สถานะพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยามีลักษณะต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างไร

สถานะพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยามีลักษณะต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างไร

1. สมมติเทพมีความสัมพันธ์กับสถานภาพของพระมหากษัตริย์อย่างไร?

ตอบการ
ดำรงฐานะของเจ้าชีวิตเจ้าแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตมีรูปแบบการใช้
อำนาจรัฐาธิปัตย์แตกต่างกันไปบ้างตามกาลสมัยแต่ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งพระราช
อำนาจสูงสุดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของผู้คนตลอดทั่วพระราชอาณาจักรและทรง
เป็นผู้นำทางจิตใจของคนไทยโดยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลากว่า
1,000 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

สมัย
กรุงสุโขทัย มีพระมหากษัตริย์ที่เรียกว่า "พ่อขุน"เป็นเจ้าชีวิต -
เจ้าแผ่นดิน
ทรงเป็นผู้ครองนครที่ดูแลทุกข์สุขปกครองบ้านเมืองให้อยู่อย่างปลอดภัยคอยปก
ป้องดูแลราษฎรให้มีความสุขได้รับความยุติธรรมเสมอหน้ากันราษฎรมีสิทธิในการ
ร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์
และมีเสรีภาพในการทำมาค้าขายเป็นการปกครองเยี่ยงบิดากับบุตร หรือ
"พ่อปกครองลูก"

ใน
สมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ในฐานะเจ้าชีวิต -
เจ้าแผ่นดินทรงเป็นสมมติเทพของคนไทยตามอิทธิพลลัทธิมหายานปนลัทธิพราหมณ์ที่
มีความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระจักรพรรดิและได้มีการยกฐานะพระมหา
กษัตริย์เท่ากับพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในเทวภูมิ
(ราชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์เหมือนแท่นบัลลังก์ของพระอินทร์ประดับด้วยรูป
สิงห์และครุฑตามความเชื่อในเทพต่างๆ เช่น พระอิศวร พระพรหม
พระนารายณ์พระนามของพระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์จึงทรงพระนามตามชื่อเทพ
พรหมเหล่านั้น เช่นพระนารายณ์มหาราช พระรามาธิบดี) ขณะเดียวกัน
"พระมหากษัตริย์"
ในสมัยอยุธยาก็ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกในพระพุทธศาสนาคนไทยเชื่อว่า
พระมหากษัตริย์ของตนคือพระ "ธรรมราชา"
เป็นผู้มีพระบรมเดชานุภาพทรงความเข้มแข็งเด็ดขาดควบคู่ไปกับทรงต้องบำรุงพระ
พุทธศาสนา

หลัง
จากพระนเรศวรมหาราชทรงขับไล่พม่าข้าศึกไปจากกรุงศรีอยุธยาแล้วพระเจ้าแผ่น
ดินในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็หันไปบำรุงด้านศาสนา
ศิลปวัฒนธรรมมิได้บำรุงด้านทหารให้เข้มแข็งเหมือนเดิม
มินานก็เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่
2 แก่พม่าอีกครั้งหนึ่งจนอยุธยาต้องล่มสลายลงเมื่อ พ.ศ. 2310

สมัย
พระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ต้องใช้พระราชอำนาจเด็ดขาดกอบกู้
บ้านเมือง
ขับไล่ศัตรูจนสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีกอบกู้เอกราชได้สำเร็จขณะเดียวกัน
พระองค์ก็ทรงรักษาความเป็นธรรมราชาด้วยแต่พระองค์ก็ทรงครองราชย์อยู่ในช่วง
เวลาอันสั้น

สมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ ความเป็นเจ้าชีวิต -
เจ้าแผ่นดินเปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้ง จากเทพสมมติ มาเป็น
"อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ"
คือเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ประชาชนทั้งปวงยอมรับด้วยการที่ข้าราชการและราษฎร
ทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลวิงวอนเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครอง
ราชย์สมบัตินอกจากประชาชนจะยอมรับในองค์พระมหากษัตริย์แล้ว
ประชาชนยังมีความเชื่ออีกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะต้องทรงตั้งมั่นใน
หลักธรรมะ คือ ทศพิธราชธรรมสังคหวัตถุ และ
จักรวรรดิวัตรที่จะทรงใช้ในการทรงคุ้มครองและทำประโยชน์ให้แก่แผ่นดินและ
ราษฎร

2. พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยกับสมัยอยุธยามีพระราชอำนาจแตกต่างกันอย่างไร?

ตอบแตกต่างกัน คือ

1.พระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา

เมื่อ
ปลายกรุงสุโขทัยพระเจ้าอู่ทองได้สร้างกรุงศรีอยุธยาศาสนาพราหมณ์เข้ามามี
บทบาทอย่างมากโดยเฉพาะอิทธิพลของขอมและละโว้ซึ่งถือว่ากษัตริย์คือพระผู้
เป็นเจ้าอวตารมาเกิดพระเจ้าอู่ทองก็กลายเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่
1 รูป
แบบของสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาแตกต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างมากระบอบ
การปกครองของอยุธยาเป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจเป็นล้นพ้น

สังคม
ในสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรงซึ่งต่างกับสมัยสุโขทัยที่พระ
มหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตรแต่ในสมัยอยุธยาเป็นความ
สัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้าโดยแท้ตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นตำแหน่งที่ช่วง
ชิงกันด้วยอำนาจทางทหารแนวความคิดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นเทวราชและทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะที่ทรงเป็นสมมติเทพ

2.พระมหากษัตริย์ไทยสมัยสุโขทัย

สุโขทัย
เป็นนครหลวงแห่งแรกของประชาชนเชื้อสายไทยสังคมไทยในยุคนี้มีลักษณะเป็นสังคม
เผ่ามีความเกี่ยวพันและผูกพันกันอย่างหนาแน่นในสายโลหิตอาณาเขตของสุโขทัยใน
สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ประกอบด้วยเมืองสุโขทัยและศรี
สัชชนาลัยเท่านั้นต่อมาได้ขยายกว้างขวางขึ้นในสมัย พ่อขุนรามคำแหง
ความสัมพันธ์ของประชาชนก็มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทางใจอันเกิดจากความ
รู้สึกว่าเป็นคนสายเลือดเดียวกันและอยู่ภายใต้การปกครองโดย
พ่อขุนองค์เดียวกันตามหลักฐานศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

แนว
คิดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยนี้ทรงเป็นผู้ครอง
นครซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเหนืออาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงสิทธิการเป็นพระมหา
กษัตริย์สืบทอดโดยการสืบสันตติวงศ์ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงตัวผู้ปกครองแผ่น
ดินพระมหากษัตริย์ยังคงเป็นพระมหากษัตริย์ของชาวพุทธแท้ๆไม่มีคตินิยมแบบ
พราหมณ์เข้ามาปะปน
พอสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงจนถึงรัชกาลกษัตริย์องค์ต่อๆมา เช่น
พระมหาธรรมราชาลิไทย
อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เริ่มเข้ามากษัตริย์เริ่มเป็นเทพยดา
แต่ก็ยังยึดศาสนาพุทธอยู่ จึงเป็นแค่
ธรรมราชาซึ่งเป็นคำในศาสนาพุทธเหมือนที่ใช้เรียกพระเจ้าอโศก แต่หลังจากนั้นมาเริ่มเป็น รามาธิบดี

อ้างอิง

http://power.manager.co.th/1-10.htmlhttp://www.chaoprayanews.com

http://www.thaipoliticsgovernment.org

สถานะของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างไร

1. พระมหากษัตริย์ พระราชฐานะและอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ (ไทยได้รับแนวความคิดนี้ มาจากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ทรงเป็นประมุขของประเทศ มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะเป็นเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน

ลักษณะสถานภาพของพระมหากษัตริย์มีลักษณะอย่างไร สมัยสุโขทัย

สถานะและการปกครองของกษัตริย์แตกต่างกันไปตามยุคสมัย เมื่อแรกเริ่มในสมัยสุโขทัย กษัตริย์ทรงอยู่ในสถานะ “พ่อขุน” เป็น “ปิตุราชา” เสมือนบิดาของประชาชน ปกครองแบบพ่อปกครองลูก เพราะสังคมยังแคบ ชุมชนยังไม่กว้างขวาง กษัตริย์ทรงดูแลได้ทั่วถึงและใกล้ชิด ทรงรับฟังความเห็นของราษฎร แต่ก็มีกษัตริย์ที่อยู่ในสถานะนี้เพียง ๓ พระองค์ ...

ฐานะพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างไร

ในสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรงซึ่งต่างกับสมัยสุโขทัยที่พระ มหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตรแต่ในสมัยอยุธยาเป็นความ สัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้าโดยแท้ตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นตำแหน่งที่ช่วง ชิงกันด้วยอำนาจทางทหารแนวความคิดเกี่ยวกับพราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรง

ฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย เพราะเหตุใด

ในสมัยอยุธยา แนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปจาก สมัยสุโขทัย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูผ่านทางอาณาจักรขอม พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยาเพิ่มคุณลักษณะของความเป็น “เทพเจ้า” ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจเหนือสามัญชน พระมหากษัตริย์ คือ พระนารายณ์อวตารลงมายังโลกมนุษย์เพื่อขจัดทุกข์เข็ญ เป็น “เทวราชา ...