หนังสือมอบอํานาจที่ดินติดอากรกี่บาท

การมอบอำนาจจัดการเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อปรากฏว่า  ท่านผู้อ่านไม่สามารถเข้าไปจัดการงานด้านเอกสารกับคู่สัญญากับท่านได้  จำเป็นต้องมีการมอบอำนาจ  ซึ่งเมื่อมีการมอบอำนาจจะต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐานในการมอบอำนาจในครั้งนั้นๆ  โดยแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจนั้น  ท่านผู้อ่านสามารถค้นหาในเว็บไซต์ดาวน์โหลดและปริ้นออกเป็นเอกสารได้  หรือท่านจะซื้อจากร้านค้าต่างๆ  ที่มีเป็นเอกสารแบบฟอร์มก็ใช้ได้เช่นกัน 

เมื่อมีการดาวน์โหลดหรือซื้อหนังสือมอบอำนาจมาแล้ว  ท่านต้องกรอกข้อความในช่องอำนาจให้ครบถ้วนเสียก่อนมอบให้ผู้รับมอบอำนาจได้จัดการงานแทนท่าน  มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาตามมาได้  (  มีบทความอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องท้ายบทความ  เกี่ยวกับการกรอกหนังสือมอบอำนาจลอยไว้) 

เมื่อมอบอำนาจแล้ว  มีประเด็นปัญหาว่า  ท่านจะต้องปิดอากรแสตมป์เท่าไหร่จึงจะถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด 

คำตอบ  ท่านต้องดูว่า  กิจการที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปจัดการแทนนั้น  เป็นการจัดการสิ่งเดียวอย่างเดียวแล้วเสร็จไป  หรือต้องการให้ทำกิจการหลายสิ่งหลายอย่างรวมอยู่ในหนังสือมอบอำนาจนั้น ๆ  ซึ่งมีผลต่อการปิดอากรแสตมป์ด้วย  ดังนั้น  การปิดอากรแสตมป์จึงต้องปิดจำนวน  10  บาท  เมื่ออำนาจให้ไปจัดการสิ่งเดียวอย่างเดียว  หรือหากมอบอำนาจให้ไปทำกิจการหลายอย่างก็ต้องปิดอากรแสตมป์  30  บาท 

เมื่อปิดอากรแสตมป์แล้วจะต้องขีดฆ่า ที่อากรแสตมป์ที่ปิดนั้นด้วย  จึงจะถือว่าเป็นการปิดอากรแสตมป์ที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายรัษฎากร  มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2545 (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ตามหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความไว้โดยแจ้งชัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้นาง ก. หรือนาย ส. คนใดคนหนึ่งกระทำการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันคดีนี้เท่านั้น ทั้งกิจการที่นาง ก. หรือนาย ส. กระทำเป็นกิจการเดียวกันคือฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เพียงครั้งเดียว หาได้กระทำกิจการแยกกันต่างคนต่างฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียวไม่ แม้นาย ส. ผู้รับมอบอำนาจคนหนึ่งเป็นผู้แต่งตั้งทนายความและนาง ก. ผู้รับมอบอำนาจอีกคนหนึ่งเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่ากิจการที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองกระทำเป็นกิจการเดียวกันคือฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ต่อจำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7 (ก) เมื่อโจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจำนวน 30 บาท จึงสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7 (ก) แล้ว หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118

การปิดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ

  • คดีแพ่ง
  • ทริบเทคนิค/บทความ
  • ทั้งหมด
การปิดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ

December 23, 2014

146517

หนังสือมอบอํานาจที่ดินติดอากรกี่บาท

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

การปิดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ ทนายความใหม่ๆ หรือประชาชนทั่วไปไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับการติดอากรแสตม์ป ทางตั๋วทนาย.com จึงขอเรียนให้ท่านทราบเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการติดอากร


ข้อเท็จจริงและประเด็นคำถาม:

ข้อเท็จจริง

ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 113 กำหนดไว้ดังนี้

(1) กรณีมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนดำเนินการครั้งเดียวปิดอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท

(2) กรณีมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนดำเนินการมากกว่าครั้งเดียวปิดอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท

(3) กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้จะคิดตามตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจโดยปิดอากรแสตมป์คนละ 30 บาท


ประเด็นคำถาม

ประเด็นแรก การติดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจควรนับตามจำนวนผู้มอบอำนาจด้วยหรือไม่

ประเด็นที่สอง ลักษณะการปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจตามข้อ 7 บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ขอถามว่าในกรณีมอบอำนาจดังต่อไปนี้ ควรติดอากรแสตมป์เท่าใด

ถ้าผู้มอบอำนาจมี 1 คน ทำหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ ตามข้อ (1), (2) หรือ (3) ของประมวลรัษฎากร มาตรา 113 ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์

ถ้าผู้มอบอำนาจมี 10 คน ทำหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ ตามข้อ (1), (2) หรือ (3) ของประมวลรัษฎากร มาตรา 113 ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์

จำนวนผู้มอบอำนาจ 1 คนกับจำนวนผู้มอบอำนาจ 10 คน ต่างกันหรือไม่ และจำนวนผู้มอบอำนาจเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่กับการติดอากรแสตมป์
ความเห็นและข้อเสนอแนะ:

ข้อกฎหมาย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113 ตราสารใดมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือผู้ทรงตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์ชอบที่จะยื่นตราสารนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากรได้เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับตราสารแล้วให้อนุมัติให้เสียอากรภายในบังคับแห่งบทบัญญัติต่อไปนี้

“1. ถ้าตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์นั้น เป็นตราสารที่กระทำขึ้นในประเทศไทย เมื่อผู้ขอเสียอากรได้ยื่นตราสารนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเสียอากรภายใน 15 วัน นับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ก็ให้อนุมัติให้เสียเพียงอากรตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้”

บัญชีอัตราอากรแสตมป์

“7. ใบมอบอำนาจ คือใบตั้งตัวแทนซึ่งมิได้กระทำในรูปลักษณะตราสารสัญญา รวมทั้งใบตั้งอนุญาโตตุลาการ (ก) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำมากกว่าครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท (ค) มอบอำนาจให้กระทำการ มากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท

หมายเหตุ ถ้าผู้มอบอำนาจมีหลายคนแต่มิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกันต้องคิดตามรายตัวบุคคลผู้มอบคนหนึ่งตามมาตรา 108 ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (1) ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล

(2)ใบมอบอำนาจให้โอนหรือให้กระทำการใดๆเกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ (3) ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรื่อสิ่งของแทน (4) ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์” และประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 108 ถ้าทำตราสารหลายลักษณะตามที่ระบุในบัญชีท้ายหมวดนี้บนกระดาษแผ่นเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกัน เช่น เช่าและกู้ยืมรวมกันไว้หรือทำตราสารลักษณะเดียวกันหลายเรื่องบนกระดาษแผ่นเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกัน เช่น ขายของสิ่งหนึ่งให้แก่คนหนึ่ง และขายอีกสิ่งหนึ่งให้แก่อีกคนหนึ่ง ซึ่งตามสภาพควรจะแยกกันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ให้ครบทุกลักษณะหรือทุกเรื่อง โดยปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นรายตราสารแยกไว้ให้ปรากฏว่าตราสารใดอยู่ที่ใดและแสตมป์ดวงใดสำหรับตราสารลักษณะหรือเรื่องใดให้บุคคลใดกระทำกิจการในหนังสือมอบอำนาจตามตารางท้ายประมวลรัษฎากรแต่ในกรณีที่มีผู้มอบอำนาจหลายคน

การดำเนินการให้คำปรึกษา

ประเด็นแรก การติดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจควรนับตามจำนวนผู้มอบอำนาจด้วยหรือไม่ โดยทั่วไปการทำหนังสือมอบอำนาจจะพิจารณาจากจำนวนบุคคลผู้รับมอบอำนาจและการมอบอำนาจให้กระทำกิจการครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ซึ่งข้อกำหนดในเรื่องการปิดอากรแสตมป์ของหนังสือมอบอำนาจปรากฏตาม ข้อ 7 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อย่างไรก็ดี ในหมายเหตุของข้อ 7 จากอัตราบัญชีท้ายหมวดในประมวลรัษฎากร ได้กำหนดว่า ถ้าผู้มอบอำนาจมีหลายคน แต่มิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวบุคคลผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง การปิดอากรแสตมป์ลักษณะนี้ใช้กับการทำนิติกรรมสัญญาหลายเรื่องในเอกสารฉบับเดียวจำเป็นจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลผู้มอบอำนาจเนื่องจากทำตราสารหลายลักษณะ ตามมาตรา 108 ที่กำหนดว่า “ถ้าทำตราสารหลายลักษณะตามที่ระบุในบัญชีท้ายหมวดนี้บนกระดาษแผ่นเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกัน เช่น เช่าและกู้ยืมรวมกันไว้หรือทำตราสารลักษณะเดียวกันหลายเรื่องบนกระดาษแผ่นเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกัน… ซึ่งตามสภาพควรจะแยกกันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ให้ครบทุกลักษณะหรือทุกเรื่อง โดยปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นรายตราสารแยกไว้ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้นถ้าผู้มอบอำนาจมีหลายคนและไม่ได้มีอำนาจร่วมกัน และเป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการหลายลักษณะลงบนเอกสารฉบับเดียวกัน ตามมาตรา 108 เช่น การเช่าและการให้กู้ยืมเงินต้องคิดการปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคลผู้มอบอำนาจเป็นเรื่องหนึ่งด้วย

ในประเด็นที่สอง การพิจารณาการปิดอากรแสตมป์ตามข้อ 7 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องคำนึงถึงกิจการที่ผู้มอบอำนาจให้ดำเนินการเป็นครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ดังกล่าว หากมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการครั้งเดียว เท่านั้นต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามบัญชีอัตรา (ก) หากให้บุคคลคนเดียวกระทำกิจการมากกว่าครั้งเดียว ต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตรา (ข) ดังนั้น ตามคำถามของผู้ร้องในข้อที่ 1 จึงขึนอยู่กับการมอบอำนาจให้กระทำกิจการครั้งเดียวหรือหลายครั้ง และในกรณีผู้มอบอำนาจมี 10 คน และทำหนังสือมอบอำนาจเพียงฉบับเดียว ถ้าในกรณีที่ไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันแล้วต้องปิดอากรแสตมป์แยกตามรายตัวบุคคลผู้มอบอำนาจเพราะได้มอบอำนาจให้ทำตราสารหลายลักษณะ หลายประเภทสำหรับในประเด็นการมอบให้ดำเนินกิจการครั้งเดียวหรือหลายครั้งมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2537 วินิจฉัยว่า

ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.ได้แต่งตั้งให้ น. และหรือ ว. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการต่างๆแทนห้างหุ้นส่วน ได้แก่ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี และดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในศาลทั้งหลายของประเทศไทยหรือองค์การใดๆของรัฐบาลในประเทศไทยต่อจำเลยทั้งห้า ฟ้องร้องดำเนินคดี้ล้มละลายแก่ลูกหนี้ในประเทศไทยและกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึง 5 ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ค่าอากรจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากรแม้โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว แต่ก็เป็นการกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ ก. หาใช่โจทก์ทั้งสามต่างคนต่างมอบอำนาจเป็นการเฉพาะตัวไม่เมื่อเป็นการมอบอำนาจให้บุคคล 2 คน ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์สำหรับผู้รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 60 บาท เท่านั้น