อยาก มี เงิน เก็บ ทํา ไง ดี

ออมเงินไม่อยู่ เก็บเงินไม่ได้ เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาเรื่องการเงินอีกมากมาย เพราะเมื่อไม่เราไม่มีเงินออม พอถึงเวลาต้องใช้เงิน ก็จะทำให้เราเริ่มต้นการกู้ยืม
  • การออมเงินสำคัญที่จุดเริ่มต้น เมื่อเราเริ่มเห็นเงินหมื่น เงินแสนจะยิ่งเห็นกำลังใจทำให้เรามีพลังในออมอย่างไม่รู้จบ

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    อยาก มี เงิน เก็บ ทํา ไง ดี

    อยาก มี เงิน เก็บ ทํา ไง ดี

    ปัญหาเรื่องการเงินที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาการเงินอีกหลาย ๆ อย่างเลย คือ เก็บเงินไม่อยู่ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากการที่เราไม่รู้ วิธีออมเงิน ที่ถูกต้องหรือไม่ แต่เมื่อเราไม่มีเงินออม เวลาเกิดเหตุไม่คาดฝันไม่ว่าจะเป็น ตกงาน เจ็บป่วย อุบัติเหตุ  ฯลฯ ก็จะทำให้เราไม่มีเงินไปจัดการปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราต้องเริ่มกู้ยืม เป็นหนี้กันไป

    ซึ่งบอกเลยว่าพี่ทุยเองก็เคยเป็นคนที่เก็บออมเงินไม่ได้เหมือนกัน วันนี้พี่ทุยเลยมีเทคนิคสำหรับคนที่ออมเงินไม่เก่งก็สามารถทำได้มาฝากกัน เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่ได้ผลดีมาก เพราะพี่ทุยลองเองมาแล้ว

    5 วิธีออมเงิน แบบง่าย ๆ

    1. เก็บออมก่อนใช้เสมอ

    “วิธีออมเงิน” นี้เป็นวิธีที่เราน่าจะได้ยินกันมานาน แต่รู้กันหรือไม่ว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ทรงพลังมากที่สุด พี่ทุยเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเจอปัญหาประมาณว่าเหลือเงินอยู่ 500 บาท แต่ต้องใช้ชีวิตให้รอดตลอดอาทิตย์กันมาบ้างแน่ ๆ แล้วก็เป็นอะไรที่น่าแปลก เพราะเราก็มักจะรอดมาได้ทุกครั้ง เหตุผลก็เพราะว่าคนเรามีความสามารถในการปรับตัว

    การเก็บออมก่อนใช้ก็เป็นการสร้างสถานการณ์ที่คล้าย ๆ กับที่พี่ทุยพูดถึงไป สมมติว่า เราตั้งใจจะเก็บให้ได้เดือนละ 1,000 บาท แต่ถ้าเราไม่มีการออมก่อนใช้ แปลว่าอาทิตย์สิ้นเดือนนั้นเราจะเงินเหลือ 1,500 บาท แทนที่จะเป็น 500 บาท ทีนี้เราก็จะเริ่มหาข้ออ้าง ข้อแก้ตัวอย่างเช่น “ไว้ก่อนละกัน” “ไว้ค่อยเก็บเดือนหน้าละกัน” เหตุผลสารพัดที่สุดท้ายถูกหยิบยกขึ้นมาทำให้เราเก็บเงินไม่ได้

    พี่ทุยแนะนำต่อว่า สำหรับเงินที่หักออมล่วงหน้าออกมาทุกเดือนให้เปิดบัญชีแยกเก็บกับบัญชีที่เราใช้ประจำ เพื่อเป็นการวางเงินให้ไกลไม้ไกลมือมากที่สุด ตอนที่พี่ทุยเริ่มเก็บออมเงิน พี่ทุยจะไม่ผูกอะไรไว้กับบัญชีที่เก็บเงินแยกเลย ไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิต Mobile Banking ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่เราไปหยิบถอนออกมา โดยบัญชีที่เก็บแยกเราอาจจะใช้บัญชีเงินฝากประจำ ที่ต้องมีการฝากเงินทุกเดือนเพื่อเป็นการเพิ่มวินัยการออมให้กับตัวเราไปในตัวด้วย

    2. เก็บแบงก์ 50 และหยอดเหรียญใส่กระปุก

    อีกวิธีการหนึ่งที่พี่ทุยทำแล้ว รู้ตัวอีกทีก็มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นเดือนละหลายพัน การเก็บ ’แบงก็ 50’ และ ‘หยอดเหรียญใส่กระปุก’ หลักการก็คือ ทุกครั้งที่เราได้เงินทอนกลับมาเป็น ‘แบงก์ 50’ หรือ ‘เหรียญ’ อะไรก็ตาม ห้ามใช้เด็ดขาด! ให้เก็บกลับมาบ้าน แล้วหยอดเข้ากระปุกทันที

    จากนั้นทุกเดือนก็นำเงินในกระปุกนำไปใส่บัญชีธนาคารที่เราเปิดแยกไว้นั่นเอง

    3. ทำบัญชีรายจ่าย

    จดให้หมด จดให้ครบทุกบาททุกสตางค์ที่เราใช้จ่ายออกไป เพื่อให้เราเห็นภาพการใช้จ่ายของเราในแต่วัน แต่ละสัปดาห์ว่าเราใช้จ่ายอะไรออกไปบ้าง สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ เมื่อเรามีการเริ่มบันทึกว่าเราจ่ายอะไรออกไปบ้าง เราจะเริ่มใช้จ่ายน้อยลงไปแบบไม่รู้ตัว แนะนำ 5 Application ที่ช่วย “จัดการรายรับรายจ่าย”

    4. ใช้บัตรเครดิตอย่างพอดี

    ส่วนตัวพี่ทุยก็ยังมองว่า ‘บัตรเครดิต’ มีประโยชน์มากกว่าข้อเสีย สำหรับคนที่ใช้เป็น เพราะว่าการใช้จ่ายเงินสดแทบจะไม่ได้ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษอะไรกลับมาเลย แต่ถ้าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะได้ทั้งเงินคืน การสะสมแต้ม ต่าง ๆ ซึ่งกฎเหล็กของการใช้ ‘บัตรเครดิต’ มีเพียงข้อเดียวเลยก็คือ..

    จะรูดบัตรเครดิตก็ต่อเมื่อเรามีเงินสดจ่าย ณ เวลานั้นเท่านั้น

    ถ้าไม่มีก็ห้ามรูดเด็ดขาด เพราะถ้ารูดไปแล้ว ก็แปลว่า เรากำลังดึงเงินในอนาคตออกมาใช้ นอกจากนี้การใช้ จ่ายผ่านบัตรเครดิต ยังช่วยให้เราทำ ‘บัญชีรายจ่าย’ ง่ายขึ้นด้วย เพราะทุกการใช้งานจะถูกบันทึกไว้เสมอ ไม่ต้องกลัวลืมอีกต่อไป!

    5. ก่อนซื้อของทุกครั้งคิดอย่างน้อย 3 วัน

    คนเรามักจะซื้อของด้วยอารมณ์ วิธีแก้ที่พี่ทุยใช้กับตัวเองและได้ผลมากเลยก็คือ ถ้าจะซื้ออะไรที่ไม่ใช่ของที่ต้องซื้ออยู่ในชีวิตประจำอยู่แล้ว พี่ทุยจะกลับไปนอนคิดอย่างน้อย 3 วัน ว่าเราต้องการของชิ้นนี้จริงหรือเปล่า ซื้อแล้วจะได้ใช้มั้ย ถ้าได้ใช้แล้วจะได้ใช้บ่อยมากแค่ไหน คุ้มค่ากับการจ่ายออกไปหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ตอนช่วงพี่ทุยเริ่มต้นเก็บเงิน หลังจากที่กลับมานอนคิดแล้ว ก็พบว่าไม่จำเป็นต้องซื้อของพวกนั้นเลย ก็จะช่วยทำให้เรามีเงินเก็บมากขึ้น

    ลองเอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเองกันดูนะ ของแบบนี้สำคัญที่ตอนเริ่มต้น จะเก็บออมมากหรือน้อยไม่ใช่เรื่องสำคัญ เมื่อได้เริ่ม และเห็นเงินหลักพัน หลักหมื่นในบัญชี มันจะเริ่มมีกำลังใจ แล้วหลังจากนั้นพลังในการออมก็จะมีต่อไปอย่างไม่รู้จบเลยล่ะ!

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

    เก็บเงินไว้ในธนาคารไหนดี

    ธนาคารที่เสริมการงานเป็นพิเศษ คือ ธนาคารออมสิน,ธนาคารธนชาติ,ธนาคารกรุงศรี คนวันเสาร์ : ไม่ควรฝาก ธนาคารสีเขียว เพราะจะทำให้การเงินของคุณเก็บไม่อยู่ ควรฝาก ธนาคารสีแดง จะคิดเก็บเงินเงินเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่ถ้าอยากให้บัญชีเข้าออก เยอะ ต้องธนาคาร ธนาคารสีฟ้า สีน้ำเงินครับ

    เราควรเก็บเงินกี่เปอร์เซ็นต์

    กฎการออมเงิน 80/20 เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนหรือคนที่มีรายได้สม่ำเสมอในแต่ละเดือนมากเพราะประมาณการรายรับรายจ่ายแต่ละเดือนได้ค่อนข้างแม่นยำ โดยตัวเลขเงินออม 20% นี้อาจจะปรับเพิ่มได้ตามความเหมาะสม ที่สำคัญต้องไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันจนเกินไปนัก ออมไว้ก็ดีแต่ออมทั้งที่ต้องใช้ชีวิตได้มีความสุขด้วย 80% จ่ายไปกับอะไร

    เก็บเงินอย่างไรให้รวย นักเรียน

    นักเรียน นักศึกษาก็สามารถเริ่มบริหารเงินเก็บให้มีผลรายได้เยอะ.
    1. ทำบัญชี การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นเรื่องง่ายพอสมควร อย่างน้อยก็จะเป็นเครื่องเตือน ว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง มีงบอยู่แค่ไหน ห้ามใช้เงิน เป็นต้น.
    2. เปิดบัญชี ... .
    3. รัดเข็มขัด ... .
    4. อย่าอยู่อย่างอยาก ... .
    5. ใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด.

    เก็บเงินยังไงให้ได้10000

    วิธีเก็บเงิน 10,000 ภายใน 1 เดือน.
    เก็บเงินให้ได้วันละ 333 บาท จนครบ 30 วัน ใน 1 เดือนก็จะได้เงินเก็บทั้งหมด 9,990 บาท (วันสุดท้ายก็ออมเพิ่มไปอีก 10 ครบ 10,000 พอดี).
    เก็บเงินให้ได้อาทิตย์ละ 2,000 บาท เดือนหนึ่งก็จะได้ 5*2000 = 10,000 พอดีเป๊ะ.
    ใช้ตารางเก็บเงินช่วย.