วิธีขับรถ ฟอร์จูน เนอ ร์ เกียร์ ออ โต้ ขึ้นเขา

5 วิธีขับรถเกียร์ออโต้ ให้ได้ภายใน 1 วัน

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทุกๆ คน ต้องมีปัจจัยที่ 5 อย่าง รถยนต์ส่วนบุคคล ที่สามารถไปไหนก็ได้ตามใจของคุณเอง หรือแม้กระทั่ง รถเช่ากรุงเทพ ที่คุณเช่าเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเกียร์ออโต้ ที่อาจจะใช้งานได้ง่ายๆ สำหรับพวกมือใหม่ หรือ ผู้ใช้ยุคใหม่ ที่มีไว้ขับขี่ในเมือง หรือ จะเอาออกไปท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด อย่างไรเสีย ทาง รถเช่า BANANA rent-a-car จะมาแนะนำ 5 วิธีขับรถเกียร์ออโต้ ให้คล่องๆ ภายใน 1 วัน ต้องทำอย่างไร มาดูกับเราได้เลย รับรองใช้ได้แน่นอน 100%

1. เรียนรู้หน้าตาเกียร์ เบื้องต้นเสียก่อน ในวิธีขับรถเกียร์ออโต้

อย่างแรกเลย ก็คือ ต้องเรียนรู้เรื่องตำแหน่งต่างๆ ของเกียร์ออโต้ และหน้าที่ของตรงส่วนนั้นก่อน เพื่อจะได้ทราบและเข้าใจในการใช้งาน โดยทั่วไปจะมีอยู่ 7 ตัวด้วยกัน ได้แก่ P, R, N กับ D ที่ยืนพื้นๆ และจะมีอีก 3 ตัว ที่จะมีอยู่ในรถรุ่นใหม่ๆ ตามแล้วแต่ละยี่ห้อรถ คือ 3, 2 และ L ที่ตรงส่วนหลังทั้งหมด มีเอาไว้ใช้งานยามที่ต้องวิ่งขึ้นลงเขาลดการใช้เบรก ถี่ๆ เพราะ ผ้าเบรคจะหมดได้เร็วยิ่งขึ้น หากใช้พร่ำเพรื่อ

อย่างไรก็ตาม เราก็ควรเรียนรู้อ็อปชันเอาไว้ด้วย เนื่องด้วยในรถยนต์แต่ละรุ่น ก็จะมีอ็อปชันเสริมพิเศษไว้ด้วย สำหรับเกียร์ออโต้ ไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม S ที่เป็นปุ่มเพิ่มความเร็ว ไว้แซง ซึ่งในยุคใหม่ๆ มักจะไม่ใช้กัน เพราะรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ได้ออกแบบให้มีรอบเครื่องที่เร็วขึ้นในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะ ตัวเกียร์ D ที่จะเพิ่มสปีดความเร็วให้เองอยู่แล้ว ราวลงเกียร์ 3-4 แบบเกียร์ธรรมดา ฉะนั้นไม่ต้องห่วงเลย

2. วิธีขับรถเกียร์ออโต้ ง่ายๆ แบบฉบับ BANANA

  • การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท
  • การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ
  • การขับขึ้น-ลง ทางลาดชัน ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ
  • การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ L มาเป็น D ผ่อนความเร็ว แล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ
  • การจอดรถ ค่อยๆ ผ่อนความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรคมือ ดับเครื่อง
  • การจอดรถ ในลักษณะกีดขวางคันอื่น หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้ว แต่ไม่ต้องดึงเบรคมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ ที่เรียกว่า SHIFT LOCK แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N
  • การจอดกรณีติดไฟแดง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง N
  • การถอยหลัง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆ ผ่อนเบรคเพราะรถจะถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจเหยียบคันเร่งแบบค่อยๆ เหยียบ


3. ใช้เท้าขวาข้างเดียวพอแล้ว สำหรับวิธีขับรถเกียร์ออโต้

พยายาม เบรค หรือ เหยียบคันเร่ง ด้วยเท้าขวาเท่านั้น และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตารท์รถ เพื่อป้องกันอันตรายถึงแม้ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ตำแหน่ง (P) หรือ (N) ก็ตาม และเหยียบเบรคทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ว่าง (N) หรือ เกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง (R) จำไว้ให้ขึ้นใจครับ รถหยุดนิ่ง เหยียบเบรคก่อนทุกครั้งก่อนขยับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ อีกทั้งให้คุณใช้แค่เพียงส่วนฝ่าเท้าขวาก็พอ จะได้แก้ปัญหาปวดเท้า ง่ายๆ คือ เอาส้นเท้าขวาปักไว้ เอาแรงลงไปที่ฝ่าเท้า

สำหรับคุณผู้หญิงด้วยแล้ว หากไม่ใช่ไปงานราตรี หรือ ออกมางานใดๆ ก็เลี่ยงการใส่รองเท้าส้นแหลม หรือ ส้นสูงส้นตึก เพราะจะไม่สามารถเหยียบ เบรค หรือ คันเร่ง ได้เต็มที่ และถอดรองเท้าขับรถด้วยแล้ว ก็ขอให้เอารองเท้าไปวางที่อื่น ที่ไม่ใกล้ตรงส่วน คันเร่ง กับ เบรค เพราะอาจจะไปขัดตรงร่องหรือวิถีการใช้งานได้


4. ไม่ควรขับลากเกียร์

โดยทั่วไปการขับรถยนต์เกียร์ออโต้ ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ (D) ระบบสมองกลที่ควบคุมเกียร์จะทำการสั่งงานให้ปรับเปลี่ยนเกียรให้ขึ้นลงตาม ความเหมาะสมและความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลา บางท่านรู้มากใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์โดยการเลื่อนคันเกียร์ขึ้นลงเองใน ขณะที่รอบเครื่องทำงานสูงสุดเพียงเพื่อหวังผลทางด้านอัตราเร่งแต่จะมีผลทำ ให้ผ้าคลัทช์ และระบบทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหาย และทำให้มีอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง


5. เช็คน้ำมันเกียร์ออโต้ บ่อยๆ

น้ำมันเกียร์ออโต้ เป็นหัวใจของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถ ท่านให้ยาวนาน จึงควรเอาใจใส่ตรวจสอบบ่อยๆ การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด กำหนดหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่แนะนำ ไม่มีเกียร์ออโต้ใดๆ ไม่ต้องการการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้งานของรถตามที่มีหลายๆ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์โฆษณาชวนเชื่อให้รถยนต์ของตนดูทนทานและแข็งแรงตามความเป็นจริงจากสภาพการจราจร อุณหภูมิ และสภาพการขับขี่เกียร์ออโต้ทุกยี่ห้อ ยังต้องการการดูแลแปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่ใช้

วิธีที่สามารถเรียนรู้และฝึกหัดได้เอง ขอให้ท่านผู้อ่านเดินทางท่องเที่ยวบนเขาอย่างมีความสุข

ช่วงฤดูหนาวผู้คนมากมายก็มักจะไปท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อสัมผัสอากาศเย็นและชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนดอยหรือเขาสูง ที่ต้องขับรถขึ้นไปบนเขาที่มีความชันมาก ถ้าหากไม่มีความชำนาญในการขับรถ ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ค่ะ วันนี้โตโยต้ากาญจนบุรีจึงมีเคล็ดลับในการ ขับรถ ขึ้นเขา-ลงเขา มาฝากกันค่ะ

1. ขาขึ้นควรใช้เกียร์ต่ำ
ทางขึ้นเขาจะมีความชันมาก รถจึงต้องการแรงมากกว่าการขับรถบนถนนปกติทั่วไป และเกียร์ที่สามารถใช้ในการขับรถขึ้นทางชันได้ ก็มีเพียงแค่เกียร์ 1 และ 2 เท่านั้น (เกียร์ 1 และ 2 มีแรงมากกว่าเกียร์อื่น ๆ ) และหากรู้สึกว่ารถเริ่มไม่มีแรง ก็ให้ลดเกียร์ต่ำลงมาอีก เช่น ขับมาเกียร์ 2 แล้วรถเริ่มอืด ๆ ให้ลดเกียร์มาเป็นเกียร์ 1 แทน จะทำให้รถมีแรงมากขึ้นครับ ส่วนรถเกียร์ออโต้ ให้เปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่ง “L”

2. ขาลงให้ใช้เกียร์ต่ำเช่นกัน
สำหรับการขับรถขาลงเขา ก็ควรใช้เกียร์ต่ำเหมือนกับขาขึ้นเขานะครับ แต่ขาลง รถไม่ต้องการแรงมากเท่าไหร่ แค่ต้องการแรงฉุดเพื่อให้รถวิ่งช้าลง ซึ่งการใช้เกียร์ต่ำวิ่งลงทางชันนั้น จะทำให้เครื่องยนต์มีแรงฉุดมาก เคลื่อนที่ได้ไม่เร็ว ทำให้สามารถเบรกและเข้าโค้งได้อย่างมั่นใจครับ อีกทั้ง ทางลงเขาควรอยู่ที่เกียร์ 1 หรือ 2 เท่านั้นครับ และห้ามดับรถหรือใช้เกียร์ว่างลงเขาเด็ดขาด!

3. ระวังทางโค้ง
ปกติแล้วทางขึ้นเขาจะตัดถนนเป็นทางโค้งคดเคี้ยวไปมา ยิ่งภูเขาสูงมากเท่าไหร่ ถนนก็ยิ่งคดเคี้ยว เพราะทางโค้งใช้สำหรับลดความลาดชันของพื้นที่ให้รถสามารถขับขึ้นไปได้ ซึ่งทางโค้งบนเขานั้น มักจะมีต้นไม้บังถนนอีกฝั่ง เวลาเข้าโค้งจึงควรขับชิดซ้ายเอาไว้ครับ เผื่อมีรถอีกฝั่งแซงมาในทางโค้งจะได้หลบหลีกได้ทัน

4. ห้ามแซง
เนื่องจากถนนบนเขานั้นมีความแคบและคดเคี้ยวมาก ทำให้ไม่สามารถมองเห็นรถอีกฝั่งได้ชัดเจน เพราะถูกทางโค้งหรือต้นไม้บดบัง จึงไม่ควรขับแซงในเขตห้ามแซง หรือไม่ควรขับแซงในที่ที่ไม่สามารถมองเห็นรถอีกฝั่งได้ เนื่องจากอุบัติเหตุบนเขาส่วนใหญ่ก็มาจากการแซงทางโค้ง หรือแซงโดยที่มองรถอีกฝั่งไม่เห็นนี่แหละ

5. คำนวณระยะเบรกในทางลง
สำหรับทางลงเขาจะซึ่งมีความชันมาก รถจะต้องการระยะเบรกเพิ่มขึ้นยาวกว่าปกติ เนื่องจากความลาดชันของพื้นที่และน้ำหนักของตัวรถจะมีผลให้รถเบรกได้ช้าลง ดังนั้น เวลาคุณเบรกขณะอยู่บนทางลงเขา ควรคำนวณระยะเบรกให้เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้สามารถเบรกได้อย่างเหมาะสม และไม่ไปชนรถคันข้างหน้าครับ

6. เร่งเครื่องอย่างสม่ำเสมอ
การเร่งเครื่องขึ้นเขาเราต้องเร่งเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งกำลังให้รถมีกำลังขึ้นเขาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งในทางชันยาว ๆ ควรเร่งต่อเนื่องกันไป เพราะหากเร่ง ๆ หยุด ๆ จะทำให้รถเสียกำลังและไหลลงมาได้ ซึ่งอันตรายมาก

7. แตะเบรกเป็นระยะ

ในทางลงเขา แรงฉุดจากเครื่องยนต์อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงต้องมีการแตะเบรกช่วยด้วย เพื่อชะลอความเร็วของรถ แต่อย่าแตะเบรกแช่ยาวนะครับ เพราะจะทำให้เบรกไหม้และเบรกไม่อยู่ ซึ่งอันตรายมาก ๆ ทางที่ดีเราควรแตะเบรกในจังหวะที่จำเป็นเท่านั้น และควรตรวจสอบเบรกรถยนต์ของท่านก่อนออกเดินทาง ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและพร้อมใช้งาน

ทั้ง 7 ข้อนี้ เป็นวิธีที่สามารถเรียนรู้และฝีกหัดได้เองนะคะ และขอให้ทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวบนเขาอย่างมีความสุขนะคะ ทั้งนี้ หากท่านผู้อ่านสนใจข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์และวิธีการดูแลรถยนต์ ก็สามารถติดตามต่อได้ที่ โตโยต้ากาญจนบุรี ค่ะ
ที่มา : http://www.moneyguru.co.th
ภาพ : https://pixabay.com/en/mountain-road-winding-road-travel-1556177/

คุณสามารถติดตามข่าวสารดีๆเกี่ยวกับรถได้แบบฟรีๆ ที่ Line@ Click > >  @toyotakan1995 

หากบทความนี้ดีมีประโยชน์ อย่าลืมกดปุ่มแชร์ด้านล่างให้เพื่อนๆของคุณกันนะคะ !