การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มีกี่แบบ

กระบวนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์​

เชื่อมต่อระบบกับโซล่าอินเวอร์เตอร์
จากนั้นคุณสามารถเริ่มเชื่อมต่อโซล่าอินเวอร์เตอร์กับระบบ โดยปกติจะติดตั้งไว้ใกล้กับแผงควบคุมหลัก ไม่สำคัญว่าอินเวอร์เตอร์จะอยู่ในอาคารหรือนอกอาคาร แต่ควรติดตั้งไว้ในที่เย็นเพื่อคงประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ในขณะที่เชื่อมต่อโปรดระวังอย่าให้สายขั้วลบเชื่อมกับขั้วลบของอินเวอร์เตอร์ และอย่าให้สายขั้วบวกของแผงโซล่าเซลล์เชื่อมต่อกับขั้วบวกของอินเวอร์เตอร์ เเละต้องระวังความปลอดภัยขณะการเชื่อมต่ออยู่เสมอ!

Bond Solar Inverter และ เเบตเตอร์รี่สำหรับโซล่าเซลล์
หลังจากนั้นให้เชื่อมต่อโซล่าอินเวอร์เตอร์กับแบตเตอรี่ วัตถุประสงค์ของการติดตั้งแบตเตอรี่โซล่าเซลล์คือเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดตอนของพลังงานในช่วงเวลาที่มีเมฆมากหรือเวลากลางคืน โดยปกติจะเชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์กับแบตเตอรี่ด้วยขั้วบวกกับบวกและขั้วลบกับลบ

เชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์กับคอนซูมเมอร์ยูนิต
หลังจากนั้นให้เชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์กับคอนซูมเมอร์ยูนิตเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ปลั๊กธรรมดาเพื่อเชื่อมต่อกับแผงสวิตช์ไฟหลักและเครื่องวัดการผลิตเพื่อตรวจสอบปริมาณไฟฟ้าที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตได้จริง คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ สามารถใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบได้

เริ่มและทดสอบแผงโซล่าเซลล์
หลังจากเดินสายไฟฟ้าและเชื่อมต่อเสร็จแล้ว คุณสามารถเริ่มเปิดสวิตช์เพื่อทดสอบระบบแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งใหม่ได้ หากระบบทำงานได้ดีแสดงว่ากระบวนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เสร็จสมบูรณ์คุณควรตรวจสอบระบบเพื่อบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมบ่อยๆหากจำเป็น

1. On-grid System ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบออนกริด —- คือระบบโซลาร์เซลล์ที่เชื่อมต่อเข้ากับการไฟฟ้า (ไม่มีแบตเตอรี่) อุปกรณ์หลักประกอบด้วย แผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ออนกริด (inverter on grid) มีหลักการทำงาน โดยแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อเชื่อมต่อเข้าระบบการไฟฟ้า และนำไปใช้งานต่อไป

2. OFF Grid System ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบออฟกริด หรือ Stand Alone —- คือระบบโซลาร์เซลล์ ที่ไม่ต่อกับการไฟฟ้า ประกอบด้วย

2.1 ระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ แบบเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ (Off Solar grid connect system)

ระบบออฟกริดเป็นระบบที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาการไฟฟ้า ซึ่งมีวิธีการต่อระบบที่หลากหลาย ทั้งต่อโหลดกระแสตรงกับแผงโซลาร์เซลล์ (ซึ่งผลิตไฟฟ้ากระแสตรง) โดยตรง หรือนำไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ไปแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยอินเวอร์เตอร์ เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ

2.2 แผงโซลาร์เซลล์ต่อพ่วงกับแบตเตอรี่และโหลดกระแสตรง

ข้อดีของการต่อระบบแบบนี้คือ เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ ก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จ่ายให้กับโหลดการใช้ไฟฟ้าได้

สิ่งที่ต้องระวังคือ ไม่ควรชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่มากเกินไปเพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็ว

2.3 แผงโซลาร์เซลล์ที่มีเครื่องควบคุมการชาร์จประจุให้กับแบตเตอรี่ (Charge
Controller) ซึ่งจ่ายไฟให้กับโหลดกระแสตรง

การต่อแบบระบบนี้เป็นที่นิยมในพื้นที่ห่างไกลจากผู้ผลิตไฟฟ้า เพราะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง หรืออาจจะนำไปประยุกต์ใช้กับในพื้นที่ที่ไม่ต้องการลากสายไฟฟ้าไปเพราะมีค่าใช้จ่ายสูง

ข้อดีของการมีเครื่องควบคุมการชาร์จประจุ Charge Controller คือสามารถควบคุมการไหลของประจุไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ได้และจะหยุดการชาร์จเมื่อไฟที่เก็บในแบตเตอรี่มีแรงดันเกินกว่าที่ตั้งค่ากำหนดไว้จึงทำให้แบตเตอรี่มีอายุที่ยาวนานมากขึ้น

2.4 แผงโซลาร์เซลล์ต่อกับเครื่องควบคุมการชาร์จแบตเตอรี่ โดยที่มีตัวอินเวอร์เตอร์แปลงจากไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อจ่ายให้กับโหลดที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ โดยไฟฟ้ากระแสตรงที่ออกจากแบตเตอรี่ยังสามารถจ่ายให้กับโหลดกระแสตรงได้อีกด้วย ระบบแบบนี้มีข้อดีคือมีความยืดหยุ่นในการหาเครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้งาน

เป็นแผงที่แผ่นเซลล์มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมตัด มีสีเข้ม ทำมาจากผลึกซิลิกอนเชิงเดี่ยวที่มีความบริสุทธิ์สูง

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์แบบนี้คือ เป็นโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับโซล่าเซลล์ประเภทอื่น มีอายุการใช้งานเฉลี่ยยาวนานกว่า 25 ปี และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุดแม้อยู่ในภาวะแสงน้อย

2. แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์แบบนี้ แผ่นเซลล์บนแผงจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ไม่มีการตัดมุม และมีสีน้ำเงินไม่เข้มมาก ผลิตจากผลึกซิลิกอนเช่นเดียวกับแบบโมโนคริสตัลไลน์ แต่ใช้จำนวนน้อยกว่า

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์คือ มีประสิทธิภาพการทำงานในขณะที่อุณหภูมิสูงดีกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ และมีราคาถูกกว่า

3. แผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบางหรืออะมอร์ฟัสโซล่าเซลล์ (Amorphous Silicon Solar Cells)

เป็นแผงที่มีลักษณะเป็นชั้นฟิล์มบาง ๆ เกิดจากการนำสารนำแสงมาฉาบเป็นชั้นฟิล์มซ้อนกันจนได้เป็นแผงโซล่าเซลล์ มีประสิทธิภาพรวมถึงอายุการใช้งานน้อยกว่าแผงโซล่าเซลล์ประเภทอื่น

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์แบบฟิล์มบางคือ มีราคาถูกที่สุด ค่าซ่อมบำรุงและดูแลรักษาถูก เหมาะกับคนที่มีพื้นที่บ้านมาก

โซล่าเซลล์ควรเลือกอย่างไร?

การเลือกแผงโซล่าเซลล์นั้นต้องคำนึงถึงการใช้งานว่ามีจุดประสงค์นำไปใช้เพื่ออะไร ในปัจจุบันนี้แผงโซล่าเซลล์มีการใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ใช่แค่ในครัวเรือนเท่านั้น ยังมีทั้งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ออฟฟิศในเมืองก็มีให้เห็นเช่นกัน จากปัญหาค่าไฟต่อหน่วยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เราจึงมีโอกาสได้เห็นแผงโซล่าเซลล์ผ่านตาบ่อยขึ้น

การเลือกโซล่าเซลล์ไม่ใช่จะดูแต่ราคาที่ถูกที่สุดเท่านั้น เราต้องดูถึงประสิทธิภาพการใช้งานรวมถึงพื้นที่ที่เรามีในการติดตั้งแผงด้วย จากที่กล่าวในข้างต้นว่าโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 20 ปี การเลือกซื้อก่อนติดตั้งควรต้องศึกษาข้อมูลและเลือกโซล่าเซลล์ยี่ห้อที่มีคุณภาพ และมีการดูแลหลังการขายที่ดีด้วย

เลือกโซล่าเซลล์ยี่ห้อไหนดี?

 

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มีกี่แบบ

 

โซล่าเซลล์ในท้องตลาดมีอยู่หลายแบบ หลายยี่ห้อ ก่อนที่จะเลือกซื้อคุณควรจะต้องรู้วิธีการดูสเปคของแผงโซล่าเซลล์เสียก่อน ซึ่ง สเปคโซล่าเซลล์ไม่ยากอย่างที่คิด คำถามคือ เมื่อดูสเปคเป็นแล้วจะเลือกยี่ห้อไหนดีล่ะ? เพราะการซื้อแผงโซล่าเซลล์ครั้งหนึ่งมันจะอยู่กับเราไปอีกนับสิบปี เราจึงต้องมองหาโซล่าเซลล์ที่ดี และมีประสิทธิภาพ

โซล่าเซลล์ PSI คือสิ่งที่ตอบโจทย์ในทุกข้อที่กล่าวมาเพราะแผงโซล่าเซลล์ของ PSI ทำจากวัสดุเกรดพรีเมียม ผ่านมาตรฐานการรับรองระดับสากล มีศูนย์บริการทั่วประเทศ คุณจึงหมดห่วงเรื่องการบริการหลังการขาย เราไม่ได้เป็นเพียงแต่ผู้นำในด้านจานดาวเทียมเท่านั้น แต่เรายังมุ่งมั่นและพัฒนาที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเรามีทั้งผู้ที่จะใช้ในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมที่มาพร้อมโปรโมชั่นและของแถมอีกจำนวนมาก คลิกดูโปรโมชันโซล่าเซลล์ที่นี่

อีกทั้งโซล่าเซลล์ของ PSI คุณสามารถเช็กความประหยัดแบบวันต่อวันได้ทางแอปพลิเคชัน “PSI Hybrid Energy” (ดาวน์โหลดได้ผ่าน Google Play Store และ App Store) ที่จะบอกรายละเอียดปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ บอกการใช้ไฟและย้อนดูประวัติการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ได้อีกด้วย และโซล่าเซลล์ของ PSI มีการรับประกันสินค้าถึง 5 ปี ประกันประสิทธิภาพ 25 ปี จัดส่งรวดเร็ว ติดตั้งโดยช่างที่ได้มาตรฐาน ของดีโปรเด็ดแบบนี้บอกเลยไม่มีไม่ได้แล้ว

สามารถติดต่อขอซื้อโซล่าเซลล์รวมถึงขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งได้ที่  PSI.CO.TH รวมทั้งที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE : @PSI1247 FB : https://www.facebook.com/psisats

โซล่าเซลล์ PSI ช่วยคุณประหยัดไฟได้ล้านเปอร์เซ็นต์!

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • SOLAR ROOFTOP คือ….?
  • ประหยัดค่าไฟต่อปีได้ถึง 2,500 ด้วย Easy Plug เสียบปุ๊บประหยัดปั๊บ

แผงโซล่าเซลล์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ประหยัดไฟเหมือนกันหรือไม่ และเราควรเลือกโซล่าเซลล์ยี่ห้อไหนดี มีหลักการเลือกอย่างไร.

แผงโซล่าเซลล์มีแบบไหนบ้าง

แผงโซล่าเซลล์ มีกี่ชนิด ต่างกันอย่างไร.
แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) ... .
แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) ... .
แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells).

แผงโซล่าเซลล์ติดตั้งอย่างไร

ทิศใต้ เป็นทิศที่ดีที่สุด ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ถ้าเลือกได้ เพื่อนๆควรหันแผงเข้าหาทิศใต้ โดยทำมุมองศาดังต่อไปนี้นะครับ กรุงเทพ = เอียงแผงประมาณ 13.5 องศา เกือบเป็นแนวนอน เชียงใหม่ = เอียงแผงประมาณ 18.4 องศา โดยยกแผงให้สูงเชิดขึ้นมาหน่อยครับ

ติดตั้งโซล่าเซลล์กี่บาท

สำหรับการติดโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน หากเราไปถามผู้ติดตั้งทั่วๆไปที่เน้นราคาถูกเราจะได้ราคาอยู่ที่ประมาณ 110,000 – 130,000 สำหรับระบบ 5kW (ขนาดที่นิยมสำหรับโฮมออฟฟิศขนาดเล็ก) ซึ่งจะลดค่าไฟได้ประมาณ 2,500-3,000 บาทต่อเดือนโดยประมาณ

แผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี

แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ชนิดนี้ โมโนคริสตัลไลน์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 4 เท่า ของชนิด ฟิล์มบางหรือ thin film. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้น ...