ประจําเดือนจะมาอีกทีกี่วัน

นับวันไข่ตกเป็นการคำนวณเวลาที่รังไข่จะปล่อยไข่ที่พร้อมปฏิสนธิลงไปยังมดลูกเพื่อรอการปฏิสนธิจากอสุจิของเพศชาย การนับวันไข่ตกเป็นเรื่องที่ควรรู้และอาจมีประโยชน์มาก เพราะการนับวันไข่ตกอาจช่วยให้ผู้หญิงให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เตรียมตัวรับมือกับรอบเดือนที่จะมาถึง และยังอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำหรับคู่รักที่ต้องการจะมีลูกน้อย

อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งก็มีทฤษฎีเกี่ยวกับการนับวันตกไข่ที่หลายคนอาจนำไปใช้โดยที่ไม่ทราบดีพอ หรือไม่ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อย่างทฤษฎีเรื่องการนับ หน้า 7 หลัง 7 ที่หลายคนเชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์กันในช่วงนี้จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แม้ไม่ได้สวมถุงยางหรือใช้วิธีป้องกันรูปแบบอื่นก็ตาม ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรสามารถติดตามได้จากบทความนี้

ประจําเดือนจะมาอีกทีกี่วัน

วิธีนับวันไข่ตก

ตามทฤษฎีแล้วการตกไข่จะเกิดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง และประจำเดือนจะมาทุก ๆ 28 วัน ถ้าหากประจำเดือนมาเป็นปกติและมาตรงเวลา การนับวันไข่ตกก็จะมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การนับวันไข่ตกจะเริ่มนับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 เมื่อถึงวันที่ 14 ก็จะเป็นวันที่ไข่ตกลงมาสู่ท่อนำไข่ แล้วเคลื่อนไปยังมดลูก รอเวลาพร้อมที่จะปฏิสนธิเพื่อตั้งครรภ์ ซึ่งการนับวันไข่ตกอาจมีประโยชน์ ดังนี้

  • เตรียมรับมือกับประจำเดือน
    เมื่อไข่ตกลงมาจากรังไข่ และไม่มีการปฏิสนธิในช่วงไข่ตก ไข่ใบนั้นก็จะฝ่อและขับออกมาในเป็นประจำเดือนหลังจากวันไข่ตกประมาณ 14 วัน
  • ต้องการตั้งครรภ์
    ในกรณีที่ต้องการมีลูก ว่าที่คุณพ่อคุณแม่อาจมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันไข่ตกราว 1-2 วัน โดยตัวอสุจิจากฝ่ายชายจะเข้าไปรอและมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2 วัน ซึ่งจะตรงกับช่วงไข่ตกพอดี
  • ป้องกันการตั้งครรภ์
    หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า หน้า 7 หลัง 7 และมักเข้าใจกันว่าเป็นช่วงที่มีเพศสัมพันธ์กันแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ โดยทฤษฎีหน้า 7 หลัง 7 นั้นหมายถึงช่วง 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือนวันแรก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการใช้ทฤษฎีนี่เป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมอย่างมาก เนื่องจากประจำเดือนและวันไข่ตกของแต่ละคนไม่เท่ากัน รวมทั้งอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้วันที่ประจำเดือนมาคลาดเคลื่อนไปจากเดิม ดังนั้น จึงควรใช้ถุงยางอนามัย หรือวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ในรูปแบบอื่น ๆ หรือนำมาใช้ร่วมกับการนับวันไข่ตกเพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ

สัญญาณที่บ่งบอกถึงการตกไข่

ช่วงการตกไข่ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการ ดังนี้

  • มีเมือกหรือตกขาวบริเวณปากมดลูก
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
  • มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น
  • เจ็บคัดเต้านม
  • ปวดท้องน้อยข้างเดียว

อย่างไรก็ตาม สัญญาณการตกไข่เหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยเพื่อให้สังเกตตัวเองมากยิ่งขึ้น แต่ไม่สามารถชี้ชัดถึงการตกไข่ได้ และในบางคนอาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ หากต้องการทราบแน่ชัดอาจใช้ตัวช่วยอย่างชุดตรวจการตกไข่ที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาหรืออุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป นอกจากนี้ ยังมีเว็บไซต์และแอพลิเคชั่นสำหรับการนับวันตกไข่ ซึ่งจะช่วยให้นับวันตกไข่ได้ง่ายขึ้น

รอบเดือนของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ปกติรอบเดือนจะมีระยะเวลา 25-38 วัน แต่อย่างไรก็ตาม หากได้รับผลกระทบทางร่างกายหรือจิตใจ ก็อาจส่งผลให้รอบเดือนคลาดเคลื่อนไปได้

หรือต่อให้ไม่มีสาเหตุใดๆรอบเดือนก็มีโอกาสคลาดเคลื่อนไปบ้างได้เช่นกัน จึงไม่จำเป็นต้องกังวล แต่หากเลยกำหนดเกินกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป อาจเป็นอาการประจำเดือนมาช้า

แต่ก็เกิดได้ตามปกติถ้าเพิ่งเริ่มมีประจำเดือนและรอบเดือนยังไม่คงที่ ซึ่งรอบเดือนจะมีความคงที่ขึ้นตามอายุ

รอบเดือนไม่คงที่ หรือ รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ

มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ไม่สมดุล เกิดขึ้นจากความเครียด การลดน้ำหนักอย่างหักโหม การนอนหลับไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารไม่สมดุล

และใช้ชีวิตอย่างไม่เป็นระบบ ในบางกรณีการมีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ มีสาเหตุมาจากปัญหาของรังไข่และมดลูก ถ้ามีไข่ตกทุกเดือนก็ไม่จำเป็นต้องกังวล แต่หากไม่มีไข่ตกก็ควรระวัง

แนะนำให้ปรึกษาสูตินารีแพทย์ ซึ่งหากปล่อยให้อาการไข่ไม่ตกเรื้อรังจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นหมันและโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิต (Lifestyle-related diseases)

ประจําเดือนจะมาอีกทีกี่วัน

ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะมามากเกินไป มากระปริดกระปรอย มาขาดๆ หายๆ หรือการปวดท้องประจำเดือนที่มากจนต้องหยุดงาน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย จึงควรรีบปรึกษาแพทย์

  1. ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น คืออายุประมาณ 12-13 ปี แต่ก็เคยพบว่าเด็กผู้หญิงอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนแล้ว และในปัจจุบันเด็กผู้หญิงมีแนวโน้วการมีประจำเดือนในอายุที่น้อยลง
  2. ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีประจำเดือนเร็วคือ...โรคอ้วน
  3. ในช่วง 2 ปีแรกของการมีประจำเดือน มักจะมีมาไม่สม่ำเสมอ เพราะการผลิตฮอร์โมนยังไม่สมดุล
  4. โดยปกติรอบเดือนจะมีทุกๆ 28 วัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุด้วย ถ้าอายุยังไม่ถึง 21 ปี มักจะมีระยะห่างประมาณ 33 วัน พออายุ 21 ปีขึ้นไปมักจะมีระยะห่าง 28 วัน และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีระยะห่างลดลง คือประมาณ 26 วัน
  5. ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ยคือ 6 วัน โดยพบว่า มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน
  6. หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก
  7. ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน
  8. หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%
  9. สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก มักเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป ทำให้กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือนมากตามไปด้วยนั่นเอง
  10. ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาฮอร์โมน การให้เคมีบำบัด การใส่ห่วงคุมกำเนิด ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด หรือการกินยาคุมกำเนิด
  11. ประจำเดือนมามากและหลายวันเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ อาการที่เด่นชัดคือ เพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น
  12. ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนเอสโตเจนต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต การได้รับฮอร์โมนจะช่วยได้
  13. เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป หรือใกล้เข้าวัยทอง แทนที่ประจำเดือนจะมาน้อยลงกลับมามากกว่าปกติซะอีก
  14. อาการปวดประจำเดือนเกิดจากมดลูกมีการบีบตัวและคลายตัวอย่างแรงเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกออกมา
  15. การปวดท้องอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวัน เมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการปวดจะดีขึ้นได้เอง
  16. ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนมาก หรือประจำเดือนมาผิดปกติบ่อยๆ อาจจะมีเนื้องอกในมดลูก และเป็นหมัน
  17. ผู้หญิงราว 10-15% จะมีอาการปวดประจำเดือนมากจนถึงขั้นต้องหยุดงาน
  18. ยาที่นิยมใช้บรรเทาปวดประจำเดือนได้แก่ aspirin, ibuprofen
  19. ความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อยๆ คือ ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา กับประจำเดือนมามากเกินไป
  20. หากประจำเดือนมามากเกินไป อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ จึงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจดูช่องคลอด ปากมดลูก ว่ามีก้อน แผล หรือติ่งเนื้อหรือไม่ ทำการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อตรวจว่าติดเชื้อหรือมีการอักเสบหรือไม่ แพทย์จะคลำตรวจมดลูกและรังไข่ว่ามีขนาดปกติหรือไม่ กดแล้วเจ็บไหม หรือพบก้อนผิดปกติหรือเปล่า
เพราะมดลูกมีความเกี่ยวโยงกับประจำเดือน หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่มดลูก ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ประจำเดือนก็จะผิดปกติไปด้วย ดังนั้น หากมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมาๆ หายๆ รวมถึงอาการปวดประจำเดือนที่มากขึ้น หรือมีตกขาวมามาก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด