Power Bank 10000 mAh ใช้ได้ กี่ครั้ง

ความรู้เกี่ยวกับ Power Bank ( แบตสำรอง )

 

Power Bank 10000 mAh ใช้ได้ กี่ครั้ง

Power Bank ( แบตสำรอง ) มีความจำเป็นไหม?

 ปัจจุบันไม่ว่าจะมี Smart Phone ออกมากี่รุ่น มีฟีเจอร์ใหม่ๆออกมาตลอด แต่สิ่งที่ยังเหมือนเดิมคือ แบตมือถือของ Smart Phone จะหมดไวมาก อาจจะเป็นเพราะผู้ใช้อย่างเราๆ ไม่ได้แค่ใช้โทร ( ก็แน่หล่ะ ซื้อ Smart Phone แต่มาใช้โทรเข้าออกอย่างเดียวก็ไม่คุ้มใช่ไหมครับ ^^ )

ผมว่าคงเคยกันเกือบทุกคน ที่เจอสถานการณ์มือถือแบตหมด แต่อยู่ข้างนอก ไม่มีปลั๊กไฟให้เสียบ และมีธุระด่วนที่จะต้องใช้ ( บางคนก็แก้ปัญหา โดยมีมือถือหลายเครื่อง )  ดังนั้นแบตสำรองพกพา จึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ใช้มือถืออย่างเราๆ จะได้เล่นมือถือได้อย่างสบายใจ  ไม่ต้องกลัวว่าแบตจะหมด

Power Bank ( แบตสำรอง ) ข้อควรทราบ

1.การคายประจุ ของ Power Bank และอัตราการสูญเสียพลังงาน

Power Bank เกือบทุกยี่ห้อ จะมีการสูญเสียพลังงาน อยู่ที่ประมาณ 30% ( ในระหว่างการแปลงไฟจาก Input ไปยัง Output ) ปกติเมื่อเราชาร์จไฟบ้านเข้าตัว Power Bank จนเต็มแล้ว ก็จะถอดสายออก เพื่อพกพาไปใช้งานข้างนอก ซึ่งระหว่างนี้เอง Power Bank มันก็จะเริ่มคายพลังงานประจุไฟฟ้า ทิ้งไปเรือยๆ ส่วนจะมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ ที่มีอัตราการคายประจุที่แตกต่างกัน ซึ่งก็แน่นอนครับว่า ยี่ห้อดี ราคาแพง อัตราการคายประจุ ก็จะน้อย แต่ถ้ายี่ห้อโนเนม ราคาถูก อัตราการคายประจุ ก็จะมาก

2.จำนวนรอบที่สามารถชาร์จได้

ปัจจัยหลักต้องดูที่ ความจุของ Power Bank และ ขนาดของแบตเตอรี่ในมือถือรุ่นนั้นๆ ดังนั้น ถ้าอยากจะทราบว่า มือถือรุ่นที่เราใช้อยู่ จะสามารถชาร์จได้กี่รอบ ก็โดยการ

ค่าความจุในการใช้งานจริง = ค่าความจุ Power Bank -  ( ค่าความจุ X 30% )

จำนวนรอบ = ค่าความจุในการใช้งานจริง / ขนาดแบตของมือถือรุ่นนั้นๆ

ยกตัวอย่างเช่น iPhone 4S ใช้แบตขนาด 1430 mAh จะสามารถชาร์ตได้กี่รอบ ถ้าใช้ Power Bank ขนาด 5000

ค่าความจุในการใช้งานจริง = 5000 - ( 5000 X 30% ) = 3500

จำนวนรอบ = 3500 / 1430 = 2.44 รอบ ( โดยประมาณ )

3. อุปกรณ์เสริม

ปกติเวลาซื้อแบตสำรองที่มีขายทั่วไป จะไม่มี "หัวปลั๊กไฟ" ที่ใช้ต่อแบตสำรองกับไฟบ้านมาให้ ผู้ใช้งานทั่วไปเลยมักจะใช้ "หัวปลี๊กไฟ" ที่แถมมากับมือถือ หรือแทบเลต แทน ส่วนผู้ใช้งานที่ไม่มี ก็จะไปซื้อตามร้านขาย Accessory หรือร้านมือถือ ซึ่งต้องเลือกดูให้ดีน่ะครับ เพราะถ้าซื้อ " หัวปลั๊กไฟ " ที่ไม่มีคุณภาพมา อาจจะทำให้มีปัญหากับ Power Bank ได้ครับ

4. ช่อง Input , Output

ข้อนี้ผู้ซื้อมักจะไม่ค่อยดู แต่ในความจริงแล้วมันมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จด้วยน่ะครับ โดย

Input จะเกี่ยวข้องกับ ระยะเวลาในการชาร์จไฟบ้านเข้าแบตสำรอง จนเต็ม ( ตราการรับไฟบ้านเข้าตัวแบตสำรอง )

Output ระยะเวลาในการชาร์จจากแบตสำรองเข้ามือถือ จนเต็ม ( อัตราการจ่ายไฟออกจากแบตสำรองไปมือถือ )

Power Bank การดูแลรักษาให้อยู่กับเราไปนานๆ :)

1. การดูแลน้องแบ้งในครั้งแรก

การชาร์จครั้งแรก ควรชาร์จด้วยกระแสไฟที่ต่ำ (ถ้าทำได้) ง่ายๆคือ ไม่ชาร์จจากไฟบ้านโดยตรง แต่ให้ชาร์จโดยเสียบเข้ากับ Computer/Notebook แทน โดย

* ชาร์จไฟบ้านโดยตรง ในครั้งแรก ควรชาร์จประมาณ 12 ชั่วโมง/ ความจุของแบตสำรอง 10,000 mAh

* ชาร์จไฟผ่าน Computer/Notebook ควรชาร์จประมาณ 24 ชั่วโมง/ ความจุของแบตสำรอง 10,000 mAh

ส่วนสาเหตุที่แนะนำให้ชาร์จด้วยกระแสไฟต่ำ เพื่อกระตุ้นเซลล์เก็บประจุ ของแบตสำรอง ( Li-On ) ให้ครบทุกเซลล์  หลังจากพ้นครั้งแรกไปแล้ว ต่อไปจะชาร์จไฟบ้านตรงหรือไฟต่ำ ก็ได้ แต่ถ้าชาร์จด้วยไฟต่ำเสมอก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานไปได้อีก ( แต่จะแลกมาด้วยระยะเวลาในการชาร์จที่นาน ก็อาจจะทำให้ไม่สะดวก )   ซึ่งอายุการใช้งานจะประมาณ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานครับ

2. การดูแลน้องแบ้งในเรื่องความเป็นอยู่ของเค้า

น้องแบ้งไม่ชอบความร้อนครับ ( ผมว่าเจ้าของก็ไม่ชอบเหมือนกัน ^^' ) พูดง่ายๆคืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคทีมีในโลกนี้ส่วนมาก จะไม่ชอบความร้อนกันทั้งนั้น ยิ่งใกล้ความร้อนมาก ตัวเซลล์ในแบตสำรอง ก็จะเสื่อมไวมากขึ้นเท่านั้น

3. การดูแลน้องแบ้งขณะที่เค้าทำงานอยู่

น้องแบ้งเค้าไม่ชอบให้ชาร์จไฟเข้ามือถือ ขณะที่เล่นมือถือไปด้วยครับ ( นึกภาพเวลาคุณกำลังกิจกรรมอะไรซักอย่างนึง แล้วมีกิจกรรมอื่นมาแทรก ทำให้เราต้องทำหลายๆอย่างไปพร้อมกัน ซึ่งอาจจะทำให้ทำไม่ได้ดีเท่าที่ควร )

4. การดูแลน้องแบ้งในเรื่องการเก็บไฟ

ไม่ควรใช้น้องแบ้งจนหมดเกลี้ยง คือถ้าเหลือประมาณ 30% ไม่ควรจะใช้งานครับ ให้รีบชาร์จเค้าให้เต็ม เพราะจะมีผลอายุการใช้งานค่อนข้างมาก ( เหมือนน้องแบ้งเค้าต้องการมีพลังงานสำรองไว้ให้ตัวเองขณะไม่ได้ใช้งานในระดับนึง :)

     ใครไม่อยากตกยุค ตกเทรนด์ ขอเน้นเลยว่าห้ามพลาด "อวดของดี รีวิวของเด็ด" ที่จะพาคุณมาอัพเดทของดี รีวิวของเด็ด ทุกเรื่อง ทุกแวดวง กันให้จุใจ ว่าแล้วก็จะรอช้าอยู่ใย มาดูของดี ของเด็ด กันเลยดีกว่า

Power Bank 10000 mAh ใช้ได้ กี่ครั้ง

เริ่มกันที่ของเด็ดที่ต้องแนะนำอย่าง Power Bank แบตเตอรี่สำรอง

คงไม่มีใครไม่รู้จัก Power Bank หรือแบตเตอรี่สำรอง สำหรับใช้ชาร์จสมาร์ทโฟน สมาร์ทไอเท็ม ที่ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีสำหรับโมเดิร์นไลฟ์สไตล์ ซึ่งชีวิตตามติดเทคโนโลยี และโลกออนไลน์ในทุกลมหายใจเข้าออก ถึงขั้นที่ว่าแบตหมดเมื่อไหร่เป็นวุ่นวายเมื่อนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่เหล่า "ออนไลน์นิสซึ่ม" พากันซื้อเจ้าแบตเตอรี่สำรองเอาไว้พกติดตัวไปไหนมาไหน เพื่อป้องกันปัญหาฟีลสะดุด เนื่องจากแบตหมดกระทันหัน แต่แบตเตอรี่สำรองที่มีขายกันเกลื่อนกลาด ทั้งในห้างสรรพสินค้า และท้องตลาดทั่วไป เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ควรจะเลือกแบบไหน ยี่ห้ออะไร ถึงจะดี และไม่เป็นพิษภัยต่อสมาร์ทโฟน สมาร์ทไอเท็มของเราในภายหลัง!?! 

วิธีเลือกซื้อ แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank)

มารู้จัก mAh ในแบตเตอรี่สำรองว่าคืออะไร สำคัญอย่างไร?
ก่อนอื่นที่เราจะทราบถึงวิธีการเลือกซื้อ และใช้งาน Power Bank นั้นเราจะต้องรู้ถึงความจุแบตเตอรี่ iPad, iPhone, iPod กันเสียก่อนซึ่งหน่วยที่ใช้วัดความจุแบตเตอรี่นั้นคือ mAh. (m = มิลลิ, A = แอมป์, h = ชั่วโมง) โดยแต่ละรุ่นมีดังนี้

Apple : iPod
iPod touch Gen 1 = 900 mAh.
iPod touch Gen 2 = 800 mAh.
iPod touch Gen 3 = 789 mAh.
iPod touch Gen 4 = 930 mAh.

Apple : iPhone
iPhone 2G = 1400 mAh.
iPhone 3G = 1150 mAh.
iPhone 3GS = 1219 mAh.
iPhone 4 = 1420 mAh.
iPhone 4S= 1430 mAh.

Apple : iPad
iPad 1 = 6600 mAh.
iPad 2 = 6930 mAh.
The new iPad = 11,560 mAh.


การคำนวน & เลือกซื้อ Power Bank : ชาร์จได้กี่ครั้ง
สำหรับท่านใดที่ต้องการเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรองนั้นคงจะมีคำถามในใจกันกว่า มันจะชาร์จ iPhone ได้กี่ครั้ง ชาร์จ iPad, ได้กี่เปอร์เซ็น % หลายคนโดนคนขายหลอกบ้าง หลายคนซื้อมาด้วยความสวยงามบ้าง วันนี้เราจะมารู้ถึงความจุของ Power Bank ว่าจริงๆ แล้วนั้นเป็นเช่นไร

คำนวณความจุกับรอบการชาร์จง่ายๆ 
เนื่องจาก Power Bank จะมีค่า Loss (ศูนย์เสียพลังงาน) อยู่ที่ประมาณ 30% ซึ่งเสียไประหว่างการแปลงพลังงาน ในการ input และ output เป็นหลักการมาตรฐานของแบตเตอรี่สำรอง ซึ่งเราต้องจับค่าพลังงานที่ระบุไว้ใน Power Bankไปหักออก 30% กันซะก่อน ตัวอย่างเช่น 5,000 mah - 30% = 3500 mAh. และนำค่าที่ได้ไป หาร ค่าแบตเตอรี่ของ iDevice ของเรา ตัวอย่าง : 3500 mAh. / iPhone 4 : 1420 mAh = 2.46 รอบ ตัวเลขที่ได้บอกได้ถึง Power Bank : 5,000 mAh. สามารถชาร์ต iPhone 4 จนเต็ม 100% ได้ 2.46 ครั้ง (รอบ) นั่นเอง ดังนั้นค่า mAh ยิ่งเยอะ ก็ยิ่งราคาแพงขึ้นเท่านั้นค่ะ

ส่วนใครขี้เกียจคำนวณเราก็มีตารางคำนวณสำเร็จรูปมาให้ดู เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อให้ง่ายขึ้น ดังนี้

พาวเวอร์แบงค์10000แอมป์ใช้ได้กี่ชั่วโมง

🔵10000 mAh ใช้เวลา 10 ชั่วโมง 🔵13000 mAh ใช้เวลา 13 ชั่วโมง 🔵15000 mAh ใช้เวลา 15 ชั่วโมง 🔵20000 mAh ใช้เวลา 20 ชั่วโมง

แบตสำรองกี่mAhดี

ซึ่งความจุของพาวเวอร์แบงค์ที่เหมาะกับการใช้งานของเราก็คือ power bank ที่มีความจุมากกว่า 3 เท่าของแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งโดยส่วนมากแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือก็จะอยู่ที่ราว ๆ ประมาณ 2000 – 3000 mAHพาวเวอร์แบงค์ที่เหมาะสมก็คือ 6000 – 10000 mAHก็จะชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือได้ประมาณ 2 – 3 รอบ

Power Bank ใช้ได้นานแค่ไหน

Power Bank มีอายุการใช้งานไม่เกิน 2 ปีก็จะเริ่มเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนใหม่อย่าฝืนใช้ต่อ ขณะชาร์จสมาร์ทโฟนอยู่นั้น ไม่ควรใช้งานสมาร์ทโฟน เพราะอาจทำให้เกิดการลัดวงจรได้ เมื่อชาร์จไฟจนเต็มแล้วให้ถอดสายชาร์จออกทันที ไม่ควรเสียบสายคาไว้ ควรหลีกเลี่ยงซื้อพาวเวอร์แบงค์มือสอง, ของปลอม หรือราคาถูกกว่าปกติมาใช้

5000 มิลลิแอมป์ชาร์จได้กี่ครั้ง

5000 mAh สามารถชาร์จมือถือขนาดปกติได้ 2 รอบ สามารถชาร์จสมาร์ทโฟนความจุแบตขนาดเล็กได้เกือบ 2 รอบเต็ม หรือชาร์จแบตเตอรี่มือถือเต็ม 100% 1 รอบ ครึ่ง สำหรับมือถือจอใหญ่ ตัว Powerbank มีขนาดเล็ก พกได้สะดวก