ใบรับรองการตรวจสอบอาคาร มีอายุกี่ปี

โดยวิศวกร เรามุ่งมั่นพัฒนาทีมงาน เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการทำงานเพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีที่สุด รวดเร็วตามแผนงาน ด้วยราคาที่เหมาะสม ควบคู่กับมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานวิศวกรรมและกฎหมายควบคุมอาคาร โดยมีเป้าหมายสูงสุดของการตรวจสอบสภาพอาคารเพื่อให้เกิดความความปลอดภัยต่อชีวิตร่างกาย สุขภาพ และ ทรัพย์สิน โดยการตรวจสอบใหญ่จะเพิ่มรายละเอียดการตรวจและเพิ่มรายงานมากกว่าการตรวจสอบประจำปี แต่ไม่เพิ่มราคา

ตรวจสอบความปลอดภัยใช้งานอาคาร ตรวจสอบอาคาร โดยวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสภาวิศวกรและได้รับใบอนุญาตผู้ตรวจสอบอาคารจากกรมโยธาธิการและผังเมือง 

Show

ตรวจสอบอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ตรวจสอบอาคาร คือการตรวจสอบสภาพอาคารด้านความมั่นคงแข็งแรงของอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่างๆของอาคาร มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้อาคารและสร้างความปลอดภัยในการใช้อาคารอย่างถูกต้อง อุปกรณ์ของงานวิศวกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญของงานในอาคาร ประกอบด้วยระบบบริการและอำนวยความสะดวก ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ปกติมีราคาสูง ซึ่งเราจะต้องใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามกฏหมาย มาตรฐาน โดยการตรวจสอบนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การประเมินความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆว่าอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถใช้งานได้ตามปกติ หากเจ้าของอาคารได้รับใบรับรองการ ตรวจสอบอาคาร ร.1 ไม่ได้หมายความว่าอาคารหลังนั้นถูกกฎหมายไปด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังคงมีอำนาจตามกฎหมายอื่นๆ ในการตรวจสอบตามกฎหมายอยู่ซึ่งสามารถออก ตรวจสอบอาคาร และออกคำสั่งให้อาคารที่ยังผิดกฎหมายแก้ไขให้ถูกต้องได้เหมือนเดิม ตรวจสอบอาคาร จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในเรื่องการตรวจสอบการใช้อาคารอย่างปลอดภัย

ตรวจสอบอาคาร และทำรายงานการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคาร

1. การ ตรวจสอบตัวอาคาร ให้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
2. การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร
2.1 ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
2.2 ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
2.3 ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
3. การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการอพยพ
4. การตรวจสอบระบบบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในอาคาร

ข้อมูลประกอบการเสนอราคา ตรวจสอบอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

1. ชื่อ-ที่อยู่ นิติบุคคลอาคารชุด หรือ ชื่อ-ที่อยู่ อาคาร / โรงงาน / โรงแรม
2. จำนวนอาคารที่ต้องการตรวจสอบ
3. จำนวนชั้น, จำนวนห้อง (กรณีอาคารชุด), พื้นที่รวมของแต่ละอาคาร (ตารางเมตร)
4. จำนวนบันไดต่อเนื่องที่นำคนออกสู่ชั้นพื้นดิน ของแต่ละอาคารมี 2 หรือ 3 หรือ 4 บันได (ไม่รวมบันไดลานจอดรถ)
5. จำนวน Fire Pump, Generator, Pressurize Fan (ถ้ามี)
6. เป็นการตรวจสอบใหญ่ หรือ การตรวจสอบประจำปีครั้งที่เท่าไร (1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4)

ขอข้อมูลเท่าที่มีครับ

ติดต่อสอบถาม ขอใบเสนอราคาตรวจสอบอาคาร   

ชื่อผู้ส่ง

อีเมลผู้ส่ง

ข้อมูลประกอบการเสนอราคา

Submit

Δ

หรือติดต่อสอบถาม ตรวจสอบอาคาร ทางไลน์ 

LINE กรณ์ : Add Friends 

 

หรือเพิ่มเพื่อนจากเบอร์โทร

Tel : 092-661-9625

 

หรือติดต่อสอบถามทางเมล ซีเคนโซ

Email : [email protected]

Tel : 061-545-6926

 

อาคารที่ต้องตรวจสอบตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 

 มาตรา 32 ทวิ เจ้าของอาคาร ดังต่อไปนี้
(1) อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
(2) อาคารชุมนุมคน
(3) อาคารตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และการจัดแสงสว่าง ระบบการเตือน การป้องกันและการระงับอัคคีภัย การป้องกันอันตรายเมื่อมีเหตุชุลมุนวุ่นวาย ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเครื่องกล หรือระบบอื่น ๆ ของอาคารที่จำเป็นต่อการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน แล้วรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาผลการตรวจสอบสภาพอาคารตามวรรคหนึ่งโดยมิชักช้า เพื่อพิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคารหรือดำเนินการตามมาตรา 46 หรือมาตรา 46 ทวิ แล้วแต่กรณี ต่อไป
(“มาตรา 32 ทวิ” บัญญัติเพิ่มโดย พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 17)

     มาตรา ๓๒ ตรี เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการ สำหรับอาคารชนิดหรือประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ (๑๖) ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและจำนวนเงินเอาประกันภัยที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวงโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคาร
(“มาตรา 32 ตรี” บัญญัติเพิ่มโดย พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 มาตรา 4)

อาคาร 9 ประเภทที่ต้อง ตรวจสอบอาคาร

1. อาคารสูง (อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่ หรือเข้าใช้สอยได้ ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่ว หรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด)

2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ  (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคาร หรือส่วนใดของอาคารเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบกิจการประเภทเดียว หรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป)

3. อาคารชุมนุมคน (อาคาร หรือส่วนใดของอาคาร ที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป)

4. โรงมหรสพ (อาคาร หรือส่วนใดของอาคาร ที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม)

5. โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตังแต่ 80 ห้องขึ้นไป

6. อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย สำหรับหลายครอบครัว โดยจะแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

– กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555

– กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกัน ในหลังเดียวกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบ และส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553

7. อาคารโรงงาน ที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป

8. สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป

9. ป้าย สูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติด หรือตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

กฎหมายควบคุมอาคาร 

 

  • พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ( ฉบับที่ ๒,๓,๔,๕ )

 

  • พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พศ ๒๕๒๒

 

  • พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๒)

 

  • พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๔๓ (ฉบับที่ ๓)

 

  • พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๕๐ (ฉบับที่ ๔)

 

  • พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๕)

 

  • พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ 

 

  • พระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ 

 

  • พระราชบัญญัติ โรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ 

 

  • พระราชบัญญัติ โรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗

 

  • พระราชบัญญัติ ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๔๒

 

  • ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๔

 

  • กฎกระทรวง กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้ดำเนินการ ผู้ครอบครองอาคาร และเจ้าของอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๑

 

  • กฎกระทรวง กําหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. ๒๕๔๘

 

  • กฎกระทรวงการแก้ไขอาคารที่มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจเป็นภยันตราย ต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๓

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘) การกระทำซึ่งไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร การรื้อถอนอาคาร

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๒, ๕๐

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑)

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๓๗) – ที่จอดรถ, อาคารจอดรถ, ระบบยกรถขึ้นลงฯด้วยลิฟต์, ระบบเคลื่อนย้ายรถด้วยเครื่องจักรกล

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๓๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ระบบการระบายน้ำ, การกำจัดขยะฯ

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕)

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๘,๖๑,๖๖

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙) แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๗) การป้องกันไฟโครงสร้างอาคาร

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๖๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไข กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓)

 

  • กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ. ๒๕๖๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไข กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ โถงหน้าลิฟต์ดับเพลิง

 

  • กฎกระทรวง กำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๙

 

  • กฎกระทรวง กำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑

 

  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕

    การตรวจสอบอาคารกี่ปีตรวจ

    2.ระยะเวลาการตรวจสอบ อาคารที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 จะต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ อาคาร ดังนี้ “ การตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี ” และตรวจสอบย่อยประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ตามความใน มาตราทวิ 32 ทวิ ของ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฉบับที่ 3 พ.ศ.2543 และในการตรวจสอบ ใหญ่ครั้งแรกต้องส่งผลการตรวจภายใน 29 ธันวาคม 2550.

    ตรวจสอบอาคาร ต้องตรวจทุกปีไหม

    1.ตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี คิดราคา 2-4 บาทต่อตารางเมตรแต่รวมเเล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อครั้งในการตรวจ 2.ตรวจสอบย่อยทุกปี คิดราคา 8,000-18,000 บาทต่อปี 3.ตรวจสอบป้ายคิดค่าตรวจ 5,000-10,000 บาทต่อครั้งในการตรวจ

    ทำไมต้องตรวจสอบอาคารประจำปี

    ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจรอบอาคารเพื่อ ให้มีความพร้อมจะใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันและ ระงับอัคคีภัยและความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร อันจะทําให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพ ลิน อาคารถล่มจากการเกิดอัคคีภัย อาคารที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบตาม

    ตรวจสอบอาคาร ต้องตรวจอะไรบ้าง

    การตรวจสอบอาคารตามกฎหมายต้องตรวจสอบอะไรบ้าง.
    1. การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ... .
    2. การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ... .
    3. การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร ... .
    4. การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร.