หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า มีกี่ประเภท

       วันนี้ Onlogistics จะพาไปทำความรู้จักกับใบ C/O ว่ามีความสำคัญและประโยชน์อย่างไรบ้าง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

       1.ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าแบบทั่วไป (Ordinary Certificate Origin)

       เป็นใบรับรองที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร โดยจะใช้ออกให้กับผู้ส่งออกในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศของผู้ออกใบรับรองนี้ เพื่อยืนยันว่า สินค้าที่ส่งออกไปนั้นใช้วัตถุดิบภายในประเทศ มีการผลิต หรือผ่านขั้นตอนและกระบวนการผลิตภายในประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นเอกสารรับรองการนำเข้าตามเงื่อนไขของประเทศปลายทาง แต่จะไม่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้

       2.หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin

       เป็นใบรับรองที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ใช้เพื่อรับรองว่าสินค้าที่จะทำการส่งออกนั้นมีการผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าและถูกต้องตามเงื่อนไขภายใต้ระบบพิเศษของประเทศที่ให้สิทธิพิเศษนั้น ซึ่งจะได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้า ประกอบไปด้วย

       2.1 ฟอร์ม A (Certificate of origin From A) ใช้ออกให้กับสินค้านำเข้าที่ได้รับสิทธิ์ อัตราภาษีพิเศษ ตามเงื่อนไข GSP ที่อนุญาตโดยกลุ่มประเทศและประเทศต่างๆ

       2.2 From FTA (Certificate of origin From FTA) ใช้ออกให้สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ตามเงื่อนไขของข้อตกลงเขตการค้าเสรี ปัจจุบันในไทยมีผลบังคับใช้แล้ว 7 เขตการค้าเสรี ได้แก่ อาเซียน อาเซียน-จีน ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย ไทย-ญี่ปุ่น และอาเซียน-ญี่ปุ่น

       2.3 ฟอร์ม GSTP (Certificate of origin From GSTP) ออกให้กับสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรใน 40 ประเทศกำลังพัฒนา

       2.4 ฟอร์ม AISP (Certificate of origin From AISP) ประเทศกัมพูชา ลาวและพม่า เป็นผู้ออกฟอร์มนี้ เพื่อใช้ขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้าในประเทศไทย

      ประโยชน์ของการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีอากร

      1. สำหรับผู้ส่งออก สามารถเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้ในปริมาณมากขึ้น เพิ่มปริมาณลูกค้าในตลาดอาเซียน เพิ่มรายได้และการจ้างงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทั้งในอาเซียนและตลาดโลก รวมทั้งเป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่ยั่งยืนได้อีกด้วย

      2. สำหรับผู้นำเข้า สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงและช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้มียอดจำหน่ายในประเทศสูงขึ้น รวมทั้งสามารถนำเข้าวัตถุดิบสะสมไว้ เพื่อใช้กรอบสิทธิพิเศษทางภาษีอากรในเขตการค้าเสรีอื่นๆ ได้

      ดังนั้นผู้นำเข้าสินค้าควรปรึกษาผู้มีความรู้ความชำนาญในพิธีศุลกากรหรือบริษัทชิปปิ้ง ให้ตรวจสอบสินค้าที่จะนำเข้าได้รับสิทธิพิเศษในการขอแบบฟอร์มสำหรับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

       สำหรับบริษัทนำเข้าสินค้ามืออาชีพอย่าง Onlylogistics สามารถชิปปิ้งและนำเข้าสินค้าจากจีนได้อย่างครบวงจร เดินพิธีทางศุลกากรเสร็จสรรพ พร้อมเอกสารครบถ้วน ได้แก่ เอกสารการนำเข้า ใบขนและใบเสร็จศุลกากร ใบฟอร์ม E (FTA ASEAN-CHINA) สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 0% โดยเอกสารทุกฉบับเป็นชื่อลูกค้าทั้งหมดและสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ทุกที่ทุกเวลา 

 

หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า มีกี่ประเภท

เอกสาร หรือหนังสือสำคัญ  ที่ผู้นำเข้า ส่งออกต้องรู้

เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)

Certificate of Origin หรือ CO

เป็นสิ่งที่แสดงว่าสินค้าที่ระบุ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศใด และมีประโยชน์ในการขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรจากประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ รวมทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาดการค้า และสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาได้อีกทางหนึ่งหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ ผลิตถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าและตามเงื่อนไขภายใต้ระบบสิทธิพิเศษของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ ซึ่งจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้าของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ 8 ชนิด ได้แก่

(1) Certificate of Origin Form A เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ GSP ได้แก่ ญี่ปุ่น รัสเซียและเครือรัฐอิสระ 10 ประเทศ (กลุ่ม CIS ได้แก่ รัสเซีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจานสาธารณรัฐเบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน สาธารณรัฐมอลโดวา ทาจิกิสถานยูเครน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน)

 (2) ระบบรับรองตนเองของผู้ส่งออก (Registered Exporter: REX)ภายใต้ระบบ GSP สวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ ใช้วิธีการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออก หรือ Registered Exporter: REX system  ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองจะต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ   (กองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด) เพื่อให้ได้รับ REX Number ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องใช้ในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง โดยสามารถรับรองถิ่นกำเนิดฯ ลงในเอกสารทางการค้าที่มีข้อมูล เช่น ชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่งออก รายละเอียดของสินค้าที่ส่งออกและวันที่ออกเอกสาร (Date of Issue) อาทิ ใบกำกับสินค้า (Invoice) ใบรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List) เป็นต้น

(3) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบ GSTP เป็นหนังสือรับรองฯที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา รวม43 ประเทศที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันข้อตกลงแล้ว

ดูได้ที่  https://bit.ly/38MVHAR

(4) Certificate of Origin Form D เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษ ตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade In Goods Agreement: ATIGA) สำหรับสินค้าที่ส่งไปประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม

(5) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า การใช้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงเขตการค้า เสรีต่างๆ เป็น หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีต่างๆ ได้แก่

  • ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ใช้ Form E
  • ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ใช้ Form FTA
  • ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ใช้ Form AI
  • ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ใช้ Form FTA
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ไทย-นิวซีแลนด์ สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองบนใบกำกับสินค้า (Invoice)
  • ความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย- นิวซีแลนด์ ใช้ Form AANZ
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ใช้ Form JTEPA
  • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ใช้ Form AJ
  • ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ใช้ Form AK
  • ความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ไทย-เปรู ใช้ Form TP
  • ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี ใช้ Form TC

(6) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับ สินค้าหัตถกรรม  (Certificate in Regard to Certain Handicraft Products) เป็นหนังสือรับรองฯที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมไปยังสหภาพยุโรปตามรายการที่กำหนดไว้

(7) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้า ผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ (Certificate Relating to Silk or Cotton Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหม และผ้าฝ้ายที่ทอ ด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

(8) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับ สินค้าหัตถกรรมทั่วไป   (Certificate of Origin Handicraft or Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯที่ใช้สำหรับการส่งออกสินค้าหัตถกรรมภายใต้สิทธิพิเศษฯไปยังประเทศญี่ปุ่นและแคนาดา

หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า มีกี่ประเภท

Form D

2.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรคือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ มีถิ่นกำเนิด จากประเทศผู้ออกหนังสือรับรองฯ จริงและใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเข้าตามระเบียบการนำเข้าของประเทศปลายทาง หรือตามเงื่อนไขของผู้นำเข้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร ได้แก่ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Certificate of Origin : Form C/O ทั่วไป) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าไปยังเม็กซิโก (ANEXO III)  และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าที่ได้รับโควตาในการนำเข้าสหภาพยุโรป    (Certificate of Origin for Imports of Products Subject to Special non-preferential Import Arrangements into  the Enropern Unfor)

เราก็ได้เห็นประโยชน์ของหนังสือรับรองสินค้าแล้วนะครับ  ครั้งต่อไป เราจะมาศึกษาขั้นตอนในการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดแบบต่างๆ

แหล่งข้อมูล

www.dft.go.th

www.unctad.org

Recommended Posts

หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า มีกี่ชนิด

หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป คือเอกสารที่นำไปใช้รับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แต่ไม่สามารถนำไปขอยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรขาเข้าได้ เรียกว่า Ordinary Certificate of Origin.

ใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า คือข้อใด

เป็นหนังสือรับรองที่ออก ให้ผู้ส่งออก เพื่อแสดงว่า สินค้ามีถิ่นกําเนิดใน ประเทศไทย และผลิตได้ ถูกต้องตามกฎว่าด้วย ถิ่นกําเนิดสินค้า

ถิ่นกําเนิดสินค้า คืออะไร

กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) คือกฎเกณฑ์การค้าสินค้าระหว่าง ประเทศที่ใช้ตัดสินว่าสินค้าแต่ละชนิดจะได้ถิ่นกำเนิดสินค้ามาจากประเทศใด หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดสัญชาติของสินค้า เหตุที่ต้องมีกฎเกณฑ์นี้เนื่องจากว่าการค้า ระหว่างประเทศมีการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น จึงมีการขยายฐานการผลิต ...

Certificate of Origin สําคัญอย่างไร

Certificate of Origin หรือ CO. เป็นสิ่งที่แสดงว่าสินค้าที่ระบุ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศใด และมีประโยชน์ในการขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรจากประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ รวมทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาดการค้า และสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาได้อีกทางหนึ่งหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ