วงจรไฟฟ้าในบ้าน มี กี่ แบบ

วงจรไฟฟ้าในบ้าน มี กี่ แบบ

การต่อวงจรไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ส่วนมากเป็นการต่อแบบที่ทำให้อุปกรณ์รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท แยกอยู่กันคนละวงจร ถ้าเกิดกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดเสียขึ้นมา ไม่ว่าจะเพราะอะไรก็ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องอื่นก็จะยังคงใช้งานได้ตามปกติ เนื่องจากมันอยู่คนล่ะวงจรนั่นเอง

ไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้าน จะเป็นไฟฟ้าแบบกระแสสลับซึ่งมีความต่างศักย์จำนวน 220 V โดยการส่งไฟฟ้าเข้าไปยังบ้านจะใช้สายไฟ 2 เส้น ได้แก่

– สายกลาง หรือสาย N = มีศักย์ไฟฟ้าเป็น 0

– สายไฟ หรือสาย L = มีศักย์ไฟฟ้า 220 V

สาย L และสาย N จะทำการต่อเข้ากับแผงควบคุม ซึ่งเป็นแหล่งการแจกจ่ายพลังงานให้กับภายในบ้านอย่างเป็นระบบ บนแผงควบคุมจะต้องมีสะพานไฟอยู่ด้วยอย่างแน่นอน โดยสะพานไฟย่อยมีหน้าที่คอยแยกรวมทั้งควบคุมการส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังวงจรตามส่วนต่างๆ ของบ้านเช่น วงจรห้องนั่งเล่น , วงจรห้องน้ำ , วงจรครัว เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน

เครื่องใช้ไฟฟ้า จัดเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกของชีวิตมนุษย์อย่างยิ่งยวด สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นตามความต้องการได้อย่างง่ายดาย เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ตามบ้านทั่วไป เช่น เตารีด , หม้อต้มกาแฟ , หม้อหุงข้าว , พัดลม , หลอดไฟ , ไมโครเวฟ , เครื่องซักผ้า เป็นต้น

ภายในบ้านแน่นอนว่าจะต้องมีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ แล้ว แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ชิ้นสำคัญอื่นๆ อีก เช่น สายไฟ , Fuse , สวิตช์ , เต้ารับและเต้าเสียบ เป็นต้น

สายไฟ

สายไฟเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กระแสไฟฟ้าจะมีการไหลวิ่งไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟนั่นเอง

สายไฟซึ่งทำมาจากสารที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า แปลว่ามันยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้อย่างสะดวก ได้แก่

สายไฟแรงสูง ทำจากอะลูมิเนียม เนื่องจากอะลูมิเนียม มีราคาถูก น้ำหนักเบา

สายไฟทั่วไป ทำจากทองแดง เนื่องจากทองแดงมีราคาถูกกว่าเงิน

สามารถแบ่งย่อยออกเป็นดังนี้

สายทนความร้อน มีเปลือกหุ้มเป็นฉนวนทนความร้อน เช่น สายเตารีด

สายคู่ ใช้ในอาคารบ้านเรือน

สายคู่ แบบอ่อน ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น โทรทัศน์ , โทรศัพย์

สายเดี่ยว ใช้สำหรับในท่อร้อยสาย

Fuse

Fuse เป็นอุปกรณ์ขนาดจิ๋ว แต่มีหน้าที่ไม่ธรรมดาเพราะคอยป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้ามามากจนเกินไป หากมีกระแสผ่านมามากเกินความต้องการ Fuse จะทำการตัดวงจรไฟฟ้าในบ้านอย่างอัตโนมัติ โดย Fuse ทำจากโลหะผสม ใช้ตะกั่วกับดีบุกและมีบิสมัทผสมอยู่ด้วย นับเป็นโลหะจุดหลอมเหลวต่ำ มีความต้านทานสูง และมีรูปร่างแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน เช่น Fuse หลอด , Fuse กระเบื้อง , Fuse เส้น เป็นต้น

วงจรไฟฟ้าในภายในบ้านที่มีหลายวงจร

วงจรไฟฟ้าในบ้าน มี กี่ แบบ

สายไฟในบ้าน ประกอบด้วย สายวงจรย่อย

สายวงจรย่อย คือสายไฟฟ้าที่เดินจากอุปกรณป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้าย (เซอร์กิตเบรคเกอร์ตัวลูกย่อย) ไปยังจุดจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า เต้ารับ หรือดวงโคม ข้อมูลที่สำคัญ สำหรับวงจรย่อย มีดังต่อไปนี้

1. สายวงจรย่อยต้องใช้สายตัวนำทองแดงมีฉนวนหุ้ม เช่นสาย 60227 IEC 01 (THW) หรือ VAF เป็นต้น
คลิกดูสายไฟชนิดต่างๆ

2. ต้องคำนวณโหลดของวงจรย่อยแต่ละวงจรเพื่อหาขนาดตัวนำสายวงจรย่อย แต่ทั้งนี้ขนาดต้องไม่เล็กกว่า 2.5 ตร.มม.

3. ขนาดตัวนำสายวงจรย่อยที่แนะนำสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปเป็นดังนี้     

3.1 วงจรย่อยสำหรับเต้ารับ ที่จ่ายให้เต้ารับหลายจุด ควรใช้ขนาดตัวนำ 4 ตร.มม. ขึ้นไป
3.2 วงจรย่อยสำหรับดวงโคม ขนาดตัวนำ 2.5 ตร.มม. ขึ้นไป ควรกำหนดวงจรย่อยแยกสำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำอุ่นแต่ละเครื่อง

4.สีฉนวนของสายวงจรย่อยกรณีใช้สาย 60227 IEC 01 (THW)
4.1 สายเส้นไฟ : ไม่บังคับ สามารถใช้สีแตกต่างกันสำหรับแต่ละวงจรย่อยเพื่อความสะดวกในการแยกวงจร แต่ห้ามใช้สีฟ้า สีเขียว และสีเขียวแถบเหลือง
4.2 สายนิวทรัล : สีฟ้า
4.3สายดิน : สีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง

5. กรณีบ้านสองชั้นขึ้นไป ต้องแยกวงจรย่อย อย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร

6. สำหรับวงจรย่อยของชั้นล่าง แนะนำให้แบ่งวงจรย่อยอย่างน้อยดังนี้ 6.1 ไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร 6.2 เต้ารับภายในอาคาร 6.3 เต้ารับภายนอกอาคาร

7. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าดวงโคมแสงสว่างแต่ละดวง ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.มม.

8. สายที่แยกจากจุดต่อสายวงจรย่อยเข้าเต้ารับแต่ละจุด  ควรใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 2.5 ตร.มม.

9. สายนิวทรัลใช้สีฟ้า และเลือกขนาดเท่ากับสายเฟส (สายเส้นไฟ)

10. ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดินพิจารณาจากขนาดของสายเมนตามที่กำหนดตาราง

11. ขนาดต่ำสุดของสายดินของวงจรย่อยพิจารณาจากขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ตามที่กำหนดในตาราง

ตางรางขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับวงจรภายในบ้าน

วงจรไฟฟ้าในบ้าน มี กี่ แบบ

อย่างไรก็ตาม การเลือกขนาดสายไฟฟ้าสำหรับแต่ละวงจรต้องเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ด้วย โดยต้องคำนึงเสมอว่า พิกัดกระแสไฟฟ้าของสายที่เลือกต้องไม่ต่ำกว่าขนาดพิกัดของเซอร์กิตเบรคเกอร์ เพราะเมื่อเกิดภาวะโหลดเกินเซอร์กิตเบรคเกอร์ต้องตัดวงจรก่อนที่กระแสจะเกินกว่าพิกัดที่สายไฟฟ้าจะรับได้   เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าเสียหายได้

สอบถามสั่งซื้อสายไฟฟ้าและเทปพันสายไฟ

Line : @phelspdodge_th

เฟ้ลปส์ ดอด์จ ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ดีที่สุด

Tel. ‭02 680 5800‬
‭www.pdcable.com‬
E-mail :