การผลิตสินค้าและบริการมีกี่ประเภท

ทุกวันนี้นั้นสินค้าต่างๆ ในบ้านเราก็มีเกิดขึ้นให้เราเห็นกันอย่างมากมายเลยทีเดียว โดยการผลิตส่วนใหญ่นั้นก็มักจะหมายถึง การที่เรานำปัจจัยต่างๆ นั้นเข้ามาใช้ทำให้เกิดสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้ โดยในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดนั้น ก็มักจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของสินค้าแต่ละชนิดว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไร

Show

โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นปัจจัยการผลิตก็มักจะประกอบไปด้วยที่ดิน แรงงาน ทุนและผู้ประกอบการ ในการผลิตสินค้าต่างๆ ในแต่ละครั้งนั้นก็อาจจะนำปัจจัยการผลิตต่างๆ นั้นมาใช้ 2-3 อย่างก็เป็นไปได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าต่างๆ ว่าในการที่เราจะทำการผลิตในแต่ละครั้งนั้นจะต้องใช้ปัจจัยอะไรบ้าง แต่จริง ๆ แล้วปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดในการผลิตสินค้าต่างๆ นั้นในวันนี้เราก็สามารถที่จะสรุปออกมาได้พอสังเขปเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดังต่อไปนี้

ปัจจัยในการผลิตสินค้า

1. ปัจจัยในด้านที่ดิน

ถือเป็นอีกหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นั้นไม่สามารถที่จะทำการสร้างเพิ่มได้เลย โดยที่ดินก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะที่ดินนั้นก็ถือเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสำหรับอุปโภคบริโภค ตลอดจนวัตถุดิบต่างๆ ที่เป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญกับกระบวนการผลิต โดยความเป็นจริงแล้วนั้นที่ดินก็ยังครอบคลุมไปถึง สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่อยู่อาศัย โรงงาน พื้นที่การทำเกษตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไร่นา ป่าไม้ เป็นต้น

2. ปัจจัยทางด้านเงินทุน

เงินทุนนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญกันเป็นอย่างมากเลย เพราะมันหมายถึงผลรวมของค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจริงของการผลิตสินค้า และค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องจ่ายจริง เป็นต้น ถือเป็นทุนที่เรานั้นไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าต้นทุนเสียโอกาส ดังนั้นการที่เรามีเงินทุนที่เพียงพอต่อการใช้งานนั้นก็ถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการผลิตสินค้าต่างๆ เพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จได้

นอกจากนี้นั้นเงินทุนถ้าหากเรามีมากพอเราก็ยังสามารถที่จะไปซื้อหรือเช่าพวก เครื่องจักร ที่ดิน อาคาร โรงงาน และอื่นๆ อีกมากมายโดยที่เรานั้นจะได้ไม่ต้องกังวลกับเรื่องพวกนี้ เมื่อเรามีการลงทุนในการผลิตสินค้าต่างๆ ได้เป็นอย่างดีแล้วนั้นในการทำบัญชีนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ค่อนข้างจำมีความสำคัญกันเป็นอย่างยิ่งดังนั้นเมื่อมีรายการรับหรือรายการจ่ายอะไรก็ตามแต่เราก็ควรที่จะต้องทำการจดบันทึกบัญชีทุกครั้งด้วย

3. ปัจจัยในเรื่องของแรงงาน

แน่นอนในการผลิตสินค้าต่างๆ นั้น แรงงานก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากเลย โดยสิ่งที่แรงงานทุกคนจะได้รับนั้นก็คือค่าตอบแทน โดยค่าตอบแทนต่างๆ นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าทางผู้จ้างกับแรงงานมีการตกลงไว้ว่าอย่างไร โดยแรงนั้นนั้นก็ถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญกับการผลิตทุกขั้นตอนเลย เพราะถ้าหากเราขาดแรงงานไปนั้นก็อาจจะทำให้การผลิตสินค้าต่างๆ ของเรานั้นไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้

4. ปัจจัยผู้ประกอบการ

หลายคนก็ยังคงงงว่าผู้ประกอบการนั้นเกี่ยวอะไรด้วย จริงๆ แล้วนั้นผู้ประกอบการก็คือการที่กำหนดที่ดิน เงินทุน แรงงาน มาดำเนินการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อที่จะต้องสนองกับความต้องการของผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการนั้นก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากเลยเพราะต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาทางแรงงาน ปัญหาของเรื่องเงินทุน รวมถึงไม่รู้จะคิดค้นผลิตอะไร โดยผู้ประกอบการนั้นก็จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญต่างๆ ในขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตด้วยเพื่อที่จะได้สามารถที่จะแก้ไขได้อย่างถูกต้องในกรณีที่การผลิตสินค้านั้นเกิดมีปัญหา

อย่างไรก็ตามนั้นในกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ นั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการผลิตสินค้าที่สามารถตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยปัจจุบันนี้นั้นเราสามารถที่จะแบ่งลำดับขั้นตอนการผลิตต่างๆ ออกได้เป็น 3 ประเภทก็คือ

4.1. การผลิตขั้นปฐมภูมิ

ถือเป็นการผลิตที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรงมากที่สุด โดยจะเลือกใช้วิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนอะไรมากมาย โดยจะไม่ค่อยมีการเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือสักเท่าไร แต่ผลผลิตที่ได้นั้นก็ยังไม่สามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการได้ เช่น การทำนา การทำประมง ป่าไม้ เป็นต้น

4.2.  การผลิตขั้นทุติยภูมิ

เป็นการผลิตที่ต้องอาศัยผลผลิตอื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มเติม โดยวิธีการผลิตนั้นก็อาจจะมีความยุ่งยากมากเล็กน้อย โดยการผลิตด้วยขั้นนี้นั้นก็จะต้องมีการเลือกใช้เครื่องมือเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการผลิต เช่น การใช้เหล็กเส้นในการทำที่อยู่อาศัยเป็นต้น

4.3. การผลิตขั้นตติยภูมิ

ถือเป็นการผลิตในลักษณะการให้บริการทางด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีกต่างๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยทำให้ผลผลิตนั้นสามารถที่จะเคลื่อนย้ายจากการผลิตขึ้นที่หนึ่งไปขึ้นที่สองได้ทำให้การขนส่งต่างๆ นั้นสามารถที่จะจำไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากอีกด้วย

สำหรับโรงงานที่ต้องผลิตวัตถุดิบ วัสดุ หรือสินค้าต่างๆ ขึ้นมา หากในการผลิตไม่ได้มี “ระบบ” หรือ “กระบวนการ” เข้ามาช่วยจัดการ โรงงานคงไม่สามารถควบคุมและคาดการณ์ต้นทุน-ผลลัพธ์อะไรจากการผลิตได้เลย 

ซึ่งบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจ ความสำคัญของ ระบบการผลิต (Production System) ว่าส่งผลต่อการผลิตอย่างไร และระบบนี้จะสร้างประโยชน์อย่างไรให้กับธุรกิจของคุณได้บ้าง

อ่านตามหัวข้อ

  • ระบบการผลิต (Production System) คืออะไร 
  • กระบวนการผลิต Production Process มีอะไรบ้าง
  • ทำความรู้จัก “ประเภทของระบบการผลิต” และเลือกใช้ให้ถูก
  • ประโยชน์ของระบบการผลิตและแนวทางการปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
  • สรุปท้ายบทความ

ระบบการผลิต (Production System) คืออะไร 

ระบบการผลิต คือ กลุ่มขั้นตอนและองค์ประกอบต่างๆ ในการผลิตเพื่อให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาจากวัสดุ วัตถุดิบ ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตต่างๆ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ 

ซึ่งระบบการผลิต ก็จะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 

  • ปัจจัยการผลิต 
  • กระบวนการแปลงสภาพ 
  • ผลผลิต
การผลิตสินค้าและบริการมีกี่ประเภท
ที่มารูปภาพ slideteam.net

1. ปัจจัยการผลิต (Input/Material) 

หมายถึง องค์ประกอบตั้งต้นที่จะต้องมีเพื่อให้ระบบการผลิตสามารถสร้างผลผลิตขึ้นมาได้ เช่น แรงงานคน วัสดุ/วัตถุดิบ เครื่องมือจักร พลังงานไฟฟ้า เงิน ข้อมูล ฯลฯ

2. กระบวนการแปลงสภาพ (Processing) 

หมายถึง ขั้นตอนต่างๆ ที่จะช่วยแปรสภาพปัจจัยการผลิตให้กลายเป็นผลผลิตที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น การเตรียมวัตถุดิบ การขึ้นรูปทรง การหล่อ การหลอม การปรุง การตกแต่ง ฯลฯ

3. ผลผลิต (Output/Product) 

หมายถึง ผลลัพธ์จากกระบวนการแปรสภาพ หรือผลลัพธ์สุดท้ายที่เราต้องการจากระบบการผลิต ซึ่งก็คือ ผลิตภัณฑ์ (Products)

ในระบบการผลิตจะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไปไม่ได้ เพราะจะส่งผลให้ระบบไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาให้ได้

กระบวนการผลิต Production Process มีอะไรบ้าง

การจะสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง นอกจากองค์ประกอบของการผลิตที่ต้องมีแล้ว ในขั้นตอนการสร้างระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณ คุณภาพ เวลา ต้นทุนและราคา ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตต้องการการวางแผนและการควบคุมที่ดี

ภายในกระบวนการผลิต (Production Process) โดยทั่วไป มีอยู่ 3 กิจกรรมสำคัญด้วยกัน คือ การวางแผน (Planning) การดำเนินงาน (Operation) และการควบคุม (Control)

  1. ขั้นตอนการวางแผน (Planning) หมายถึง ขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อนำมาวางแผนการผลิตและการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตต่างๆ ทั้งวัสดุ วัตถุดิบ แรงงาน เวลา รวมไปถึงการควบคุมกรอบเวลา (timeline) และค่าใช้จ่าย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
  1. ขั้นดำเนินงาน (Operation) หมายถึง ขั้นตอนของการดำเนินการทำตามแผนการผลิตที่วางไว้ ใช้ทรัพยากรอะไร อย่างไร ปริมาณเท่าไหร่ และลำดับขั้นตอนในการแปลงสภาพหรือผลิต
  1. ขั้นการควบคุม (Control) หมายถึง ขั้นตอนในขณะที่ระบบการผลิตกำลังดำเนินการอยู่ แล้วเราพยายามควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่การควบคุมเวลา การควบคุมแรงงาน การควบคุมการใช้ทรัพยากร ไปถึงการตรวจสอบและให้คำแนะนำ (Feedback) ตัวระบบหรือผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ทำความรู้จัก “ประเภทของระบบการผลิต” และเลือกใช้ให้ถูก

แต่ละธุรกิจผลิตโปรดักต์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นระบบการผลิตเพียงรูปแบบเดียวจึงไม่สามารถใช้กับทุกโรงงานหรือธุรกิจได้ เพื่อที่จะเลือกระบบที่ใช้ได้เหมาะสม มาทำความรู้จักประเภทของระบบการผลิตดู ว่าโรงงานหรือผลิตภัณฑ์แบบไหน ควรใช้ระบบการผลิตประเภทใด

1. การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing)

การผลิตแบบโครงการ คือ ระบบการผลิตที่ผลิตสิ่งของขนาดใหญ่ มีมูลค่าสูง มีลักษณะเฉพาะที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า และต้องอาศัยทรัพยากรในการผลิตสูง ซึ่งต้องผลิตเสร็จเป็นโครงการโครงการไป เช่น งานก่อสร้างอาคาร การสร้างเขื่อน การสร้างเรือ การต่อเครื่องบิน เป็นต้น

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า การผลิตแบบนี้ใช้เวลาค่อนข้างนานเพื่อที่จะผลิตโปรดักต์ชิ้นหนึ่ง (หรือหนึ่งโครงการ) จนแล้วเสร็จ การผลิตจึงเกิดขึ้นที่สถานที่ตั้งของโครงการ (Site) ทรัพยากรต่างๆ จะถูกนำมาไว้ ณ สถานที่นั้นให้พร้อม และเมื่อจบโครงการจึงค่อยย้ายทรัพยากร เช่น เครื่องจักร แรงงาน วัสดุ ฯลฯ ไปเก็บหรือย้ายไปสถานที่การผลิตโครงการต่อไป

ลักษณะของการผลิตแบบโครงการ

  • ผลิตทีละชิ้น ความต้องการซื้อต่ำ
  • มูลค่าสูงมาก
  • ใช้ทรัพยากรสูงและหลากหลาย (แรงงาน วัสดุ เครื่องจักร พลังงาน เวลา)
  • ใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรเฉพาะตามฟังก์ชัน
  • ต้องอาศัยแผนการผลิตที่ละเอียด ซับซ้อน

2. การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermittent Production)

การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง หรือ Job Shop หมายถึง การผลิตโปรดักต์ในจำนวนไม่มาก เพราะโปรดักต์มีความเฉพาะเจาะจง ตามดีไซน์หรือเงื่อนไขของลูกค้า โดยจะผลิตเป็นล็อตๆ ทำให้ปริมาณในการผลิตไม่สูงและโปรดักต์ที่ได้จะมีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ดีไซน์ออกมาเป็นรุ่น หรือสมาร์ทโฟนที่ออกมาเป็นรุ่นๆ เป็นต้น 

การผลิตประเภทนี้ ต้องการเครื่องจักร เทคโนโลยี หรือฝีมือในการผลิตที่เฉพาะเจาะจงเพื่อผลิตชิ้นส่วนต่างๆ แต่กระบวนการผลิตจะสม่ำเสมอ ได้ผลลัพธ์ที่คาดเดาได้ และเมื่อผลิตสินค้าเสร็จตามปริมาณที่วางแผนไว้ ก็จะผลิตสินค้าชิ้นหรือรุ่นต่อไป

ลักษณะของการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง

  • โปรดักต์มีความหลากหลาย แต่ความต้องการไม่ได้มาก (Mass)
  • ใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรเฉพาะตามฟังก์ชัน
  • อาศัยความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างความแตกต่างจากโปรดักต์ประเภทเดียวกัน
  • แผนการผลิตชัดเจน มีรายละเอียดมาก

3. การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production)

การผลิตแบบกลุ่ม หรือ Batch Production จริงๆ แล้วคล้ายคลึงกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง เพียงแต่การผลิตแบบกลุ่มจะผลิตโปรดักต์ที่ “แมส” (Mass) มากกว่า และการผลิตแบบกลุ่มจะเน้นผลิตโปรดักต์ที่หลากหลาย มีความโดดเด่นเฉพาะตัว 

แต่จะเหมือนกันตรงที่ผลิตโปรดักต์ออกมาเป็นล็อตๆ ใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรที่ตรงฟังก์ชั่นตามกระบวนการผลิตต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเสื้อยืดเป็นล็อตๆ ที่มีความต้องการสูง (Mass) 

การผลิตแบบกลุ่ม (Batch) จะผลิตตามออร์เดอร์เป็นล็อตๆ หรือผลิตเพื่อทำเป็นสต็อกสินค้าเพื่อรอจำหน่ายก็ได้

อ่านเพิ่มเติม: ระบบจัดการคลังสินค้าใช้ทำอะไร? มีประโยช์อย่างไรกับธุรกิจ

ลักษณะของการผลิตแบบกลุ่ม

  • เน้นผลิตโปรดักต์ที่มีความต้องการสูง
  • ผลิตเป็นล็อตๆ ตามออร์เดอร์หรือเพื่อสต็อกสินค้าได้
  • แผนการและกระบวนการผลิตชัดเจน 
  • เมื่อต้องการผลิตโปรดักต์ชิ้นใหม่ ต้องกำหนดค่าการผลิตใหม่
  • Lead time (ระยะเวลาที่ลูกค้ารอสินค้า) และต้นทุนการผลิตต่ำ

4. การผลิตแบบไหลผ่าน (Mass Production) 

การผลิตแบบไหลผ่าน หรือ Mass Production คือ การผลิตโปรดักต์หรือสินค้าที่เหมือนกันในปริมาณมากๆ เช่น การผลิตน้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก สบู่ แชมพู ฯลฯ 

โดยการผลิตแบบไหลผ่านจะใช้เครื่องมือในการผลิตที่เฉพาะแยกตามสายผลิต ไม่ใช้เครื่องจักรร่วมกัน เครื่องมือไหนผลิตโปรดักต์อะไร ก็ใช้ผลิตสิ่งนั้นเท่านั้น การผลิตประเภทนี้ผลิตได้ปริมาณมากและผลิตได้รวดเร็ว เหมาะกับการผลิตโปรดักต์ที่รอจำหน่ายได้ 

ลักษณะของการผลิตแบบไหลผ่าน

  • โปรดักต์มีความต้องการสูง
  • โปรดักต์และกระบวนการผลิตมีมาตรฐาน
  • เครื่องมือจักรหนึ่งเครื่อง หนึ่งฟังก์ชั่นการทำงาน ใช้ผลิตโปรดักต์เดียว
  • ระบบการผลิตมีความแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา
  • ควบคุมแผนและการผลิตง่าย
  • ระบบการผลิตง่ายต่อการทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ

5. การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Flow Production)

การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Flow Production) เป็นการผลิตโปรดักต์ชนิดเดียวในปริมาณมากๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องใช้เครื่องจักรในการผลิตที่เฉพาะและทำงานต่อเนื่องไม่หยุด ส่วนใหญ่แล้วระบบการผลิตประเภทนี้จะเป็นการแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ ให้เป็นวัตถุดิบหรือวัสดุตั้งต้นที่มีความต้องการสูงมาก เช่น การกลั่นน้ำมัน การหลอมเหล็ก การทำสารเคมี การทำกระดาษ ฯลฯ

ลักษณะของการผลิตแบบต่อเนื่อง

  • โปรดักต์มีความต้องการสูงมาก และมักจะผลิตวัสดุหรือสารตั้งต้น (Raw Materials)
  • โปรดักต์และกระบวนการผลิตมีมาตรฐาน
  • เครื่องมือจักรหนึ่งเครื่อง หนึ่งฟังก์ชั่นการทำงาน ใช้ผลิตโปรดักต์เดียว
  • ระบบการผลิตมีความแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา
  • ควบคุมแผนและการผลิตง่าย
  • ระบบการผลิตง่ายต่อการทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ

ประโยชน์ของระบบการผลิตและแนวทางการปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

เมื่อพิจารณาประเภทการผลิตในรูปแบบต่างๆ แล้ว เราก็สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบการผลิตแบบใด แต่เมื่อจะนำมาใช้จริงนั้น ก็มีคำแนะนำการนำระบบไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพจริงในโรงงานหรือธุรกิจ

สรุปประโยชน์ของระบบการผลิต

  • ช่วยให้ธุรกิจมองภาพรวมของการผลิต เพื่อการวิเคราะห์และวางแผนการผลิต ทั้งทรัพยากรที่ต้องใช้ กระบวนการผลิต เพื่อผลิตโปรดักต์หนึ่งชิ้นขึ้นมา 
  • ช่วยให้ธุรกิจมีแนวทางในการควบคุมการผลิต รู้ว่าต้องใช้ทรัพยากรเท่าไหร่ บริหารทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นไปตามแผน
  • ช่วยให้มีแนวทางในการตรวจสอบ รีวิว และสอบทานข้อผิดพลาด ตลอดจนปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่าย ต้นทุน และคำนวณผลประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม 
  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการผลิตเพื่อเสนอต่อลูกค้า วางแผนการตลาด การส่งมอบงานให้กับลูกค้าได้

คำแนะนำในการใช้ระบบให้เกิดประสิทธิภาพจริงๆ ในการผลิต

  • เลือกใช้ระบบการผลิตที่เหมาะสมกับการผลิตโปรดักต์สำเร็จ (Final product) 
  • วางระบบโดยพิจารณาองค์ประกอบของระบบการผลิตทั้ง 3 ได้แก่ ทรัพยากร/ปัจจัยการผลิต กระบวนการแปรสภาพ และผลผลิตอย่างรอบคอบ
  • ยึดกระบวนการในการทำระบบการผลิต ทั้ง 3 กระบวนการ ได้แก่ วางแผน ดำเนินงาน และควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามแผน
  • ควรตรวจสอบและรีวิวระบบผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการใช้ทรัพยากรลง
  • ระบบการผลิตควรดำเนินงานตามความต้องการสินค้าในตลาด ไม่ผลิตสินค้าออกมาล้นเกิน ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนการสต็อก 
  • บางระบบการผลิตควรยืดหยุ่น
  • บางระบบการผลิตที่มีกระบวนการชัดเจน ควรปรับเป็นระบบอัตโนมัติ
  • คำนึงถึงต้นทุนและความคุ้มค่าในการผลิตตามสถานการณ์อยู่เสมอ ไม่ยึดระบบจนเกินไป

สรุปท้ายบทความ

ระบบการผลิต ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ทรัพยากร กระบวนการแปรสภาพ และผลผลิต ซึ่งการจะผลิตโปรดักต์หนึ่งๆ ขึ้นมาได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบข้างต้นและกระบวนการที่รอบคอบทั้งการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุม

โดยระบบการผลิตมีหลากหลากประเภทขึ้นอยู่กับผลผลิตและปริมาณ โรงงานและธุรกิจควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ปรับใช้ระบบเพื่อให้สามารถควบคุมงาน จัดการและบริหารการผลิตได้ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนลงได้ 

ประเภทของการผลิตมีอะไรบ้าง

ทำความรู้จัก “ประเภทของระบบการผลิต” และเลือกใช้ให้ถูก.
1. การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) ... .
2. การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermittent Production) ... .
3. การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) ... .
4. การผลิตแบบไหลผ่าน (Mass Production) ... .
5. การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Flow Production).

หลักในการผลิตสินค้าและบริการมีอะไรบ้าง

หลักการการผลิตสินค้าและบริการ นอกจากผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงปัจจัยการผลิตแล้ว ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตต้องนำมาพิจารณา ดังนี้.
การวางแผนงานในการผลิต.
การปฏิบัติตามขั้นตอนของแผนงานในการผลิต.
การตรวจสอบเพื่อประเมินผลการปฏิบัติ.
การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา.

ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ ประเภทของปัจจัยการผลิต 1) ที่ดินและทรัพยากร คือ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ที่ดิน สัตว์ ป่าไม้ แร่ เป็นต้น 2) แรงงาน คือ แรงงานของมนุษย์ทั้งกำลังกายและกำลังความคิดที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ

สินค้าและบริการมีอะไรบ้าง

สินค้าและบริการเหมือนกันคือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างหรือผลิตขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ความต่างอยู่ตรงที่คุณลักษณะ คือสินค้าสามารถจับต้องได้เช่น โทรศัพท์มือถือ เก้าอี้ ปากกา ส่วนบริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่นการฟังเพลง ดูภาพยนตร์ การท่องเที่ยว