปิดปากแผล การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงดูดใน 24 ชั่วโมงแรกภายหลังการผ่าฟันคุด จึงเป็นคำแนะนำที่ทันตแพทย์มักบอกเสมอ

ระยะที่-2: การทำความสะอาดหลังจากผ่าน การผ่าฟันคุด วันแรกไปแล้ว

เมื่อผ่าน 24 ชั่วโมงแรกไปแล้ว เลือดควรจะหยุดดี และแผลอาจจะยังคงมีการปวดอยู่บ้าง ในบางราย อาจเริ่มมีการบวมของแผลและใบหน้าร่วมด้วย วิธีการดูแลตัวเองในวันที่ 2 มีดังนี้

  1. ทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำเกลือ: เพื่อช่วยทำความสะอาดในปากและช่วยลดการอักเสบของแผลผ่าฟันคุด โดยจะใช้น้ำเกลือที่ผสมเอง หรือน้ำเกลือที่มีขายตามร้านขายยาก็ได้เช่นเดียวกัน
  2. กลั้วด้วยน้ำเกลือเบาๆ ให้ทั่วทั้งปาก: ใช้เวลากลั้วประมาณ 30 วินาที – 1 นาที เพื่อให้เศษอาหารที่อาจตกค้างตามแผลหลุดออกมา อีกทั้งยังช่วยให้การหายของแผลดีขึ้นด้วย
  3. อาจกลั้วได้บ่อยครั้ง: น้ำเกลือสามารถบ้วนได้ทุก 2 ชั่วโมง หรือบ้วนได้หลังมื้ออาหาร รวมถึงก่อนเข้านอน วิธีการนี้ จะช่วยให้ปากสะอาดและแผลหายเร็ว
  4. อาจใช้กระบอกฉีดช่วยทำความสะอาดแผล: อาจใช้เป็นน้ำเกลืออุ่นๆ ฉีดเข้าไปในบริเวณใกล้ๆแผลเพื่อช่วยทำความสะอาดช่องปาก แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ปากกระบอกฉีดโดนถูกแผลโดยตรง เนื่องจากอาจไปทำให้ลิ่มเลือดที่มาปิดแผลโดนฉีดออกไป เกิดแผลแยกได้ ทั้งนี้ ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนการตัดสินใจใช้กระบอกฉีดน้ำเกลือเพื่อล้างแผล

ระยะที่-3: การดูแลตนเองภายหลัง การผ่าฟันคุด จนกว่าจะถึงกำหนดนัดตัดไหม

หลังจากผ่านไปประมาณ 2-3วัน แผลมักจะมีอาการดีขึ้นมาก อาการบวมควรจะค่อยๆลดลง อาการเจ็บปวดควรจะดีขึ้นมาก แต่ทั้งนี้ มีข้อควรปฏิบัติและข้อควรสังเกต ภายหลัง การผ่าฟันคุด ดังนี้

  1. หากมีเศษอาหารเข้าไปติดในบริเวณแผลผ่าฟันคุดที่ยังคงเป็นรูอยู่: เบื้องต้นให้พยายามบ้วนน้ำเพื่อเอาเศษอาหารออก แต่ถ้าไม่สามารถเอาเศษอาหารออกได้จริงๆ ไม่จำเป็นต้องเอาไม้จิ้มฟันหรือสิ่งแหลมคมไปงัดแงะบริเวณแผล เนื่องจากแผลถอนฟันคุด หรือแผลที่เกิดจากการผ่าฟันคุด จะยังคงหายได้ตามปกติ แม้จะมีเศษอาหารติดอยู่ แต่ถ้าหากไปเขี่ยหรือแคะจนเกิดการอักเสบบริเวณแผล จะทำให้การหายของแผลล่าช้าลงได้
  2. อาจสังเกตเห็นชิ้นเนื้อเยื่อเหงือก ต้องแยกให้ออกว่าไม่ใช่เศษอาหาร: เนื้อเยื่อของเหงือกที่กำลังจะหาย จะเป็นชิ้นๆ มีลักษณะเป็นสีขาวอมเทา หรือสีซีดๆ และไม่สามารถดึงหรือเขี่ยออกจากแผลได้ ต้องระวังว่าชิ้นเนื้อนั้น ไม่ใช่เศษอาหาร การทำความสะอาดแผลที่รุนแรง หรือการพยายามเขี่ยเอาเศษชิ้นเนื้อออก จะทำให้เกิดความเจ็บปวด และถ้าหากชิ้นเนื้อดังกล่าวหลุดออกมา จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าฟันคุดได้
  3. ยังคงต้องรับประทานอาหารอ่อนอยู่: ถึงแม้จะพ้นช่วง 24 ชั่วโมงแรกไปแล้ว ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ทานอาหารกึ่งอ่อนอยู่ จนกว่าแผลจะหายสนิทจริงๆ หรือเมื่อถึงเวลาตัดไหม การหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งมาก เหนียว กรุบกรอบ หรือรสจัด จะช่วยให้การหายของแผลเป็นไปได้ตามปกติ และจะช่วยไม่ให้เกิดการอักเสบบริเวณแผลที่มีการผ่าฟันคุด ไป
  4. อาจมีสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณแผลได้: เช่นการจับแผลด้วยมือที่สกปรก หรือการไม่แปรงฟันทำความสะอาดบริเวณแผล รวมถึงการปล่อยให้มีเศษอาหารเป็นจำนวนมากบูดเน่าบริเวณแผลผ่าฟันคุด ควรระมัดระวังให้มาก
  5. อาการที่สมควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์: อาการดังต่อไปนี้ หากเกิดขึ้นมา ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์
    • ยังคงมีเลือดออกอยู่ ภายหลังการรักษาเกิน 1-2 วัน
    • มีหนองบริเวณแผล
    • มีอาการกลืนอาหารลำบาก หรือหายใจลำบาก
    • มีไข้
    • เกิดการบวมมากขึ้น หลังจากผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว 2-3 วัน ที่งที่ช่วงแรกไม่มีอาการบวม
    • มีเลือดหรือหนองปนมากับน้ำมูก
    • ปวดแผลมาก และไม่หายแม้หลังจากผ่าฟันคุดไปแล้วเกิน 48 ชั่วโมง
    • มีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจไม่อิ่ม หลังผ่าฟันคุดไปแล้ว 3 วัน

หากมีการสังเกตอาการตนเอง และปฏิบัติตนได้ตามวิธีดังกล่าว แผลที่เกิดจาก การผ่าฟันคุด จะหายได้อย่างเป็นปกติ รวมถึงจะมีผลข้างเคียงจากการผ่าฟันคุดที่ไม่มาก อีกทั้งยังจะทำให้สุขภาพช่องปากและการดำรงชีวิตกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วด้วยค่ะ

ข้อควรปฏิบัติภายหลัง “ผ่าฟันคุด”

ภายหลังการ ผ่าฟันคุด (ผ่าตัดฟันคุด) หรือ ถอนฟันคุด มีข้อควรปฏิบัติ เพื่อดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้

1. หลัง การผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด เสร็จใหม่ๆ มักจะมีเลือดออกมาจากแผล

ภายหลังจากการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด เสร็จใหม่ๆ ส่วนมากมักจะมีเลือดออกมาจากแผล ผ่าตัดฟันคุด แต่จะยังไม่มีความรู้สึกเจ็บ เพราะยาชายังคงไม่หมดฤทธิ์ ในกรณีนี้ควรจะกลืนเลือดและน้ำลายเข้าไป ไม่ควรอมหรือบ้วนทิ้ง เนื่องจากจะทำให้เลือดออกมามากและนานกว่าปกติ

2. ควรกัดผ้าก๊อซให้แน่นพอประมาณ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

ระหว่างนี้ไม่ควรพูดหรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ต้องออกแรงมาก รวมถึงยังไม่ควรนอนราบ เพราะเวลาหลับบางครั้งอาจมีน้ำลายและเลือดไหลออกมาจากปากเนื่องจากอาการชา อันจะส่งผลให้เลือดออกมากขึ้นและหยุดไหลช้าลง

3. อาการชา จะยังคงอยู่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังจาก การผ่าฟันคุด หรือ ผ่าตัดฟันคุด เสร็จ

ในระหว่างนี้ ควรระมัดระวังไม่ไปกัดแก้ม กัดริมฝีปาก ดูดแผลหรือเคี้ยวอาหารโดนแผล เนื่องจากหากหมดฤทธิ์ยาชาจะทำให้เกิดความเจ็บปวดได้

4. ควรรับประทานอาหารอ่อน รสไม่จัด รวมถึงไม่ร้อนหรือ เย็นจนเกินไป

อาหารที่แนะนำ ได้แก่ ข้าวต้ม โจ๊ก โยเกิร์ต หรือ ไข่ตุ๋น โดยมาก ควรรับประทานอาหาร ที่ไม่แข็งมาก ประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้น สามารถรับประทานอาหาร ที่มีความแข็งมากขึ้นได้แต่อย่างไรก็ดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งมากๆ เช่น ขนมกรุบกรอบ แคบหมู เอ็นข้อไก่ทอด เป็นเวลา ประมาณ 5-7 วัน หรือ จนกว่าจะตัดไหม

5. หลีกเลี่ยงการดูดน้ำ หรือ นมด้วยหลอดดูด หลังจากผ่าฟันคุด (ผ่าตัดฟันคุด) หรือ ถอนฟันคุด เสร็จใหม่ๆ

เพราะแรงดูดกระตุ้นให้เลือดออกมาจากแผลมากขึ้น หากต้องการดื่มน้ำ ควรใช้วิธีดื่ม หรือ จับจากแก้ว และ ไม่ควรดื่มน้ำที่มีอุณหภูมิสูง หรือร้อนจัด เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคือง ของแผลที่เกิดจาก การผ่าฟันคุด ได้

6. ไม่ควรอมน้ำแข็ง รวมถึงลูกอมชนิดต่างๆ

เพราะการอม จะส่งผลคล้ายๆกับ การดูด ซึ่งจะทำให้ เลือดออกมามากขึ้น แต่สามารถใช้ผ้าห่อน้ำแข็ง ประคบบริเวณแผลจาก การผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด ได้ เพื่อลดอาการบวมภายหลังการผ่า

7. หลัง การผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด ไม่ควรออกแรงทำกิจกรรมต่างๆ หนักเกินไป

ภายหลัง การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด สามารถทำงานต่างๆ ได้ตามปกติ เช่น อ่านหนังสือเล่นคอมพิวเตอร์ เดิน แต่หากไปกิจกรรม ที่ต้องออกแรงมากๆ เช่น ออกกำลังกาย ยกของหนัก ขุดดิน หรือ แม้กระทั่งการวิ่ง ควรจะหลีกเลี่ยงไปก่อน เพราะการออกแรงมาก จะทำให้หัวใจเต้นแรง เลือดสูบฉีดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ แผลจากการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด มีเลือดออกมาอีกได้

8. ในวันแรกที่ทำ การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด เสร็จ ไม่ควรบ้วนปากด้วยน้ำยาใดๆ ทั้งสิ้น

หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปาก ในวันแรกหลังจากที่ทำ การผ่าตัดฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด และ ไม่ควรกลัวปากแรงเกินไป เพราะจะทำให้ ลิ่มเลือดที่ปิดปากแผล หลุดออกมา และ ทำให้มีเลือดออกได้

9. สามารถแปรงฟันในคืนนั้นได้

ภายหลังการ ผ่าตัดฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด ในคืนนั้น สามารถแปรงฟันได้ปกติ แต่ควรระมัดระวัง และ หลีกเลี่ยงบริเวณจุดที่เพิ่งทำ การผ่าฟันคุด หรือมี การถอนฟันคุด มาทั้งนี้เนื่องจาก ถ้าไม่แปรงฟันในบริเวณอื่นๆ จะส่งผลให้ช่องปากมี แบคทีเรียสะสมอยู่มาก ซึ่งอาจทำให้ แผลเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ และ แผลที่เกิดจากการ ผ่าตัดฟันคุด หายช้า

10. ในวันต่อๆมา หากทานอาหารแล้วมีเศษอาหารตกลงไปในแผลผ่าฟันคุด ให้บ้วนน้ำ

เพื่อให้เศษอาหาร หลุดออกมาจากแผล เพราะหากมีเศษอาหารสะสมอยู่ จะทำให้แผลจากการ ผ่าตัดฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด เกิดการอักเสบ และติดเชื้อได้ แต่ไม่ควรใช้ ไม้จิ้มฟัน เพื่อช่วยงัดแงะเศษอาหาร ออกจากแผลผ่าฟันคุด เพราะจะทำให้ เกิดการระคายเคือง และ รบกวนการหายของแผล

11. เมื่อกลับมาบ้านหลังจาก ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด เสร็จแล้ว ควรรับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่ง

ภายหลังจาก ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด เสร็จ เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ควรจะรับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่ง ได้แก่ ยาแก้ปวด และ ยาแก้อักเสบ โดยยาแก้ปวดนั้น สามารถรับประทานได้ทันที ตั้งแต่ยาชายังไม่หมดฤทธิ์ เพื่อให้แผลไม่ปวด และรับประทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง หากมีอาการปวด ส่วนยาแก้อักเสบ ให้รับประทานตามทันตแพทย์สั่งจนหมด เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดเชื้อดื้อยาในอนาคตได้

12. ในกรณีที่มีการกรอกระดูก อาจสามารถพบการบวมที่บริเวณใบหน้าได้

ซึ่งอาการบวมนี้มักจะหายไปในเวลาประมาณ 5-7 วัน ในบางกรณีอาจพบมีรอยเขียวช้ำ ที่บริเวณแก้มด้านที่ทำการผ่าฟันคุดไป โดยรอยเขียวช้ำดังกล่าวนี้ จะค่อยๆจางหายไปได้เองเช่นกัน

13. หากพบว่ามีความผิดปกติใดๆ ควรกลับไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด

เมื่อพบอาการผิดปกติใดๆ เช่น เลือดออกมาก หรือ ออกมาต่อเนื่องมากกว่า 1 วัน แนะนำว่า ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ ที่ให้รักษาโดยเร็วที่สุด

14. กลับมาตัดไหม ตามระยะเวลาที่ทันตแพทย์นัด

ภายหลัง การผ่าฟันคุด หรือ ผ่าตัดฟันคุด ส่วนมากทันตแพทย์จะนัด ให้กลับมาตัดไหม ประมาณ 5-7 วัน ซึ่งการทิ้งไหมที่ใช้เย็บแผลไว้นานเกินไป อาจทำให้มีแบคทีเรีย ไปติดเชื้อที่บริเวณไหมเย็บได้

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับการ ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด

ผ่าฟันคุด-คืออะไร?

ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด (Wisdom tooth extraction) คือ การเอาฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งเป็นซี่สุดท้าย ในขากรรไกรที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาในช่องปากได้ออก โดยฟันซี่ดังกล่าว อาจฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกร หรืออยู่ในเหงือก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น ปวดหรือบวมได้

ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด ราคา เท่าไหร่?

สำหรับค่าบริการ การผ่าฟันคุด และ การถอนฟันคุด ที่ SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์ ซึ่งให้บริการ โดยทีมทันตแพทย์ศัลยกรรมช่องปากเฉพาะทาง จะมีอัตราค่าบริการดังนี้ค่ะ ถอนฟันคุด ราคา ซี่ละ 1,000 – 2,000 บาท และ ผ่าฟันคุด ราคา ซี่ละ 3,000 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย ของแต่ละเคส ทั้งนี้ทันตแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ประเมินและแจ้งราคาก่อนทำการรักษานะคะ และสามารถใช้สิทธิประกันสังคมหักลดได้ 900 บาทต่อปีค่ะ

ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด เจ็บไหม?

สำหรับการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่แบบป้ายก่อน เพื่อให้เนื้อเยื่อบริเวณที่จะฉีดยามีอาการชา จากนั้นแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณที่จะผ่าฟันคุด และเมื่อยาชาเริ่มออกฤทธิ์แล้ว เราก็จะแทบไม่รู้สึกอะไรเลย และถ้าการผ่าฟันคุด ทำโดยทีมทันตแพทย์ศัลยกรรมช่องปากเฉพาะทาง ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การวางแผนการรักษาสูง มีความรวดเร็วและความแม่นยำในการผ่าตัด แผลก็จะเล็ก และหายได้อย่างรวดเร็วค่ะ

ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด กี่วันหาย?

ระยะเวลาต่อคำถามที่ว่าผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดกี่วันหายฦ ส่วนใหญ่ร่างกายจะยังคงมีความเจ็บปวดภายหลังผ่าฟันคุดประมาณ 2-3ชั่วโมง หลังหมดฤทธิ์ยาชา คนส่วนใหญ่อาจจะยังรู้สึกเจ็บได้ประมาณ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุด และอาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 2-3 วัน ภายหลังการผ่าหรือถอนฟันคุด สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัว จนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ คือประมาณ 3-4วัน หรือไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ ในกรณีที่มีการกรอกระดูกอาจต้องรอประมาณ 1-2เดือน แผลผ่าฟันคุดหรือรอยแยกบริเวณเหงือก จึงกลับมาปิดสนิท กลายเป็นชิ้นเดียวกับเนื้อเยื่อในช่องปาก

ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด สามารถใช้สิทธิทำฟันประกันสังคมได้หรือไม่?

ได้ค่ะ สำหรับการผ่าฟันคุดหรือการถอนฟันคุด ที่ SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์ สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ 900 บาท/ปี ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย กรุณาพกบัตรประชาชนมาแสดง สำหรับการใช้สิทธิทำฟันประกันสังคมด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง: รักษารากฟัน

ทันตแพทย์ที่ให้บริการ ผ่าฟันคุด

ทันตแพทย์เฉพาะทางของเรา ที่ให้บริการ ผ่าฟันคุด และ ถอนฟันคุด

ทพ.บัณฑิต วิเศษมงคลชัย (หมอบัณฑิต)

สาขา : ศัลยกรรมช่องปาก

ทพญ.ฉัตรชญา พึ่งผูก (หมอตุ๊ก)

สาขา : ศัลยกรรมช่องปาก/ทันตกรรมจัดฟัน/ทันตกรรมรากเทียม

ทพญ.ภารดี คีรีวรรณ (หมอโดนัท)

สาขา : ศัลยกรรมช่องปาก

ค่าบริการ ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด

อัตราค่าบริการ การผ่าฟันคุดสามารถดูได้ในตารางด้านล่างนี้ค่ะ

บริการทันตกรรมเฉพาะทาง ค่าบริการ (บาท)
ถอนฟันคุด ราคา ซี่ละ 1,000 – 2,000
ผ่าฟันคุด ราคา ซี่ละ 3,000 – 5,000
ตาราง: ค่าบริการ ถอนฟันคุด-ผ่าฟันคุด

สามารถใช้สิทธิทำฟันประกันสังคมหักลดได้ 900 บาทต่อปีทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่าย สำหรับการใช้สิทธิประกันสังคม-ทันตกรรมซึ่งได้แก่ การขูดหินปูน การอุดฟัน การถอนฟัน และ การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด กรุณาพกบัตรประชาชนมาด้วยสำหรับการใช้สิทธินะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

เวลาทำการ

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
เวลาทำการ คลินิกทันตกรรม SmileDC

จันทร์-เสาร์ 10:00 – 19:00 น.
อาทิตย์ 10:00 – 12:00 น.

แผนที่

SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์ ตั้งอยู่ในโครงการดิไอเฟล บนถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก เขตสะพานสูง/รามคำแหง ฝั่งตรงข้ามวัดลาดบัวขาว ใกล้กับสุเหร่าซีรอ (ซอยมิสทีน รามคำแหง) นะคะ สามารถดูแผนที่ และกดปุ่มด้านล่างเพื่อนำทางด้วย Google Maps มายังคลินิกของเราได้เลยค่ะ

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้
แผนที่ SmileDC คลินิกทันตกรรมสมายล์

สอบถามนัดหมาย

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

มีฟันคุด ไม่เอาออกได้มั๊ย?

มีฟันคุด ในช่องปาก แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น ไม่ได้ไปผ่าฟันคุด ปล่อยปละละเลย หรือ ทิ้งเอาไว้ภายในช่องปาก อาจจะส่งผลเสียได้ค่ะ หลายๆคนอาจจะมีคำถามในใจว่า ถ้าเรา มีฟันคุด แล้วไม่ผ่าหรือ ถอนฟันคุดออกได้มั๊ย? ตามมาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยค่ะ…

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

ผ่าฟันคุดกี่วันหาย? ผ่าฟันคุดเจ็บไหม?

ภายหลังจากการผ่าฟันคุด คำถามที่คนทั่วไปอยากรู้มากที่สุดคือ ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ หรือ ผ่าฟันคุดกี่วันหาย จึงจะสามารถ…

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

ฟันผุ ปัญหาของช่องปาก

ฟันผุ คือ ภาวะของเนื้อฟันที่มีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป ฟันผุ เกิดจาก การสูญเสียแร่ธาตุที่มีลักษณะแข็งของตัวฟัน มีสาเหตุหลักมาจาก…

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

เหงือกบวม เหงือกอักเสบ สาเหตุและวิธีรักษา

เหงือกบวม เหงือกอักเสบ คือภาวะที่เหงือกมีลักษณะผิดไปจากปกติ อาจมีอาการเจ็บปวด มีเลือดออกตามร่องเหงือก หรือมี…

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

มารู้จัก รากฟันเทียม กันเถอะ !!!

ผลจากการสูญเสียฟันธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้การบดเคี้ยวอาหารด้อยลง มีปัญหาการพูดการออกเสียง แต่ยังส่งผลถึงการ…

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

ทำไมต้องรักษารากฟัน!?

สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมต้องรักษารากฟัน มีเหตุผลและความจำมั๊ย มีขั้นตอนอย่างไร พร้อมพบกับ 5 เหตุผล โดย ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน เพื่อช่วยตัดสินใจว่า ทำไมจึงควร…

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

รักษารากฟันเจ็บไหม-ครบทุกเรื่องที่สงสัย?

รักษารากฟันเจ็บไหม? เป็นคำถามที่หลายๆคนอยากจะรู้ เพื่อช่วยประเมินก่อนการตัดสินใจทำการรักษารากฟัน ถ้าอยากรู้แล้ว เรามาพบกับคำตอบสำหรับคำถามนี้ไปพร้อมๆกันได้ในโพสต์นี้กันเลยค่ะ

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

ทันตแพทย์รักษารากฟัน แตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร?!

หลายๆคนอาจกำลังสงสัยว่า ทันตแพทย์รักษารากฟัน มีความแตกต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร มาเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างทันตแพทย์รักษารากฟันกับ…

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะกินข้าวได้

ทำฟัน ประกันสังคม ไม่ต้องสำรองจ่าย ฟรี 900 บาท รักษาอะไรได้บ้าง?!

ทำฟัน ประกันสังคม คือ สิทธิที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 จะสามารถใช้สิทธิทางทันตกรรม สำหรับบริการ ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และถอน/ผ่าฟันคุด ได้ฟรี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการรับบริการ…

หลังผ่าฟันคุด เคี้ยวได้ไหม

นอกจากนี้หลังผ่าฟันคุดแล้ว ทันตแพทย์จะห้ามกินอาหารที่มีลักษณะแข็ง ต้องใช้การเคี้ยวมาก ๆ และไม่ควรใช้ฟันข้างที่ผ่าตัดในการเคี้ยว เพราะอาจทำให้เกิดแผลระคายเคือง หรือรบกวนการหายดีของบาดแผลได้ และควรงดรับประทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด เพราะจะทำให้แสบแผล และเกิดการระคายเคืองที่บาดแผลได้

กินข้าวก่อนไปผ่าฟันคุดได้ไหม

ก่อนการถอนหรือผ่าฟันคุด ก่อนการผ่าฟันคุด รับประทานอาหารให้เรียบร้อยพออิ่มท้อง แปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากให้พร้อมก่อนผ่าฟันคุด งดการสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการหยุดของเลือด และทำให้แผลผ่าฟันคุดอาจหายช้าได้

ถอนฟัน กินอาหารอ่อนกี่วัน

9. รับประทานอาหารอ่อน นิ่ม 5 – 7 วัน เลี่ยงอาหารรสจัด ร้อนจัด เย็นจัด และของหยาบแข็ง 10.หากมีอาการ หรือรู้สึกผิดปกติ สามารถติดต่อโรงพยาบาลได้ทันที 11. หากได้รับการเย็บแผลให้กลับมาตัดไหม ภายหลังจากการถอนฟัน หรือทำผ่าตัดแล้ว ประมาณ 7 – 14 วัน

ผ่าฟันคุดต้องกินโจ๊กกี่วัน

หลังจากผ่าฟันคุด คุณควรรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ เคี้ยวง่าย มีเนื้อนิ่ม ใน 1-2 วันแรก เช่น โจ๊ก ซุป ข้าวต้ม น้ำผลไม้ โยเกิร์ต