ทํายังไงให้เลือดประจําเดือนหยุด

ทํายังไงให้เลือดประจําเดือนหยุด

Show

ไม่เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ จะทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูก หนึ่งในความเชื่อผิดๆ รวมถึงอีก 10 ความเชื่อเหล่านี้...ที่สาวๆ ควรต้องรีบเปลี่ยนความคิดด่วนมีประจำเดือนห้ามกินของเย็น ไม่เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ จะทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูก และอีกสารพัดความเชื่อของผู้หญิงเกี่ยวกับการมีประจำเดือนที่ถูกส่งต่อกันมาแบบรุ่นสู่รุ่น ทั้งที่จริงๆ แล้วบางความเชื่อก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดที่คิดกันไปเอง  

1. เพราะประจำเดือนคือ “เลือดเสีย” ยิ่งมามาก...ก็เท่ากับได้ขับของเสียมาก

ความเข้าใจที่ผิดอันแรกเลยก็คือ ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย! แต่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาพร้อมเลือดเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่า การมีประจำเดือนจึงไม่ใช่การขับของเสียออกจากร่างกายอย่างที่หลายคนเข้าใจ และประจำเดือนมามาก... ก็ยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะผิดปกติได้อีกด้วย

2. ห้ามกิน! น้ำมะพร้าว เพราะจะทำให้ประจำเดือนหยุดไหล

คนโบราณเชื่อกันว่าการดื่มน้ำมะพร้าวช่วงมีประจำเดือนจะทำให้ประจำเดือนหยุดไหล และทำให้ประจำเดือนในเดือนถัดไปมาช้ากว่าปกติ ซึ่งเกิดจากสารอาหารในน้ำมะพร้าวนั้นเป็นแบบเดียวกันกับฮอรโมนเพศหญิง แต่ด้วยการตอบสนองต่อร่างกายที่แตกต่างกัน บวกกับปริมาณน้ำมะพร้าวที่ดื่มเข้าไป ทำให้ “ไม่ใช่ทุกคน” ที่ดื่มน้ำมะพร้าวแล้วประจำเดือนจะหยุดไหล

3. ไม่ควรออกกำลังกายช่วงมีประจำเดือน

สาวๆ มักเชื่อว่า ไม่ควรออกกำลังกายในระหว่างมีประจำเดือน เพราะร่างกายอยู่ในช่วงอ่อนเพลียอาจเสี่ยงเป็นลมได้ ซึ่งความจริงแล้ว แม้มีประจำเดือนก็สามารถออกกำลังกายได้ เพราะสารเอนดอร์ฟินที่หลั่งออกมาไม่เพียงช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แต่ยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ โดยเลือกเป็นกิจกรรมเบาๆ อย่าง โยคะ หรือ ว่ายน้ำ เพียงแต่ต้องดูแลใส่ใจเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษ เช่น การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด

4. มีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือนสิ...ไม่ท้อง!

มีคู่รักหลายๆ คู่เชื่อว่า การมีเพศสัมพันธ์ขณะที่ฝ่ายหญิงมีประจำเดือนจะช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งความจริงแล้ว การมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือนก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ เพราะการมีเลือดไหลซึมออกมาวันแรกๆ อาจไม่ใช่เลือดจากประจำเดือน แต่บางคนอาจมีเลือดซึมออกมาในช่วงไข่ตก... หากไม่สวมถุงยางอนามัยก็อาจเสี่ยงตั้งครรภ์ได้ รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ในวันท้ายๆ ของการมีประจำเดือน เพราะอสุจิผู้ชายสามารถมีชีวิตอยู่ในช่องคลอดหลังจากการหลั่งได้ถึง 72 ชั่วโมง

5. กินของเย็น จะทำให้ประจำเดือนออกมาเป็นลิ่มเลือด

จริงอยู่ที่ภูมิคุ้มกันของผู้หญิงจะลดลงในระหว่างที่มีประจำเดือน การทานของเย็นหรือดื่มน้ำเย็นอาจทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน แต่! ไม่เกี่ยวกับความเชื่อที่ว่ากินของเย็นแล้วประจำเดือนจะเป็นลิ่มเลือด ไหลออกมาไม่หมด หรือทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

6. ถ้าประจำเดือนมาไม่ปกติ ต้องกินยาขับเลือด

เพราะความเข้าใจผิดที่ว่าประจำเดือนคือเลือดเสีย ทำให้เมื่อประจำเดือนขาด... ก็เข้าใจว่าต้องกินยาขับเลือดเพื่อให้ของเสียถูกขับออกมา ซึ่งการที่ประจำเดือนไม่มาหรือมาๆ ขาดๆ อาจเกิดจากการมีโรคทางนรีเวชซ่อนอยู่ และการกินยาขับเลือดอาจส่งผลรุนแรงหากผู้ป่วยมีโรคบางโรคแฝงอยู่ เช่น เนื้องอกมดลูก หรือช็อกโกแลตซีสต์

7. มีประจำเดือนห้ามอาบน้ำเย็น เพราะจะทำให้เป็นไข้ไม่สบาย

คนโบราณมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า ช่วงระหว่างมีประจำเดือนฮอร์โมนในร่างกายจะแปรปรวน การอาบน้ำเย็นจึงอาจส่งผลให้ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน มีไข้หรือเจ็บป่วยได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในระหว่างมีประจำเดือนสามารถอาบน้ำเย็นในอุณหภูมิปกติได้เหมือนเดิม

8. ไม่ค่อยเปลี่ยนผ้าอนามัย ทำให้เสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก”

สาวๆ ที่ประจำเดือนมาค่อนข้างเยอะ อาจเปลี่ยนผ้าอนามัยใหม่อยู่บ่อยครั้งในแต่ละวัน แต่สำหรับคนที่ประจำเดือนมาน้อย...จนเรียกว่าผ่านไปกว่าครึ่งวันถึงเปลี่ยนผ้าอนามัยสักครั้ง ทำให้มีความเชื่อว่า พฤติกรรมไม่ค่อยเปลี่ยนผ้าอนามัยอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งความจริงแล้ว สาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อไวรัส hpv ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอนามัยน้อยครั้ง แต่การใช้ผ้าอนามัยแผ่นเดิมนานหลายชั่วโมงเกินไป อาจส่งผลในเรื่องความสะอาดของจุดซ่อนเร้นมากกว่า

9. ประจำเดือนจะหยุดไหลเมื่อเราอยู่ในน้ำ

แม้ว่าอยู่ในช่วงมีประจำเดือน แต่บางคนก็ยังคงลงว่ายน้ำในสระหรือทะเลเหมือนปกติ เพราะเข้าใจว่าพออยู่ในน้ำประจำเดือนก็จะหยุดไหลไปเอง ซึ่งการหยุดไหลของประจำเดือนนั้นเป็นเพียงแค่ระยะชั่วคราวเท่านั้น ที่สำคัญ! การลงเล่นน้ำในช่วงมีประจำเดือน ยังอาจเสี่ยงต่อการที่สิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำจะไหลผ่านเข้าไปในช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบได้

10. การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดจะทำให้เยื่อพรหมจรรย์ขาด

หนึ่งในความเชื่อของสาวๆ ที่ยังเวอร์จิ้น ก็คือ ความเข้าใจที่ว่า การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดจะทำให้เยื่อพรหมจรรย์ขาด ซึ่งไม่เป็นความจริง! เพราะเยื่อพรหมจรรย์เป็นเยื่อบางๆ ที่สามารถยืดหยุ่นได้ และมีรูให้ประจำเดือนไหลผ่านเข้าออก ซึ่งขนาดของรูก็กว้างพอสำหรับผ้าอนามัยแบบสอดอีกด้วย
ทํายังไงให้เลือดประจําเดือนหยุด
 
ทํายังไงให้เลือดประจําเดือนหยุด

การมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติของผู้หญิง แต่บางคนก็อาจประสบปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ เดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย ไม่ก็ประจำเดือนมาช้า หรือบางคนอาจประจำเดือนขาด จนคิดว่าตั้งครรภ์ซะอีก แต่ปัญหาประจำเดือนเหล่านี้ สามารถแก้ไขเองเบื้องต้นได้ ด้วย วิธีเร่งประจำเดือน ที่เรานำมาฝาก รับรองว่าได้เห็นผลแน่นอน

สาเหตุที่ประจำเดือนมาช้า

โดยปกติแล้ว รอบประจำเดือนจะอยู่ที่ 21-35 วัน แต่บางคนอาจเจอปัญหาประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) ซึ่งหากเป็นผู้หญิงที่อายุเกิน 15 ปีแล้ว แต่ประจำเดือนครั้งแรกยังไม่มา หรือผู้หญิงที่ประจำเดือนไม่มาเกิน 3 เดือนติดต่อกัน จะถือว่ามีภาวะขาดประจำเดือน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาช้า หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเกิดจาก

ความเครียด น้ำหนักตัวน้อยเกินไป หรือมากเกินไป มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS) การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคเซลิแอค (Celiac Disease) ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause) ตั้งครรภ์ วิธีเร่งประจำเดือน ให้มาเร็วขึ้น

หากประจำเดือนของคุณมาช้า หรือคุณมีความจำเป็นต้องเร่งประจำเดือนให้มาเร็วกว่าปกติ เรามีวิธีเร่งประจำเดือนให้มาเร็วขึ้น และทำได้ง่าย ๆ มาฝาก ดังนี้

  • วิตามินซี

บางคนเชื่อว่าวิตามินซี หรือกรดแอสคอร์บิกช่วยเร่งประจำเดือนได้ เนื่องจากวิตามินซีจะเพิ่มช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน และยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งจะส่งผลให้มดลูกหดรัดตัว ผนังมดลูกบางลง และเร่งให้ประจำเดือนมาได้

คุณสามารถเพิ่มวิตามินซีได้ด้วยการกินผักผลไม้ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้ม มะนาว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ บร็อคโคลี่ ปวยเล้ง ฝรั่ง มะเขือเทศ พริกหยวกเขียว พริกหยวกแดง หรือหากกินวิตามินซีในรูปแบบอาหารเสริม ก็ต้องระมัดระวังให้ดี อย่ากินมากไป เพราะอาจเป็นอันตรายได้

  • กินสัปปะรด

สัปปะรดมีโบรมีเลน (bromelain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เชื่อว่าส่งผลต่อฮอร์โมนต่างๆ รวมถึงเอสโตรเจนด้วย โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2007 เผยว่า โบรมีเลนอาจช่วยลดการอักเสบ จึงอาจช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากการอักเสบได้

  • กินพาร์สลีย์

พาร์สลีย์ (Parsley) คือสมุนไพรที่นิยมใช้ในเมนูอาหารตะวันตก ลักษณะคล้ายผักชีแต่ใบหยิกกว่า พาร์สลีย์อุดมไปด้วยวิตามินซี และเอพิออล (apiol) ซึ่งอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก คุณอาจเอาใบพาร์สลีย์มาทำเป็นน้ำชาดื่ม โดยนำใบพาร์สลีย์สด 2-3 ช้อนโต๊ะผสมน้ำร้อน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีค่อยดื่ม

อย่างไรก็ดี การได้รับเอพิออลมากเกินไปอาจเป็นพิษได้ โดยเฉพาะในผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงในระยะให้นม หรือผู้หญิงที่ไตมีปัญหา จึงควรบริโภคอย่างระมัดระวัง

  • ผ่อนคลายบ้าง

บางครั้งปัญหาประจำเดือนมาช้า หรือประจำเดือนขาดที่คุณประสบ อาจเป็นผลมาจากความเครียด เพราะเมื่อคุณเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิด เช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลีน ออกมามาก  ฮอร์โมนเหล่านี้จะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่ช่วยให้รอบเดือนเป็นปกติ

ฉะนั้น หากคุณเครียดก็ควรหาเวลาพักผ่อน หรือคลายเครียดบ้าง จะออกกำลังกาย เล่นโยคะ ใช้เวลากับเพื่อนหรือครอบครัว ทำงานให้น้อยลง ทำงานอดิเรก ฝึกสมาธิ หรือทำกิจกรรมคลายเครียดแบบไหนก็แล้วแต่คนชอบ หรือหากเครียดมากจนวิธีดังกล่าวไม่ช่วยให้หายเครียดได้ ก็อาจต้องปรึกษาคุณหมอ และอาจต้องกินยาคลายเครียด

  • ประคบร้อน หรืออาบน้ำอุ่น

การอาบน้ำอุ่น หรือประคบร้อนบริเวณหน้าท้อง จะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัว และช่วยผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนของคุณผิดปกติ ความร้อนไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณผ่อนคลาย แต่ยังอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และค่อยๆ ช่วยเร่งให้ประจำเดือนมาได้

  • มีเซ็กส์

คุณอาจยังไม่รู้ว่า กิจกรรมทางเพศช่วยกระตุ้นให้ประจำเดือนมาได้ การถึงจุดสุดยอด หรือออกัสซั่ม (orgasm) ไม่ว่าจะมีการสอดใส่หรือไม่มีก็ตาม จะทำให้ปากมดลูกขยายตัว และอาจช่วยให้เลือดประจำเดือนหลั่งออกมาได้ นอกจากนี้ การมีเซ็กส์แบบพอดี ยังช่วยคลายเครียด และช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนทั้งสิ้น

  • ออกกำลังกายให้น้อยลง

หากคุณออกกำลังกายหนัก ประหนึ่งเป็นนักกีฬามืออาชีพ คุณอาจต้องเพลาการออกกำลังกายลงบ้าง เนื่องจากการออกกำลังกายหนักเกินไป จะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จนประจำเดือนผิดปกติ มาช้า หรือประจำเดือนไม่มาได้

  • ใช้ยาคุมกำเนิด

หากคุณมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติเรื้อรัง วิธีเร่งประจำเดือนที่กล่าวมา อาจไม่ได้ผล และคุณอาจต้องใช้การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย และทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

อย่างไรก็ดี การเร่งประจำเดือนด้วยการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนอาจมีผลข้างเคียง ฉะนั้นจึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจใช้วิธีเร่งประจำเดือนวิธีนี้

  • ลดน้ำหนัก

น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงสามารถส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนได้ หากคุณน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ก็อาจทำให้ร่างกายขาดไขมันซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน จึงส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และบางคนถึงขั้นประจำเดือนไม่มาเลยก็มี ไม่ใช่แค่น้ำหนักน้อย คนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วนก็สามารถส่งผลต่อฮอร์โมนและการมีประจำเดือนได้เช่นกัน

คุณควรควบคุมน้ำหนักในอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี กินอาหารที่มีประโยชน์ อย่าควบคุมอาหาร หรือออกกำลังกายจนเกินพอดี เพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

ความเสี่ยงของการเร่งประจำเดือนที่ควรรู้

วิธีเร่งประจำเดือน ที่เราแนะนำข้างต้น ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อผู้หญิงในวัยผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี แต่หากคุณมีอาการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือสมุนไพรบางชนิด ก็อาจต้องระวังหรือหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นๆ แม้จะช่วยเร่งประจำเดือนได้ก็ตาม  แล้วหันไปใช้วิธีเร่งประจำเดือนวิธีอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน ใครอยากซื้อสมุนไพร หรืออาหารเสริมที่ช่วยเร่งประจำเดือนมากิน ก็ควรปรึกษาคุณหมอให้ดีก่อน

การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนก็อาจไม่เหมาะกับบางคน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือหัวใจวายได้ และผู้ที่สูบบุหรี่ หรืออายุเกิน 35 ปี ก็ยังมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดมากกว่า ฉะนั้น ก่อนใช้วิธีเร่งประจำเดือนด้วยยาคุม ควรปรึกษาคุณหมอ และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ หากคุณสงสัยว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อนจะเร่งประจำเดือน โดยเฉพาะหากจะเร่งประจำเดือนด้วยยาคุมกำเนิด หรือยาขับประจำเดือน ที่นิยมเรียกกันว่ายาสตรี เพราะอาจทำให้แท้งลูกได้

ประจำเดือนมีปัญหาแบบนี้ ควรไปพบคุณหมอ

ปัญหาประจำเดือนไม่มา หรือประจำเดือนผิดปกติ อาจเป็นผลจากสภาวะโรคบางประการ ดังนั้น หากคุณมีอาการหรือภาวะเกี่ยวกับประจำเดือนดังต่อไปนี้ อย่านิ่งนอนใจ ควรไปพบคุณหมอ

สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ ประจำเดือนไม่มา 3 เดือนติดต่อกัน หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี อายุเกิน 55 ปีแล้วยังมีประจำเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนเปลี่ยนแปลงฉับพลัน เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือเอาแน่เอานอนไม่ได้ มีภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู (Postmenopausal bleeding) คือ มีเลือดออกติดต่อกันนานกว่า 12 เดือนหลังเข้าสู่วัยทอง เลือดออกขณะเข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy)