อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์อย่างไร

ที่บริเวณสวนป่า ข้างอาคารบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รองศาสตราจารย์เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2562 พร้อมนำ ผู้บริหาร บุคลากร นิสิต ร่วมสรงน้ำพระพุทธมงคลมุนีศรีโรจนากร ที่สักการะยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

สำหรับโครงการสืบสานอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2562 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยให้คงอยู่ เป็นการส่งเสริมการทำกิจกรรมสงกรานต์ร่วมกัน และเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีร่วมกันระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตลอดจนปลูกฝังให้บุคลากรรักและภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีไทย อีกทั้ง ให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนและท้องถิ่น

. ใน โครงการประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2562 . ☀️ร่วมทำบุญทางพระพุทธศาสนา ☀️สรงน้ำพระพุทธรูป เนื่องในวันปีใหม่ไทย ☀️รดน้ำดำหัว ขอพรจากผู้สูงอายุ เพื่อเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิต . ในวันที่ 11 เมษายน 2562 เวลา 09.00 น. ณ. สำนักงานเทศบาลเมืองเขารูปช้าง

อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์อย่างไร

วันสงกรานต์ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงามแสดงออกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของไทย ควรได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมให้เป็นมรดกอันดีงามด้านประเพณีสืบไป เป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่อย่างมีความสุข การแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณผู้มีพระคุณ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี ประเพณีสงกรานต์จึงเป็นประเพณีที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนาน
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นภารกิจหนึ่งของภาควิชาชีววิทยาที่ร่วมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีที่สำคัญนี้ รวมถึงเป็นวันที่บุคลากร และนักศึกษาของภาควิชาชีววิทยาจะได้พบปะกัน และแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณต่อภาควิชา จึงได้จัดโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์และรดน้ำดำหัว ภาควิชาชีววิทยา ประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อให้นักศึกษา และบุคลากรรดน้ำดำหัวอาจารย์อาวุโส และสรงน้ำพระ อันเป็นการสืบสานประเพณีสงกรานต์ของไทยให้อยู่สืบไป

2. จุดประสงค์ของการรดน้ำ สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์นั้นคือ การอวยพรและขอพรกันด้วยน้ำ มิใช่ตั้งใจให้เป็นการเล่นหรือต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตาย

3. การประแป้งดินสอพอง แต่เดิมเป็นเพียงการแต่งตัวตามสมัยนิยมของแต่ละคน ดังนั้นใครอยากประแป้งก็ประเอง ไม่ต้องไปประให้เขา การถูกเนื้อต้องตัวผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ใช่มารยาทที่ดีของสุภาพชน อย่าทำเลย

อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์อย่างไร

4. การรดน้ำสงกรานต์ที่ถูกต้องมี 2 ประเภท คือ
- การรดน้ำผู้ใหญ่( ธรรมเนียมดั้งเดิมนิยมว่าควรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ) เป็นการรดน้ำเพื่อแสดง
ความเคารพและขอพรจากท่าน เมื่อไปรดน้ำที่มือท่าน ไม่ต้องไปอวยพรท่าน เพราะเราเป็นเด็ก รอรับพรจากท่านก็พอ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้ให้พรเอง
- การรดน้ำผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยเดียวกันหรืออ่อนวัยกว่า เป็นการรดน้ำอวยพร ถ้าจะให้สุภาพควรขออนุญาตเสียก่อน แล้วจึงรดน้ำที่หัวไหล่ และสามารถกล่าวอวยพรได้ตามต้องการ ถ้าสนิทสนมกันอยู่แล้วก็สามารถรดน้ำและเล่นสนุกสนานได้ตามประสาเพื่อน แต่ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในขอบเขตของมารยาท ศีลธรรม และความปลอดภัย

อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์อย่างไร
5. น้ำที่นำมารดและสาดกันถือเป็นสิ่งที่เป็นมงคล ดังนั้นจึงต้องเป็นน้ำสะอาด น้ำอบ น้ำหอมน้ำดอกไม้ ( ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำอบไทยเสมอไป น้ำอบฝรั่งก็ได้ ) แต่ไม่ควรใช้น้ำสกปรกหรือน้ำแข็งเด็ดขาด

6. ของรดที่นำไปมอบให้ผู้ใหญ่ ตามธรรมเนียมมักเป็นสิ่งของที่เกี่ยวกับการอาบน้ำและการแต่งตัวเป็นหลัก เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู สบู่ น้ำหอม แป้ง ของเหล่านี้เป็นของหลักซึ่งจำเป็นต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องให้ทุกอย่างที่กล่าวมา เลือกจัดให้ตามความเหมาะสม ส่วนของอื่นๆ เช่น ดอกไม้ ขนม นั้นเป็นของประกอบ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้

7. การกราบเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง โดยการยอบตัวลง พนมมือ และก้มลงจนมือที่พนมไว้ ท้องแขน และศีรษะจดพื้น ตรงหน้าคนหรือสิ่งที่เราตั้งใจจะกราบ การกราบปกติไม่ต้องแบมือ ไม่ว่าสิ่งของหรือบุคคลนั้นจะเป็นที่เคารพอย่างสูงเพียงใด จะแบมือก็เฉพาะกราบพระพุทธรูป หรือพระสงฆ์เท่านั้น

อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์อย่างไร
8. การสรงน้ำพระพุทธรูปหรือรูปเคารพ ไม่ควรรดน้ำลงตรงๆ ที่พระเศียรหรือส่วนศีรษะ ให้รดน้ำลงในส่วนอื่นๆ จะสุภาพเหมาะสมกว่า

9. การรดน้ำ ดำหัว เป็นประเพณีของไทยภาคเหนือกลุ่มล้านนา ซึ่งมีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างเป็นพิเศษจากภาคอื่นๆ คำว่าดำหัว เป็นภาษาถิ่น ไม่ควรนำไปใช้เรียกการรดน้ำสงกรานต์ของภาคอื่นๆ เพราะจะทำให้ผิดความหมาย

10. สงกรานต์เป็นประเพณีของคนไทยทุกศาสนา ไม่เฉพาะชาวพุทธเท่านั้น การทำบุญก็เลือกถือปฏิบัติตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือได้ ส่วนกิจกรรมอื่นๆเป็นของกลางๆใครๆก็ปฏิบัติได้

เรื่อง แนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมเนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปีพุทธศักราช 2560 (สงกรานต์แบบไทย ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ทุกชีวาปลอดภัย)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางและมาตรการรณรงค์ตามแนวคิด “สงกรานต์แบบไทย ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ทุกชีวาปลอดภัย” เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปีพุทธศักราช 2560 ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

แนวทางการดำเนินการภายใต้แนวคิด “สงกรานต์แบบไทย ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ทุกชีวาปลอดภัย” สื่อความหมาย ดังนี้

1) สงกรานต์แบบไทย หมายถึง การอนุรักษ์ สืบสานและส่งเสริมประเพณีสงกรานต์แบบไทย ที่ทรงคุณค่าสาระอันดีงาม และการปฏิบัติตามแบบของประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสม

2) ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า หมายถึง การเล่นน้ำในประเพณีสงกรานต์อย่างเหมาะสมมีการวางแผนในการใช้น้ำอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟื่อย และมีจุดมุ่งหมายการใช้น้ำที่ชัดเจน โดยที่ยังคงไว้คุณค่าและสาระในการใช้น้ำในเทศกาลสงกรานต์ และ

3) ทุกชีวาปลอดภัย หมายถึง การรักษาความปลอดภัยในเทศกาลสงกรานต์ด้วยการเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด การรักษาระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการแสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่นในการใช้ถนนหนทางการขับขี่ยานพาหนะด้วยความระมัดระวัง

1. การรณรงค์เรื่อง “สงกรานต์แบบไทย” ประกอบด้วย

1) การส่งเสริมให้เกิด “1 อำเภอ 1 ลานวัฒนธรรม” เพื่อเปิดพื้นที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับประชาชนในเทศกาลสงกรานต์ และร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงาม เหมาะสม เช่น การจัดกิจกรรมฟังเทศน์ ฟังธรรม การทำบุญ ตักบาตร การจัดรดน้ำขอพรผู้ใหญ่และจัดการแสดงทางวัฒนธรรม เป็นต้น รวมถึงการละเล่นสงกรานต์ที่เหมาะสม

2) ขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันสืบสานประเพณีสงกรานต์แบบไทย โดยการปฏิบัติตามแนวทางประเพณีสงกรานต์ที่เหมาะสม เช่น การเข้าวัด ตักบาตร ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรมหรือส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถ ปฏิบัติตามหลักศาสนาของตน

3) ขอความร่วมมือรณรงค์เรื่องการแต่งกายในเทศกาลสงกรานต์ด้วยความสุภาพเหมาะสมกับเทศกาลฯ รวมถึงการแต่งกายที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การแต่งกายด้วยผ้าไทย เสื้อลายดอกหรือลายผ้าขาวม้าที่เหมาะสม และ

4) ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการจัดแสดงทางวัฒนธรรมหรือการแสดงต่าง ๆ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมต่อคุณค่าและเนื้อหาสาระของประเพณีสงกรานต์ สถานการณ์ กาลเทศะของประเทศไทยในปัจจุบัน

2. การรณรงค์เรื่อง “การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า” ประกอบด้วย 1) ขอความร่วมมือประชาชนในการเล่นน้ำอย่างรู้คุณค่าโดยไม่สิ้นเปลือง เช่น การใช้ขันน้ำรดน้ำ เป็นต้น 2) ขอความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดสถานที่ในการเล่นสาดน้ำให้แก่ประชาชนหรือการกำหนดพื้นที่เล่นสาดน้ำ (Zoning) ให้คำนึงถึงความเหมาะสมของอุปกรณ์ ปริมาณการใช้น้ำอย่างเหมาะสม

3. การรณรงค์เรื่อง “การกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย

1) ขอความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน ผู้ประกอบการสถานบันเทิงหรือผู้จัดกิจกรรมการแสดงรื่นเริงในพื้นที่ต่าง ๆ สำรวจความเรียบร้อยของประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อความปลอดภัยให้แก่ประชาชน

2) ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามคุณค่าของประเพณีสงกรานต์และตามกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่งดงามทรงคุณค่า และสามารถสื่อไปยังสายตาของชาวต่างชาติ ถึงความปลอดภัย

3) ขอความร่วมมือประชาชนที่ขับขี่ยานพาหนะและประชาชนที่ใช้ถนนหนทางต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมถึงร่วมกันช่วยสอดส่อง ดูแล ตักเตือน หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่พบเห็นผู้ที่ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม เช่น การขับขี่ด้วยความมึนเมา เป็นต้น และ

4) ขอความร่วมมือสถานประกอบการขนส่ง และประชาชนเตรียมพร้อมในการขับขี่ยานพาหนะในระยะทางไกล โดยขอความร่วมมือในการตรวจสภาพยานพาหนะเพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานมากที่สุด

ทำไมต้องอนุรักษ์วันสงกรานต์

วันสงกรานต์ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงามแสดงออกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของไทย ควรได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมให้เป็นมรดกอันดีงามด้านประเพณีสืบไป เป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่อย่างมีความสุข การ ...

เราจะอนุรักษ์ประเพณีลอยกระทงได้อย่างไร

กิจกรรมวันลอยกระทง ร่วมสนุกและสืบสานประเพณีไทย การขอขมาพระเเม่คงคาที่ทำให้เรามีน้ำดื่มน้ำใช้ทุกวันนี้ เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย ลองพาครอบครัวหรือคนสนิทเดินเที่ยวงาน หรือหาซื้อกระทงมาลอย เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคา พร้อมเก็บภาพสวย ๆ เป็นที่ระลึกในวันลอยกระทง

เราจะอนุรักษ์ประเพณีอย่างไร

ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่ากับความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการส่งเสริมเพื่อจัดกิจกรรมตามประเพณีวัฒนธรรมโบราณต่างๆ กระตุ้นจิตสำนึกแก่คนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งจะต้องร่วมกันในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงถึง ...

อนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างไร

การอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ๑. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทย จากแหล่งข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ ๒. อธิบายความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทยให้คนทั่วไปรับทราบ เพื่อเกิดความหวงแหน ภาคภูมิใจ ๓. ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรืองานแสดงต่างๆ ที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทย และชักชวนคนรอบข้างให้เข้าร่วมด้วยเสมอ