ในการจัดทำแผนการตรวจสอบภายในควรทำอย่างน้อยปีละกี่ครั้ง

8. ประเด็นคำถาม (Q&A) ของหัวข้อการตรวจสอบภายใน (Internal Audit : IA)

Q1 กำหนดให้มีการจัดทำ Skill Matrix ของคณะกรรมการตรวจสอบ สำหรับการสรรหา พัฒนา
คณะกรรมการตรวจสอบ

a ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ Skill Matrix จำเป็นต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยตรวจสอบภายในหรือไม่

b กระบวนการจัดทำ Skill Matrix เป็นอย่างไร

ตอบ

a ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ Skill Matrix ของคณะกรรมการตรวจสอบ คือ

- เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ

- เลขานุการคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ**

ถ้าหากรัฐวิสาหกิจมีการกำหนดหน้าที่ให้เลขานุการบริษัท เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลคณะกรรมการ 
รัฐวิสากิจอย่างชัดเจนแล้ว สามารถให้เลขานุการกรรมการรัฐวิสาหกิจสามารถเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการจัดทำ Skill Matrix ของคณะกรรมการตรวจสอบได้

b กระบวนการจัดทำ Skill Matrix ควรพิจารณาจาก

 Input: 1 มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานตรวจสอบ

 Input: 2 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ และหน่วยตรวจสอบภายในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2555

 Input: 3 บริบทรัฐวิสาหกิจ (เป้าหมาย วิสัยทัศน์)      

Q2 ตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานด้านการตรวจสอบภายในกำหนดให้ผู้ตรวจสอบภายใน
มีบทบาทในการสอบทานการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กร ตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงาน
ทั้ง 7 ด้าน หากองค์กรกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบสำหรับการติดตามปฏิบัติงานของระบบต่างๆ ในองค์กรให้
เป็นไปตามที่เป้าหมาย ทั้งนี้ หน้าที่ในการติดตามเพื่อให้การปฏิบัติงานของระบบต่างๆ ขององค์กรเป็นไปตามเป้าหมายเป็นหน้าที่  ของตรวจสอบภายในใช่หรือไม่

ตอบ ตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานด้านการตรวจสอบภายในได้กำหนดให้ผู้ตรวจสอบภายใน
สอบทานการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานทั้ง 7 ด้าน ในฐานะผู้ประเมินอิสระ

หรือ 3rd Line of Defense (ที่ต้องสอบทานกระบวนการปฏิบัติงานทั้ง 7 ด้าน ตามฐานความเสี่ยง)

อย่างไรก็ตามหากหน่วยงาน/องค์กร/ฝ่ายบริหารกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการติดตามการปฏิบัติงาน
ตามแผนงานที่กำหนด เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร/ฝ่ายจัดการ หรือ 2nd Line of Defense 
เป็นผู้รับผิดชอบ

 

Q3 การนำผลการประเมินจากหน่วยรับตรวจมาประกอบการวัดผลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ   
อาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือไม่

 ตอบ มาตรฐานสากลสำหรับการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน 1311-การประเมินภายในองค์กรการประเมินภายในองค์กรต้องประกอบด้วย

  1. การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยตรวจสอบภายในในระหว่างที่งานดำเนินไป
  2. การประเมินตนเองเป็นระยะ หรือประเมินโดยบุคคลอื่นภายในองค์กร โดยที่บุคคลเหล่านั้น มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในอย่างเพียงพอ

จากมาตรฐานดังกล่าว จึงจำเป็นที่หน่วยตรวจสอบภายในต้องติดตามประเมินผลจากผู้บริหารหน่วยรับตรวจ และผนวกเข้าเป็นการวัดผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Q4 หากเป็นเรื่องตรวจสอบสอบที่ได้รับมอบหมายเป็นกรณีพิเศษ (Special Auditing) 
และการตรวจสอบแบบ Surprise Check ผู้ตรวจสอบภายในต้องแจ้งหน่วยรับตรวจล่วงหน้า 60 วัน
หรือไม่ (การตรวจสอบพิเศษ (Special Auditing) เป็นการตรวจสอบในกรณีที่ได้รับมอบหมาย
จากผู้บริหาร หรือกรณีมีการกระทาที่ส่อไปในทางทุจริต ผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมี
การกระทาที่ส่อไปในทางทุจริตหรือประพฤติมิชอบเกิดขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณา
ดาเนินการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อไป)

 ตอบ วัตถุประสงค์การแจ้งให้หน่วยรับตรวจทราบล่วงหน้า 60 วัน เพื่อให้หน่วยรับตรวจมีเวลาเพียงพอในการเตรียมสถานที่ ข้อมูล และบุคลากรเพื่อรับการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบภายใน ดังนั้น ผู้ตรวจสอบภายในไม่ต้องแจ้งให้หน่วยรับตรวจทราบล่วงหน้าในการตรวจสอบ กรณี

 1) กรณีพิเศษที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการตรวจสอบ หรือจากผู้บริหาร
สูงสุดให้ตรวจสอบความผิดปกติของระบบงาน

 2) การตรวจสอบแบบไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า (Surprise Check)

Q5 การกำหนดแนวทางการตรวจสอบตามฐานความเสี่ยงจำเป็นต้องสอบทาน Flowchart ทุกเรื่องหรือไม่

 ตอบ วัตถุประสงค์การสอบทานผังทางเดินของงาน (Flowchart) เพื่อให้ผู้ตรวจสอบทราบกระบวนการปฏิบัติงาน/ขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจทุกขั้นตอน ซึ่งหากผู้ตรวจสอบภายใน     
สามารถแสดงการสอบทานกระบวนการปฏิบัติงานด้วยเครื่องมือ (Tools) อื่นๆ ได้ ก็สามารถแสดงผล

การปฏิบัติงานผ่านเครื่องมืออื่นๆ ได้ ทั้งนี้ การสอบทานกระบวนการปฏิบัติงาน ผู้ตรวจสอบภายใน
ต้องสามารถระบุจุดเสี่ยงและจุดควบคุม ให้ครบถ้วนทุกกระบวนการที่มีความเสี่ยง รวมถึงความเสี่ยงโอกาสเกิดทุจริตด้วย  เพื่อนำมาประเมินความเสี่ยงระดับกิจกรรมสำหรับการกำหนดแนวทาง
การตรวจสอบต่อไป

Q6 แนวทางในการสอบทานการดำเนินงาน Enablers ทั้ง 7 ผู้ตรวจสอบภายในต้องดำเนินการอย่างไร

 ตอบ

 การปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อให้ความมั่นใจต่อการปฏิบัติงาน Enablers ทั้ง 7 ด้าน

  1. กำหนดบทบาทผู้ตรวจสอบภายใน (กฎบัตร คู่มือปฏิบัติงาน)
    • การให้ความเชื่อมั่น (Assurance Service)
    • การให้คำปรึกษา (Consulting Service)
  1. แผนตรวจสอบเชิงกลยุทธ์ และแผนตรวจสอบประจำปี
  • กำหนด Audit Universe ครอบคลุมถึงกิจกรรม กระบวนการ Enabler ทั้ง 7 ด้าน
  • ประเมินความเสี่ยงครบทุก Audit Universe
  • วางแผนตรวจสอบเชิงกลยุทธ์ตามฐานความเสี่ยง
  1. การปฏิบัติงานตรวจสอบ
  • วางแผนตรวจสอบในรายละเอียด
  • สอบทานผังทางเดินของงาน
  • กำหนดจุดความเสี่ยง และจุดการควบคุมที่มีอยู่
  • กำหนดแนวทางการตรวจสอบตามฐานความเสี่ยง
  • ปฏิบัติงานตรวจสอบ (รายงานผลการตรวจสอบ การติดตามข้อเสนอแนะ)

 

Q7 การจัดสรรทรัพยากรตามฐานความเสี่ยงต้องดำเนินการอย่างไร

 ตอบ การจัดสรรทรัพยากรตามฐานความเสี่ยงหลังจากประเมินความเสี่ยงทุก Audit Universe แล้ว 
ผู้ตรวจสอบภายในจำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากร (บุคลากร จำนวนวัน ฯลฯ) สำหรับการปฏิบัติงานตรวจสอบ ที่สอดคล้องกับความเสี่ยง โดยให้มีการจัดสรรระยะเวลาในการตรวจสอบตามฐานความเสี่ยง
และการจัดสรร Manday ทรัพยากรอื่นๆ สำหรับการปฏิบัติงานตรวจสอบ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การกำหนด 
Mandays ต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ได้แก่ ระดับความเสี่ยง ความซับซ้อนของงาน ความคาดหวังของผู้บริหาร และปัจจัยอื่นๆ

Q8 มาตรการป้องกันไม่ให้หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในเสื่อมเสียความเป็นอิสระเที่ยงธรรม
ในกรณีที่ได้รับร้องขอจากฝ่ายบริหารให้มีบทบาทหน้าที่ที่นอกเหนือจากการตรวจสอบภายใน ต้องกำหนดมาตรการ และแนวทางการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวอย่างไร

 ตอบ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน และผู้ตรวจสอบภายในต้องดำรงซึ่งความเป็นอิสระ
และความเที่ยงธรรม หากได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ และผู้บริหารสูงสุด 
ให้ปฏิบัติงานอื่น  ที่นอกเหนืองานตรวจสอบต้องปฏิบัติ ดังนี้

  1. กำหนดคำนิยามการปฏิบัติงานอื่นที่นอกเหนืองานตรวจสอบ เช่น รับผิดชอบในกิจกรรมการกำกับดูแล

การปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง หรือหน้าที่ที่อาจทำให้ความเป็นอิสระ 
หรือความเที่ยงธรรมของผู้ตรวจสอบภายในเสื่อมลงได้

  1. กำหนดแนวทางการป้องกันความเสื่อมเสียความเป็นอิสระ เช่น กิจกรรมการกำกับดูแลต่างๆ 
    การสอบทานและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบเป็นระยะ

Q9 การประเมินความร่วมมือของหน่วยรับตรวจควรประเมินในประเด็นอะไร

 ตอบ ควรประเมินให้ครอบคลุมตามบทบาทและความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจไว้ในกฎบัตรของหน่วยตรวจสอบภายใน/ คู่มือฯ ที่ได้มีการสื่อสารไว้ ซึ่งประเด็นความร่วมมือของหน่วยรับตรวจ        
ควรประกอบด้วย ดังนี้

  • ความพร้อมของข้อมูล เอกสาร หลักฐานตามขอบเขต การตรวจสอบ
  • ความพร้อมของบุคลากรสำหรับการสัมภาษณ์/ตอบคำถาม
  • ความพร้อมในการกำหนดแนวทางการแก้ไขข้อเสนอแนะร่วมกับผู้ตรวจสอบ
  • ความพร้อมในการเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อชี้แจงประเด็นต่างๆ 
    ตามความเหมาะสม
  • การให้ความร่วมมืออื่นๆ ที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานตรวจสอบสามารถดำเนินงานได้ตามแผนสามารถปิดการตรวจสอบได้ตามที่กำหนด

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์การประเมิน เพื่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยรับตรวจ และผู้ตรวจสอบภายใน 
ให้การปฏิบัติงานตรวจสอบเกิดประสิทธิผล

Q10 ความคาดหวังที่จะให้รัฐวิสาหกิจนำการใช้เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานตรวจสอบใน
กระบวนการอะไร

 ตอบ ความคาดหวังของเกณฑ์การประเมินผลด้านการการตรวจสอบภายใน คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปฏิบัติงานตรวจสอบในทุกขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนการตรวจสอบ การกำหนดแนวทางการตรวจสอบ การสื่อสารรายงานผลการตรวจสอบ และการติดตามการปฏิบัติงานตามข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบ ลดระยะเวลาการปฏิบัติงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน

Q11 หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเข้าร่วมสังเกตการณ์การดำเนินงานของคณะทำงาน Enablers ต่างๆ 
โดยอาจจะมีการให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานจะขาดความเป็นอิสระในการสอบทานหรือไม่

 ตอบ บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในแบ่งออกเป็น 2 บทบาทหลัก คือ 1. บทบาทการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Service) 2. บทบาทการให้คำปรึกษา (Consulting Service) โดยที่ทั้ง 2 บทบาท
ผู้ตรวจสอบภายใน  ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ดังนั้น หากผู้ตรวจสอบภายในเข้าร่วมสังเกตการณ์การดำเนินงาน
ของคณะทำงาน Enablers ในบทบาทของการให้คำปรึกษา ผู้ตรวจสอบ
ภายในต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานทางวิชาชีพกำหนด และบทบาทการให้คำปรึกษาต้องไม่ก่อให้เกิด
การขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานในอนาคต

Q12 วุฒิบัตรที่ควรจะมีถึงร้อยละ 40 ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ กำหนดหรืออ้างอิงมาจากอะไร

 ตอบ อ้างอิงตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานบริหารจัดการองค์กรของรัฐวิสาหกิจ ด้านการ
ตรวจสอบภายใน ตั้งแต่ปี 2553 คณะอนุกรรมการพิจารณาประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจด้านการ
บริหารจัดการองค์กร ชุดที่ 3 การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน ได้กำหนดค่าเกณฑ์วัด ระดับ 
5 กำหนดให้หน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจต้องมีพนักงานที่ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชาชีพอย่างน้อยร้อยละ 40 ของจำนวนพนักงานตรวจสอบภายใน (นับเฉพาะพนักงานประจำของหน่วยตรวจสอบภายใน และเฉพาะพนักงานปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบภายใน)

Q13 จากเกณฑ์ประเมินผลรัฐวิสาหกิจตามระบบตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) หัวข้อการตรวจสอบภายใน (IA) ด้านคุณสมบัติ ข้อ 2.1 บทบาทและความรับผิดชอบของหน่วยตรวจสอบภายในได้กำหนดค่าเกณฑ์วัดระดับ 3 การหารือร่างกฎบัตรและพันธกิจของงานตรวจสอบภายในกับผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ และการนำเสนอกฎบัตรต่อหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่ออนุมัติ รวมถึงการสื่อสารกฎบัตรให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรับทราบแต่ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบภายในและหน่วยตรวจสอบภายใน และหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2555 (ระเบียบกระทรวงการคลังฯ) หมวด 3 ข้อ 18 กำหนดให้หน่วยตรวจสอบภายในต้องจัดทำกฎบัตรว่าด้วยการตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ และมีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรดังกล่าว
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

คำถาม ในกรณีนี้ต้องดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินผลใหม่ (SE-AM) หรือตามระเบียบ
กระทรวงการคลังฯ ข้อ 18

ตอบ

  1. อำนาจในการอนุมัติกฎบัตรของหน่วยตรวจสอบภายใน เป็นอำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบ 
    ตามที่ระเบียบกระทรวงการคลังฯ กำหนด ดังนั้น เมื่อหน่วยตรวจสอบภายในจัดทำร่างกฎบัตร
    แล้วเสร็จ /ทบทวนกฎบัตรแล้วเสร็จ ต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่ออนุมัติ
  2. การทบทวนกฎบัตรตามหลักเกณฑ์ SE-AM หน่วยตรวจสอบภายในต้องมีการขอความเห็น (VOC)
    ของหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ต่อพันธกิจ และความคาดหวัง
    ในการปฏิบัติ
    งานตรวจสอบ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการทบทวนบทบาท ความรับผิดชอบสำหรับการทบทวนกฎบัตร

Q14 ในกรณีการทบทวนกฎบัตรแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบได้มีความเห็นไม่ปรับปรุงกฎบัตรจำเป็นต้องเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทุกครั้งหรือไม่ แล้วนำเสนอในวาระเพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ

ตอบ การนำเสนอกฎบัตรของหน่วยตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อทราบเท่านั้น

Q15 ในไตรมาสที่ 1 ไม่สามารถแจ้งแผนการตรวจสอบให้หน่วยรับตรวจทราบล่วงหน้า 60 วันได้ เนื่องจากระเบียบกำหนดให้จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปีให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 
จึงขอคำแนะนำที่สามารถทำให้ปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินผล (SE-AM) ได้

ตอบ

หากหน่วยตรวจสอบภายในจัดให้มีกระบวนการสื่อสารแผนตรวจสอบประจำปีหลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ ให้หน่วยรับตรวจรับทราบ แล้วถือว่ามีการปฏิบัติงานแจ้งให้หน่วยรับตรวจทราบล่วงหน้า

Q16 จากเกณฑ์การประเมินผลด้าน Enablers ด้านการตรวจสอบภายใน ข้อ 1.2 การปฏิบัติหน้าที่
ของคณะกรรมการตรวจสอบ ค่าเกณฑ์วัดระดับ 4 “บทบาทในการสอบทานการดำเนินงานต่างๆ 
ขององค์กรตามเกณฑ์ Enablers ทั้ง 7 ด้าน” จะต้องกำหนดไว้ในวาระการประชุมของคณะกรรมการ
ตรวจสอบหรือไม่ หรือใช้การสอบทานอำนาจการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน

ตอบ ต้องกำหนดเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบ

Q17 ในกรณีที่ระบุ Enablers ไว้ใน Audit Universe แล้วประเมินความเสี่ยงเพื่อการวางแผนการ
ตรวจสอบภายในประจำปี แล้วมีกิจกรรมของ Enablers ที่ไม่ถูกกำหนดให้อยู่ในแผนการตรวจสอบ
ประจำปีนั้น จะถือว่า IA สอบทาน Enablers ไม่ครอบคลุมทั้ง 7 Enablers หรือไม่

ตอบ การกำหนด Enabler ใน Audit Universe อย่างเดียวถือว่าไม่เป็นการสอบทาน

Q18 การสอบทาน Enabler ของคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee : AC) 
ควรมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร

ตอบ บทบาทของการสอบทาน Enablers ของคณะกรรมการตรวจสอบจะดำเนินการผ่านการปฏิบัติงาน
ของผู้ตรวจสอบที่มีการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง โดยคณะกรรมการ
ตรวจสอบจะมีข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ของคณะกรรมการตรวจสอบ

Q19 คู่มือตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการชุดใดหรือไม่
และต้องรายงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจจะเป็นเพื่อทราบหรือเพื่อเห็นชอบ

ตอบ คู่มือของคณะกรรมการตรวจสอบควรนำเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้ความเห็นชอบ แต่หาก
คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณาคู่มือแล้ว คณะกรรมการ
ตรวจสอบให้ความเห็นชอบก็เพียงพอ

Q20 Skill Matrix ของคณะกรรมการตรวจสอบควรมีการกำหนด Skill Matrix โดยเฉพาะทาง
ที่แตกต่าง  จากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจหรือไม่

ตอบ การกำหนด Skill Matrix ของคณะกรรมการตรวจสอบต้องมีกำหนดโดยเฉพาะจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจถึงแม้ว่าคณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากบทบาทของคณะกรรมการ ตรวจสอบควรมีความรู้เฉพาะทาง

Q21 คณะกรรมการตรวจสอบควรมีการรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือไม่

ตอบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีการกำหนดแนวทางการรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์แล้ว 
คณะกรรมการตรวจสอบต้องดำเนินแนวทางดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการตรวจสอบมีบทบาท
ที่ต้องสอบทานรายการที่เชื่อมโยงกันหรือรายการที่จะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (สอบทานผ่านการ
ปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นการสอบทานกระบวนการไม่ใช่การสอบทานผลการรายงานเพียงอย่าง
เดียว) นอกจากนี้ กระบวนการสรรหากรรมการตรวจสอบไม่มีการเปิดเผยรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ควรมีการนำเสนอรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่อไป

Q22 หัวข้อการวางแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบในรายละเอียด ที่มีการระบุว่าต้องสื่อสารแผนปฏิบัติงานตรวจสอบล่วงหน้า 60 วัน ในรายละเอียดจะต้องประกอบไปด้วยประเด็นอะไร เช่น ขอบเขตการ
ตรวจสอบ ระยะเวลา เป็นต้น (หากมีการสื่อสารไปแล้วและมีการเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติงานตรวจสอบ
จะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไร (ทั้งนี้ การสื่อสารล่วงหน้า 60 วัน อาจจะเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ)

ตอบ วัตถุประสงค์ของเกณฑ์การประเมินผลฯ กำหนดการสื่อสารแผนปฏิบัติงานตรวจสอบล่วงหน้า 60 วัน เพื่อต้องการให้ผู้ตรวจสอบภายในมีการสื่อสารแผนงานให้หน่วยรับตรวจรับทราบล่วงหน้า (ยกเว้นกรณีการตรวจสอบกรณีพิเศษ) ดังนั้น หากรัฐวิสาหกิจกำหนดให้มีกระบวนการสื่อสารแผนตรวจสอบ 
ไว้ว่าจะเป็นการแจ้งเวียนแผน หรือสื่อสารในระบบภายใน (ระบบปิดขององค์กร) เช่น intranet cloud เป็นต้น ถือว่าได้ตอบการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินผลฯ (หากรัฐวิสาหกิจดำเนินการตามที่ชี้แจงแล้ว ถือว่าหน่วยตรวบสอบภายในได้มีการจัดกระบวนการแจ้งล่วงหน้าแล้ว)  

Q23 คณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นกรรมการชุดย่อยอื่นๆ ได้หรือไม่ หากมีความจำเป็นต้องเป็นกรรมการชุดย่อยอื่นๆ ควรมีแนวทางอย่างไร

ตอบ ให้ยึดตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของ
รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2555 ที่กำหนดให้ ข้อ 9 ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการตรวจสอบต้องไม่มี
ลักษณะต้องห้าม ได้แก่ (2) ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กําหนดนโยบายหรือระเบียบปฏิบัติหรือมีอํานาจในการตัดสินใจ ด้านการบริหาร รวมทั้งไม่เป็นพนักงาน ลูกจ้าง หรือที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนประจําจากรัฐวิสาหกิจ ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจนั้น หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทั้งนี้ ไม่ว่าในขณะดํารงตําแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการตรวจสอบหรือภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการ
ตรวจสอบ แต่ทั้งนี้ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสามารถพิจารณาแต่งตั้งประธานและคณะกรรมการ
คณะกรรมการตรวจสอบเป็นคณะอนุกรรมการชุดอื่นๆ  ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายหรือ
ระเบียบปฏิบัติหรือมีอํานาจในการตัดสินใจด้านการบริหาร

Q24 ทำไมจึงไม่กำหนดประกาศนียบัตร Certification in Risk Management Assurance (CRMA) ในความเชี่ยวชาญและความสามารถของหน่วยสอบภายในด้วย

ตอบ เกณฑ์การประเมินผลฯ จะอ้างอิงมาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบัญชีและการเงินเป็นหลัก    โดยอาจจะไม่รวมถึงประกาศนียบัตรด้านการตรวจสอบภายในทั้งหมด ทั้งนี้ จะมีการรวบรวมและนำเสนอข้อมูล  ที่เกี่ยวข้องเพื่อคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการประเมินผลการพัฒนาองค์กรของรัฐวิสาหกิจ ด้านการตรวจสอบภายในพิจารณาต่อไป

Q25 การตรวจสอบ Enablers ทั้ง 7 ด้านของการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบมีแนวทางการประเมินอย่างไร

ตอบ การสอบทาน enabler ทั้ง 7 ด้านไม่ได้เป็นขอบเขตของงานตรวจสอบทั้งหมด (Audit Universe)   ที่เป็นเรื่องใหม่ (ยกเว้น หัวข้อการจัดการความรู้และการจัดการนวัตกรรม และหัวข้อ
การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลูกค้า) ดังนั้น ในการสอบทาน Enablers ควรเริ่มจากขั้นตอนการ
จัดทำแผนตรวจสอบเชิงกลยุทธ์ที่มีการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงเพื่อกำหนดขอบเขตของงานตรวจสอบทั้งหมด (Audit Universe) ที่ครบถ้วน และครอบคลุม Enablers (การตรวจสอบที่มุ่งเน้นการวางแผนตรวจสอบตามฐานความเสี่ยง โดยแผนตรวจสอบเชิงกลยุทธ์ต้องกำหนด Manday ทั้ง 7 ด้าน  
แต่แผนปฏิบัติงาน ในปี 2563 ไม่จำเป็นต้องสอบทานครบทั้ง 7 ด้าน) ทั้งนี้ การจัดทำแนวทาง 
การตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบภายในต้องทราบกระบวนการต่างๆ ที่เกณฑ์กำหนดในคู่มือการประเมินผล 
และประเมินความเสี่ยงในระดับกิจกรรม เพื่อระบุจุดเสี่ยง จุดควบคุม สำหรับการจัดทำแนวทางการตรวจสอบตามฐานความเสี่ยง และเมื่อได้แนวทางการตรวจสอบที่กำหนดประเด็นตรวจสอบตามฐานความเสี่ยง
แล้ว ผู้ตรวจสอบต้องสอบทานตามแนวทางการตรวจสอบที่กำหนด โดยประเด็นที่ผู้ตรวจสอบภายในต้องให้ความสำคัญคือ การมีความรู้ต่อเกณฑ์การประเมินผลและระบบอย่างเพียงพอเทียบผู้ปฏิบัติงาน

Q26 ประเด็นคำถาม – คำตอบในข้อ 3 ของเอกสารการสัมมนาเกณฑ์การประเมินผลฯ หัวข้อการตรวจสอบภายใน ที่มีอ้างมาตรฐานตรวจสอบภายใน ข้อ 1311 จะถูกต้องหรือไม่

ตอบ ประเด็นคำถาม – คำตอบในข้อ 3 ที่มีการตอบในประเด็นมาตรฐานการตรวจสอบภายใน ข้อ 1311
กำหนดให้มีการประเมินภายในองค์กร ประกอบด้วยการติดตามประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมตรวจสอบภายในอย่างต่อเนื่อง และการประเมินตนเองเป็นระยะ ซึ่งจะแสดงว่า มาตรฐานกำหนดให้มีการประเมินจากหน่วยรับตรวจและการประเมินตนเอง และในส่วนของการนำผลประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลงานของผู้ตรวจสอบมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของผู้ตรวสอบอย่างต่อเนื่อง มีความเหมาะสมสำหรับการประเมิน  ในเชิงการเรียนรู้ (Learning) ทั้งนี้ การอ้างมาตรฐานการตรวจสอบภายใน ข้อ 1311 อาจไม่ครอบคลุมประเด็นทั้งหมด เนื่องจากมาตรฐานการตรวจสอบภายในมีการระบุการประเมินการปฏิบัติงานของ (Activity ของ IA 
จากหน่วยงานภายในที่มีความรู้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบ (Periodic self-assessments or assessments by other persons within the organization with sufficient knowledge of internal audit practices.) 
ดังนั้น การเรียนรู้ (Learning) กระบวนการอาจไม่ได้ใช้ Feedback ของหน่วยรับตรวจเพียงมุมมองเดียว

Q27 การบูรณาการด้านคณะกรรมการตรวจสอบภายใน โดยการนำ Skill Matrix ไปเชื่อมโยง
เพื่อจัดการอบรม นั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องบูรณาการเชื่อมกับการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลูกค้า (Stakeholder and Customer Management : SCM) ทุกหน่วยงาน เนื่องจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ในการจัดอบรมผู้บริหารระดับสูงคือหน่วยงานเลขานุการที่ดูแลผู้บริหารระดับสูง ฉะนั้นต้องเชื่อมโยงกับหัวข้อการกำกับดูแลที่ดี (Corporate Governance) หรือไม่

ตอบ ตามที่มีการสิ่อสารในห้องสัมมนา การพัฒนาคณะกรรมการนตรวจสอบต้องบูรณาการกับหัวข้อการบริหารทุนมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามหากรัฐวิสาหกิจมีการกำหนดฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้มีความรับผิดชอบการพัฒนาคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของรัฐวิสาหกิจแล้ว สามารถดำเนิน
ากรตามแนวทางเดิมที่กำหนดไว้ ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ตรวจสอบภายในเป็นดำเนินการ แต่ผู้ตรวจสอบภายในต้องให้ข้อมูลการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน การพัฒนาคณะกรรมการตรวจสอบที่สอดคล้องตาม Skill Matrix ที่กำหนด

Q28 หน้า 260 ในคู่มือเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่ 
ซึ่ง "กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ กำหนดแนวปฏิบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งสามารถพิจารณา
จ้างที่ปรึกษา    หรือผู้เชี่ยวชาญได้" ขอสอบถามว่า ต้องกำหนดรายละเอียดเป็นแนวทางไว้ในกฎบัตร
มากน้อยเพียงใด หรือเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจ้างที่ปรึกษาได้หรือไม่

 ตอบ ในกฎบัตร ควรกำหนดแค่อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบที่สามารถจ้างที่ปรึกษาสำหรับทักษะเฉพาะ หรือทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ส่วนแนวทางในการดำเนินงานควรกำหนดไว้ให้คู่มือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งแนวทางเป็นการพิจารณาจ้างที่ปรึกษา เช่น 
ผลจากการวิเคราะห์ช่องว่าง (GAP) ทักษะที่คณะกรรมการตรวจสอบมี และ Skill Matrix ที่กำหนด 
หรือความจำเป็นเร่งด่วนขององค์กร ในขณะนั้นๆ เป็นต้น

Q29 กรณีที่รัฐวิสาหกิจมีจำนวนกรรมการอิสระในคณะกรรมการตรวจสอบไม่ครบถ้วน จึงไม่สามารถจัด
ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบได้ ดังนั้น นำประเด็นการพิจารณาเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อให้
ความเห้นชอบ ถือว่า เป็นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและ
หน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2555 หรือไม่

ตอบ ในกรณีที่คณะกรรมตรวจสอบว่างเว้น หรือมีองค์ประกอบไม่ครบถ้วน จึงไม่สามารถประชุม
คณะกรรมการตรวจสอบได้ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในต้องเสนอประเด็นการพิจารณาต่างๆ 
ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาแทน

<อ่านต่อหน้า 2>

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ