การทำแฟ้มผลงาน มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

ทีนี้เราจะเตรียม Portfolio อย่างไรดี ในเมื่อ 10 หน้าเราก็ยังไม่รู้ว่ามหาวิทยาลัยจะให้มีอะไรบ้าง  ฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้องๆ ไปเตรียมสิ่งที่สามารถทำเตรียมไว้ได้แม้ไม่รู้ว่ามหาวิทยาลัยจะกำหนดรายละเอียดของ Portfolio อย่างไร

หมายเหตุ 
ถ้ามหาวิทยาลัยกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ให้ปรับตามที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนด
  1.เตรียมส่วนสำคัญของ Portfolio
เตรียมส่วนสำคัญที่คาดว่าจะได้ใช้แน่นอนไว้ก่อน ส่วนไหนไม่ตรงตามมหาวิทยาลัยกำหนด ค่อยทำเพิ่มเติมทีหลัง

2.เตรียม Portfolio รูปแบบเต็ม
เตรียม Portfolio ในแบบของเราไว้ก่อนได้เลย หากศึกษารายละเอียดระเบียบการแล้วมหาวิทยาลัยกำหนดรายละเอียดของ Portfolio มาให้ด้วย ก็ปรับเนื้อหาให้ตรงตามที่กำหนด

การทำแฟ้มผลงาน มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

หน้าปก
- ตามที่ ทปอ. ได้แจ้งไว้ หน้าปกจะไม่นับเป็น 1 ใน 10 หน้าที่มหาวิทยาลัยจะกำหนด
- ทำให้ดูโดดเด่น ดึงความสนใจ
- เห็นแล้วรู้ว่าจะสมัครคณะอะไร
- มีรายละเอียดครบถ้วน ชื่อ-สกุล / โรงเรียน / คณะ / สาขา / มหาวิทยาลัยที่ยื่น

การทำแฟ้มผลงาน มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

ประวัติส่วนตัว (Resume)
- มีข้อมูลพื้นฐานครบถ้วน
- เน้นความสามารถพิเศษ ทักษะที่เอื้อต่อการเรียนในคณะที่ยื่น งานอดิเรก
- รูปภาพที่ชัดเจน

การทำแฟ้มผลงาน มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

ประวัติการศึกษา
- โรงเรียนที่จบมาในแต่ละระดับชั้น อาจแยกแค่ ม.ต้น ม.ปลาย ก็ได้
- ผลการศึกษา หรือเกรดเฉลี่ย (GPAX)

การทำแฟ้มผลงาน มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

เหตุผลที่เลือกเรียนในคณะ/สาขานี้
- เขียนเป็นเรียงความแบบย่อ
- ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4
- เน้นแสดงถึงความตั้งใจ และทัศนคติที่ดีต่อคณะ
- บางโครงการจะกำหนดหัวข้อมาให้ด้วย ศึกษาได้จากระเบียบการ

การทำแฟ้มผลงาน มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

การทำแฟ้มผลงาน มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

กิจกรรม รางวัล ผลงาน และเกียรติบัตร
- เน้นผลงานที่โดดเด่น ได้รับรางวัล
- ถ้ามีเยอะ คัดเฉพาะที่โดดเด่น ไม่จำเป็นต้องใส่ทั้งหมด
- ถ้าคัดเฉพาะที่เกี่ยวกับคณะที่สมัครได้จะดีมาก

ปรึกษาทักพี่แอดมินได้ที่ https://www.facebook.com/TCASportfolio/inbox

ควรจัดทำและออกแบบให้สะดุดตา ให้อ่านและสามารถทำเข้าใจได้ง่าย ว่าแฟ้มเป็นของใคร แสดงแต่ประเด็นเด่นๆ เรียนที่ไหน รางวัล ผลงานที่เคยทำและเคยได้รับมีอะไรบ้าง

2. ประวัติส่วนตัว หรืออาจจะแนบ resume ไว้เพื่อเป็นตัวเกริ่นประวัติส่วนตัวของเรา

นำเสนอข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง เช่น ชื่อจริง-นามสกุล ที่อยู่ ช่องทางที่สามารถติดต่อได้ เช่น อีเมล เบอร์โทร แนะนำให้ทำทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการแสดงถึงความสามารถของเราและความเป็นสากล เสมือนเปิดโอกาสให้ตนเองสามารถยื่นเข้าเรียนต่อหรือทำงานในองค์กรหรือบริษัทต่างชาติได้ด้วย

3. ประวัติด้านการศึกษา รวมไปถึงการแลกเปลี่ยน

ให้เรียงลำดับประวัติศึกษาจากระดับวุฒิที่สูงสุด (ปัจจุบัน) จนกระทั่งระดับต่ำสุด ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้

3.1. วันเดือนปีพ.ศ. ที่เข้าเรียนและจบการศึกษา

3.2. ชื่อเต็มวุฒิการศึกษา คณะ สาขาวิชาเอก-โท รวมไปถึงการได้รับเกียรตินิยม เหรียญทอง ก็สามารถระบุตรงนี้ได้

3.3. ชื่อสถานที่ศึกษาที่เราจบมาหรือกำลังศึกษา หรือชื่อโปรแกรม สถาบันที่เราเข้าร่วมไปศึกษาแลกเปลี่ยนมา ชื่อเมืองและชื่อประเทศ

3.4. ผลการเรียน GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม

4. ประวัติด้านการทำงาน

ให้เรียงลำดับประวัติด้านการทำงาน ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้

4.1. วันเดือนปีพ.ศ. ที่เข้าทำงานและวันสุดท้ายที่สิ้นสุดการทำงานของแต่ละที่ที่ตนเคยทำงานมา

4.2. ชื่อองค์กร และสังกัดที่คุณทำงานมา เช่น กรม...ภายใต้สังกัดกระทรวง....

4.3. ตำแหน่งงาน ระดับตำแหน่งงาน เช่น นักวิเทศสัมพันธ์ ระดับชำนาญการ เป็นต้น

4.4. หน้าที่และความรับผิดชอบโดยย่อ ถ้าเคยมีประสบการณ์เยอะ ควรเลือกหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่คุณจะใช้ยื่น

4.5. ชื่อโครงการที่คุณรับผิดชอบ ชื่อโปรแกรมที่คุณเคยได้รับมอบหมายให้ทำ เพื่อแสดงเห็นทักษะและความสามารถของคุณ เช่น โปรแกรมระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นต้น

5. ประวัติการฝึกอบรม

ให้เรียงลำดับประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต โดยระบุรายละเอียดดังนี้

5.1. วันเดือน ปีพ.ศ. ที่เข้าร่วมการอบรม จะดีมากถ้าคุณสามารถระบุจำนวนวัน ระยะเวลาที่เข้าร่วม

5.2. ชื่อเต็มของหลักสูตร สาขาวิชาที่คุณไปอบรมมา

5.3. ชื่อสถาบัน องค์กรที่จัดการอบรม ซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของคุณที่ไปเข้าอบรม ความเข้มข้นของหลักสูตรนั้นๆ สามารถเพิ่มทักษะให้คุณได้จริงหรือไม่

6. ผลงานตัวอย่าง และรางวัลที่ได้รับ

ให้เรียงลำดับผลงานตัวอย่างและรางวัลที่ได้รับ ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต อาทิเช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ รายงานการวิจัยที่เราเคยทำ โดยระบุรายละเอียดดังนี้

6.1. วัน เดือน ปีพ.ศ. ที่ได้ทำผลงานหรือที่ได้รับรางวัล

6.2. ชื่อเต็มขององค์กร/สถาบัน ที่ได้มอบรางวัลให้คุณมา หรือที่คุณส่งผลงานไปเข้าร่วม/ประกวดมา

6.3. รายละเอียดสิ่งที่ได้รับ เช่น เงินรางวัล ถ้วยรางวัล ยกตัวอย่างทักษะที่ได้มาอย่างย่อๆ

6.4. แนบหลักฐานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น รูปถ่ายเรากับผลงาน สถานที่ที่เราไปเข้าร่วม เกียรติบัตร วุฒิบัตรที่เราได้รับ เป็นต้น

7. กิจกรรมที่ทำ ตั้งแต่ตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัยตลอดจนถึงปัจจุบัน

ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นผลงานที่สอดคล้องกับตำแหน่งที่ต้องการสมัครหรือตรงกับสาขาวิชา คณะ หลักสูตรที่เรายื่นสมัครเรียน เพราะส่วนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำแฟ้มสะสมผลงาน เนื่องจากเป็นส่วนที่จะได้นำเสนอและโน้มน้าวใจให้องค์กรเห็นว่าเรามีทักษะความสามารถอะไรและเหมาะสมแค่ไหน อาทิเช่น

7.1. กิจกรรมขณะเรียนเป็นประธานนักเรียน ประธานเชียร์ มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชมรมหรืองานวันสำคัญต่าง ๆ ระบุเพื่อให้รู้ว่าเรามีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะไม่ว่าเราจะเข้าไปทำงานในตำแหน่งอะไรก็ล้วนต้องใช้ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นแทบทั้งหมด

7.2. ทำงานพิเศษ ขณะเรียนไปก็ด้วยทำงานไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขายขนม/สินค้าออนไลน์ รับสอนพิเศษ การทำงานพาร์ทไทม์ตามร้านสะดวกซื้อก็สามารถหยิบมาใส่ในแฟ้มสะสมผลงานได้ เป็นต้น

7.3. กิจกรรมนอกรั้วมหาลัย มักจะเป็นสิ่งที่เรามีความสนใจอยากทำเอง และเป็นสิ่งที่สามารถนำเสนอความสนใจหรือตัวตนของเราได้มากที่สุด ทำให้องค์กรรู้ว่าเรามีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างไรบ้าง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือต้องพบเจอบุคคลที่ไม่คุ้นเคย เราอาจจะใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอตัวเองให้องค์กรเห็นว่าเรามีการวางตัวหรือปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้หรือไม่

7.4. ประสบการณ์จากตอนฝึกงาน (Internship)

รายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบและภาพถ่ายการฝึกงาน บุคคลที่สามารถอ้างอิงและรับรองประสบการณ์ดังกล่าวนี้ได้ ยิ่งเรามีประสบการณ์ในการฝึกงาน เพราะองค์กรจะได้เห็นว่าเรามีประสบการณ์จากการทำงานมาบ้างแล้ว อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความกระตือรือร้นที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานอย่างแท้จริง

8. งานอดิเรกและความสามารถพิเศษต่างๆ เช่น

นำเสนอความสามารถพิเศษที่แตกต่างจากคนทั่วไปเพื่อสร้างความโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น เช่น ทักษะการพูดการเจรจา ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ไม่มีก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา ชอบถ่ายภาพ อ่านหนังสือ เขียนบทความก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครงานทางด้านนักเขียน เป็นต้น และหากแนบรูปถ่ายหรือผลงานที่เกี่ยวข้องด้วยจะดีมาก

นอกเหนือจากเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งสำคัญในการทำแฟ้มสะสมผลงานคือการเรียบเรียงเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่ายและควรใส่ความเป็นตัวตนลงไปอย่างสร้างสรรค์ผ่านการเล่าเรื่อง จัดวางข้อมูลอย่างเป็นระบบ และควรเตรียมแฟ้มสะสมผลงานทั้งในรูปแบบเล่มแฟ้มและไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นควรสำรองข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ด้วย เพื่อป้องกันการสูญหายและมีความเตรียมพร้อมเพื่อส่งผ่านอีเมลได้ง่ายและทันที เทคนิคส่วนเหล่านี้จะช่วยทำให้เราดูเป็นมืออาชีพในสายตาองค์กรมากขึ้นอีกด้วย

แฟ้มสะสมงานควรมีกี่หน้า

อย่างที่ทราบกันดีว่าที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดให้การจัดทำ Portfolio ในจำนวนหน้าของผู้สมัครเรียนอยู่ที่ไม่เกิน 10 หน้า แต่ไม่รวมหน้าปก สารบัญ ปกหลัง และในแต่ละหน้านั้นทางมหาวิทยาลัยก็สามารถกำหนดได้เต็มที่ว่าใน Portfolio 10 หน้า นั้นจะให้มีหน้าอะไรบ้าง โดยวันนี้เราจะมาแนะนำกันว่า ตัวอย่าง Portfolio ...

ขั้นตอนแรกในการทำ Portfolio คือขั้นตอนใด

1.เตรียมส่วนสำคัญของ Portfolio. เตรียมส่วนสำคัญที่คาดว่าจะได้ใช้แน่นอนไว้ก่อน ส่วนไหนไม่ตรงตามมหาวิทยาลัยกำหนด ค่อยทำเพิ่มเติมทีหลัง 2.เตรียม Portfolio รูปแบบเต็ม เตรียม Portfolio ในแบบของเราไว้ก่อนได้เลย หากศึกษารายละเอียดระเบียบการแล้วมหาวิทยาลัยกำหนดรายละเอียดของ Portfolio มาให้ด้วย ก็ปรับเนื้อหาให้ตรงตามที่กำหนด

แฟ้มสะสมผลงานมีกี่ส่วนอะไรบ้าง

บูรชัย ศิริมหาสาคร (2541 : 19) กล่าวถึงองค์ประกอบของแฟ้มสะสมงาน ได้แก่ 1. ส่วนนํา ประกอบด้วย 1.1 ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน 1.2 สารบัญ 1.3 จุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อตกลง เกณฑ์การตัดสินผลงาน 2. ส่วนเนื้อหา (Content) ประกอบด้วยผลงาน หรือหลักฐานต่าง ๆ ที่นักเรียนคัดเลือก

ข้อใดคือขั้นตอนแรกของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน *

ขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน มีขั้นตอนที่สำคัญ 10 ขั้นตอน คือ.
การวางแผนการจัดทำแฟ้มสะสมงาน.
การเก็บรวบรวมผลงาน.
การคัดเลือกงานหรือหลักฐาน.
การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน.
การตรวจสอบความสามารถของตนเอง.
การประเมินผลงาน.
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแฟ้มสะสมงาน.
การปรับเปลี่ยนผลงาน.