การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีการจัดเก็บได้กี่วิธี

ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะฟุ่มเฟือย และสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เป็นต้น เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย โดยสรุปการจําแนกเป็นกลุ่มสินค้าและบริการ ดังนี้

Show

พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กันยายน 2560 เป็นการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของระบบกฎหมายภาษีสรรพสามิตและแนวทางการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส เป็นสากล และลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ส่งผลให้กฎหมายภาษีสรรพสามิตสามารถแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้น ในการบริหารการจัดเก็บภาษีได้ทั้งระบบ และทําให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้กรมสรรพสามิตได้ออกกฎหมายลําดับรองประมาณ 80 ฉบับ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่บท โดยเฉพาะอัตรา การจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการต่าง ๆ            วิธีการคำนวณ ภาษีสรรพสามิตตามปริมาณ = ปริมาณ x ภาษีสรรพสามิต = 30,000 x 3.685 = 110,550.00 บาท ภาษีสรรพสามิตตามมูลค่า = ปริมาณ X ภาษีสรรพสามิต = 30,0000 X8.50X42/100 = 107100.00 บาท เพราะฉะนั้นจะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 110,550.00 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มพื่อกระทรวงมหาดไทย10% ของค่าภาษี = 11,055.00 บาท รวมต้องชำระภาษี = 121,605.00 บาท มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่าสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้า หรือการให้บริการเข้าข่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิต จึงไม่ได้รวมคำนวณภาษีสรรพสามิตไว้ในต้นทุนสินค้าหรือในกรณีนำเข้าสินค้าไม่ทราบว่าสินค้าที่นำเข้าต้องเสียภาษีสรรพสามิต ทำให้ต้องเสียค่าปรับหรือเสียเวลาในการเคลียร์สินค้านั้นๆผ่านพิธีการของกรมศุลกากร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักว่าภาษีสรรพสามิตคืออะไร (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); ภาษีสรรพสามิตคือคืออะไร

ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สินค้าและบริการใดที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต

การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีการจัดเก็บได้กี่วิธี

ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ปี พ.ศ.2560 กำหนดว่า สินค้าและบริการที่ต้องดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ได้แก่

1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
2. เครื่องดื่ม
3. เครื่องใช้ไฟฟ้า
4. แบตเตอรี่
5. แก้วและเครื่องแก้ว
6. รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
7. รถจักรยานยนต์
8. เริอยอชต์ และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
9. น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
10. พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น(เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
11. หินอ่อนและหินแกรนิต
12. สินค้าสารทำลายชั้นบรรยากาศ ได้แก่ สารเคมีประเภทไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีน ฟลูออรีนหรือโบรมีนเป็นองค์ประกอบ หรือฮาโลเจเนเต็ดไฮโดรคาร์บอน
13. สุรา
14. ยาสูบ
15. ไพ่
16. กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ ได้แก่ สถานมหรสพ สถานที่ฉายภาพยนตร์ ไนต์คลับ สถานน้ำหรืออบตัวและนวด เป็นต้น
17. กิจการเสี่ยงโชค เช่นสนามแข่งม้า การออกสลากกินแบ่ง เป็นต้น
18. กิจการที่ได้รับอนุญาตหรือสัมปทานจากรัฐ ได้แก่ กิจการโทรคมนาคม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ได้แก่

1. ผู้ผลิต
2. ผู้นำเข้าสินค้า
3. ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ สถานบริการหมายถึงสถานที่สำหรับประกอบกิจการในด้านการบริการ
4. บุคคลอื่นที่พระราชบัญญัติกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

การคำนวณภาษี

การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีการจัดเก็บได้กี่วิธี

ในการคำนวณภาษีคิดตามมูลค่าหรือตามปริมาณของสินค้าหรือบริการ หรือทั้งตามมูลค่าและปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้น แต่ไม่เกินอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

1. การคำนวณภาษีตามมูลค่า ให้ถือตามมูลค่าดังนี้

ในกรณีสินค้า ถือตามราคาขายปลีกแนะนำ(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) อันประกอบด้วย ราคาต้นทุนการผลิต ค่าบริหารจัดการและกำไรมาตรฐานซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าราคาขายต่อผู้บริโภครายสุดท้ายในตลาดปกติ

ในกรณีบริการ ถือตามรายรับของสถานบริการ โดยให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของสถานบริการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

2. การคำนวณภาษีตามปริมาณ ให้ถือตามหน่วย ตามน้ำหนักสุทธิหรือตามปริมาณสุทธิของสินค้านั้น

โดยคำนวณจาก ปริมาณสินค้าคูณด้วยอัตราภาษีสรรพสามิต

จุดความรับผิดในการเสียภาษี

จุดความรับผิดหมายถึงจุดที่เกิดภาระในการเสียภาษี ซึ่งมีความแตกต่างกันตามประเภทของสินค้าและบริการดังนี้

1. สินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร

แยกพิจารณาได้ 2 กรณี คือ

1.1 ถ้าสินค้าอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ถือว่าความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเกิดเมื่อเวลาผู้ประกอบการนำสินค้าออกจากโรงงาน

1.2 ถ้าสินค้าเก็บในคลังสินค้าฑัณฑ์บน คลังสินค้าฑัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรี ถือว่าความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเกิดเมื่อเวลานำสินค้าออกจากคลังสินค้าฑัณฑ์บน คลังสินค้าฑัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรี (คลังสินค้าฑัณฑ์บนหมายถึง สถานที่นอกโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560),

2. สินค้านำเข้า

ความรับผิดในการเสียภาษีสำหรับสินค้านำเข้าเกิดขึ้นเวลาเดียวกับความรับผิดที่จะต้องเสียอากรศุลกากร สำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

3. บริการ

ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการ ในกรณีที่มีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระค่าบริการให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม